กูเกิล ได้พัฒนาคิดค้นสิ่งประดิษฐ์อัจฉริยะใหม่ 'คอนแทคเลนส์วัดระดับน้ำตาลในเลือด' ซึ่งจะประกอบไปด้วย ตัวเซ็นเซอร์กลูโคส พร้อมด้วยเสาอากาศ, ตัวเก็บประจุ และชิปที่ออกแบบมาเพื่อช่วยตรวจวัดระดับน้ำตาลสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน
โดยนวัตกรรมคอนแทคเลนส์ใหม่ จะไม่ช่วยแต่เพียงเฉพาะเรื่องการมองเห็นเท่านั้น แต่ยังจะมีตัวอ่านกลูโคสสองครั้งทุกๆวินาที และส่งข้อมูลไปยังอุปกรณ์ตรวจจับภายนอกผ่านทางคลื่นความถี่วิทยุ โดยในบล็อกโพสต์ กูเกิล กล่าว 1 ใน 19 คนบนโลกใบนี้ มีความเกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือดมีการเปลี่ยนแปลงตลอดทั้งวัน และจำเป็นจะต้องเก็บข้อมูลเพื่อใช้ในการตรวจสอบ ดังนั้น ด้วยสิ่งประดิษฐ์ใหม่นี้ จะช่วยให้ทุกคนลดทอนความเจ็บปวดอันเกิดขึ้นทุกครั้งที่มีการเจาะเลือด โดยจะประกอบไปด้วย ชิปและเซ็นเซอร์ ที่มีลักษณะเป็นชิ้นส่วนแวววาวเล็กๆ พร้อมด้วยเสาอากาศซึ่งมีความบาง บางกว่าเส้นผมปกติของมนุษย์ โดยเลนส์ดังกล่าว ไม่จำเป็นจะต้องพึ่งพาแบตเตอรี่ แต่จะรับพลังงานจากอุปกรณ์ตรวจสอบภายนอกแทน ผ่านทางคลื่นความถี่วิทยุ
ซึ่งโครงการนี้นำทีมโดย Brian Otis และทางทีมงานกูเกิลกำลังมีการปรึกษาหารือกับ คณะกรรมการอาหารและยา หรือ FDA แต่ยอมรับว่า ยังมีเนื้องานที่ต้องทำเหลืออยู่เป็นจำนวนมาก ก่อนที่เทคโนโลยีดังกล่าวจะสามารถนำออกสู่ตลาดได้
ที่มา TechSpot
กูเกิล ผุดไอเดียเจ๋ง! พัฒนา คอนแทคเลนส์ ตรวจจับระดับน้ำตาลในเลือด สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
กูเกิล ได้พัฒนาคิดค้นสิ่งประดิษฐ์อัจฉริยะใหม่ 'คอนแทคเลนส์วัดระดับน้ำตาลในเลือด' ซึ่งจะประกอบไปด้วย ตัวเซ็นเซอร์กลูโคส พร้อมด้วยเสาอากาศ, ตัวเก็บประจุ และชิปที่ออกแบบมาเพื่อช่วยตรวจวัดระดับน้ำตาลสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน
โดยนวัตกรรมคอนแทคเลนส์ใหม่ จะไม่ช่วยแต่เพียงเฉพาะเรื่องการมองเห็นเท่านั้น แต่ยังจะมีตัวอ่านกลูโคสสองครั้งทุกๆวินาที และส่งข้อมูลไปยังอุปกรณ์ตรวจจับภายนอกผ่านทางคลื่นความถี่วิทยุ โดยในบล็อกโพสต์ กูเกิล กล่าว 1 ใน 19 คนบนโลกใบนี้ มีความเกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือดมีการเปลี่ยนแปลงตลอดทั้งวัน และจำเป็นจะต้องเก็บข้อมูลเพื่อใช้ในการตรวจสอบ ดังนั้น ด้วยสิ่งประดิษฐ์ใหม่นี้ จะช่วยให้ทุกคนลดทอนความเจ็บปวดอันเกิดขึ้นทุกครั้งที่มีการเจาะเลือด โดยจะประกอบไปด้วย ชิปและเซ็นเซอร์ ที่มีลักษณะเป็นชิ้นส่วนแวววาวเล็กๆ พร้อมด้วยเสาอากาศซึ่งมีความบาง บางกว่าเส้นผมปกติของมนุษย์ โดยเลนส์ดังกล่าว ไม่จำเป็นจะต้องพึ่งพาแบตเตอรี่ แต่จะรับพลังงานจากอุปกรณ์ตรวจสอบภายนอกแทน ผ่านทางคลื่นความถี่วิทยุ
ซึ่งโครงการนี้นำทีมโดย Brian Otis และทางทีมงานกูเกิลกำลังมีการปรึกษาหารือกับ คณะกรรมการอาหารและยา หรือ FDA แต่ยอมรับว่า ยังมีเนื้องานที่ต้องทำเหลืออยู่เป็นจำนวนมาก ก่อนที่เทคโนโลยีดังกล่าวจะสามารถนำออกสู่ตลาดได้
ที่มา TechSpot