โดย : วรินทร์ ตริโน
: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
ไขศรี เนื่องสิกขาเพียร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เคพีเอ็มจี ประเทศไทย และกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)
"ไขศรี เนื่องสิกขาเพียร" มองการลงทุน แนะบริหารความเสี่ยง...เหนือผลตอบแทน
"ในการลงทุนเราจะไม่เลือก หรือตั้งผลตอบแทนไว้ว่าอยากจะได้เท่าไหร่ แต่จะบอกว่าเรารับความเสี่ยงได้เท่าไหร่ หากเกิดกรณีเลวร้ายที่สุด หรือ Worse Case เพราะหากเอาผลตอบแทนเป็นตัวตั้ง เราก็ต้องอยากได้ผลตอบแทนที่มากที่สุดอยู่แล้ว"
เป็นเรื่องปกติสำหรับการลงทุนที่คนส่วนใหญ่มักจะมองเรื่องผลตอบแทนมากกว่าปัจจัยด้านอื่นๆ แต่สำหรับ "ไขศรี เนื่องสิกขาเพียร" กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เคพีเอ็มจี ประเทศไทย และกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เลือกที่จะให้น้ำหนักกับ "การบริหารความเสี่ยง" เหนือกว่า "การสร้างผลตอบแทน" เพราะผลตอบแทนที่สูงย่อมมาพร้อมกับความเสี่ยงที่สูงเช่นเดียวกัน
"ไขศรี" จบการศึกษาปริญญาตรีด้านการบัญชี และปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีประสบการณ์ทำงานอยู่ในแวดวงด้านการบัญชีและที่ปรึกษามากกว่า 30 ปี ด้วยเป็นคนรักในการทำงาน ประกอบกับการมีตำแหน่งเป็นผู้บริหารระดับสูงของเคพีเอ็มจี ทำให้เวลาของเธอส่วนใหญ่หมดไปกับการทำงาน เหมือนกับพนักงานออฟฟิศอื่นๆ
อีกทั้งยังมีตำแหน่งเป็นกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ ทำให้มีข้อจำกัดในการลงทุน ทำให้ตัวเธอเลือกที่จะใช้บริการที่ปรึกษาทางด้านการลงทุน หรือตัวแทนซับโบรกเกอร์ให้คำปรึกษาและช่วยวางแผนพอร์ตการลงทุนว่าควรจะลงทุนอย่างไร เพื่อให้ผลตอบแทนในระดับที่เหมาะสมและในความเสี่ยงที่รับได้ จึงไม่มีปัญหาการลงทุนตามกระแส เพราะเมื่อไม่มีเวลาดู จึงไม่ควรที่จะลงทุนตามกระแส
"ในการลงทุนเราจะไม่เลือก หรือตั้งผลตอบแทนไว้ว่าอยากจะได้เท่าไหร่ แต่จะบอกว่าเรารับความเสี่ยงได้เท่าไหร่ หากเกิดกรณีเลวร้ายที่สุด หรือ Worse Case เพราะหากเอาผลตอบแทนเป็นตัวตั้ง เราก็ต้องอยากได้ผลตอบแทนที่มากที่สุดอยู่แล้ว จึงควรมองว่าเรารับความเสี่ยง หรือรับการสูญเสียได้เท่าไหร่ ซึ่งโดยส่วนตัวก็คิดว่าในกรณีเลวร้ายที่สุดไม่อยากเห็นการสูญเสียเกิน 20% นอกจากนี้ยังเป็นคนที่ไม่เชื่อว่าจะได้อะไรมาแบบฟลุ้คๆ เช่นเดียวกับที่ไม่เชื่อว่าจะมีงานง่ายๆ ที่ให้ผลตอบแทนสูง"
ถึงแม้ว่า "ไขศรี" จะเลือกใช้บริการที่ปรึกษาทางด้านการลงทุนมาให้คำแนะนำ และดูแลพอร์ตการลงทุน แต่ตัวเธอก็จะกำหนดกรอบการลงทุนหลักๆ เอาไว้ โดยกำหนดสัดส่วนการลงทุนในพอร์ตทั้งหมดว่าจะมีกองทุนหุ้นและตราสารหนี้ประมาณ 50% ลงทุนในทองคำประมาณ 10% ส่วนที่เหลือก็จะเป็นอสังหาริมทรัพย์และกองทุนอสังหาริมทรัพย์ค่อนข้างเยอะ
สำหรับการลงทุนในทองคำนั้น เธอเริ่มเก็บทองคำตั้งแต่ราคาบาทละ 6,000 บาท ราคาทองคำก็ปรับขึ้นเรื่อย จาก 1 กิโลกรัม ที่มีมูลค่า 4 - 5 แสนบาท ก็มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 10 ล้านบาทภายในเวลาไม่เกิน 10 ปี หลังจากนั้นเธอก็เริ่มกระจายการลงทุน (diversify) ไปลงทุนสินทรัพย์อื่นๆ บ้าง นั่นก็คือ อสังหาริมทรัพย์ โดยเธอเลือกที่จะลงทุนที่ดิน เพราะมองว่าที่ดินเป็นทรัพย์สินที่คนอื่นเอาไปไม่ได้ โดยการเลือกสินทรัพย์ที่จะซื้อส่วนใหญ่ มาจากเพื่อนฝูงแนะนำ หรือขอให้ช่วยซื้อ ซึ่งโดยส่วนตัวเป็นคนไม่ค่อยเรื่องมาก เพราะมองลงทุนระยะยาวอยู่แล้ว ที่สำคัญใช้เงินออมในการลงทุน จึงไม่ต้องเร่งรีบในการสร้างผลตอบแทน
"การเลือกใช้ที่ปรึกษาในการลงทุน เพราะมองว่าเขาอยู่ในอาชีพนี้โดยตรง จึงน่าจะเก่งกว่าเรา ซึ่งที่ปรึกษาช่วยเราได้มาก แต่ตัวเราเองก็ต้องบอกหลักการลงทุนของตัวเองให้เขารู้ ว่าเรามีกรอบอย่างไร เขาก็จะแนะนำการลงทุนที่เหมาะสมกับเรา ซึ่งการใช้ที่ปรึกษาการลงทุนหลายคนอาจจะคิดว่า ที่ปรึกษาเหล่านี้ให้บริการเฉพาะสำหรับคนที่มีเงินลงทุนจำนวนมากเท่านั้น แต่จริงๆ ไม่ใช่ เขาให้คำปรึกษาได้กับทุกคน เพียงแต่คนยังรู้น้อย"
นอกจากนี้เธอยังแนะนำว่า ในการลงทุนควรจะลงทุนอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งสำหรับตัวเธอนั้นเลือกที่จะลงทุนเป็นรายปีมากกว่า 15 ปี เพราะโดยส่วนตัวไม่มีเวลาที่จะมานั่งดูพอร์ตการลงทุน จึงไม่ลงทุนหุ้นรายตัว แต่จะเลือกลงกองทุน ทั้งกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ที่เหลือให้ที่ปรึกษาเลือกให้ ส่วนใหญ่เลือกการลงทุนกองทุนหุ้นที่ลงทุนหุ้นขนาดใหญ่ เซ็ท 50 (SET 50) หรือ เซ็ท 100 (SET100)
"บางคนชอบลงทุนในหุ้นที่อยู่ในกระแสมากๆ และด้วยวิชาชีพทางด้านการบัญชี อยู่ในแวดวงตลาดเงินตลาดทุน ทำให้มักจะมีคำถามมาตลอดว่า ลงทุนในหุ้นตัวนั้น ตัวนี้ดีหรือไม่ เราก็ตอบไปว่าไม่รู้ และถามกลับว่าอยากลงทุนเพราะอะไร ส่วนใหญ่ตอบว่ามีคนชวน เราก็ส่งพอร์ตการลงทุนให้ดูว่าลงทุนแบบนี้ดีกว่า ไม่หวือหวาตามภาวะตลาดที่ปรับขึ้นลงตลอด ส่วนผลตอบแทนที่ได้เฉลี่ยประมาณ 6 - 7% ต่อปี"
นอกจากการบริหารการเงินของตัวเองแล้ว "ไขศรี" ยังปลูกฝังวินัยในเรื่องการเงินให้กับลูกสาวคนเดียว โดยเริ่มตั้งแต่การบอกลูกว่าเงินที่แม่หามา ไม่ได้หาเผื่อลูก แต่หาสำหรับใช้เลี้ยงตัวเองในช่วงหลังเกษียณ แต่หากตายไปเหลืออยู่เท่าไหร่ก็ได้ ซึ่งจะทำให้เขารู้สึกว่าเงินของเราไม่ใช่ของเขา นอกจากนี้เธอยังพยายามสอนให้ลูกรู้ว่าชีวิตคนจะมีคุณค่าได้ก็ต้องทำงาน โดยวิธีการสอนที่ดีที่สุดก็คือ การทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง
"การวางแผนทางการด้านการเงิน เราต้องมีหลักการ และมีวินัย ซึ่งต้องเริ่มตั้งแต่การหาเงิน การใช้เงิน ไปจนถึงลงทุน หลักการสร้างวินัยในการหาเงินง่ายๆ คือ การประกอบสัมมาอาชีพ พร้อมกับทุ่มเทตั้งใจในการทำงาน ไม่ใช่ตั้งใจหาเงิน เราต้องมองว่าการทำงานสร้างคุณค่าให้กับตัวเราและสังคมอย่างไร จึงไม่คิดว่าในการทำงานจะต้องได้เงินเดือนเท่าไหร่ เพราะเป็นคนที่มีเท่าไหร่ก็ใช้เท่านั้น ที่สำคัญไม่เป็นหนี้เกินตัว และไม่ควรสร้างหนี้"
เธอเล่าว่า เงินเป็นผลตอบแทนอย่างหนึ่งที่เราได้รับจากการทำงาน แต่ไม่ใช่เป้าหมายในการทำงาน เธอจึงไม่เคยโฟกัส หรือกำหนดเป้าหมายว่าอยากจะมีเงินเดือนเท่าไหร่ หรือสินทรัพย์มากน้อยขนาดไหน เมื่อไม่มีความอยาก จึงไม่จำเป็นต้องดิ้นรนไขว่คว้าให้ได้มา
ความอยากของเธอส่วนใหญ่จึงอยู่ที่การทำงาน อยากทำงานที่สร้างคุณค่าให้ตัวเอง และองค์กร ซึ่งในแต่ละปีตัวเธอจะทบทวนดูว่าตัวเองได้ทำอะไร และสร้างอิมแพ็ค (Impact) ให้กับองค์กรอย่างไรบ้าง เพื่อจะได้คิดและวางแผนต่อไปว่าในปีหน้าควรจะทำอะไรให้กับองค์กร
'วินัย'คือหัวใจการลงทุน
: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
ไขศรี เนื่องสิกขาเพียร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เคพีเอ็มจี ประเทศไทย และกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)
"ไขศรี เนื่องสิกขาเพียร" มองการลงทุน แนะบริหารความเสี่ยง...เหนือผลตอบแทน
"ในการลงทุนเราจะไม่เลือก หรือตั้งผลตอบแทนไว้ว่าอยากจะได้เท่าไหร่ แต่จะบอกว่าเรารับความเสี่ยงได้เท่าไหร่ หากเกิดกรณีเลวร้ายที่สุด หรือ Worse Case เพราะหากเอาผลตอบแทนเป็นตัวตั้ง เราก็ต้องอยากได้ผลตอบแทนที่มากที่สุดอยู่แล้ว"
เป็นเรื่องปกติสำหรับการลงทุนที่คนส่วนใหญ่มักจะมองเรื่องผลตอบแทนมากกว่าปัจจัยด้านอื่นๆ แต่สำหรับ "ไขศรี เนื่องสิกขาเพียร" กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เคพีเอ็มจี ประเทศไทย และกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เลือกที่จะให้น้ำหนักกับ "การบริหารความเสี่ยง" เหนือกว่า "การสร้างผลตอบแทน" เพราะผลตอบแทนที่สูงย่อมมาพร้อมกับความเสี่ยงที่สูงเช่นเดียวกัน
"ไขศรี" จบการศึกษาปริญญาตรีด้านการบัญชี และปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีประสบการณ์ทำงานอยู่ในแวดวงด้านการบัญชีและที่ปรึกษามากกว่า 30 ปี ด้วยเป็นคนรักในการทำงาน ประกอบกับการมีตำแหน่งเป็นผู้บริหารระดับสูงของเคพีเอ็มจี ทำให้เวลาของเธอส่วนใหญ่หมดไปกับการทำงาน เหมือนกับพนักงานออฟฟิศอื่นๆ
อีกทั้งยังมีตำแหน่งเป็นกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ ทำให้มีข้อจำกัดในการลงทุน ทำให้ตัวเธอเลือกที่จะใช้บริการที่ปรึกษาทางด้านการลงทุน หรือตัวแทนซับโบรกเกอร์ให้คำปรึกษาและช่วยวางแผนพอร์ตการลงทุนว่าควรจะลงทุนอย่างไร เพื่อให้ผลตอบแทนในระดับที่เหมาะสมและในความเสี่ยงที่รับได้ จึงไม่มีปัญหาการลงทุนตามกระแส เพราะเมื่อไม่มีเวลาดู จึงไม่ควรที่จะลงทุนตามกระแส
"ในการลงทุนเราจะไม่เลือก หรือตั้งผลตอบแทนไว้ว่าอยากจะได้เท่าไหร่ แต่จะบอกว่าเรารับความเสี่ยงได้เท่าไหร่ หากเกิดกรณีเลวร้ายที่สุด หรือ Worse Case เพราะหากเอาผลตอบแทนเป็นตัวตั้ง เราก็ต้องอยากได้ผลตอบแทนที่มากที่สุดอยู่แล้ว จึงควรมองว่าเรารับความเสี่ยง หรือรับการสูญเสียได้เท่าไหร่ ซึ่งโดยส่วนตัวก็คิดว่าในกรณีเลวร้ายที่สุดไม่อยากเห็นการสูญเสียเกิน 20% นอกจากนี้ยังเป็นคนที่ไม่เชื่อว่าจะได้อะไรมาแบบฟลุ้คๆ เช่นเดียวกับที่ไม่เชื่อว่าจะมีงานง่ายๆ ที่ให้ผลตอบแทนสูง"
ถึงแม้ว่า "ไขศรี" จะเลือกใช้บริการที่ปรึกษาทางด้านการลงทุนมาให้คำแนะนำ และดูแลพอร์ตการลงทุน แต่ตัวเธอก็จะกำหนดกรอบการลงทุนหลักๆ เอาไว้ โดยกำหนดสัดส่วนการลงทุนในพอร์ตทั้งหมดว่าจะมีกองทุนหุ้นและตราสารหนี้ประมาณ 50% ลงทุนในทองคำประมาณ 10% ส่วนที่เหลือก็จะเป็นอสังหาริมทรัพย์และกองทุนอสังหาริมทรัพย์ค่อนข้างเยอะ
สำหรับการลงทุนในทองคำนั้น เธอเริ่มเก็บทองคำตั้งแต่ราคาบาทละ 6,000 บาท ราคาทองคำก็ปรับขึ้นเรื่อย จาก 1 กิโลกรัม ที่มีมูลค่า 4 - 5 แสนบาท ก็มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 10 ล้านบาทภายในเวลาไม่เกิน 10 ปี หลังจากนั้นเธอก็เริ่มกระจายการลงทุน (diversify) ไปลงทุนสินทรัพย์อื่นๆ บ้าง นั่นก็คือ อสังหาริมทรัพย์ โดยเธอเลือกที่จะลงทุนที่ดิน เพราะมองว่าที่ดินเป็นทรัพย์สินที่คนอื่นเอาไปไม่ได้ โดยการเลือกสินทรัพย์ที่จะซื้อส่วนใหญ่ มาจากเพื่อนฝูงแนะนำ หรือขอให้ช่วยซื้อ ซึ่งโดยส่วนตัวเป็นคนไม่ค่อยเรื่องมาก เพราะมองลงทุนระยะยาวอยู่แล้ว ที่สำคัญใช้เงินออมในการลงทุน จึงไม่ต้องเร่งรีบในการสร้างผลตอบแทน
"การเลือกใช้ที่ปรึกษาในการลงทุน เพราะมองว่าเขาอยู่ในอาชีพนี้โดยตรง จึงน่าจะเก่งกว่าเรา ซึ่งที่ปรึกษาช่วยเราได้มาก แต่ตัวเราเองก็ต้องบอกหลักการลงทุนของตัวเองให้เขารู้ ว่าเรามีกรอบอย่างไร เขาก็จะแนะนำการลงทุนที่เหมาะสมกับเรา ซึ่งการใช้ที่ปรึกษาการลงทุนหลายคนอาจจะคิดว่า ที่ปรึกษาเหล่านี้ให้บริการเฉพาะสำหรับคนที่มีเงินลงทุนจำนวนมากเท่านั้น แต่จริงๆ ไม่ใช่ เขาให้คำปรึกษาได้กับทุกคน เพียงแต่คนยังรู้น้อย"
นอกจากนี้เธอยังแนะนำว่า ในการลงทุนควรจะลงทุนอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งสำหรับตัวเธอนั้นเลือกที่จะลงทุนเป็นรายปีมากกว่า 15 ปี เพราะโดยส่วนตัวไม่มีเวลาที่จะมานั่งดูพอร์ตการลงทุน จึงไม่ลงทุนหุ้นรายตัว แต่จะเลือกลงกองทุน ทั้งกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ที่เหลือให้ที่ปรึกษาเลือกให้ ส่วนใหญ่เลือกการลงทุนกองทุนหุ้นที่ลงทุนหุ้นขนาดใหญ่ เซ็ท 50 (SET 50) หรือ เซ็ท 100 (SET100)
"บางคนชอบลงทุนในหุ้นที่อยู่ในกระแสมากๆ และด้วยวิชาชีพทางด้านการบัญชี อยู่ในแวดวงตลาดเงินตลาดทุน ทำให้มักจะมีคำถามมาตลอดว่า ลงทุนในหุ้นตัวนั้น ตัวนี้ดีหรือไม่ เราก็ตอบไปว่าไม่รู้ และถามกลับว่าอยากลงทุนเพราะอะไร ส่วนใหญ่ตอบว่ามีคนชวน เราก็ส่งพอร์ตการลงทุนให้ดูว่าลงทุนแบบนี้ดีกว่า ไม่หวือหวาตามภาวะตลาดที่ปรับขึ้นลงตลอด ส่วนผลตอบแทนที่ได้เฉลี่ยประมาณ 6 - 7% ต่อปี"
นอกจากการบริหารการเงินของตัวเองแล้ว "ไขศรี" ยังปลูกฝังวินัยในเรื่องการเงินให้กับลูกสาวคนเดียว โดยเริ่มตั้งแต่การบอกลูกว่าเงินที่แม่หามา ไม่ได้หาเผื่อลูก แต่หาสำหรับใช้เลี้ยงตัวเองในช่วงหลังเกษียณ แต่หากตายไปเหลืออยู่เท่าไหร่ก็ได้ ซึ่งจะทำให้เขารู้สึกว่าเงินของเราไม่ใช่ของเขา นอกจากนี้เธอยังพยายามสอนให้ลูกรู้ว่าชีวิตคนจะมีคุณค่าได้ก็ต้องทำงาน โดยวิธีการสอนที่ดีที่สุดก็คือ การทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง
"การวางแผนทางการด้านการเงิน เราต้องมีหลักการ และมีวินัย ซึ่งต้องเริ่มตั้งแต่การหาเงิน การใช้เงิน ไปจนถึงลงทุน หลักการสร้างวินัยในการหาเงินง่ายๆ คือ การประกอบสัมมาอาชีพ พร้อมกับทุ่มเทตั้งใจในการทำงาน ไม่ใช่ตั้งใจหาเงิน เราต้องมองว่าการทำงานสร้างคุณค่าให้กับตัวเราและสังคมอย่างไร จึงไม่คิดว่าในการทำงานจะต้องได้เงินเดือนเท่าไหร่ เพราะเป็นคนที่มีเท่าไหร่ก็ใช้เท่านั้น ที่สำคัญไม่เป็นหนี้เกินตัว และไม่ควรสร้างหนี้"
เธอเล่าว่า เงินเป็นผลตอบแทนอย่างหนึ่งที่เราได้รับจากการทำงาน แต่ไม่ใช่เป้าหมายในการทำงาน เธอจึงไม่เคยโฟกัส หรือกำหนดเป้าหมายว่าอยากจะมีเงินเดือนเท่าไหร่ หรือสินทรัพย์มากน้อยขนาดไหน เมื่อไม่มีความอยาก จึงไม่จำเป็นต้องดิ้นรนไขว่คว้าให้ได้มา
ความอยากของเธอส่วนใหญ่จึงอยู่ที่การทำงาน อยากทำงานที่สร้างคุณค่าให้ตัวเอง และองค์กร ซึ่งในแต่ละปีตัวเธอจะทบทวนดูว่าตัวเองได้ทำอะไร และสร้างอิมแพ็ค (Impact) ให้กับองค์กรอย่างไรบ้าง เพื่อจะได้คิดและวางแผนต่อไปว่าในปีหน้าควรจะทำอะไรให้กับองค์กร