ช่วงนี้มีการนำเอากระแสกลุ่มคณาจารย์และบุคลากรทางการแพทย์ที่สนับสนุน กปปส "กลุ่มหนึ่ง" มาใช้หาความชอบธรรมทางการชุมนุมหรือสร้างบรรทัดฐานว่าเหล่านี้เป็นเสียงของคนมีคุณภาพมากกว่าคนทั่วไป ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ถึงพฤติกรรมดังกล่าวกันเป็นอย่างมากในหลายๆสื่อ ในทำนองว่ากลุ่มบุคคลเหล่านี้ "เสียงดัง" กว่าบุคคลในกลุ่มอื่น หรือมีคุณภาพในการขับเคลื่อนประเทศชาติมากกว่าคนกลุ่มอื่น ซึ่งมีคำถามมากมายในเรื่องของความเหมาะสม
การเป็นหมอแม้ว่าจะต้องมีความยากลำบากทางการศึกษามากกว่าสายอาชีพอื่นๆ แต่ก็ไม่ได้เป็นตัวชี้วัดว่า หมอจะต้องเข้าใจเรื่องทางการเมืองหรือสังคมมากกว่าคนอื่น ใช่ว่าหมอจะรอบรู้ทุกเรื่องทุกด้าน หรือใช่ว่าหมอเป็นกลางทางความคิดมากกว่าอาชีพอื่นๆ การแสดงความคิดเห็นของหมอล้วนแล้วแต่มีพื้นฐานจากการเสพข่าวสารมาประมวลผลเป็นหลัก ดังนั้นหาก input ไม่ถูกต้อง output ก็ย่อมไม่ถูกต้องเช่นกัน
หมอจบ ป.เอก ไม่ได้เรียนรัฐศาสตร์ หรือคณบดี ป. เอก แต่ไม่ได้เรียนในสายกฎหมาย จะมีความรู้ความเข้าใจกฎหมายดีกว่าหรือเท่ากับคนจบ ป.ตรี ทางกฎหมายย่อมเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นการแสวงหาความชอบธรรมจากความเป็นกลุ่มก้อนทางวิชาชีพบางแขนงก็ดูเป็นเรื่องที่นำมาอ้างอิงเป็นบรรทัดฐานทางการเมืองไม่ได้ หมอหรือคณบดีบางคนก็เป็นได้เพียง "เครื่องมือทางการเมืองของบุคคลบางกลุ่ม" เท่านั้นเอง
ในทรรศนะของผมเองที่บุคคลในครอบครัวเป็นหมอ 2 คน พยาบาล 2 คน เป็น "คนใต้ จ. สงขลา" ทั้งหมด ครอบครัวผมไม่ได้เห็นด้วยกับการกระทำดังกล่าวและไม่ได้สนับสนุนแนวทางของ กปปส แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าครอบครัวผมต้องเป็นสีใดฝ่ายใด หรือรักชาติมากหรือน้อยกว่า กปปส เพียงแต่ผมมองว่า "ความรู้ความเข้าใจและทัศนคติทางการเมืองนั้น" ไม่มีข้อผูกโยงใดๆกับคุณภาพทางการศึกษาของบุคลนั้นๆ ทัศนคติหรือความคิดเห็นทางการเมืองมันขึ้นอยู่กับ "สำนึกและสภาพแวดล้อมทางสังคมของบุคคลนั้นๆ" ไม่ใช่ลักษณะอาชีพเป็นตัวกำหนด
"หมอ" ไม่ได้เก่งทุกเรื่อง ไม่ใช่บรรทัดฐานใดๆของสังคม
การเป็นหมอแม้ว่าจะต้องมีความยากลำบากทางการศึกษามากกว่าสายอาชีพอื่นๆ แต่ก็ไม่ได้เป็นตัวชี้วัดว่า หมอจะต้องเข้าใจเรื่องทางการเมืองหรือสังคมมากกว่าคนอื่น ใช่ว่าหมอจะรอบรู้ทุกเรื่องทุกด้าน หรือใช่ว่าหมอเป็นกลางทางความคิดมากกว่าอาชีพอื่นๆ การแสดงความคิดเห็นของหมอล้วนแล้วแต่มีพื้นฐานจากการเสพข่าวสารมาประมวลผลเป็นหลัก ดังนั้นหาก input ไม่ถูกต้อง output ก็ย่อมไม่ถูกต้องเช่นกัน
หมอจบ ป.เอก ไม่ได้เรียนรัฐศาสตร์ หรือคณบดี ป. เอก แต่ไม่ได้เรียนในสายกฎหมาย จะมีความรู้ความเข้าใจกฎหมายดีกว่าหรือเท่ากับคนจบ ป.ตรี ทางกฎหมายย่อมเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นการแสวงหาความชอบธรรมจากความเป็นกลุ่มก้อนทางวิชาชีพบางแขนงก็ดูเป็นเรื่องที่นำมาอ้างอิงเป็นบรรทัดฐานทางการเมืองไม่ได้ หมอหรือคณบดีบางคนก็เป็นได้เพียง "เครื่องมือทางการเมืองของบุคคลบางกลุ่ม" เท่านั้นเอง
ในทรรศนะของผมเองที่บุคคลในครอบครัวเป็นหมอ 2 คน พยาบาล 2 คน เป็น "คนใต้ จ. สงขลา" ทั้งหมด ครอบครัวผมไม่ได้เห็นด้วยกับการกระทำดังกล่าวและไม่ได้สนับสนุนแนวทางของ กปปส แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าครอบครัวผมต้องเป็นสีใดฝ่ายใด หรือรักชาติมากหรือน้อยกว่า กปปส เพียงแต่ผมมองว่า "ความรู้ความเข้าใจและทัศนคติทางการเมืองนั้น" ไม่มีข้อผูกโยงใดๆกับคุณภาพทางการศึกษาของบุคลนั้นๆ ทัศนคติหรือความคิดเห็นทางการเมืองมันขึ้นอยู่กับ "สำนึกและสภาพแวดล้อมทางสังคมของบุคคลนั้นๆ" ไม่ใช่ลักษณะอาชีพเป็นตัวกำหนด