บทสรุปผลการศึกษา ทบทวนภูมิทัศน์การเมืองไทย
โดย ผศ.ดร.อภิชาติ สถิตนิรามัย
รศ.ดร.นิติ ภวัครพันธุ์
ผศ.ดร.ยุกติ มุกดาวิจิตร
มิติการเปลี่ยนแปลง
:: ด้านเศรษฐกิจ ::
• ชนชั้นกลางระดับล่างเพิ่มมากขึ้น มีความมั่นคงจากสวัสดิการต่างๆ ความยากจนลดลงทั่วประเทศ มีการกระจายรายได้ในรูปของงบประมาณที่ให้ท้องถิ่นบริหารเอง
• แหล่งรายได้นอกภาคการเกษตรมีสัดส่วนสูงกว่ารายได้ในภาคการเกษตร จึงเป็นการปลดปล่อยคนออกจากโครงครอบทางสังคมแบบเดิม ทำให้การตัดสินใจทางการเมืองแตกต่างจากในอดีต ทำให้จินตนาการต่อชีวิตและสังคมต่างไป เช่นมุ่งหวังให้ลูกหลานมีการศึกษาสูงขึ้น มีเงินเดือน
:: ด้านการเมือง ::
• การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการเมืองที่มาจากการออกแบบรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะหลังรัฐธรรมนูญ 2540 ที่เอื้อให้พรรคการเมืองและนักการเมืองมีอำนาจการตัดสินใจมากขึ้น การกำหนดนโยบายจึงยึดโยงกับการเลือกตั้งและการลงคะแนนเสียงมากขึ้น
• การกระจายอำนาจการบริหารผ่านองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ
:: ด้านอุดมการณ์ ::
• หากมองแบบง่ายๆ วาทกรรมที่ว่า กลุ่มเสื้อเหลือง (กลุ่มชนชั้นกลางเก่า) เป็นกลุ่มที่เน้นการเมืองคุณธรรม ประชาธิปไตยตรวจสอบ ไม่เชื่อในการเลือกตั้งเนื่องจากเป็นเสียงส่วนน้อย อีกทั้งยังมีเครื่องมืออื่นๆ ในการต่อรองกับรัฐ จึงยอมให้มีการแทรกแซง และถือว่าการเมืองภาคประชาชนน่าเชื่อถือกว่าระบอบรัฐสภา
• ในขณะที่กลุ่มเสื้อแดง (กลุ่มชนชั้นกลางใหม่) เป็นกลุ่มที่มองว่าการเลือกตั้งมีความหมายในฐานะที่เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพที่สุดที่อาจมีเพียงชิ้นเดียวในการต่อรองกับรัฐเพื่อให้ได้มาซึ่งนโยบายที่ตอบสนองผลประโยชน์ของชนชั้น มีการจำกัดอำนาจของสถาบันประเพณีไว้ ไม่ไว้ใจอำนาจคุณธรรมความดี การเมืองท้องถิ่นสำคัญไม่น้อยกว่าการเมืองระดับชาติ
จากการเสนอผลการศึกษา
"ทบทวนภูมิทัศน์การเมืองไทย"
วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557
สนับสนุนโดย
แผนงานสร้างเสริมนโยบายสาธารณะที่ดี (นสธ.) และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)
รับชมย้อนหลังได้ที่:
http://www.youtube.com/watch?v=Kc0w7pBx6hc
ประเทศไทยเปลี่ยนไปแล้ว หยุดแช่แข็งประเทศด้วยอคติความเชื่อที่ใช้อธิบายสังคมไทยไม่ได้อีกต่อไป
โดย ผศ.ดร.อภิชาติ สถิตนิรามัย
รศ.ดร.นิติ ภวัครพันธุ์
ผศ.ดร.ยุกติ มุกดาวิจิตร
มิติการเปลี่ยนแปลง
:: ด้านเศรษฐกิจ ::
• ชนชั้นกลางระดับล่างเพิ่มมากขึ้น มีความมั่นคงจากสวัสดิการต่างๆ ความยากจนลดลงทั่วประเทศ มีการกระจายรายได้ในรูปของงบประมาณที่ให้ท้องถิ่นบริหารเอง
• แหล่งรายได้นอกภาคการเกษตรมีสัดส่วนสูงกว่ารายได้ในภาคการเกษตร จึงเป็นการปลดปล่อยคนออกจากโครงครอบทางสังคมแบบเดิม ทำให้การตัดสินใจทางการเมืองแตกต่างจากในอดีต ทำให้จินตนาการต่อชีวิตและสังคมต่างไป เช่นมุ่งหวังให้ลูกหลานมีการศึกษาสูงขึ้น มีเงินเดือน
:: ด้านการเมือง ::
• การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการเมืองที่มาจากการออกแบบรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะหลังรัฐธรรมนูญ 2540 ที่เอื้อให้พรรคการเมืองและนักการเมืองมีอำนาจการตัดสินใจมากขึ้น การกำหนดนโยบายจึงยึดโยงกับการเลือกตั้งและการลงคะแนนเสียงมากขึ้น
• การกระจายอำนาจการบริหารผ่านองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ
:: ด้านอุดมการณ์ ::
• หากมองแบบง่ายๆ วาทกรรมที่ว่า กลุ่มเสื้อเหลือง (กลุ่มชนชั้นกลางเก่า) เป็นกลุ่มที่เน้นการเมืองคุณธรรม ประชาธิปไตยตรวจสอบ ไม่เชื่อในการเลือกตั้งเนื่องจากเป็นเสียงส่วนน้อย อีกทั้งยังมีเครื่องมืออื่นๆ ในการต่อรองกับรัฐ จึงยอมให้มีการแทรกแซง และถือว่าการเมืองภาคประชาชนน่าเชื่อถือกว่าระบอบรัฐสภา
• ในขณะที่กลุ่มเสื้อแดง (กลุ่มชนชั้นกลางใหม่) เป็นกลุ่มที่มองว่าการเลือกตั้งมีความหมายในฐานะที่เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพที่สุดที่อาจมีเพียงชิ้นเดียวในการต่อรองกับรัฐเพื่อให้ได้มาซึ่งนโยบายที่ตอบสนองผลประโยชน์ของชนชั้น มีการจำกัดอำนาจของสถาบันประเพณีไว้ ไม่ไว้ใจอำนาจคุณธรรมความดี การเมืองท้องถิ่นสำคัญไม่น้อยกว่าการเมืองระดับชาติ
จากการเสนอผลการศึกษา
"ทบทวนภูมิทัศน์การเมืองไทย"
วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557
สนับสนุนโดย
แผนงานสร้างเสริมนโยบายสาธารณะที่ดี (นสธ.) และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)
รับชมย้อนหลังได้ที่: http://www.youtube.com/watch?v=Kc0w7pBx6hc