“นโยบายจำนำข้าว” ในมุมมอง “ธนินท์ เจียรวนนท์”

“ชาวนาได้ประโยชน์ ประเทศชาติต้องได้ประโยชน์” นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เปิดเผยในรายการ “คุยจริงใจสไตล์หมอชัย” สถานีโทรทัศน์ TNN 24 เกี่ยวกับการปฏิรูปเศรษฐกิจไทย ในประเด็นเรื่อง “นโยบายรับจำนำข้าว” โดยมีความเห็นว่าเป็นนโยบายที่ทำให้ชาวนาได้ประโยชน์ เพราะประเทศไทยชาวนาเป็นกระดูกสันหลังของชาติ ประเทศที่ร่ำรวยทุกประเทศให้การสนับสนุนชาวนาเต็มที่ ยกตัวอย่างประเทศญี่ปุ่นให้การสนับสนุนชาวนาเต็มที่ แถมยังทุ่มงบประมาณส่วนหนึ่งสร้างชาวนารุ่นใหม่ด้วย ชาวนาญี่ปุ่นจึงได้ชื่อว่าเป็นชาวนาที่ร่ำรวยที่สุด

ถ้าประเทศปล่อยให้ชาวนาซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศยากจน โดยกดราคาสินค้าเกษตร ประเทศชาติก็จะยากจนโดยเฉพาะข้าว เพราะเท่ากับไปกดทรัพย์สมบัติของชาติให้ราคาต่ำลง เอาคนจนในชนบทมาช่วยคนจนในเมือง ประเทศชาติก็ยากจนไปด้วย อย่างไรก็ตามหลายคนกังวลว่า ถ้าราคาข้าวสูงขึ้น คนในเมืองจะต้องกินข้าวราคาแพงขึ้น ค่าครองชีพจะสูงขึ้น ทำให้ค่าแรงแพง นักลงทุนจะไม่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย ความคิดลักษณะนี้ใช้ไม่ได้แล้วในยุคปัจจุบัน คนไทยต้องพัฒนาเป็นแรงงานฝีมือ เพื่อรับค่าแรงที่สูงขึ้น

“ผมสนับสนุนค่าแรงงานขั้นต่ำ 300 บาทมาตลอด แม้ว่าไม่ขึ้นค่าแรง 300 บาท สินค้าก็ปรับราคาขึ้นอยู่แล้วเพราะมีปัจจัยมากมายในโลกที่ทำให้สินค้ามีราคาสูงขึ้น แต่ถ้าไม่มีการปรับค่าแรงก็เท่ากับใช้ทฤษฏีสองต่ำในการบริหารประเทศ สุดท้ายก็ไม่มีใครผลิต ไม่มีใครปลูก สุดท้ายก็หัวใจวาย เพราะประชาชนไม่มีกำลังซื้อ รัฐบาลก็ไม่สามารถเก็บภาษีได้” นายธนินท์ กล่าวต่อไปว่า ประเทศไทยต้องเรียนรู้จากไต้หวัน ญี่ปุ่น ยุโรป ประเทศที่เจริญแล้วทุกประเทศจะปกป้องไม่ให้สินค้าเกษตรของเขาตกต่ำ ยกตัวอย่างอเมริกา ครั้งหนึ่งเราเคยจะเอากุ้งไปขาย รัฐบาลอเมริกาสั่งห้ามนำเข้าหรือขึ้นภาษีทันที เพราะทำให้คนเลี้ยงกุ้งและคนจับกุ้งในอเมริกาเสียหาย

การปกป้องสินค้าเกษตรของแต่ละประเทศเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้สมาชิกองค์การการค้าโลก( WTO) ไม่สามารถหาข้อสรุปในเรื่องของสินค้าเกษตรร่วมกันได้ เพราะทุกประเทศต่างปกป้องราคาสินค้าเกษตรของตัวเองให้มีราคาสูง ชาวนาของเขาจึงร่ำรวย มีรถยนต์ขับ ส่งลูกหลานเรียนในระดับที่สูงๆ ได้ ในเรื่องการจำนำข้าว หรือการประกันราคาข้าวนั้น อย่าเปรียบเทียบว่านโยบายใดดีกว่ากัน แต่ต้องไปถามชาวนา “ผมเป็นพ่อค้าข้าว ผมขาดทุน เพราะซื้อแพง แล้วไปขายแพงเป็นเรื่องที่ยาก มนุษย์ชอบซื้อถูก ขายถูก แต่ประเทศชาติเสียหาย ทรัพย์สมบัติของชาติหายไป วันนี้เราต้องเอาพลังทั้งหมดที่มี ทั้งนักวิชาการ สื่อสารมวลชน มาช่วยกันดูว่า งบประมาณที่ลงไปอยู่ในกระเป๋าใคร ช่วยกันดูแลเรื่องคุณภาพการบริหารจัดการ เพื่อให้เงินลงไปถึงมือชาวนา โดยไม่รั่วไหล ชาวนาก็จะได้ประโยชน์เต็มที่ ประเทศชาติก็จะร่ำรวยขึ้น”

รับจำนำข้าวหรือประกันราคาข้าวดี

ประกันราคา
- รัฐบาลตั้งราคา...........สมมุติ 10,000/เกวียน
- พ่อค้าคนกลาง...........รับซื้อ 5-7,000 อ้างความชื้อสูง อ้างตลาดโลก อ้างทักษิณ ฯลฯ
- รัฐบาลทุ่มเงินโป๊ะลงไปให้ครบราคาที่ตั้งเอาไว้ .............. แจกอย่างเดียว
- ตัวข้าวอยู่ในตลาด อยู่ในมือพ่อค้า ประเทศไม่มี STOCK ข้าว
- รัฐฯไม่ยุ่งกับการขายที่ต่างประเทศ พ่อค้าข้าวเอาไปเร่ขายเองที่ต่างประเทศ

ชาวนารับเงินครั้งแรกจากที่ขายให้พ่อค้า แล้วจึงทำเรื่องเพื่อขอรับชดเชยให้ครบราคาประกัน .... ตามที่ลงทะเบียนและข้อกำหนดต่างๆ ถ้าไม่ครบก็จะได้ไม่เต็ม พ่อค้าข้าว กำไลเต็มๆ อ้วนเอา อ้วนเอา เพราะรัฐบาลจ่ายส่วนต่างของราคาประกันให้ ทำให้พ่อค้าคนกลางสามารถกดราคารับซื้อได้เต็มที่

รับจำนำข้าว
- รัฐบาลประกาศราคารับจำนำ..................สมมุติ 15,000 - 20,000 / เกวียน
- ชาวนาเอามาจำนำรับเงิน 10,000 - 20,000 /เกวียน ตามความชื้นของข้าว
- พ่อค้าข้าวต้องซื้อข้าวในราคาที่ต้องแข่งกับรัฐบาล
- ตัวข้าวอยู่ในมือรัฐบาลเกือบทั้งหมด ประเทศมี STOCK ข้าวอยู่ในมือ
- รัฐฯต้องขยันไปเปิดตลาดข้าวที่ต่างประเทศ (ต้องใช้ฝีมือทำงาน) โดยร่วมมือกับพ่อค้าข้าว

พ่อค้าข้าว ขาดทุนกำไล แต่ชาวนาได้เกือบเต็มราคาจำนำ

พ่อค้าส่งออก

ประกันราคาข้าว
อาจจะเป็นกลุ่มเดียวกันกับพ่อค้าที่กดราคาซื้อข้าวจากชาวนา หรือว่าซื้อข้าวต่อจากพ่อค้าข้าว, โรงสี ซื้อข้าวจากชาวนาได้ถูก ก็สามารถขายต่างประเทศได้ถูก ทำให้ได้เปรียบประเทศคู่แข่ง เพราะเอาข้าวคุณภาพดี ไปขายแข่งกับข้าวคุณภาพไม่ดีในราคาที่เท่าๆ กัน ต้องการแค่ตัวเลขส่งออกในเชิงปริมาณเท่านั้น

รับจำนำ
ซื้อข้าวจากรัฐบาลในราคาที่รัฐบาลกำหนด ทำให้พ่อค้าส่งออกต้องซื้อในราคาสูงขึ้น ต้องใช้ความสามารถในการค้าขายจึงจะทำให้ขายแข่งกับประเทศคู่แข่งได้ เพราะราคาสูงกว่า แต่คุณภาพก็สูงกว่าเช่นกัน พ่อค้าเหนื่อยมากขึ้น กำไลน้อยลง

จากจินตนาการของผม ทำให้เห็นว่าที่เดือดร้อนก็คือพ่อค้าคนกลางเท่านั้น เพราะที่เคยได้มากก็จะได้น้อยลง แถมเหนื่อยมากขึ้นอีก บรรดาพวกพ่อค้าข้าวซึ่งแอบอยู่ในคราบนักวิชาการต่างๆ จึงขยิบตาร่วมมือกับฝ่ายค้านนำเรื่องนี้มาใช้เล่นงานรัฐบาลโดยร่วมมือกับสื่อฯ ถ้าขายข้าวได้ 10 ล้านตัน ได้เงิน 80,000 - 90,000 ล้าน กับขายข้าว 6-7 ล้านตัน แล้วได้เงิน 80,000 - 100,000 ล้าน ปชช.ชอบแบบไหนครับ? ข้าวส่วนที่เหลือยังสามารถเอาไปใช้ประโยชน์ได้อีก เช่นควบคุมราคาในประเทศ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่