สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 60
ชื่อบ้านนามเมืองในภาคใต้ที่ปรากฎอยู่ในปัจจุบันนี้ หากแบ่งตามที่มาของภาษาผมแบ่งคร่าวๆให้มีทั้งหมด 4 ภาษา ครับคือ
1. ภาษามลายู
2. ภาษาไทย
3. ภาษาสันสกฤต
4. ภาษาเขมร
โดยความหมายส่วนใหญ่จะสื่อถึง ลักษณะภูมิประเทศ และพืชพรรณชนิดเด่นในบริเวณนั้นในอดีต นอกจากนี้ก็เกี่ยวข้องกับพวกนิทานพื้นบ้านตำนานท้องถิ่นในละแวกนั้น
แต่ปัญหาที่พบโดยส่วมมากคือ ในช่วงที่มีการจัดระบบการปกครอง การจัดทำแผนที่เพื่อระบุที่ต่างๆนั้น ทางการซึ่งส่วนมากมาเป็นคนมาจากภาคกลางลงมาสำรวจ แต่เมื่อพบกับภาษาถิ่นหลากหลายสำเนียงภาษาซึ่งตนเองไม่เข้าใจ จึงมีความพยายามลากเสียงให้ไปตรงกับภาษาไทยภาคกลาง หรือไม่ก็แปลความหมายอีกทีแล้วใช้คำสันสฤตแทน ซึ่งทำให้ขาดการเชื่อต่อกับที่มาที่ไปในอดีต ผมขอยกตัวอย่างคร่าวๆดังนี้
ภาษามลายู นับว่าเป็นภาษาหลักในดินแดนแถบนี้มาแต่โบราณตลอดทั้งแหลมมลายู หากสังเกตดูชื่อจังหวัดโดยส่วนมากก็เป็นภาษามลายู เช่น กระบี่ = กลูบี แปลว่าต้นลุมพี สตูล แปลว่า ต้นกระท้อน เกาะลิบง มาจาก นิบง แปลว่าต้นหลาวชะโอน ซึ่งน่าจะเป็นไม้เด่นในบริเวณนั้น
ภูเก็ต มาจาก บูกิต (ฺีBukit) หรือ บุเกะ แปลว่าภูเขา ตรงกับลักษณะของเกาะที่มีภูเขาเด่นตรงกลาง
ตรัง มาจาก Terang (เตอรัง) แปลว่า สว่างไสว เนื่องจากสมัยก่อนนักเดินเรือมลายูล่องเรือมาขึ้นมาถึงตรังช่วงเช้าตรูที่เห็นแสงทองขอบฟ้า เลยเรียกว่าเมืองแห่งความสว่างไสว อย่างไรก็ดี บางที่มาระบุว่า มาจากภาษาสันสฤตว่า ตรังค์ แปลว่า คลื่น และทางการยึดในความหมายนี้เลยออกแบบตราประจำจังหวัดให้เป็นท่าเรือมีคลื่น
ในเขตสามจังหวัดชายแดนใต้ ยังมีการเรียกในภาษามลายูมาก แต่หลายๆที่มีการแปลเสียง และลากเสียงไปเ้ป็นภาษาไทยกลางจำนวนมาก เช่น บ้านนาเกตุ ใน จ. ปัตตานี หากดูก็เป็นคำไทย+สกฤต (นา+เกตุ) หากแต่ว่าดังเดิมแล้ว พื้นที่ตรงนี้มีชื่อในภาษามลายูว่า Anak bukit แปลว่า เขาลูกเล็กๆ Anak (อานะ /อานัก/ อาเนาะ) แปลว่าเล็กๆ หรือ เด็กๆ เมื่อทางการเข้ามา เลยลากเสียงเสียเป็นนาเกตุ จากเขา กลายเป็นนา ไปเสีย
รูสะมิแล แปลว่า สนเก้าต้น (รู = สน, สะมิแล = 9)
สุไหงปาดี แปลว่า คลองข้าวเปลือก (สุไหง = คลอง ปาดี = ข้าวเปลือก)
นอกจากนี้ในหลายแห่งทำให้เกิดความผิดใจกันได้เช่น เกาะสุกร ในจังหวัดตรัง เดิมชื่อเกาะยามู ซึ่งยามู แปลว่าต้นฝรั่ง ทางการเข้ามาไม่เข้าใจ เลยลากเสียงเป็น เกาะหมู แล้วทำให้เพราะเข้าไปอีกเป็นเกาะสุกร มาถึงทุกวันนี้ แต่ชาวบ้านบนเกาะ เป็นชาวมุสลิมแทบทั้งเกาะ ก็ลองคิดดูครับว่าชาวบ้านเขาจะรู้สึกอย่างไรบ้าง เปลี่ยนจากต้นฝรั่งมาเป็น หมู??
อีกคำที่พบมากคือสถาที่ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า "ควน" ซึ่งแปลว่า เนินเขา ในภาษามลายู ซึ่งบัดนนี้เป๋็นที่เข้าใจทั่วไปของคนใต้ทั้งหมดตัวอย่างเช่น ควนขนุน ควนเนียง
ภาษาไทย พบได้บ่อยพอพอกัน โดยเฉพาะภาคใต่ตอนบน และในเขตที่มีคนไทยอาศัยแต่ดั้งเดิม ซึ่งอาจจะได้รับอิทธิพลภาษาไทยมากหน่อย โดยชื่อส่วนมากก็อย่างที่บอกไว้เป็น ลักษณะภูมิประเทศเป็นสำคัญ + ชื่อพืชพรรณ โดยมีคำสำคัญ ว่า
ปาก สื่อถึง ปากแม่น้ำ เช่น ปากพนัง ปากนคร
เขา โคก ก็มีพบได้ทั่วไป เช่น โคกโพธิ์ โคกเคียน
นา คำนี้พบมากที่จังหวัดตรัง เคยมีคนรวบรวมไว้คร่าวๆ ก็มากกว่า 20 ชื่อครับ เช่น นาโต๊ะหมิง นาหมื่นศรี นาโยง นาหว้า
ชาวใต้ มีวลีที่เป็นการบ่งบอกถึงชื่อบ้านนามเมืองในภาคใต้ที่เด่นๆดังนี้ครับ "พัทลุงมีดอน นครมีท่า ตรังมีนา สงขลามีบ่อ" ทั้งนี้เพราะจังหวัดเหล่านี้มักมีชื่อสถานที่ หมู่บ้านต่างๆ ตามลักษณะภูมิประเทศนั้นๆครับ
ภาษาสันสฤต เป็นชื่อที่มีการตั้งมาหลังสุดจากคนส่วนกลาง หรือบ้างก็เป็นนามพระราชทาน เช่น สุราษฎร์ธานี เป็นนามที่รัชกาลที่ 6 พระราชทานมา ดั้งเดิมแบนี้เรียกว่าบ้านดอน หรือ นราธิวาส เดิม เป็นชื่อมลายูว่า Menara (เมอนารา) ซึ่งแปลว่ามโนราห์ ทั้งนี้มีเรื่องเล่ากันว่าสมัยที่บริเวณนี้ยังไม่รับอิสลาม จะมีการจัดงานบูชาเทพเจ้าทะเล สำหรับผู้ที่จะะออกทะเล และมีการแสดงมโนราห์เป็นการยิ่งใหญ่ที่ชายหาด เลยเรียกว่าชายหาดมโนราห์ แต่เรียกเป็นสำเนียงมลายู ส่วนคนไทยก็เรียกว่า "บางนรา" อย่างไรก็ดีบางที่มากล่าวว่า ในภาษามลายูมีเสียงใกล้เคียงกับคำที่แปลว่า กระโจมไฟ หรือ หอประภาคาร อีกด้วย
สงขลา หลายที่มีระบุว่า มาจากคำว่า สิงขร ที่แปลว่าภูเขา เนื่องจาก เมื่อคนเดินทางทางทะเล มองมายังสงขลาก็จะเห็นเขาแดงตระหง่านอยู่ เป็นจุดให้สังเกต นอกจากนี้จากราชทินนามของเขจ้าเมืองสงขลาจะมีคำว่า คีรี ประกอบเช่น พระยาวิเชียรคีรี
อย่างไรก็ดีก็มีบ้างที่เป็นชื่อดั้งเดิมเช่น นครศรีธรรมราช เดิมชื่อ ศิริธรรมนคร จะเห็นว่าเป็นภาษาสันสกฤต
ภาษาเขมร เป็นอีกภาษาที่พบได้ในเขตภาคใต้ ทั้งนี้เพราะในอดีตมีการติดต่ออกับเขมรกันโดยเฉพาะด้านวิทยาการ ศาสนา ต่างๆ ดังจะเห็นได้ว่า หนังสือบุด (สมุดไทย สมุดข่อย) ในภาคใต้ จะบันทักกับอักขระขอมแทบทั้งสิ้น และในภาษาพูดในภาษาไทยถิ่นใต้ก็จะปะปนภาษาเขมรด้วยเช่นกัน เช่นคำว่า ขี้เตรย = หญ้าเจ้าชู้, ทวยไยมัน = แมงป่องชนิดเล็ก, มรึก = การดื่ม เป็นต้น ชื่อสถานที่ที่เป็นภาษาเขมร เช่น อ. สทิงพระ ในจังหวัดสงขลา ที่คำว่า สทิง มาจาก จทิง ปัจจุบันคือ สตึง แปลว่า คลอง ดังนั้น สทิงพระ จึงหมายถึงคลองพระ(พุทธรูป) ใกล้ๆกันก็มีชื่อ บ้านจะทิ้งหม้อ มาจาก สทิงถมอ แปลว่า คลองหิน (ถมอ = หิน) เช่นกัน
1. ภาษามลายู
2. ภาษาไทย
3. ภาษาสันสกฤต
4. ภาษาเขมร
โดยความหมายส่วนใหญ่จะสื่อถึง ลักษณะภูมิประเทศ และพืชพรรณชนิดเด่นในบริเวณนั้นในอดีต นอกจากนี้ก็เกี่ยวข้องกับพวกนิทานพื้นบ้านตำนานท้องถิ่นในละแวกนั้น
แต่ปัญหาที่พบโดยส่วมมากคือ ในช่วงที่มีการจัดระบบการปกครอง การจัดทำแผนที่เพื่อระบุที่ต่างๆนั้น ทางการซึ่งส่วนมากมาเป็นคนมาจากภาคกลางลงมาสำรวจ แต่เมื่อพบกับภาษาถิ่นหลากหลายสำเนียงภาษาซึ่งตนเองไม่เข้าใจ จึงมีความพยายามลากเสียงให้ไปตรงกับภาษาไทยภาคกลาง หรือไม่ก็แปลความหมายอีกทีแล้วใช้คำสันสฤตแทน ซึ่งทำให้ขาดการเชื่อต่อกับที่มาที่ไปในอดีต ผมขอยกตัวอย่างคร่าวๆดังนี้
ภาษามลายู นับว่าเป็นภาษาหลักในดินแดนแถบนี้มาแต่โบราณตลอดทั้งแหลมมลายู หากสังเกตดูชื่อจังหวัดโดยส่วนมากก็เป็นภาษามลายู เช่น กระบี่ = กลูบี แปลว่าต้นลุมพี สตูล แปลว่า ต้นกระท้อน เกาะลิบง มาจาก นิบง แปลว่าต้นหลาวชะโอน ซึ่งน่าจะเป็นไม้เด่นในบริเวณนั้น
ภูเก็ต มาจาก บูกิต (ฺีBukit) หรือ บุเกะ แปลว่าภูเขา ตรงกับลักษณะของเกาะที่มีภูเขาเด่นตรงกลาง
ตรัง มาจาก Terang (เตอรัง) แปลว่า สว่างไสว เนื่องจากสมัยก่อนนักเดินเรือมลายูล่องเรือมาขึ้นมาถึงตรังช่วงเช้าตรูที่เห็นแสงทองขอบฟ้า เลยเรียกว่าเมืองแห่งความสว่างไสว อย่างไรก็ดี บางที่มาระบุว่า มาจากภาษาสันสฤตว่า ตรังค์ แปลว่า คลื่น และทางการยึดในความหมายนี้เลยออกแบบตราประจำจังหวัดให้เป็นท่าเรือมีคลื่น
ในเขตสามจังหวัดชายแดนใต้ ยังมีการเรียกในภาษามลายูมาก แต่หลายๆที่มีการแปลเสียง และลากเสียงไปเ้ป็นภาษาไทยกลางจำนวนมาก เช่น บ้านนาเกตุ ใน จ. ปัตตานี หากดูก็เป็นคำไทย+สกฤต (นา+เกตุ) หากแต่ว่าดังเดิมแล้ว พื้นที่ตรงนี้มีชื่อในภาษามลายูว่า Anak bukit แปลว่า เขาลูกเล็กๆ Anak (อานะ /อานัก/ อาเนาะ) แปลว่าเล็กๆ หรือ เด็กๆ เมื่อทางการเข้ามา เลยลากเสียงเสียเป็นนาเกตุ จากเขา กลายเป็นนา ไปเสีย
รูสะมิแล แปลว่า สนเก้าต้น (รู = สน, สะมิแล = 9)
สุไหงปาดี แปลว่า คลองข้าวเปลือก (สุไหง = คลอง ปาดี = ข้าวเปลือก)
นอกจากนี้ในหลายแห่งทำให้เกิดความผิดใจกันได้เช่น เกาะสุกร ในจังหวัดตรัง เดิมชื่อเกาะยามู ซึ่งยามู แปลว่าต้นฝรั่ง ทางการเข้ามาไม่เข้าใจ เลยลากเสียงเป็น เกาะหมู แล้วทำให้เพราะเข้าไปอีกเป็นเกาะสุกร มาถึงทุกวันนี้ แต่ชาวบ้านบนเกาะ เป็นชาวมุสลิมแทบทั้งเกาะ ก็ลองคิดดูครับว่าชาวบ้านเขาจะรู้สึกอย่างไรบ้าง เปลี่ยนจากต้นฝรั่งมาเป็น หมู??
อีกคำที่พบมากคือสถาที่ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า "ควน" ซึ่งแปลว่า เนินเขา ในภาษามลายู ซึ่งบัดนนี้เป๋็นที่เข้าใจทั่วไปของคนใต้ทั้งหมดตัวอย่างเช่น ควนขนุน ควนเนียง
ภาษาไทย พบได้บ่อยพอพอกัน โดยเฉพาะภาคใต่ตอนบน และในเขตที่มีคนไทยอาศัยแต่ดั้งเดิม ซึ่งอาจจะได้รับอิทธิพลภาษาไทยมากหน่อย โดยชื่อส่วนมากก็อย่างที่บอกไว้เป็น ลักษณะภูมิประเทศเป็นสำคัญ + ชื่อพืชพรรณ โดยมีคำสำคัญ ว่า
ปาก สื่อถึง ปากแม่น้ำ เช่น ปากพนัง ปากนคร
เขา โคก ก็มีพบได้ทั่วไป เช่น โคกโพธิ์ โคกเคียน
นา คำนี้พบมากที่จังหวัดตรัง เคยมีคนรวบรวมไว้คร่าวๆ ก็มากกว่า 20 ชื่อครับ เช่น นาโต๊ะหมิง นาหมื่นศรี นาโยง นาหว้า
ชาวใต้ มีวลีที่เป็นการบ่งบอกถึงชื่อบ้านนามเมืองในภาคใต้ที่เด่นๆดังนี้ครับ "พัทลุงมีดอน นครมีท่า ตรังมีนา สงขลามีบ่อ" ทั้งนี้เพราะจังหวัดเหล่านี้มักมีชื่อสถานที่ หมู่บ้านต่างๆ ตามลักษณะภูมิประเทศนั้นๆครับ
ภาษาสันสฤต เป็นชื่อที่มีการตั้งมาหลังสุดจากคนส่วนกลาง หรือบ้างก็เป็นนามพระราชทาน เช่น สุราษฎร์ธานี เป็นนามที่รัชกาลที่ 6 พระราชทานมา ดั้งเดิมแบนี้เรียกว่าบ้านดอน หรือ นราธิวาส เดิม เป็นชื่อมลายูว่า Menara (เมอนารา) ซึ่งแปลว่ามโนราห์ ทั้งนี้มีเรื่องเล่ากันว่าสมัยที่บริเวณนี้ยังไม่รับอิสลาม จะมีการจัดงานบูชาเทพเจ้าทะเล สำหรับผู้ที่จะะออกทะเล และมีการแสดงมโนราห์เป็นการยิ่งใหญ่ที่ชายหาด เลยเรียกว่าชายหาดมโนราห์ แต่เรียกเป็นสำเนียงมลายู ส่วนคนไทยก็เรียกว่า "บางนรา" อย่างไรก็ดีบางที่มากล่าวว่า ในภาษามลายูมีเสียงใกล้เคียงกับคำที่แปลว่า กระโจมไฟ หรือ หอประภาคาร อีกด้วย
สงขลา หลายที่มีระบุว่า มาจากคำว่า สิงขร ที่แปลว่าภูเขา เนื่องจาก เมื่อคนเดินทางทางทะเล มองมายังสงขลาก็จะเห็นเขาแดงตระหง่านอยู่ เป็นจุดให้สังเกต นอกจากนี้จากราชทินนามของเขจ้าเมืองสงขลาจะมีคำว่า คีรี ประกอบเช่น พระยาวิเชียรคีรี
อย่างไรก็ดีก็มีบ้างที่เป็นชื่อดั้งเดิมเช่น นครศรีธรรมราช เดิมชื่อ ศิริธรรมนคร จะเห็นว่าเป็นภาษาสันสกฤต
ภาษาเขมร เป็นอีกภาษาที่พบได้ในเขตภาคใต้ ทั้งนี้เพราะในอดีตมีการติดต่ออกับเขมรกันโดยเฉพาะด้านวิทยาการ ศาสนา ต่างๆ ดังจะเห็นได้ว่า หนังสือบุด (สมุดไทย สมุดข่อย) ในภาคใต้ จะบันทักกับอักขระขอมแทบทั้งสิ้น และในภาษาพูดในภาษาไทยถิ่นใต้ก็จะปะปนภาษาเขมรด้วยเช่นกัน เช่นคำว่า ขี้เตรย = หญ้าเจ้าชู้, ทวยไยมัน = แมงป่องชนิดเล็ก, มรึก = การดื่ม เป็นต้น ชื่อสถานที่ที่เป็นภาษาเขมร เช่น อ. สทิงพระ ในจังหวัดสงขลา ที่คำว่า สทิง มาจาก จทิง ปัจจุบันคือ สตึง แปลว่า คลอง ดังนั้น สทิงพระ จึงหมายถึงคลองพระ(พุทธรูป) ใกล้ๆกันก็มีชื่อ บ้านจะทิ้งหม้อ มาจาก สทิงถมอ แปลว่า คลองหิน (ถมอ = หิน) เช่นกัน
ความคิดเห็นที่ 8
ตอบที่ภาคเหนือ หลายอำเภอเรียกชื่อตามชื่อแม่น้ำที่ไหลผ่าน ภาคใต้ไม่ทราบครับ แต่ข้ามมาทางภาคอิสาน และ บางท้องที่ ที่ใครเห็นชื่ออะไรแปลกๆ คสต.เข้าใจว่า ทางราชการท่านอยากให้ชื่อไพเราะจึงเปลี่ยนชื่อเขาเฉยเลย และคงไม่ถามความสมัครใจชาวบ้านสักคำ เพราะสมัยนั้นชาวบ้านหือเจ้านาย(ข้าราชการ)ไม่ขึ้น แท้จริงแล้วเป็นทำลายประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
อย่างอำเภอแก่งคอย สระบุรี ชื่อเดิม สุดเท่ห์คือ "แร้งคอย" ในสมัยก่อนคนผ่านป่าดงพญาไฟ(ชื่อเดิม)หลายคนเป็นไข้จับสั่นหรือมาเลเรีย นอนครางฮือๆคลุมโปงพักฟื้นตรง ชุมชนที่เรียกว่า "แร้งคอย" ส่วนแร้งมาคอยทำไมไม่ทราบ เพราะผู้ตอบกระทู้เกิดมาก็ไม่พบ ว่าเมืองไทยมีนกแร้งเหลืออยู่แล้ว ทราบแต่ว่าใครจะผ่านไปทางป่าดงดิบนี้ เขาให้ติดหม้อดิน ใบเล็กๆไปด้วย ไม่ต้องให้เพื่อนวิ่งวุ่นหาใส่กระดูกตัวเองกลับบ้าน อิทธิฤทธิของการเปลี่ยนชื่อคือทำเอาคนรุ่นหลังไม่รู้จักความเป็นมา และประวัติศาสตร์ของท้องที่ นี่คือผลเสียหายในสมัยสร้างรัฐชาติไทยในยุคก่อน
อย่างอำเภอแก่งคอย สระบุรี ชื่อเดิม สุดเท่ห์คือ "แร้งคอย" ในสมัยก่อนคนผ่านป่าดงพญาไฟ(ชื่อเดิม)หลายคนเป็นไข้จับสั่นหรือมาเลเรีย นอนครางฮือๆคลุมโปงพักฟื้นตรง ชุมชนที่เรียกว่า "แร้งคอย" ส่วนแร้งมาคอยทำไมไม่ทราบ เพราะผู้ตอบกระทู้เกิดมาก็ไม่พบ ว่าเมืองไทยมีนกแร้งเหลืออยู่แล้ว ทราบแต่ว่าใครจะผ่านไปทางป่าดงดิบนี้ เขาให้ติดหม้อดิน ใบเล็กๆไปด้วย ไม่ต้องให้เพื่อนวิ่งวุ่นหาใส่กระดูกตัวเองกลับบ้าน อิทธิฤทธิของการเปลี่ยนชื่อคือทำเอาคนรุ่นหลังไม่รู้จักความเป็นมา และประวัติศาสตร์ของท้องที่ นี่คือผลเสียหายในสมัยสร้างรัฐชาติไทยในยุคก่อน
ความคิดเห็นที่ 25
ทางเหนือมีผู้มาตอบแล้วว่ามาจากชื่อแม่น้ำและการเคารพแม่
ทางใต้ ที่เห็นมีชื่อแปลกๆเยอะ เนื่องจากว่าอิทธิพลของภาษามลายู เช่น ภูเก็ต มาจากคำว่าบูกิตที่แปลว่าภูเขา อำเภอกะปง น่าจะมาจากคำว่า กำปง ที่แปลว่าหมู่บ้าน และมีหลายท้องถิ่นครับที่เป็นชื่อภาษาเขมร เช่น ขนอม เนื่องจากว่าแถบภาคใต้ของไทยมีกลุมชาติพันธุ์มอญ-เขมร อยู่มาก่อน จะเห็นได้ว่าจารึกเก่าๆ ของแถบภาคใต้ก็เป็นภาษาเขมร
ทางภาคอีสานนั้นจะเห็นชื่ออำเภอที่ชื่อไพเราะอยู่หลายแห่ง แต่เดิมนั้นบ้านเมืองในแถบภาคอีสานจะเป็นชุมชนเล็กๆ แต่ภายหลังในสมัยรัตนโกสินทร์ที่กรุงเทพขยายอำนาจเข้าไป เจ้าเมืองเดิมก็ได้มาขอสวามิภักดิ์และทางกรุงเทพก็จะแต่งตั้งเป็นเจ้าเมือง โดยตั้งชื่อเมืองขึ้นใหม่ ดังนั้นแต่ละเมืองจึงมีชื่อที่อลังการโดยเฉพาะในแถบ อุบล ยโสธร ร้อยเอ็ด ส่วนตัวชอบชื่ออำเภอ อากาศอำนวย
ประวัติการตั้งเมืองต่างๆในภาคอีสาน
ก่อนกรุงรัตนโกสินทร์
ยกบ้านทุ่งบัวศรีเป็นเมือง ขนานนามว่าเป็น เมืองศรีจำบัง
เปลี่ยนนาม นครกาละจำบากนาคบุรีศรี เป็น นครจำปาศักดิ์นัคบุรีศรี
ยก บ้านดอนโขง ขึ้นเป็น เมืองโขง
ยก บ้านเมืองทง ขึ้นเป็น เมืองสุวรรณภูมิ(เก่า)
ยก เมืองโสกเมืองซุงหรือบ้านทุ่งอิ้ดกระบือ ขึ้นเป็น เมืองอัตปือ
ยก บ้านปราสาทสี่เหลี่ยมดงลำดวน ขึ้นเป็น เมืองขุขันธ์ เจ้าเมืองที่ พระไกรภักดีศรีนครลำดวน
ยก บ้านโคกอัดจะหรือบ้านดงยาง ขึ้นเป็น เมืองสังฆะ เจ้าเมืองที่ พระสังฆะบุรีศรีนครอัดจะ
ยก บ้านคูปะทาย ขึ้นเป็น เมืองปะทายสมัน เจ้าเมืองที่ พระสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง
(ต่อมาใช้ชื่อเจ้าเมืองเป็นชื่อเมือง)
ยก บ้านกุดหวายหรือบ้านเมืองเตา ขึ้นเป็น เมืองรัตนบุรี เจ้าเมืองที่ พระศรีนครเตา
ยก ดงเท้าสาร ขึ้นเป็น เมืองสุววรณภูมิ
ยก บ้านกุ่ม ขึ้นเป็น เมืองร้อยเอ็ด เจ้าเมืองที่ พระขัตติยวงศา
..........................................................................
แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
ยก บ้านโนนสามขาสระกำแพง ขึ้นเป็น เมืองศรีสระเกศ เจ้าเมืองที่ พระยารัตนวงศา
ยก บ้านหางโค ขึ้นเป็น เมืองเชียงแตง เจ้าเมืองที่ พระอุดมเดช
บ้านริมหนองหารยกขึ้นเป็น เมืองหนองหาร เจ้าเมืองที่ พระพิทักษ์เขื่อนขันธ์
ยก บ้านห้วยแจละแม ขึ้นเป็น เมืองอุบลราชธานี เจ้าเมือง(คนแรก)ที่ พระประทุมสุรราช
ยก บ้านหนองแก้ว ขึ้นเป็น เมืองชนบท เจ้าเมืองที่ พระประจันตประเทศ
ยก บ้านแก่งสำโรง ขึ้นเป็น เมืองกาฬสินธุ์ เจ้าเมืองที่ พระไชยสุนทร
ยก บ้านบึงบอน ขึ้นเป็น เมืองข่อนแก่น เจ้าเมืองที่ พระนครบริรักษ์
ยกบ้านปางตาขึ้นเป็น เมืองแสนปาง เจ้าเมืองที่ พระศรีมหาเทพ
ยก บ้านหมากเฟือง บ้านหนองหัวแรด ขึ้นเป็น เมืองพุดไทยสง เจ้าเมืองที่ พระเสนาสงคราม
ยก บ้านส้มป่อยนายอน ขึ้นเป็น เมืองสพาด
..........................................................................
แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ยก บ้านสิงทา ขึ้นเป็น เมืองยโสธร เจ้าเมืองที่ พระสุนทรวงศา
ยก บ้านโคกกงพะเนียง ขึ้นเป็น เมืองเขมราษฎร์ธานี เจ้าเมืองที่ พระเทพวงศา
ยก บ้านนาค่อ ขึ้นเป็น เมืองโขงเจียง เจ้าเมืองที่ พระกำแหงสงคราม
ยก บ้านช่างคู ขึ้นเป็น เมืองเสมียะ
..........................................................................
แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ยก เมืองโขงที่เกาะในแม่น้ำโขง ขึ้นเป็น เมืองสัทันดร เจ้าเมืองที่ พระอภัยราชวงศา
ยก เมืองคำทองหลวง ขึ้นเป็น เมืองคำทองใหญ่ เจ้าเมืองที่ พระสุวรรณราชา
ยก เมืองมั่นหรือบ้านโพน ขึ้นเป็น เมืองสาละวัน เจ้าเมืองที่ พระเอกราชา
ยก บ้านแก่งน้อย ขึ้นเป็น เมืองคำทองน้อย เจ้าเมืองที่ พระพุทธพรหมวงศา
เมืองสกล
เมืองวานรนิวาส
เมืองเรณูนคร
เมืองท่าอุเทน
ยก บ้านภูแล่นช้าง ขึ้นเป็น เมืองภูแล่นช้าง เจ้าเมืองที่ พระพิไชยอุดมเดช
ยก บ้านท่าขอนยาง ขึ้นเป็น เมืองท่าขอนยาง เจ้าเมืองที่ พระสุวรรณภักดี
ยก บ้านบึงกระดาน ขึ้นเป็น เมืองแซงบาดาล เจ้าเมืองที่ พระศรีสุวรรณ
ยก บ้านกุดฉิมนารายณ์ ขึ้นเป็น เมืองกุดฉิมนารายณ์ เจ้าเมืองที่ พระธิเบศร์วงศา
ยก บ้านช่องนาง ขึ้นเป็น เมืองเสนางคนิคม เจ้าเมืองที่ พระศรีสินธุสงคราม
ยก บ้านน้ำโดมใหญ่ ขึ้นเป็น เมืองเดชอุดม เจ้าเมืองที่ พระศรีสุระ
ยก บ้านท่ากะสัง ขึ้นเป็น เมืองเซลำเภา เจ้าเมืองที่ พระณรงค์ภักดี
ยก บ้านห้วยทราย ขึ้นเป็น เมืองโพนทอง เจ้าเมืองที่ พระอินทรศรีเชียงใหม่
ยก บ้านไพรตระหมักหรือบ้านสีดา ขึ้นเป็น เมืองมโนไพร เจ้าเมืองที่ พระมโนจำนง
ยก บ้านคำเมืองแก้ว ขึ้นเป็น เมืองคำเขื่อนแก้ว เจ้าเมืองที่ พระรามนรินทร์
ยก บ้านดงกระชุหรือบ้านไร่ ขึ้นเป็น เมืองบัว เจ้าเมืองที่ พระอภัยธิเบศร์วิเศษสงคราม
..........................................................................
แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ยก บ้านค้อใหญ่ ขึ้นเป็น เมืองอำนาจเจริญ เจ้าเมืองที่ พระอมรอำนาจ
ยก บ้านกว้างลำชะโด ขึ้นเป็น เมืองพิบูลย์มังสาหาร เจ้าเมืองที่ พระบำรุงราษฎร
ยก บ้านสะพือ ขึ้นเป็น เมืองตระการพืชผล เจ้าเมืองที่ พระอมรดลใจ
ยก บ้านเวินไชย ขึ้นเป็น เมืองมหาชนะไชย เจ้าเมืองที่ พระเรืองไชยชนะ
ยก บ้านคันซมซัว ขึ้นเป็น เมืองนครเพ็ง
ยก บ้านลาดกุดยางใหญ่ ขึ้นเป็น เมืองมหาสารคาม เจ้าเมืองที่ พระเจริญราชเดช
ยก บ้านด่านสองยาง ขึ้นเป็น เมืองกุสุมาลย์มณฑล เจ้าเมืองที่ พระนรินทรภักดีศรีสิทธิสงคราม
ยก บ้านสระบัวดงมะขามเฒ่า ขึ้นเป็น เมืองกมลาศัย เจ้าเมืองที่ พระราษฎรบริหาร
ยก บ้านพันลำ ขึ้นเป็น เมืองสหัสขันธ์ เจ้าเมืองที่ พระประชาชนบาล
ยก บ้านกันตวดห้วยอุทุมพร ขึ้นเป็น เมืองอุทุมพรพิสัย เจ้าเมืองที่ พระอุทุมพรเทศานุรักษ์
ยก ตำบลห้วยลำแสนไพรอาบาล กับบ้านห้วยอาบาล ขึ้นเป็น เมืองกันทรลักษณ์ เจ้าเมืองที่ พระกันทรลักษณบาล
..........................................................................
แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ยก บ้านกุดประไทยหรือบ้านจารพัด ขึ้นเเป็น เมืองสีขรภูมิพิสัย เจ้าเมืองที่ พระศรีขรภูมานุรักษ์
ยก บ้านโส้งใหญ่ ขึ้นเป็น เมืองสุวรรณคิรี เจ้าเมืองที่ พระสุริยวงศา
ยก บ้านบึงจวง ขึ้นเป็น เมืองวาปีไพรบูรณ์ เจ้าเมืองที่ พระพิศาลสุรเดช
ยก บ้านลำดวน ขึ้นเป็น เมืองสุรพินทนิคม เจ้าเมืองที่ พระสุรพินทนิคมานุรักษ์
ยก บ้านแก่งไม้เฮียะ ขึ้นเป็น เมืองมธุรศาผล เจ้าเมืองที่ พระจันทร์ศรีสุราช
ยก บ้านบ้านท่าคาหรือบ้านทุ่งบัวสีศิริจำปัง(เก่า) ขึ้นเป็น เมืองอุทุมธารา เจ้าเมืองที่ พระสุริยวงศา
ยก บ้านลำพุก ขึ้นเป็น เมืองกันทรารมย์ เจ้าเมืองที่พระกันทรานุรักษ์
ยก บ้านดอนเสาโรง ขึ้นเป็น เมืองเกษตรวิสัย เจ้าเมืองที่ พระศรีเกษตราธิไชย
ยก บ้านโป่ง ขึ้นเป็น เมืองพนมไพรแดนมฤก เจ้าเมืองที่ พระดำรงฤทธิไกร
ยก บ้านห้วยหินห้วยโก ขึ้นเป็น เมืองสพังภูผา เจ้าเมืองที่ พระราชฤทธิบริรักษ์
ยก บ้านเมืองเสือ ขึ้นเป็น เมืองพยัคฆภูมิพิสัย เจ้าเมืองที่ พระศรีสุวรรณวงศา
ยก บ้านบึงโดน ขึ้นเป็น เมืองเสลภูมินิคม เจ้าเมืองที่ พระนิคมบริรักษ์
ยก บ้านท่ายักขุ ขึ้นเป็น เมืองชาณุมานมณฑล เจ้าเมืองที่ พระผจญจัตุรงค์
ยก บ้านเผลา ขึ้นเป็น เมืองพนานิคม เจ้าเมืองที่ พระจันทรวงศา
ยก บ้านกอนจอ ขึ้นเป็น เมืองวารินชำราบ เจ้าเมืองที่ พระกำจรจตุรงค์
ยก บ้านเสาธง ขึ้นเป็น เมืองธวัชบุรี เจ้าเมืองที่ พระธำนงไชยธวัช
ยก บ้านจาร ขึ้นเป็น เมืองมูลปาโมกข์ เจ้าเมืองที่ พระวงศาสุรเดช
ยก บ้านจันลานาโดม ขึ้นเป็น เมืองโดมประดิษฐ์ เจ้าเมืองที่ พระดำรงสุริยเดช
ยก บ้านน้ำคำแก่งเสร็จ ขึ้นเป็น เมืองสูตวารี
ยก บ้านโนนหินกอง ขึ้นเป็น เมืองราษีไสล เจ้าเมืองที่ พระผจญปัจนึก
ยก บ้านที่ ขึ้นเป็น เมืองเกษมสิมา เจ้าเมืองที่ พระพิชัยชาญณรงค์
ยก บ้านทัพค่าย ขึ้นเป็น เมืองชุมพลบุรี เจ้าเมืองที่ พระฤทธิรณยุทธ
ยก บ้านหงส์ ขึ้นเป็น เมืองจัตุรพักตร์พิมาน เจ้าเมืองที่ พระธาดาอำนวย
ยก บ้านนาเลา ขึ้นเป็น เมืองวาปีปทุม เจ้าเมืองที่ พระพิทักษ์นรากร
ยก บ้านวังทาหอขวาง ขึ้นเป็น เมืองโกสุมพิสัย เจ้าเมืองที่ พระสุนทรพิพิธ
ยก บ้านเวินฆ้อง(เซลำเภา(เก่า)) ขึ้นเป็น เมืองธาราบริรักษ์ เจ้าเมืองที่ พระภักดีศรีสิทธิสงคราม
เมือง กันทรวิชัย เจ้าเมืองที่ พระปทุมวิเศษ
เพิ่มเติมจากด้านบนครับ
บริเวณที่น้ำไหลมาบรรจบ ภาคเหนือจะเรียกว่าสบ เช่น สบตุ๋ย สบรวก
แต่ทางภาคกลาง อีสาน ใต้ จะเรียกว่าปาก เช่น อำเภอปากคาด จังหวัดบึงกาฬ อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ปากน้ำโพ ที่นครสวรรค์
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=rattanakosin225&month=26-03-2007&group=2&gblog=50
ทางใต้ ที่เห็นมีชื่อแปลกๆเยอะ เนื่องจากว่าอิทธิพลของภาษามลายู เช่น ภูเก็ต มาจากคำว่าบูกิตที่แปลว่าภูเขา อำเภอกะปง น่าจะมาจากคำว่า กำปง ที่แปลว่าหมู่บ้าน และมีหลายท้องถิ่นครับที่เป็นชื่อภาษาเขมร เช่น ขนอม เนื่องจากว่าแถบภาคใต้ของไทยมีกลุมชาติพันธุ์มอญ-เขมร อยู่มาก่อน จะเห็นได้ว่าจารึกเก่าๆ ของแถบภาคใต้ก็เป็นภาษาเขมร
ทางภาคอีสานนั้นจะเห็นชื่ออำเภอที่ชื่อไพเราะอยู่หลายแห่ง แต่เดิมนั้นบ้านเมืองในแถบภาคอีสานจะเป็นชุมชนเล็กๆ แต่ภายหลังในสมัยรัตนโกสินทร์ที่กรุงเทพขยายอำนาจเข้าไป เจ้าเมืองเดิมก็ได้มาขอสวามิภักดิ์และทางกรุงเทพก็จะแต่งตั้งเป็นเจ้าเมือง โดยตั้งชื่อเมืองขึ้นใหม่ ดังนั้นแต่ละเมืองจึงมีชื่อที่อลังการโดยเฉพาะในแถบ อุบล ยโสธร ร้อยเอ็ด ส่วนตัวชอบชื่ออำเภอ อากาศอำนวย
ประวัติการตั้งเมืองต่างๆในภาคอีสาน
ก่อนกรุงรัตนโกสินทร์
ยกบ้านทุ่งบัวศรีเป็นเมือง ขนานนามว่าเป็น เมืองศรีจำบัง
เปลี่ยนนาม นครกาละจำบากนาคบุรีศรี เป็น นครจำปาศักดิ์นัคบุรีศรี
ยก บ้านดอนโขง ขึ้นเป็น เมืองโขง
ยก บ้านเมืองทง ขึ้นเป็น เมืองสุวรรณภูมิ(เก่า)
ยก เมืองโสกเมืองซุงหรือบ้านทุ่งอิ้ดกระบือ ขึ้นเป็น เมืองอัตปือ
ยก บ้านปราสาทสี่เหลี่ยมดงลำดวน ขึ้นเป็น เมืองขุขันธ์ เจ้าเมืองที่ พระไกรภักดีศรีนครลำดวน
ยก บ้านโคกอัดจะหรือบ้านดงยาง ขึ้นเป็น เมืองสังฆะ เจ้าเมืองที่ พระสังฆะบุรีศรีนครอัดจะ
ยก บ้านคูปะทาย ขึ้นเป็น เมืองปะทายสมัน เจ้าเมืองที่ พระสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง
(ต่อมาใช้ชื่อเจ้าเมืองเป็นชื่อเมือง)
ยก บ้านกุดหวายหรือบ้านเมืองเตา ขึ้นเป็น เมืองรัตนบุรี เจ้าเมืองที่ พระศรีนครเตา
ยก ดงเท้าสาร ขึ้นเป็น เมืองสุววรณภูมิ
ยก บ้านกุ่ม ขึ้นเป็น เมืองร้อยเอ็ด เจ้าเมืองที่ พระขัตติยวงศา
..........................................................................
แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
ยก บ้านโนนสามขาสระกำแพง ขึ้นเป็น เมืองศรีสระเกศ เจ้าเมืองที่ พระยารัตนวงศา
ยก บ้านหางโค ขึ้นเป็น เมืองเชียงแตง เจ้าเมืองที่ พระอุดมเดช
บ้านริมหนองหารยกขึ้นเป็น เมืองหนองหาร เจ้าเมืองที่ พระพิทักษ์เขื่อนขันธ์
ยก บ้านห้วยแจละแม ขึ้นเป็น เมืองอุบลราชธานี เจ้าเมือง(คนแรก)ที่ พระประทุมสุรราช
ยก บ้านหนองแก้ว ขึ้นเป็น เมืองชนบท เจ้าเมืองที่ พระประจันตประเทศ
ยก บ้านแก่งสำโรง ขึ้นเป็น เมืองกาฬสินธุ์ เจ้าเมืองที่ พระไชยสุนทร
ยก บ้านบึงบอน ขึ้นเป็น เมืองข่อนแก่น เจ้าเมืองที่ พระนครบริรักษ์
ยกบ้านปางตาขึ้นเป็น เมืองแสนปาง เจ้าเมืองที่ พระศรีมหาเทพ
ยก บ้านหมากเฟือง บ้านหนองหัวแรด ขึ้นเป็น เมืองพุดไทยสง เจ้าเมืองที่ พระเสนาสงคราม
ยก บ้านส้มป่อยนายอน ขึ้นเป็น เมืองสพาด
..........................................................................
แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ยก บ้านสิงทา ขึ้นเป็น เมืองยโสธร เจ้าเมืองที่ พระสุนทรวงศา
ยก บ้านโคกกงพะเนียง ขึ้นเป็น เมืองเขมราษฎร์ธานี เจ้าเมืองที่ พระเทพวงศา
ยก บ้านนาค่อ ขึ้นเป็น เมืองโขงเจียง เจ้าเมืองที่ พระกำแหงสงคราม
ยก บ้านช่างคู ขึ้นเป็น เมืองเสมียะ
..........................................................................
แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ยก เมืองโขงที่เกาะในแม่น้ำโขง ขึ้นเป็น เมืองสัทันดร เจ้าเมืองที่ พระอภัยราชวงศา
ยก เมืองคำทองหลวง ขึ้นเป็น เมืองคำทองใหญ่ เจ้าเมืองที่ พระสุวรรณราชา
ยก เมืองมั่นหรือบ้านโพน ขึ้นเป็น เมืองสาละวัน เจ้าเมืองที่ พระเอกราชา
ยก บ้านแก่งน้อย ขึ้นเป็น เมืองคำทองน้อย เจ้าเมืองที่ พระพุทธพรหมวงศา
เมืองสกล
เมืองวานรนิวาส
เมืองเรณูนคร
เมืองท่าอุเทน
ยก บ้านภูแล่นช้าง ขึ้นเป็น เมืองภูแล่นช้าง เจ้าเมืองที่ พระพิไชยอุดมเดช
ยก บ้านท่าขอนยาง ขึ้นเป็น เมืองท่าขอนยาง เจ้าเมืองที่ พระสุวรรณภักดี
ยก บ้านบึงกระดาน ขึ้นเป็น เมืองแซงบาดาล เจ้าเมืองที่ พระศรีสุวรรณ
ยก บ้านกุดฉิมนารายณ์ ขึ้นเป็น เมืองกุดฉิมนารายณ์ เจ้าเมืองที่ พระธิเบศร์วงศา
ยก บ้านช่องนาง ขึ้นเป็น เมืองเสนางคนิคม เจ้าเมืองที่ พระศรีสินธุสงคราม
ยก บ้านน้ำโดมใหญ่ ขึ้นเป็น เมืองเดชอุดม เจ้าเมืองที่ พระศรีสุระ
ยก บ้านท่ากะสัง ขึ้นเป็น เมืองเซลำเภา เจ้าเมืองที่ พระณรงค์ภักดี
ยก บ้านห้วยทราย ขึ้นเป็น เมืองโพนทอง เจ้าเมืองที่ พระอินทรศรีเชียงใหม่
ยก บ้านไพรตระหมักหรือบ้านสีดา ขึ้นเป็น เมืองมโนไพร เจ้าเมืองที่ พระมโนจำนง
ยก บ้านคำเมืองแก้ว ขึ้นเป็น เมืองคำเขื่อนแก้ว เจ้าเมืองที่ พระรามนรินทร์
ยก บ้านดงกระชุหรือบ้านไร่ ขึ้นเป็น เมืองบัว เจ้าเมืองที่ พระอภัยธิเบศร์วิเศษสงคราม
..........................................................................
แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ยก บ้านค้อใหญ่ ขึ้นเป็น เมืองอำนาจเจริญ เจ้าเมืองที่ พระอมรอำนาจ
ยก บ้านกว้างลำชะโด ขึ้นเป็น เมืองพิบูลย์มังสาหาร เจ้าเมืองที่ พระบำรุงราษฎร
ยก บ้านสะพือ ขึ้นเป็น เมืองตระการพืชผล เจ้าเมืองที่ พระอมรดลใจ
ยก บ้านเวินไชย ขึ้นเป็น เมืองมหาชนะไชย เจ้าเมืองที่ พระเรืองไชยชนะ
ยก บ้านคันซมซัว ขึ้นเป็น เมืองนครเพ็ง
ยก บ้านลาดกุดยางใหญ่ ขึ้นเป็น เมืองมหาสารคาม เจ้าเมืองที่ พระเจริญราชเดช
ยก บ้านด่านสองยาง ขึ้นเป็น เมืองกุสุมาลย์มณฑล เจ้าเมืองที่ พระนรินทรภักดีศรีสิทธิสงคราม
ยก บ้านสระบัวดงมะขามเฒ่า ขึ้นเป็น เมืองกมลาศัย เจ้าเมืองที่ พระราษฎรบริหาร
ยก บ้านพันลำ ขึ้นเป็น เมืองสหัสขันธ์ เจ้าเมืองที่ พระประชาชนบาล
ยก บ้านกันตวดห้วยอุทุมพร ขึ้นเป็น เมืองอุทุมพรพิสัย เจ้าเมืองที่ พระอุทุมพรเทศานุรักษ์
ยก ตำบลห้วยลำแสนไพรอาบาล กับบ้านห้วยอาบาล ขึ้นเป็น เมืองกันทรลักษณ์ เจ้าเมืองที่ พระกันทรลักษณบาล
..........................................................................
แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ยก บ้านกุดประไทยหรือบ้านจารพัด ขึ้นเเป็น เมืองสีขรภูมิพิสัย เจ้าเมืองที่ พระศรีขรภูมานุรักษ์
ยก บ้านโส้งใหญ่ ขึ้นเป็น เมืองสุวรรณคิรี เจ้าเมืองที่ พระสุริยวงศา
ยก บ้านบึงจวง ขึ้นเป็น เมืองวาปีไพรบูรณ์ เจ้าเมืองที่ พระพิศาลสุรเดช
ยก บ้านลำดวน ขึ้นเป็น เมืองสุรพินทนิคม เจ้าเมืองที่ พระสุรพินทนิคมานุรักษ์
ยก บ้านแก่งไม้เฮียะ ขึ้นเป็น เมืองมธุรศาผล เจ้าเมืองที่ พระจันทร์ศรีสุราช
ยก บ้านบ้านท่าคาหรือบ้านทุ่งบัวสีศิริจำปัง(เก่า) ขึ้นเป็น เมืองอุทุมธารา เจ้าเมืองที่ พระสุริยวงศา
ยก บ้านลำพุก ขึ้นเป็น เมืองกันทรารมย์ เจ้าเมืองที่พระกันทรานุรักษ์
ยก บ้านดอนเสาโรง ขึ้นเป็น เมืองเกษตรวิสัย เจ้าเมืองที่ พระศรีเกษตราธิไชย
ยก บ้านโป่ง ขึ้นเป็น เมืองพนมไพรแดนมฤก เจ้าเมืองที่ พระดำรงฤทธิไกร
ยก บ้านห้วยหินห้วยโก ขึ้นเป็น เมืองสพังภูผา เจ้าเมืองที่ พระราชฤทธิบริรักษ์
ยก บ้านเมืองเสือ ขึ้นเป็น เมืองพยัคฆภูมิพิสัย เจ้าเมืองที่ พระศรีสุวรรณวงศา
ยก บ้านบึงโดน ขึ้นเป็น เมืองเสลภูมินิคม เจ้าเมืองที่ พระนิคมบริรักษ์
ยก บ้านท่ายักขุ ขึ้นเป็น เมืองชาณุมานมณฑล เจ้าเมืองที่ พระผจญจัตุรงค์
ยก บ้านเผลา ขึ้นเป็น เมืองพนานิคม เจ้าเมืองที่ พระจันทรวงศา
ยก บ้านกอนจอ ขึ้นเป็น เมืองวารินชำราบ เจ้าเมืองที่ พระกำจรจตุรงค์
ยก บ้านเสาธง ขึ้นเป็น เมืองธวัชบุรี เจ้าเมืองที่ พระธำนงไชยธวัช
ยก บ้านจาร ขึ้นเป็น เมืองมูลปาโมกข์ เจ้าเมืองที่ พระวงศาสุรเดช
ยก บ้านจันลานาโดม ขึ้นเป็น เมืองโดมประดิษฐ์ เจ้าเมืองที่ พระดำรงสุริยเดช
ยก บ้านน้ำคำแก่งเสร็จ ขึ้นเป็น เมืองสูตวารี
ยก บ้านโนนหินกอง ขึ้นเป็น เมืองราษีไสล เจ้าเมืองที่ พระผจญปัจนึก
ยก บ้านที่ ขึ้นเป็น เมืองเกษมสิมา เจ้าเมืองที่ พระพิชัยชาญณรงค์
ยก บ้านทัพค่าย ขึ้นเป็น เมืองชุมพลบุรี เจ้าเมืองที่ พระฤทธิรณยุทธ
ยก บ้านหงส์ ขึ้นเป็น เมืองจัตุรพักตร์พิมาน เจ้าเมืองที่ พระธาดาอำนวย
ยก บ้านนาเลา ขึ้นเป็น เมืองวาปีปทุม เจ้าเมืองที่ พระพิทักษ์นรากร
ยก บ้านวังทาหอขวาง ขึ้นเป็น เมืองโกสุมพิสัย เจ้าเมืองที่ พระสุนทรพิพิธ
ยก บ้านเวินฆ้อง(เซลำเภา(เก่า)) ขึ้นเป็น เมืองธาราบริรักษ์ เจ้าเมืองที่ พระภักดีศรีสิทธิสงคราม
เมือง กันทรวิชัย เจ้าเมืองที่ พระปทุมวิเศษ
เพิ่มเติมจากด้านบนครับ
บริเวณที่น้ำไหลมาบรรจบ ภาคเหนือจะเรียกว่าสบ เช่น สบตุ๋ย สบรวก
แต่ทางภาคกลาง อีสาน ใต้ จะเรียกว่าปาก เช่น อำเภอปากคาด จังหวัดบึงกาฬ อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ปากน้ำโพ ที่นครสวรรค์
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=rattanakosin225&month=26-03-2007&group=2&gblog=50
ความคิดเห็นที่ 16
ชื่อทางอิสานน่ะ ส่วนกลางไปตั้งให้ครับ เลยฟังดูอลังการ บางอันก็ดูมั่วๆเว่อๆเกินไป ชื่อเดิมดูจะสื่อความหมายมากกว่า
จตุรพักตร์พิมาน --เดิมชื่อเมืองหงส์ ตั้งซะเว่อเชียว เป็นพาหะนะของท้าวจตุรพักตร์ (พระพรหม)
สุวรรณภูมิ -- เดิมชื่อเมืองท่ง (ทุ่ง)
วานรนิวาส -- เดิมชื่อ กุดลิง
กาฬสินธุ์ -- เมืองน้ำดำ
กุฉินารายณ์ --เมืองบัวขาว
พยัคฆภูมิพิสัย --เมืองเสือ
พิบูลมังสาหาร- บ้านกว้างลำชะโด
จตุรพักตร์พิมาน --เดิมชื่อเมืองหงส์ ตั้งซะเว่อเชียว เป็นพาหะนะของท้าวจตุรพักตร์ (พระพรหม)
สุวรรณภูมิ -- เดิมชื่อเมืองท่ง (ทุ่ง)
วานรนิวาส -- เดิมชื่อ กุดลิง
กาฬสินธุ์ -- เมืองน้ำดำ
กุฉินารายณ์ --เมืองบัวขาว
พยัคฆภูมิพิสัย --เมืองเสือ
พิบูลมังสาหาร- บ้านกว้างลำชะโด
ความคิดเห็นที่ 23
ทางอีสานมีชื่อธรรมดาก็เยอะนะครับ แต่คนอาจจะไม่โฟกัส
เช่น ภูเวียง ภูเรือ ภูสิงห์ ภูเขียว
โนนดินแดง โนนไทย โนนสุวรรณ โนนคูณ โนนนารายณ์ โนนแดง โนนศิลา โนนสูง
น้ำยืน น้ำขุ่น น้ำเกลี้ยง ห้วยทับทัน ห้วยแถลง ลำปลายมาศ สำโรงทาบ
คำชะอี บ้านไผ่ บ้านผือ บ้านแฮด บ้านใหม่ไชยพจน์ บ้านแพง หนองสูง หนองหาน หนองหิน หนองฮี หนองเรือ หนองนาคำ หนองหงส์ หนองบุญมาก
นาเยีย นายูง นาตาล นาวัง นาแก นาหว้า นาทม วังน้ำเขียว วังยาง วังหิน เหล่าเสือโก้ก หัวตะพาน
ฯลฯ
เช่น ภูเวียง ภูเรือ ภูสิงห์ ภูเขียว
โนนดินแดง โนนไทย โนนสุวรรณ โนนคูณ โนนนารายณ์ โนนแดง โนนศิลา โนนสูง
น้ำยืน น้ำขุ่น น้ำเกลี้ยง ห้วยทับทัน ห้วยแถลง ลำปลายมาศ สำโรงทาบ
คำชะอี บ้านไผ่ บ้านผือ บ้านแฮด บ้านใหม่ไชยพจน์ บ้านแพง หนองสูง หนองหาน หนองหิน หนองฮี หนองเรือ หนองนาคำ หนองหงส์ หนองบุญมาก
นาเยีย นายูง นาตาล นาวัง นาแก นาหว้า นาทม วังน้ำเขียว วังยาง วังหิน เหล่าเสือโก้ก หัวตะพาน
ฯลฯ
แสดงความคิดเห็น
ทำไม ชื่ออำเภอทางเหนือ ต้องมีคำว่า "แม่" นำหน้าคะ ส่วนชื่อทางใต้ และทางอิสานมักจะ...
ทางใต้ ชื่อก้อจะแปลกไปอีกแบบ เช่น มะนัง ละงู ระโนด ปะเหลียน สิเกา กะปง กะเปอร์ ฉวาง พิปูน ขนอม พะโต๊ะ ละแม ละอุ่น จะนะ กงหรา ตะโหมด ชะอวด สวี ปะทิว กะทู้ ถลาง สมุย พะงัน สิชล พุนพิน นบพิตำ ฯลฯ มันมีที่มาจากอะไรซะส่วนใหญ่ ฟังดูเหมือนไม่ใช่ภาษาไทยเลยค่ะ คล้ายภาษาขแมร์
ส่วนทางอิสาน ทำไมมีแต่ชื่อเพราะๆ เช่น กันทรวิชัย จตุรพักตร์พิมาน พิบูลมังสาหาร ปทุมราชวงศา วาริชภูมิ พรรณานิคม อุทุมพรพิสัย พุทไธสง กุสุมาลย์ ชานุมาน กุฉินารายณ์ สหัสขันธ์ มัญจาคีรี เสนางคนิคม รัตนวาปี กุมภวาปี ราษีไศล ภักดีชุมพล บำเหน็จณรงค์ เรณูนคร มหาชนะชัย เบญจลักษณ์ เอราวัณ พิบูลย์รักษ์ กมลาไสย สุวรรณคูหา ศรีวิไล นิคมคำสร้อย ลืออำนาจ ฯลฯ เหมือนเพิ่งมาตั้งให้เพราะขึ้น ให้มีความหมาย ดูอลังการ
โดยรวมแล้ว ความแตกต่างกันนี้ มีที่มาจากอะไร