"เสนียด" คือ พยาบาท ๑ วิหิงสา ๑ อรติ ๑ ปฏิฆะ ๑ ราคะ ๑ และอัสมิมานะ๑
เสนียด ทำให้จิตใจเศร้าหมอง เป็นทุกข์
ละเสนียดเสียได้ จิตใจจะผ่องใส มีความสุข
เราสามารถเจริญภาวนา ๖ เพื่อละเสนียดได้ ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนพระราหุลเถระ
ให้เจริญภาวนา (การทำให้มีขึ้นให้เป็นขึ้นทางจิตใจ) ๖ อย่าง ดังนี้
"ดูก่อนราหุล เธอจง เจริญเมตตาภาวนา (การฝึกอบรมใจให้มีเมตตา คือ ความปรารถนา
ให้ผู้อื่นมีความสุข) เถิด เพราะเมื่อเธอเจริญเมตตาภาวนาอยู่ จะละพยาบาทได้
เธอจง เจริญกรุณาภาวนา (การฝึกอบรมใจให้มีกรุณา คือ ความสงสารคิดจะช่วยให้ผู้อื่น
พ้นทุกข์) เถิด เพราะเมื่อเธอเจริญกรุณาภาวนาอยู่ จะละวิหิงสา (ความเบียดเบียน) ได้
เธอจง เจริญมุทิตาภาวนา (การฝึกอบรมใจให้มีมุทิตา คือ ความมีจิตพลอยยินดีในลาภ
ยศ สรรเสริญ สุขของผู้อื่น) เถิด เพราะเมื่อเธอเจริญมุทิตาภาวนาอยู่ จะละอรติ (ความไม่พอใจ
หรือ ความไม่ยินดี ) ได้
เธอจง เจริญอุเบกขาภาวนา (การฝึกอบรมใจให้มีอุเบกขา คือ ความวางใจเป็นกลาง
หรือวางเฉย หรือความเที่ยงธรรม) เถิด เพราะเมื่อเธอเจริญอุเบกขาภาวนาอยู่ จะละปฏิฆะ
(ความขัดใจ หรือความขึ้งเคียด) ได้
เธอจง เจริญอสุภภาวนา (การอบรมใจให้มีอสุภะ คือ ความไม่สวยไม่งาม) เถิด
เพราะเมื่อเธอเจริญอสุภภาวนาอยู่ จะละราคะ คือ ความกำหนัดยินดีได้
เธอจง เจริญอนิจจสัญญาภาวนา (การฝึกอบรมใจให้มีอนิจจสัญญา คือ การกำหนดหมาย
ถึงความไม่เที่ยงแห่งสังขาร) เถิด เพราะเมื่อเธอเจริญอนิจจสัญญาภาวนาอยู่ จะละอัสมิมานะ
(การถือตัวว่า นี่ฉัน หรือการถือเราถือเขา) ได้"
ศัพท์ :
อรติ (ความไม่พอใจ หรือความไม่ยินดี / ความไม่ชื่นชมยินดี )
ปฏิฆะ (ความขัดใจ หรือความขึ้งเคียด / ความโกรธ ความขุ่นข้อง)
อนิจจสัญญา (การกำหนดหมาย ถึงความไม่เที่ยงแห่งสังขาร / กำหนดความไม่เที่ยงของสังขาร)
อัสมิมานะ (การถือตัวว่า นี่ฉัน หรือการถือเราถือเขา / ความยึดถือว่ามีเรา)
เอกสารอ้างอิง :
๑. ชีวประวัติสามเถร : ราหุลสามเณร ผู้เป็นเอตทัคคะทาง "ใคร่ต่อการศึกษา"
รวบรวมและเรียบเรียงโดย อ. จำเนียร ทรงฤกษ์
๒. ๘๐ พระอรหันต์ ฉบับสมบูรณ์ : พระอรหันต์องค์ที่ ๕๙ พระราหุลเถระ : ภิกษุสาวกผู้เลิศด้านใคร่ศึกษา
รวบรวมและเรียบเรียงโดย อ. ปัญญา ใช้บางยาง
ศึกษา ค้นคว้า ในพระไตรปิฎก ดูใน "มหาราหุลโรวาทสูตร" (องฺ.อ.๑/๑/๔๐๔)
เจริญ "ภาวนา ๖" ละเสนียด
เสนียด ทำให้จิตใจเศร้าหมอง เป็นทุกข์
ละเสนียดเสียได้ จิตใจจะผ่องใส มีความสุข
เราสามารถเจริญภาวนา ๖ เพื่อละเสนียดได้ ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนพระราหุลเถระ
ให้เจริญภาวนา (การทำให้มีขึ้นให้เป็นขึ้นทางจิตใจ) ๖ อย่าง ดังนี้
"ดูก่อนราหุล เธอจง เจริญเมตตาภาวนา (การฝึกอบรมใจให้มีเมตตา คือ ความปรารถนา
ให้ผู้อื่นมีความสุข) เถิด เพราะเมื่อเธอเจริญเมตตาภาวนาอยู่ จะละพยาบาทได้
เธอจง เจริญกรุณาภาวนา (การฝึกอบรมใจให้มีกรุณา คือ ความสงสารคิดจะช่วยให้ผู้อื่น
พ้นทุกข์) เถิด เพราะเมื่อเธอเจริญกรุณาภาวนาอยู่ จะละวิหิงสา (ความเบียดเบียน) ได้
เธอจง เจริญมุทิตาภาวนา (การฝึกอบรมใจให้มีมุทิตา คือ ความมีจิตพลอยยินดีในลาภ
ยศ สรรเสริญ สุขของผู้อื่น) เถิด เพราะเมื่อเธอเจริญมุทิตาภาวนาอยู่ จะละอรติ (ความไม่พอใจ
หรือ ความไม่ยินดี ) ได้
เธอจง เจริญอุเบกขาภาวนา (การฝึกอบรมใจให้มีอุเบกขา คือ ความวางใจเป็นกลาง
หรือวางเฉย หรือความเที่ยงธรรม) เถิด เพราะเมื่อเธอเจริญอุเบกขาภาวนาอยู่ จะละปฏิฆะ
(ความขัดใจ หรือความขึ้งเคียด) ได้
เธอจง เจริญอสุภภาวนา (การอบรมใจให้มีอสุภะ คือ ความไม่สวยไม่งาม) เถิด
เพราะเมื่อเธอเจริญอสุภภาวนาอยู่ จะละราคะ คือ ความกำหนัดยินดีได้
เธอจง เจริญอนิจจสัญญาภาวนา (การฝึกอบรมใจให้มีอนิจจสัญญา คือ การกำหนดหมาย
ถึงความไม่เที่ยงแห่งสังขาร) เถิด เพราะเมื่อเธอเจริญอนิจจสัญญาภาวนาอยู่ จะละอัสมิมานะ
(การถือตัวว่า นี่ฉัน หรือการถือเราถือเขา) ได้"
ศัพท์ :
อรติ (ความไม่พอใจ หรือความไม่ยินดี / ความไม่ชื่นชมยินดี )
ปฏิฆะ (ความขัดใจ หรือความขึ้งเคียด / ความโกรธ ความขุ่นข้อง)
อนิจจสัญญา (การกำหนดหมาย ถึงความไม่เที่ยงแห่งสังขาร / กำหนดความไม่เที่ยงของสังขาร)
อัสมิมานะ (การถือตัวว่า นี่ฉัน หรือการถือเราถือเขา / ความยึดถือว่ามีเรา)
เอกสารอ้างอิง :
๑. ชีวประวัติสามเถร : ราหุลสามเณร ผู้เป็นเอตทัคคะทาง "ใคร่ต่อการศึกษา"
รวบรวมและเรียบเรียงโดย อ. จำเนียร ทรงฤกษ์
๒. ๘๐ พระอรหันต์ ฉบับสมบูรณ์ : พระอรหันต์องค์ที่ ๕๙ พระราหุลเถระ : ภิกษุสาวกผู้เลิศด้านใคร่ศึกษา
รวบรวมและเรียบเรียงโดย อ. ปัญญา ใช้บางยาง
ศึกษา ค้นคว้า ในพระไตรปิฎก ดูใน "มหาราหุลโรวาทสูตร" (องฺ.อ.๑/๑/๔๐๔)