จากตอนหาเสียง นโยบายนึงที่นำเสนอคือ การจำนำข้าว มีเป้าหมายเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้ชาวนา ซึ่งเมื่อเข้ามาเป็นรัฐบาลแล้ว รัฐบาลก็ได้เริ่มลงมือทำเลย
ซึ่งตอนแรกเริ่ม รัฐบาลมั่นใจ (หรือเพ้อฝันก็ไม่รู้) ว่าจะสามารถทำการยกระดับราคาได้จริง มีการแสดงความมั่นใจว่า จะสามารถทำโครงการแบบขาดทุนไม่มากได้ ด้วยการทำนโยบายแบบที่นำเสนอ คือซื้อแพง และจะขายในราคาที่ขาดทุนไม่มากนักได้
และในระยะเวลาเดียวกันนั้น ก็มีการวางแผนที่จะสร้างความช่วยเหลือเกษตรกรแบบต่อเนื่องเป็นระบบมากขึ้น
เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2555 ได้เป็นประธานการประชุม เรื่องการจัดโซนนิ่งเกษตร
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1355979362
ซึ่งหลังจากการประชุมแล้ว ทางกระทรวงเกษตรได้มีการไปจัดทำมา เป็นเอกสารฉบับนี้
http://www.1111.go.th/Admin/Upload/File_Manager/zoning_plant.pdf
ซึ่งในเรื่องข้าว ก็มีการประกาศพื้นที่เหมาะสมกับการปลูกข้าว 76 จังหวัด 809 อำเภอ 5,880 ตำบล (ก็ไม่รู้ว่า จากตัวเลขนี้ มีพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกข้าวในประเทศไทย กี่ตำบล)
แล้วเนื้อหานี้ ก็คงอยู่ในหนังสือเท่านั้น น่าจะไม่มีการนำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง
เพราะพอถึงช่วงเดือน พฤษภาคม ที่มีประเด็นเรื่อง จำนำข้าวขาดทุน 2 แสนกว่าล้าน และมีปัญหาในเรื่องการปิดบัญชี ทำให้มีการออกมาแก้ตัวจากฝ่ายรัฐบาลอย่างหนักในช่วงนั้น
เมื่อสามารถปิดบัญชีครั้งนั้นผ่านไปได้อย่างทุลักทุเล ท่ามกลางความสงสัยในตัวเลขที่ปิดลงไปได้นั้น นายกฯ ก็เริ่มงัดมุกเดิมมาใช้ บอกว่า จะต้องช่วยชาวนาแบบยั่งยืน มีการยกประเด็นการจัดโซนนิ่ง มาพูดอีกครั้ง
http://www.dailynews.co.th/politics/214615
ก็ไม่รู้ว่า เพราะนายกฯ ลืมไปว่า มีการทำเรื่องนี้มาแล้ว แต่เหมือนกับว่า จะเริ่มต้นใหม่อีก แต่จากวันนั้น จนถึงวันนี้ ก็ผ่านไปหลายเดือนแล้ว ไม่รู้ว่า ความคืบหน้าในการทำโซนนิ่ง ทำไปถึงไหนอย่างไร
นอกจากเรื่องการจัดโซนนิ่งแล้ว ยังมีการนำเสนอคู่มือการลดต้นทุนการปลูกข้าว เพื่อแจกจ่ายให้กับชาวนา เอาไปทำเพื่อลดต้นทุน ก็ไม่รู้ว่า แจกหนังสือไปแล้ว มีการตามผล ไปชี้แนะ ทำความเข้าใจกับชาวนา เพื่อให้ได้ผลตามที่หนังสือแนะนำ
หรือแค่แจกไปแล้ว ก็จบ เพราะรู้สึกว่า เรื่องนี้ ก็เงียบไปเหมือนกับเรื่องการจัดโซนนิ่ง
http://www.ricethailand.go.th/home/images/Download/pro_rd.pdf
ซึ่งสุดท้าย ทุกอย่างมาถึงตอนท้ายของรัฐบาล ก็ได้ข้อสรุปเพียงแค่ รัฐบาลผลาญเงินหมดไป 6 แสนล้านบาท เหลือข้าวอยู่จำนวนนึง ที่ประเมินคุณภาพได้ยาก ว่าดีหรือเสียหายไปเท่าไหร่
พร้อมกับภาระหนี้ ที่เป็นหนี้ชาวนารวม ๆ ประมาณ 130,000 ล้านบาท
กับการเงียบหายไป ของความช่วยเหลือ ที่น่าจะเป็นความช่วยเหลือที่ยั่งยืน ให้กับชาวนา มากกว่าการช่วยเหลือด้วยการซื้อข้าวจากชาวนา ในราคาสูง เพื่อที่ให้ชาวนาที่ร่ำรวย ปลูกข้าวได้ปริมาณมาก มีกำไรมาก ๆ ส่วนชาวนาที่ยากจน ปลูกข้าวได้ปีละไม่กี่ตัน เหลือเงินส่วนต่างไม่มากพอกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น
เรื่องการทำโซนนิ่ง ไม่รู้ว่าคืบหน้าไปถึงไหน การลดต้นทุน หลังจากแจกหนังสือไปแล้ว มีการวัดผลในทางปฏิบัติ ว่าได้ผลขนาดไหนหรือไม่
แบบนี้ไม่รู้ว่า ตั้งใจช่วยชาวนาจริง หรือแค่มองเป็นช่องทางหนึ่งในการหาผลประโยชน์กับพวกพ้องแค่นั้น
ความไม่จริงใจในการช่วยเหลือชาวนาของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย
ซึ่งตอนแรกเริ่ม รัฐบาลมั่นใจ (หรือเพ้อฝันก็ไม่รู้) ว่าจะสามารถทำการยกระดับราคาได้จริง มีการแสดงความมั่นใจว่า จะสามารถทำโครงการแบบขาดทุนไม่มากได้ ด้วยการทำนโยบายแบบที่นำเสนอ คือซื้อแพง และจะขายในราคาที่ขาดทุนไม่มากนักได้
และในระยะเวลาเดียวกันนั้น ก็มีการวางแผนที่จะสร้างความช่วยเหลือเกษตรกรแบบต่อเนื่องเป็นระบบมากขึ้น
เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2555 ได้เป็นประธานการประชุม เรื่องการจัดโซนนิ่งเกษตร
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1355979362
ซึ่งหลังจากการประชุมแล้ว ทางกระทรวงเกษตรได้มีการไปจัดทำมา เป็นเอกสารฉบับนี้
http://www.1111.go.th/Admin/Upload/File_Manager/zoning_plant.pdf
ซึ่งในเรื่องข้าว ก็มีการประกาศพื้นที่เหมาะสมกับการปลูกข้าว 76 จังหวัด 809 อำเภอ 5,880 ตำบล (ก็ไม่รู้ว่า จากตัวเลขนี้ มีพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกข้าวในประเทศไทย กี่ตำบล)
แล้วเนื้อหานี้ ก็คงอยู่ในหนังสือเท่านั้น น่าจะไม่มีการนำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง
เพราะพอถึงช่วงเดือน พฤษภาคม ที่มีประเด็นเรื่อง จำนำข้าวขาดทุน 2 แสนกว่าล้าน และมีปัญหาในเรื่องการปิดบัญชี ทำให้มีการออกมาแก้ตัวจากฝ่ายรัฐบาลอย่างหนักในช่วงนั้น
เมื่อสามารถปิดบัญชีครั้งนั้นผ่านไปได้อย่างทุลักทุเล ท่ามกลางความสงสัยในตัวเลขที่ปิดลงไปได้นั้น นายกฯ ก็เริ่มงัดมุกเดิมมาใช้ บอกว่า จะต้องช่วยชาวนาแบบยั่งยืน มีการยกประเด็นการจัดโซนนิ่ง มาพูดอีกครั้ง
http://www.dailynews.co.th/politics/214615
ก็ไม่รู้ว่า เพราะนายกฯ ลืมไปว่า มีการทำเรื่องนี้มาแล้ว แต่เหมือนกับว่า จะเริ่มต้นใหม่อีก แต่จากวันนั้น จนถึงวันนี้ ก็ผ่านไปหลายเดือนแล้ว ไม่รู้ว่า ความคืบหน้าในการทำโซนนิ่ง ทำไปถึงไหนอย่างไร
นอกจากเรื่องการจัดโซนนิ่งแล้ว ยังมีการนำเสนอคู่มือการลดต้นทุนการปลูกข้าว เพื่อแจกจ่ายให้กับชาวนา เอาไปทำเพื่อลดต้นทุน ก็ไม่รู้ว่า แจกหนังสือไปแล้ว มีการตามผล ไปชี้แนะ ทำความเข้าใจกับชาวนา เพื่อให้ได้ผลตามที่หนังสือแนะนำ
หรือแค่แจกไปแล้ว ก็จบ เพราะรู้สึกว่า เรื่องนี้ ก็เงียบไปเหมือนกับเรื่องการจัดโซนนิ่ง
http://www.ricethailand.go.th/home/images/Download/pro_rd.pdf
ซึ่งสุดท้าย ทุกอย่างมาถึงตอนท้ายของรัฐบาล ก็ได้ข้อสรุปเพียงแค่ รัฐบาลผลาญเงินหมดไป 6 แสนล้านบาท เหลือข้าวอยู่จำนวนนึง ที่ประเมินคุณภาพได้ยาก ว่าดีหรือเสียหายไปเท่าไหร่
พร้อมกับภาระหนี้ ที่เป็นหนี้ชาวนารวม ๆ ประมาณ 130,000 ล้านบาท
กับการเงียบหายไป ของความช่วยเหลือ ที่น่าจะเป็นความช่วยเหลือที่ยั่งยืน ให้กับชาวนา มากกว่าการช่วยเหลือด้วยการซื้อข้าวจากชาวนา ในราคาสูง เพื่อที่ให้ชาวนาที่ร่ำรวย ปลูกข้าวได้ปริมาณมาก มีกำไรมาก ๆ ส่วนชาวนาที่ยากจน ปลูกข้าวได้ปีละไม่กี่ตัน เหลือเงินส่วนต่างไม่มากพอกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น
เรื่องการทำโซนนิ่ง ไม่รู้ว่าคืบหน้าไปถึงไหน การลดต้นทุน หลังจากแจกหนังสือไปแล้ว มีการวัดผลในทางปฏิบัติ ว่าได้ผลขนาดไหนหรือไม่
แบบนี้ไม่รู้ว่า ตั้งใจช่วยชาวนาจริง หรือแค่มองเป็นช่องทางหนึ่งในการหาผลประโยชน์กับพวกพ้องแค่นั้น