ให้เวลากับการเลือกหุ้น...สไตล์ VI
http://bit.ly/1b7SOe2
"ศักดา สรรพปัญญาวงศ์" ให้เวลากับการเลือกหุ้น...สไตล์ VI แนะลงทุนแบบเน้นคุณค่าที่มองธุรกิจเป็นหลัก
"ในมุมของคนที่ลงทุนแบบเน้นคุณค่าที่มองธุรกิจเป็นหลัก สมมติเราสร้างธุรกิจมาธุรกิจหนึ่งแล้วมันมีอุปสรรคเข้ามา คงไม่ใช่ปิดกิจการแล้วไปเริ่มธุรกิจใหม่แต่เป็นเรื่องของการจัดการให้ผ่านมรสุมตรงนี้ไปได้ยังไง คือ ถ้าคนทำธุรกิจเป็นแบบนั้น ในมุมมองการลงทุนของผมก็เป็นแบบเดียวกัน"
..........................
หลังจากเห็นป้าย "ให้เงินทำงานผ่านกองทุนรวม"ก็จุดประกายให้นักศึกษาวิศวะปี 3 กระโดดเข้าสู่เส้นทางสายการลงทุนทันทีและหลังจากค้นคว้าหาตำราด้านการลงทุนอ่านในช่วงเริ่มต้นก็ตัดสินใจต่อปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจเพื่อตอบโจทย์ความสนใจในด้านนี้ของตัวเองทันที ปัจจุบัน "ศักดา สรรพปัญญาวงศ์" ผู้จัดการ ฝ่ายที่ปรึกษาการลงทุน บลจ.ทหารไทย เป็นเด็กหนุ่มรุ่นใหม่ที่เปี่ยมความสามารถและก้าวสู่ความสำเร็จในเรื่องการลงทุนค่อนข้างเร็ว ปัจจุบันนอกจากเป็นวิทยากรให้ความรู้ให้กับตัวแทนขาย บลจ.ทหารไทยและองค์กรต่างๆ แล้ว เขายังเป็นผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ให้ความรู้ A-Academy () ซึ่งมุ่งให้ความรู้ด้านการวางแผนการเงินและการลงทุนอีกด้วย
ศักดา ย้อนอดีตให้ฟังว่า เริ่มต้นลงทุนมาตั้งแต่ปี 3 นับจนถึงปัจจุบันก็ประมาณ 10 ปี แล้ว แต่ในช่วง 3 ปี แรกไม่เป็นชิ้นเป็นอันเท่าไร ตอนนั้นเริ่มต้นลงทุนด้วย "กองทุนรวม" แต่ไม่ถึงปีก็ไปเปิดพอร์ตหุ้นลงทุนด้วยตัวเองแต่ช่วงปีแรกยังสะเปะสะปะมั่วไปหมด ใช้ทุกแนวอ่านอะไรมาก็ไปทำแบบนั้น ตอนนั้นประมาณปี 4 แล้ว ที่ดีหน่อยคือตัวเองไม่ได้อ่านเฉพาะหนังสือแนวลงทุนแต่อ่านหนังสือรอบด้านกว่านั้นรวมถึงแนวการเงินส่วนบุคคลด้วยเล่มที่อ่านในตอนนั้นชื่อ "วางแผงรวยยกกำลัง 2" จึงตระหนักว่าเรียนมาเพื่อหาเงินมาทั้งชีวิตแต่ไม่มีใครมาสอนเรื่องการจัดการเงินให้เลย แต่นี่คือโลกของความเป็นจริงตั้งแต่นั้นจึงเริ่มลงทุนและออม เมื่อมาต่อปริญญาโทบริหารธุรกิจที่สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ด้านการเงินก็เริ่มได้แนวทางการลงทุนที่มีความสุขมากขึ้นนั่นคือ "การลงทุนแบบเน้นคุณค่า (Value Investor : VI)" ซึ่งกลายมาเป็นแนวทางในการลงทุนในหุ้นปัจจุบันของตัวเองทั้งพอร์ต
"ในมุมของคนที่ลงทุนแบบเน้นคุณค่าที่มองธุรกิจเป็นหลัก สมมติเราสร้างธุรกิจมาธุรกิจหนึ่งแล้วมันมีอุปสรรคเข้ามา คงไม่ใช่ปิดกิจการแล้วไปเริ่มธุรกิจใหม่แต่เป็นเรื่องของการจัดการให้ผ่านมรสุมตรงนี้ไปได้ยังไง คือ ถ้าคนทำธุรกิจเป็นแบบนั้น ในมุมมองการลงทุนของผมก็เป็นแบบเดียวกัน คือ ไม่ได้ไปตามข่าวอะไรที่สั้นขนาดนั้น หัวใจสำคัญไม่ใช่ทฤษฎีการเงินอะไรมากมาย สำคัญคือการมองธุรกิจออกมากกว่าว่าธุรกิจนี้เป็นไง จะแข่งขันได้ไหม จะโตได้ไหมเมื่อเกิดภัยหรือโอกาส เป็นหน้าที่ของผู้บริหารที่เราเลือกแล้วว่าเขาจะต้องนำพาธุรกิจให้ผ่านไปได้ เพราะฉะนั้นผลไม่ว่าเกิดอะไรก็ตามถ้าธุรกิจยังดี ยังตรวจสอบได้ เช่น เรายังไปเดินชมได้ เห็นคนยังเข้าคิวกิน เข้าคิวใช้อยู่ เราก็ซื้อต่อไปเรื่อยๆ แนวนี้ก็ทำมาถึงทุกวันนี้"
ศักดา ยังบอกอีกว่า หลายคนถามว่าเราทำงานจะมีเวลาไปดูไปวิเคราะห์หรือ จริงๆ การลงทุนแนวเหมือนเป็นเจ้าของกิจการไม่ได้ต้องการว่าเราต้องไปเฝ้าจอขนาดนั้น เราสามารถไม่ดูราคาได้เป็นเดือนๆ แต่ถ้าเห็นกิจการยังบริหารงานต่อไปได้ก็โฟกัสกับการทำงานของตัวเองไป มันคือการให้เงินทำงานจริงๆ แต่การจะทำแบบนี้ได้ต้องเลือกหุ้นครั้งแรกให้ดีมากๆ บางครั้งคนลงทุนมักจะใจร้อนพอเจออะไรก็อยากจะซื้อ อยากเป็นเจ้าของเลย ซื้อเสร็จก็อยากให้มันขึ้นเลย แต่ในความเป็นจริงเราน่าจะกลับใหม่ว่า "ใช้เวลาเลือกนานๆ รอได้ในขั้นตอนการเลือก" พอเลือกที่ใช่ก็อยู่กับหุ้นตัวนั้นนานๆ
การเลือกพอร์ตต้อง "มีภูมิคุ้มกันที่ดีก่อน" คือว่า ทุกตัวที่เราเลือกมาต้องไม่มีหนี้เยอะเวอร์ หรือมีลูกค้ารายเดียวหรือ 2 ราย หรือทำธุรกิจที่ผูกติดกับสัมปทานบางอย่าง ซึ่งถ้าไม่ได้หรือประมูลไม่ได้ก็จบกัน หรือธุรกิจกับราคาสินค้าในตลาดโลกซึ่งควบคุมไม่ได้ พวกนี้ตัดออกตั้งแต่ต้นก็ได้ภูมิคุ้มกันระดับหนึ่งแล้ว อีกระดับหนึ่งคือ ปกติจะลงทุนในหุ้นประมาณ 6 ตัว บวกลบ ไม่มากกว่านี้ แต่ในจำนวนนั้นตัวที่โฟกัสจริงๆ จะมีประมาณ 4 ตัว คือ ทุกกิจการที่เราลงทุน ข้อจำกัดคือเราทำงานและไม่มีความรู้เฉพาะด้านในหลายๆ ด้าน ดังนั้นจึงเลือกแข่งในเกมที่เรารู้ดีหรือรู้จักมัน
"หุ้นกลุ่มไหน ตัวไหนที่เราเริ่มจะไม่รู้จัก เริ่มไม่เข้าใจอ่านไม่ออกว่ามันจะเป็นยังไง ง่ายๆ คือตัดทิ้งไปเลย ไม่สน ยูนิเวสที่จะเลือกได้ก็จะแคบลง แต่การแคบลงนั้นไม่ได้เป็นข้อเสีย มันเป็นข้อดีเสียอีก หุ้นที่ถือในพอร์ต 5 - 6 ตัว ก็จะไม่มีการทุ่มไปในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเลย พยายามเลือกครีมที่สุดที่ไม่เกี่ยวข้องกันเลยอยู่คนละกลุ่มเป็นการกระจายความเสี่ยงไปในตัวด้วย"
นักลงทุนส่วนใหญ่ยอมจะเป็นเศรษฐีเงินหมื่น แต่ไม่อยากเป็นเศรษฐีเงินล้านกัน มันอาจจะเหมือนแต่งงานโดยเข้าไปสร้างสัมพันธ์กับหุ้น สัก 4 - 5 ตัวที่เรารู้สึกแล้วภูมิใจ สินค้าบริการมันดี ดูผู้บริหารแล้ว ขยันขันแข็ง บางตัวผู้บริหารอินจัดกับกิจการมาพูดทีไร รู้สึกว่าทำไมคนนี้อินได้ขนาดนี้ ถ้ามีคนแบบนี้บริหารรวมกับเงื่อนไขขั้นต้นเราก็น่าจะอุ่นใจได้แล้วว่า มันจะมีน้ำท่วม แผ่นดินไหว มีม็อบ มีอะไร เขาก็ทำของเขาไปได้ เราไม่เห็นต้องไปขายออก หัวใจสำคัญ คือ ลงทุนระหว่างทางต้องแฮปปี้ด้วย ไม่ต้องไปทำอะไรยุ่งยาก กราฟมีประโยชน์อย่างเดียวที่ใช้ คือดูว่าที่ผ่านมาราคามันเป็นยังไง เราถือมา 2 - 3 ปี ราคามันเปลี่ยนขนาดนี้เลยหรือ
ส่วนตัว ศักดา มองว่า การจะลงทุนผ่านกองทุนรวมหรือลงทุนด้วยตัวเองนั้น ตรงนี้แล้วแต่คนเราต้องประเมินตัวเองว่าเราทำได้ดีแค่ไหน ถ้าเราไปซื้อกองทุนๆ จะมีดัชนีเทียบวัด (Benchmark) ไว้เทียบวัดว่ากองทุนทำได้ดีกว่าเกณฑ์แค่ไหน ในแง่การลงทุนส่วนตัวเราก็มี Benchmark เหมือนกัน ในช่วงที่ผ่านมาตลาดหุ้นทำได้ดีแค่ไหน แล้วเราที่ลงทุนมาด้วยหลักการที่ถูกต้องทำมาเห็นผลดีๆ กว่าตลาดพอสมควร นับปี 2007 ถึงปัจจุบันผลตอบแทนที่ทำได้เฉลี่ยแบบทบต้นประมาณ 28% ต่อปี ก็ถือว่าสูงมาก หุ้นในช่วงเดียวกันได้ 14% ต่อปี เงินส่วนใหญ่จึงตัดสินใจที่จะมาลงทุนตรงด้วยตัวเองกว่า 90% ส่วนที่เหลือจะลงทุนในกองทุนประหยัดภาษีโดยใช้สิทธิเต็มที่เช่นกัน
"สิ่งที่เจอคือคนมีความเชื่อว่าคนจะชนะได้ ยิ่งถ้าเราทุ่มเวลาให้มัน เพ่งมัน จ้องมัน จับจังหวะมันยิ่งจะชนะ แต่ความเป็นจริงหลังทำงานมาหลายปีเห็นคนมาหลายคน ทั้งคนที่เก่งและชนะบางครั้งแพ้บางครั้งแต่เราไม่เห็นใครที่ทำได้อย่างต่อเนื่องซ้ำแล้วซ้ำอีก จะเจอแบบได้ 1 ครั้งเสีย 1 ครั้ง ได้ 3 ครั้งเสีย 1 ครั้ง เหมือนพายเรือในอ่างไม่ไปไหน สุดท้ายการที่เราอยู่ได้นานในสิ่งที่ดี แล้วรอให้มันเติบโตไปกลับดีกว่า นั่นคือสไตล์การลงทุนแบบเน้นคุณค่าที่ทำอยู่และได้ผลจริงๆ"
อีกหลักการสำคัญในการลงทุนของศักดา ที่อาจเป็น "เคล็ดลับ" ที่ทำให้ทนการลงทุนได้แม้ตลาดจะผันผวนก็ตาม คือ เขา "ไม่เคยบันทึกต้นทุน" แต่สำหรับนักลงทุนทั่วไปเป็นเรื่องสำคัญสำหรับเขาเพื่อใช้ดูว่าราคาร่วงถึงทุนหรือยัง ถ้ามันต่ำทุนยังขาดทุนเราก็ไม่อยากขาย ครั้นพอมีกำไรมาก กำไรเกินทุนเยอะแล้วก็อยากขาย กลายเป็นว่าทุนนี้เป็นคุณหรือโทษ ยิ่งเห็น กลายเป็นว่านักลงทุนไปมีหลักหนึ่งที่ทำให้เราอดทนไม่ได้ทำให้เรา "โลภ" ที่จะขายหรือ "กลัว" ยอมถือแม้มันจะขาดทุน เป็นต้น แนวทางที่ตัวเองใช้ คือ มองไปข้างหน้าเสมอจะรู้แค่ว่าวันนี้พอร์ตมีมูลค่าเท่าไร แต่จำไม่ได้ว่าตัวนี้ซื้อมากี่บาท ไม้ที่แล้วซื้อมาหุ้นละเท่าไร ไม่มี พอไม่มี ข้อดีคือมันก็ฟรีไปข้างหน้า
"วันหนึ่งเราอาจเจอหุ้นอะไรที่ดี หรือเจอเหตุการณ์อะไรที่มันไม่ดี กลับไปดูพอร์ตของตัวเองก็ไม่เห็นต้นทุนเพราะไม่ได้บันทึกไว้ ก็แค่ดูว่าไม่ดีแล้วเราจะถือต่อไหม ถ้าไม่ถือเราก็ขายได้อย่างสบายใจ หรือถ้ามันดีก็ถือต่อไปได้ ไม่ต้องไปสนว่ากำไรมาแล้วเด้ง สองเด้ง สามเด้ง การลงทุนแบบเน้นคุณค่ายังไงก็มีราคาเป้าหมายอยู่แล้ว แต่เนื่องจากกิจการเปลี่ยนแปลงตลอดพื้นฐานเขาก็ดีขึ้นเรื่อยๆ ตามเวลา ปกติเป้าหมายจะถูกปรับขึ้นไปเรื่อยๆ ปรับหนีราคาไปเรื่อยๆ จุดขายมีไหม มี ถ้ามันใกล้ก็ควรจะขายแต่ที่ผ่านมาไม่เคยได้ขายเพราะเหตุผลนั้นเลย แต่ที่เราขายเพราะไปเห็นตัวอื่นที่ถูกใจมากกว่า เราอยากได้คนที่อยู่ด้วยแล้วสบายใจ หลายครั้งการขายไม่ใช่เรื่องของอัพไซด์แต่มันคือเรื่องความสบายใจด้วย"
ก่อนจาก ศักดา ฝากไว้ว่า สิ่งที่จะทำให้ประสบความสำเร็จในการลงทุนนั้น จะต้องมี
1) ทำในสิ่งที่ทำได้ก่อน คือ หาความรู้ เก็บออม มีเงินต้นรอไว้ก่อน
2) การได้เจอหลักการที่ดีแล้วเราฝึกปรือจนทำได้ดีไม่ได้หลอกตัวเอง จนมั่นใจว่านี่ไม่ฟลุ๊คแล้วอยู่กับหลักการนั้นได้นานพอ
ที่สำคัญได้แล้วรู้จักแบ่งปันคืนให้กับสังคมซึ่งจะทำให้คุณได้ความสุขทันทีแน่นอน
https://www.facebook.com/pages/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%A5/198068607020376
ให้เวลากับการเลือกหุ้น...สไตล์ VI
http://bit.ly/1b7SOe2
"ศักดา สรรพปัญญาวงศ์" ให้เวลากับการเลือกหุ้น...สไตล์ VI แนะลงทุนแบบเน้นคุณค่าที่มองธุรกิจเป็นหลัก
"ในมุมของคนที่ลงทุนแบบเน้นคุณค่าที่มองธุรกิจเป็นหลัก สมมติเราสร้างธุรกิจมาธุรกิจหนึ่งแล้วมันมีอุปสรรคเข้ามา คงไม่ใช่ปิดกิจการแล้วไปเริ่มธุรกิจใหม่แต่เป็นเรื่องของการจัดการให้ผ่านมรสุมตรงนี้ไปได้ยังไง คือ ถ้าคนทำธุรกิจเป็นแบบนั้น ในมุมมองการลงทุนของผมก็เป็นแบบเดียวกัน"
..........................
หลังจากเห็นป้าย "ให้เงินทำงานผ่านกองทุนรวม"ก็จุดประกายให้นักศึกษาวิศวะปี 3 กระโดดเข้าสู่เส้นทางสายการลงทุนทันทีและหลังจากค้นคว้าหาตำราด้านการลงทุนอ่านในช่วงเริ่มต้นก็ตัดสินใจต่อปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจเพื่อตอบโจทย์ความสนใจในด้านนี้ของตัวเองทันที ปัจจุบัน "ศักดา สรรพปัญญาวงศ์" ผู้จัดการ ฝ่ายที่ปรึกษาการลงทุน บลจ.ทหารไทย เป็นเด็กหนุ่มรุ่นใหม่ที่เปี่ยมความสามารถและก้าวสู่ความสำเร็จในเรื่องการลงทุนค่อนข้างเร็ว ปัจจุบันนอกจากเป็นวิทยากรให้ความรู้ให้กับตัวแทนขาย บลจ.ทหารไทยและองค์กรต่างๆ แล้ว เขายังเป็นผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ให้ความรู้ A-Academy () ซึ่งมุ่งให้ความรู้ด้านการวางแผนการเงินและการลงทุนอีกด้วย
ศักดา ย้อนอดีตให้ฟังว่า เริ่มต้นลงทุนมาตั้งแต่ปี 3 นับจนถึงปัจจุบันก็ประมาณ 10 ปี แล้ว แต่ในช่วง 3 ปี แรกไม่เป็นชิ้นเป็นอันเท่าไร ตอนนั้นเริ่มต้นลงทุนด้วย "กองทุนรวม" แต่ไม่ถึงปีก็ไปเปิดพอร์ตหุ้นลงทุนด้วยตัวเองแต่ช่วงปีแรกยังสะเปะสะปะมั่วไปหมด ใช้ทุกแนวอ่านอะไรมาก็ไปทำแบบนั้น ตอนนั้นประมาณปี 4 แล้ว ที่ดีหน่อยคือตัวเองไม่ได้อ่านเฉพาะหนังสือแนวลงทุนแต่อ่านหนังสือรอบด้านกว่านั้นรวมถึงแนวการเงินส่วนบุคคลด้วยเล่มที่อ่านในตอนนั้นชื่อ "วางแผงรวยยกกำลัง 2" จึงตระหนักว่าเรียนมาเพื่อหาเงินมาทั้งชีวิตแต่ไม่มีใครมาสอนเรื่องการจัดการเงินให้เลย แต่นี่คือโลกของความเป็นจริงตั้งแต่นั้นจึงเริ่มลงทุนและออม เมื่อมาต่อปริญญาโทบริหารธุรกิจที่สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ด้านการเงินก็เริ่มได้แนวทางการลงทุนที่มีความสุขมากขึ้นนั่นคือ "การลงทุนแบบเน้นคุณค่า (Value Investor : VI)" ซึ่งกลายมาเป็นแนวทางในการลงทุนในหุ้นปัจจุบันของตัวเองทั้งพอร์ต
"ในมุมของคนที่ลงทุนแบบเน้นคุณค่าที่มองธุรกิจเป็นหลัก สมมติเราสร้างธุรกิจมาธุรกิจหนึ่งแล้วมันมีอุปสรรคเข้ามา คงไม่ใช่ปิดกิจการแล้วไปเริ่มธุรกิจใหม่แต่เป็นเรื่องของการจัดการให้ผ่านมรสุมตรงนี้ไปได้ยังไง คือ ถ้าคนทำธุรกิจเป็นแบบนั้น ในมุมมองการลงทุนของผมก็เป็นแบบเดียวกัน คือ ไม่ได้ไปตามข่าวอะไรที่สั้นขนาดนั้น หัวใจสำคัญไม่ใช่ทฤษฎีการเงินอะไรมากมาย สำคัญคือการมองธุรกิจออกมากกว่าว่าธุรกิจนี้เป็นไง จะแข่งขันได้ไหม จะโตได้ไหมเมื่อเกิดภัยหรือโอกาส เป็นหน้าที่ของผู้บริหารที่เราเลือกแล้วว่าเขาจะต้องนำพาธุรกิจให้ผ่านไปได้ เพราะฉะนั้นผลไม่ว่าเกิดอะไรก็ตามถ้าธุรกิจยังดี ยังตรวจสอบได้ เช่น เรายังไปเดินชมได้ เห็นคนยังเข้าคิวกิน เข้าคิวใช้อยู่ เราก็ซื้อต่อไปเรื่อยๆ แนวนี้ก็ทำมาถึงทุกวันนี้"
ศักดา ยังบอกอีกว่า หลายคนถามว่าเราทำงานจะมีเวลาไปดูไปวิเคราะห์หรือ จริงๆ การลงทุนแนวเหมือนเป็นเจ้าของกิจการไม่ได้ต้องการว่าเราต้องไปเฝ้าจอขนาดนั้น เราสามารถไม่ดูราคาได้เป็นเดือนๆ แต่ถ้าเห็นกิจการยังบริหารงานต่อไปได้ก็โฟกัสกับการทำงานของตัวเองไป มันคือการให้เงินทำงานจริงๆ แต่การจะทำแบบนี้ได้ต้องเลือกหุ้นครั้งแรกให้ดีมากๆ บางครั้งคนลงทุนมักจะใจร้อนพอเจออะไรก็อยากจะซื้อ อยากเป็นเจ้าของเลย ซื้อเสร็จก็อยากให้มันขึ้นเลย แต่ในความเป็นจริงเราน่าจะกลับใหม่ว่า "ใช้เวลาเลือกนานๆ รอได้ในขั้นตอนการเลือก" พอเลือกที่ใช่ก็อยู่กับหุ้นตัวนั้นนานๆ
การเลือกพอร์ตต้อง "มีภูมิคุ้มกันที่ดีก่อน" คือว่า ทุกตัวที่เราเลือกมาต้องไม่มีหนี้เยอะเวอร์ หรือมีลูกค้ารายเดียวหรือ 2 ราย หรือทำธุรกิจที่ผูกติดกับสัมปทานบางอย่าง ซึ่งถ้าไม่ได้หรือประมูลไม่ได้ก็จบกัน หรือธุรกิจกับราคาสินค้าในตลาดโลกซึ่งควบคุมไม่ได้ พวกนี้ตัดออกตั้งแต่ต้นก็ได้ภูมิคุ้มกันระดับหนึ่งแล้ว อีกระดับหนึ่งคือ ปกติจะลงทุนในหุ้นประมาณ 6 ตัว บวกลบ ไม่มากกว่านี้ แต่ในจำนวนนั้นตัวที่โฟกัสจริงๆ จะมีประมาณ 4 ตัว คือ ทุกกิจการที่เราลงทุน ข้อจำกัดคือเราทำงานและไม่มีความรู้เฉพาะด้านในหลายๆ ด้าน ดังนั้นจึงเลือกแข่งในเกมที่เรารู้ดีหรือรู้จักมัน
"หุ้นกลุ่มไหน ตัวไหนที่เราเริ่มจะไม่รู้จัก เริ่มไม่เข้าใจอ่านไม่ออกว่ามันจะเป็นยังไง ง่ายๆ คือตัดทิ้งไปเลย ไม่สน ยูนิเวสที่จะเลือกได้ก็จะแคบลง แต่การแคบลงนั้นไม่ได้เป็นข้อเสีย มันเป็นข้อดีเสียอีก หุ้นที่ถือในพอร์ต 5 - 6 ตัว ก็จะไม่มีการทุ่มไปในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเลย พยายามเลือกครีมที่สุดที่ไม่เกี่ยวข้องกันเลยอยู่คนละกลุ่มเป็นการกระจายความเสี่ยงไปในตัวด้วย"
นักลงทุนส่วนใหญ่ยอมจะเป็นเศรษฐีเงินหมื่น แต่ไม่อยากเป็นเศรษฐีเงินล้านกัน มันอาจจะเหมือนแต่งงานโดยเข้าไปสร้างสัมพันธ์กับหุ้น สัก 4 - 5 ตัวที่เรารู้สึกแล้วภูมิใจ สินค้าบริการมันดี ดูผู้บริหารแล้ว ขยันขันแข็ง บางตัวผู้บริหารอินจัดกับกิจการมาพูดทีไร รู้สึกว่าทำไมคนนี้อินได้ขนาดนี้ ถ้ามีคนแบบนี้บริหารรวมกับเงื่อนไขขั้นต้นเราก็น่าจะอุ่นใจได้แล้วว่า มันจะมีน้ำท่วม แผ่นดินไหว มีม็อบ มีอะไร เขาก็ทำของเขาไปได้ เราไม่เห็นต้องไปขายออก หัวใจสำคัญ คือ ลงทุนระหว่างทางต้องแฮปปี้ด้วย ไม่ต้องไปทำอะไรยุ่งยาก กราฟมีประโยชน์อย่างเดียวที่ใช้ คือดูว่าที่ผ่านมาราคามันเป็นยังไง เราถือมา 2 - 3 ปี ราคามันเปลี่ยนขนาดนี้เลยหรือ
ส่วนตัว ศักดา มองว่า การจะลงทุนผ่านกองทุนรวมหรือลงทุนด้วยตัวเองนั้น ตรงนี้แล้วแต่คนเราต้องประเมินตัวเองว่าเราทำได้ดีแค่ไหน ถ้าเราไปซื้อกองทุนๆ จะมีดัชนีเทียบวัด (Benchmark) ไว้เทียบวัดว่ากองทุนทำได้ดีกว่าเกณฑ์แค่ไหน ในแง่การลงทุนส่วนตัวเราก็มี Benchmark เหมือนกัน ในช่วงที่ผ่านมาตลาดหุ้นทำได้ดีแค่ไหน แล้วเราที่ลงทุนมาด้วยหลักการที่ถูกต้องทำมาเห็นผลดีๆ กว่าตลาดพอสมควร นับปี 2007 ถึงปัจจุบันผลตอบแทนที่ทำได้เฉลี่ยแบบทบต้นประมาณ 28% ต่อปี ก็ถือว่าสูงมาก หุ้นในช่วงเดียวกันได้ 14% ต่อปี เงินส่วนใหญ่จึงตัดสินใจที่จะมาลงทุนตรงด้วยตัวเองกว่า 90% ส่วนที่เหลือจะลงทุนในกองทุนประหยัดภาษีโดยใช้สิทธิเต็มที่เช่นกัน
"สิ่งที่เจอคือคนมีความเชื่อว่าคนจะชนะได้ ยิ่งถ้าเราทุ่มเวลาให้มัน เพ่งมัน จ้องมัน จับจังหวะมันยิ่งจะชนะ แต่ความเป็นจริงหลังทำงานมาหลายปีเห็นคนมาหลายคน ทั้งคนที่เก่งและชนะบางครั้งแพ้บางครั้งแต่เราไม่เห็นใครที่ทำได้อย่างต่อเนื่องซ้ำแล้วซ้ำอีก จะเจอแบบได้ 1 ครั้งเสีย 1 ครั้ง ได้ 3 ครั้งเสีย 1 ครั้ง เหมือนพายเรือในอ่างไม่ไปไหน สุดท้ายการที่เราอยู่ได้นานในสิ่งที่ดี แล้วรอให้มันเติบโตไปกลับดีกว่า นั่นคือสไตล์การลงทุนแบบเน้นคุณค่าที่ทำอยู่และได้ผลจริงๆ"
อีกหลักการสำคัญในการลงทุนของศักดา ที่อาจเป็น "เคล็ดลับ" ที่ทำให้ทนการลงทุนได้แม้ตลาดจะผันผวนก็ตาม คือ เขา "ไม่เคยบันทึกต้นทุน" แต่สำหรับนักลงทุนทั่วไปเป็นเรื่องสำคัญสำหรับเขาเพื่อใช้ดูว่าราคาร่วงถึงทุนหรือยัง ถ้ามันต่ำทุนยังขาดทุนเราก็ไม่อยากขาย ครั้นพอมีกำไรมาก กำไรเกินทุนเยอะแล้วก็อยากขาย กลายเป็นว่าทุนนี้เป็นคุณหรือโทษ ยิ่งเห็น กลายเป็นว่านักลงทุนไปมีหลักหนึ่งที่ทำให้เราอดทนไม่ได้ทำให้เรา "โลภ" ที่จะขายหรือ "กลัว" ยอมถือแม้มันจะขาดทุน เป็นต้น แนวทางที่ตัวเองใช้ คือ มองไปข้างหน้าเสมอจะรู้แค่ว่าวันนี้พอร์ตมีมูลค่าเท่าไร แต่จำไม่ได้ว่าตัวนี้ซื้อมากี่บาท ไม้ที่แล้วซื้อมาหุ้นละเท่าไร ไม่มี พอไม่มี ข้อดีคือมันก็ฟรีไปข้างหน้า
"วันหนึ่งเราอาจเจอหุ้นอะไรที่ดี หรือเจอเหตุการณ์อะไรที่มันไม่ดี กลับไปดูพอร์ตของตัวเองก็ไม่เห็นต้นทุนเพราะไม่ได้บันทึกไว้ ก็แค่ดูว่าไม่ดีแล้วเราจะถือต่อไหม ถ้าไม่ถือเราก็ขายได้อย่างสบายใจ หรือถ้ามันดีก็ถือต่อไปได้ ไม่ต้องไปสนว่ากำไรมาแล้วเด้ง สองเด้ง สามเด้ง การลงทุนแบบเน้นคุณค่ายังไงก็มีราคาเป้าหมายอยู่แล้ว แต่เนื่องจากกิจการเปลี่ยนแปลงตลอดพื้นฐานเขาก็ดีขึ้นเรื่อยๆ ตามเวลา ปกติเป้าหมายจะถูกปรับขึ้นไปเรื่อยๆ ปรับหนีราคาไปเรื่อยๆ จุดขายมีไหม มี ถ้ามันใกล้ก็ควรจะขายแต่ที่ผ่านมาไม่เคยได้ขายเพราะเหตุผลนั้นเลย แต่ที่เราขายเพราะไปเห็นตัวอื่นที่ถูกใจมากกว่า เราอยากได้คนที่อยู่ด้วยแล้วสบายใจ หลายครั้งการขายไม่ใช่เรื่องของอัพไซด์แต่มันคือเรื่องความสบายใจด้วย"
ก่อนจาก ศักดา ฝากไว้ว่า สิ่งที่จะทำให้ประสบความสำเร็จในการลงทุนนั้น จะต้องมี
1) ทำในสิ่งที่ทำได้ก่อน คือ หาความรู้ เก็บออม มีเงินต้นรอไว้ก่อน
2) การได้เจอหลักการที่ดีแล้วเราฝึกปรือจนทำได้ดีไม่ได้หลอกตัวเอง จนมั่นใจว่านี่ไม่ฟลุ๊คแล้วอยู่กับหลักการนั้นได้นานพอ
ที่สำคัญได้แล้วรู้จักแบ่งปันคืนให้กับสังคมซึ่งจะทำให้คุณได้ความสุขทันทีแน่นอน
https://www.facebook.com/pages/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%A5/198068607020376