นายเชิดพงศ์ วิสารทานนท์ กรรมการวิชาการสมาคมดาราศาสตร์ไทย และนักบินผู้ช่วยบริษัทบางกอกแอร์เวย์ส เปิดเผยว่า สามารถเก็บรูปดาวฤกษ์เกิดใหม่ ที่รู้จักกันในนาม Trapezium ในเนบิวล่าสว่างใหญ่ กลุ่มดาวนายพราน หรือ "เนบิวลา โอริออน" (Orion Nebula Cluster) ซึ่งนักดาราศาสตร์คาดการณ์ว่า อาจเป็นที่อยู่ของหลุมดำ หรือ Black Hole ที่มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ถึง 100 เท่า โดยภาพถ่ายดังกล่าวนี้ ถ่ายได้จากหน้าบ้าน ซึ่งอยู่เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร จากกล้องดูดาวราคาไม่แพง ภาพถ่ายดังกล่าวถือเป็นครั้งแรกที่นักถ่ายภาพสมัครเล่นถ่ายได้ ในกรุงเทพ และเป็นภาพที่กำลังได้รับความสนใจจากนักถ่ายภาพดาวเวลานี้
"ไม่ต้องตกใจนะครับ หลุมดำหรือ Black Hole นี้ ยังทำหน้าที่ดึงดูดมวลสารอยู่ตลอดเวลา แต่ห่างโลกเราออกไปประมาณ 1,344 ปีแสง ทั้งนี้ ในช่วงฤดูหนาวนี้ เมื่อพระอาทิตย์ตกดินไป เราสามารถเห็นกลุ่มดาวนายพรานได้ด้วยตาเปล่า สังเกตได้ทางทิศตะวันออก สูงขึ้นมาจากขอบฟ้าประมาณ 45 องศา จะมีกลุ่มดาวซึ่งมีดาวเรียงกัน 3 ดวงตรงกันพอดี 3 ดวงนี้เรียกว่าเข็มขัดนายพราน และถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นฝ้าจางๆ อยู่ใกล้ๆ ดาวทั้ง 3 เยื้องไปทางทิศใต้ ฝ้าจาง ๆ นี้เราเรียกว่าเนบิวล่าสว่างใหญ่ ความสว่างของเนบิวล่านี้อยู่ที่ประมาณ +4 ซึ่งสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนแม้อยู่ในพื้นที่ ที่มีแสงรบกวน" นายเชิดพงศ์กล่าว
นายเชิดพงศ์ กล่าวอีกว่า เมื่อสังเกตใจกลางเนบิวล่าจะเห็นเหมือนกับดาวสว่างๆ ขยุกขยุย มองผิวเผินเหมือนเป็นดาวดวงเดียว แต่เมื่อใช้กำลังขยายสูงขึ้นจะพบว่าเป็นดาวฤกษ์หลายดวงรวมกันซึ่งเรียกว่า trapezium ซึ่งเป็นกระจุกดาวเปิดหรือ open cluster ซึ่งดาวฤกษ์เกิดใหม่นี้ ได้ถูกค้นพบโดยกาลิเลโอในปี ค.ศ.1617 โดย กาลิเลโอ ได้ทำการวาดภาพที่เห็น ของดาว A, C, D และในปี ค.ศ.1673 มีผู้ที่สามารถบันทึกดาว B ไว้ได้อีกหลายคน และสุดท้ายในปี ค.ศ.1888 สามารถบันทึกไว้ได้มากสุดที่ 8 ดวง ดาวที่สว่างมากสุด 5 ลำดับแรก มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ของเรา 15-30 เท่า และมีระยะห่างกันของดาวแต่ละดวงที่ประมาณ 1.5 ปีแสง
ที่มา มติชนออนไลน์
ทึ่ง!! นักบิน"บางกอกสแอร์เวย์" ถ่ายภาพหลุมดำได้บริเวณเขตประเวศ
"ไม่ต้องตกใจนะครับ หลุมดำหรือ Black Hole นี้ ยังทำหน้าที่ดึงดูดมวลสารอยู่ตลอดเวลา แต่ห่างโลกเราออกไปประมาณ 1,344 ปีแสง ทั้งนี้ ในช่วงฤดูหนาวนี้ เมื่อพระอาทิตย์ตกดินไป เราสามารถเห็นกลุ่มดาวนายพรานได้ด้วยตาเปล่า สังเกตได้ทางทิศตะวันออก สูงขึ้นมาจากขอบฟ้าประมาณ 45 องศา จะมีกลุ่มดาวซึ่งมีดาวเรียงกัน 3 ดวงตรงกันพอดี 3 ดวงนี้เรียกว่าเข็มขัดนายพราน และถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นฝ้าจางๆ อยู่ใกล้ๆ ดาวทั้ง 3 เยื้องไปทางทิศใต้ ฝ้าจาง ๆ นี้เราเรียกว่าเนบิวล่าสว่างใหญ่ ความสว่างของเนบิวล่านี้อยู่ที่ประมาณ +4 ซึ่งสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนแม้อยู่ในพื้นที่ ที่มีแสงรบกวน" นายเชิดพงศ์กล่าว
นายเชิดพงศ์ กล่าวอีกว่า เมื่อสังเกตใจกลางเนบิวล่าจะเห็นเหมือนกับดาวสว่างๆ ขยุกขยุย มองผิวเผินเหมือนเป็นดาวดวงเดียว แต่เมื่อใช้กำลังขยายสูงขึ้นจะพบว่าเป็นดาวฤกษ์หลายดวงรวมกันซึ่งเรียกว่า trapezium ซึ่งเป็นกระจุกดาวเปิดหรือ open cluster ซึ่งดาวฤกษ์เกิดใหม่นี้ ได้ถูกค้นพบโดยกาลิเลโอในปี ค.ศ.1617 โดย กาลิเลโอ ได้ทำการวาดภาพที่เห็น ของดาว A, C, D และในปี ค.ศ.1673 มีผู้ที่สามารถบันทึกดาว B ไว้ได้อีกหลายคน และสุดท้ายในปี ค.ศ.1888 สามารถบันทึกไว้ได้มากสุดที่ 8 ดวง ดาวที่สว่างมากสุด 5 ลำดับแรก มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ของเรา 15-30 เท่า และมีระยะห่างกันของดาวแต่ละดวงที่ประมาณ 1.5 ปีแสง
ที่มา มติชนออนไลน์