สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 27
ในยุคแรกของการสำรวจปิโตรเลียม ราวๆปี 2460 รัฐบาลไทยดำเนินการสำรวจและเจาะสำรวจไปหลายหลุมก็ไม่พบปิโตรเลียม ดังนั้น หากเราเอาเงินงบประมาณแผ่นดินไปสำรวจหาปิโตรเลียมก็อาจมีความเสี่ยงที่จะสูญเสียเงินรัฐไปโดยเปล่าประโยชน์ และสุ่มเสี่ยงต่อเสถียรภาพการคลังของประเทศ การสำรวจปิโตรเลียมใช่ว่าจะเจาะสำรวจเพียง 1 หลุม แล้วจะเจอปิโตรเลียมเลย เราจำเป็นจะต้องทดลองเจาะหลาย ๆ หลุม เพื่อดูบริเวณใกล้เคียงว่ามีแนวโน้มจะพบปิโตรเลียมหรือไม่รัฐสำรวจเองตั้งแต่ ครับ แล้วมายอมแพ้ปี 2514 คิดดูครับ กว่า 54 ปี แต่ไม่สามารถค้นพบแหล่งได้ จึงเปิดเป็นสัมปทานให้เอกชนทำแทน แล้วมาขอส่วนแบ่งโดยไม่ต้องลงทุนเองแทน ทำให้ภาครัฐไม่ต้องลงทุน กับความเสี่ยงในการสำรวจ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
จากการเปิดสัมปทานที่ผ่านมา 20 ครั้ง ให้สัมปทานไปแล้ว 108 ฉบับ จำนวน 155 แปลง และนับถึงปี 2555 มีเพียง 53 สัมปทาน 67 แปลงเท่านั้นที่ดำเนินงานอยู่ เพราะบางแหล่งสัมปทานสำรวจไม่พบปิโตรเลียม ผู้รับสัมปทานจะต้องคืนพื้นที่สัมปทานให้แก่รัฐ
เงินลงทุนในแปลงที่สำรวจไม่พบจึงสูญเปล่า แต่รัฐยังได้ข้อมูลการสำรวจจากผู้รับสัมปทาน ซึ่งรัฐไม่ได้ร่วมลงทุนรับความเสี่ยงนี้ด้วยเลย และสัมปทานที่คืนมาก็สามารถนำมาเปิดสัมปทานใหม่ได้
ตั้งแต่ปี 2514 ถึงสิงหาคม 2556 มีการคืนสัมปทานมาแล้ว 88 แปลงสำรวจ และตั้งแต่ปี 2532 เป็นต้นมา มีผู้รับสัมปทาน 32 แปลงสำรวจที่ไม่ประสบความสำเร็จและคืนสัมปทาน คิดเป็นมูลค่าการลงทุนประมาณ 9,372 ล้านบาท
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ประเทศไทยและคนไทยทุกคนจะได้รับประโยชน์จากการให้สัมปทานปิโตรเลียมทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น รัฐไม่ต้องนำเงินงบประมาณมาลงทุนเอง เพราะธุรกิจด้านการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมมีความเสี่ยงสูง แต่ยังได้รับข้อมูลเพื่อใช้ในการประเมินศักยภาพปิโตรเลียมของประเทศ ผลประโยชน์รายได้เข้าคลังแผ่นดิน ลดการนำเข้าพลังงาน ความมั่นคงทางพลังงาน ฯลฯ สำหรับประชาชนก็จะได้รับประโยชน์ได้โดยตรง เช่น การจ้างงาน กิจกรรมสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ ฯลฯ
รายได้รัฐจากการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม
ในปี 2555 รัฐได้รับรายได้จากการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 161,930 ล้านบาท ประกอบด้วย
รายได้จากภาษีเงินได้ปิโตรเลียม มากที่สุดเท่ากับ 81,780 ล้านบาท
ค่าภาคหลวงปิโตรเลียม 60,250 ล้านบาท
รายได้จากพื้นที่พัฒนาร่วม ไทย-มาเลเซีย 15,820 ล้านบาท
เงินผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ 4,080 ล้านบาท
อย่าลืมว่าเงินภาษีจากภาครัฐที่ได้มาจากการงานด้านพลังงานปีนึงหลายพันล้าน หากหยุดและยกเลิกสัมปทาน เงินส่วนนี้ที่หายไปจะเอามาจากไหน?
http://ppantip.com/topic/31409717 ไหนๆ เราก้ออ้างอิงราคาน้ำมันต่างประเทศแล้ว ทำไมเราไม่หยุดสัมปทาน ปิดปากบ่อไปหมดเลยหล่ะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
จากการเปิดสัมปทานที่ผ่านมา 20 ครั้ง ให้สัมปทานไปแล้ว 108 ฉบับ จำนวน 155 แปลง และนับถึงปี 2555 มีเพียง 53 สัมปทาน 67 แปลงเท่านั้นที่ดำเนินงานอยู่ เพราะบางแหล่งสัมปทานสำรวจไม่พบปิโตรเลียม ผู้รับสัมปทานจะต้องคืนพื้นที่สัมปทานให้แก่รัฐ
เงินลงทุนในแปลงที่สำรวจไม่พบจึงสูญเปล่า แต่รัฐยังได้ข้อมูลการสำรวจจากผู้รับสัมปทาน ซึ่งรัฐไม่ได้ร่วมลงทุนรับความเสี่ยงนี้ด้วยเลย และสัมปทานที่คืนมาก็สามารถนำมาเปิดสัมปทานใหม่ได้
ตั้งแต่ปี 2514 ถึงสิงหาคม 2556 มีการคืนสัมปทานมาแล้ว 88 แปลงสำรวจ และตั้งแต่ปี 2532 เป็นต้นมา มีผู้รับสัมปทาน 32 แปลงสำรวจที่ไม่ประสบความสำเร็จและคืนสัมปทาน คิดเป็นมูลค่าการลงทุนประมาณ 9,372 ล้านบาท
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ประเทศไทยและคนไทยทุกคนจะได้รับประโยชน์จากการให้สัมปทานปิโตรเลียมทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น รัฐไม่ต้องนำเงินงบประมาณมาลงทุนเอง เพราะธุรกิจด้านการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมมีความเสี่ยงสูง แต่ยังได้รับข้อมูลเพื่อใช้ในการประเมินศักยภาพปิโตรเลียมของประเทศ ผลประโยชน์รายได้เข้าคลังแผ่นดิน ลดการนำเข้าพลังงาน ความมั่นคงทางพลังงาน ฯลฯ สำหรับประชาชนก็จะได้รับประโยชน์ได้โดยตรง เช่น การจ้างงาน กิจกรรมสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ ฯลฯ
รายได้รัฐจากการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม
ในปี 2555 รัฐได้รับรายได้จากการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 161,930 ล้านบาท ประกอบด้วย
รายได้จากภาษีเงินได้ปิโตรเลียม มากที่สุดเท่ากับ 81,780 ล้านบาท
ค่าภาคหลวงปิโตรเลียม 60,250 ล้านบาท
รายได้จากพื้นที่พัฒนาร่วม ไทย-มาเลเซีย 15,820 ล้านบาท
เงินผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ 4,080 ล้านบาท
อย่าลืมว่าเงินภาษีจากภาครัฐที่ได้มาจากการงานด้านพลังงานปีนึงหลายพันล้าน หากหยุดและยกเลิกสัมปทาน เงินส่วนนี้ที่หายไปจะเอามาจากไหน?
http://ppantip.com/topic/31409717 ไหนๆ เราก้ออ้างอิงราคาน้ำมันต่างประเทศแล้ว ทำไมเราไม่หยุดสัมปทาน ปิดปากบ่อไปหมดเลยหล่ะ
ความคิดเห็นที่ 12
บริษัทเอกชนของประเทศไทยขนาดใหญ่ที่ทำธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ได้แก่ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท. สผ. ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ ยังมีบริษัทเอกชนไทย เช่น บริษัท พลังโสภณ จำกัด ร่วมลงทุนในฐานะผู้ร่วมประกอบกิจการปิโตรเลียม
สำหรับหน่วยงานของรัฐที่ดำเนินการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ได้แก่ กรมการพลังงานทหาร กระทรวงกลาโหม เป็นหน่วยงานรัฐเพียงหน่วยงานเดียวที่ดำเนินการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม โดยผลิตน้ำมันจากแหล่งฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ในอัตราประมาณวันละ 1,000 บาร์เรล โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นยุทธปัจจัยและความมั่นคง ปลอดภัยของประเทศ
จึงสรุปได้ว่าการสำรวจปิโตรเลียมต้องใช้เงินลงทุนสูง เป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงค่อนข้างสูงและมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จ โดยทั่วไปเพียงร้อยละ 10 ดังนั้น ที่ผ่านมารัฐบาลจึงส่งเสริมให้เอกชนทั้งไทยและต่างชาติมาลงทุนในธุรกิจนี้แทนที่รัฐจะลงทุนเอง
ระบบสัมปทานปิโตรเลียมของประเทศไทยมีพัฒนาการมาสามขั้นตอน มีการแก้กฎหมายหลายครั้ง มีการปรับเปลี่ยนอัตราการแบ่งปันผลประโยชน์ไปตามยุคสมัยและประสบการณ์ของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ระบบ Thailand I เริ่มตั้งแต่ พรบ.ปิโตรเลียมฉบับแรก พ.ศ.2514 กำหนดค่าภาคหลวงร้อยละ 12.5 ของมูลค่าปิโตรเลียมที่จำหน่าย และ พรบ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมอีกร้อยละ 50 ของกำไรสุทธิ โครงการระยะที่หนึ่งประสบความสำเร็จพอสมควร จนถึงปี 2524 มีการค้นพบแหล่งปิโตรเลียมจำนวนหนึ่ง ประกอบกับโลกกำลังประสบภาวะวิกฤตราคาน้ำมัน รัฐบาลไทยจึงได้ปรับเปลี่ยนการแบ่งปันผลประโยชน์เสียใหม่ แก้ไขกฎหมายให้ผู้รับสัมปทานแบ่งผลประโยชน์แก่รัฐเพิ่มขึ้น โดยเริ่มต้นปี 2525 กำหนดว่านอกจากจะจ่ายค่าภาคหลวงร้อยละ 12.5 ของมูลค่าจำหน่ายแล้ว ให้ผู้รับสัมปทานหักค่าใช้จ่ายตาม พรบ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของรายรับ (จากที่เคยหักค่าใช้จ่ายได้ตามจริง) และจ่ายโบนัสเพิ่มรายปีเป็นอัตราขั้นบันไดจากร้อยละ 27.5 ถึงร้อยละ 43.5 ของรายได้จากน้ำมันดิบที่ผลิตเฉลี่ยวันละตั้งแต่ 10,000 บาร์เรล ถึงเฉลี่ยวันละ 30,000 บาร์เรล ระบบใหม่นี้เรียกว่า Thailand II ปรากฏว่าจนถึงปี 2532 มีผู้รับสัมปทานไปเพียง 6 รายเท่านั้น แม้จะมีการสำรวจพบแหล่งปิโตรเลียมบนบกเพิ่มเติม แต่ไม่มีการลงทุนผลิตเชิงพาณิชย์เลย สาเหตุคือ แหล่งปิโตรเลียมบนบกมีขนาดเล็ก กระจัดกระจาย ทำให้มีทั้งความเสี่ยงและต้นทุนในการผลิตต่อบาร์เรลสูง ผู้รับสัมปทานต้องแบ่งผลประโยชน์ให้รัฐสูงจนไม่มีความคุ้มค่าทางธุรกิจ ผลก็คือ รัฐบาลไทยไม่สามารถจัดเก็บผลประโยชน์ปิโตรเลียมตามระบบ Thailand II ได้เลย
ในปี 2532 จึงได้มีการแก้ไขกฎหมายอีกครั้งเป็นระบบ Thailand III ระบุผลประโยชน์แก่รัฐสามส่วน ส่วนแรกคือ ค่าภาคหลวงเป็นอัตราขั้นบันไดตั้งแต่ร้อยละ 5 ขึ้นไปถึงร้อยละ 15 ตามปริมาณจำหน่ายปิโตรเลียมต่ำสุดจากไม่เกิน 60,000 บาร์เรลต่อเดือน ไปจนถึงสูงกว่า 600,000 บาร์เรลต่อเดือน ส่วนที่สองคือภาษีเงินได้ปิโตรเลียมในอัตราร้อยละ 50 ของกำไรสุทธิ ส่วนที่สามคือ ผลประโยชนตอบแทนพิเศษจากกำไรส่วนเกิน โดยจะจัดเก็บเมื่อยอดจำหน่ายปิโตรเลียมเพิ่มเกินกว่าระดับที่กำหนด ระบบ Thailand III จึงมีความยืดหยุ่นมาก ผู้รับสัมปทานที่ค้นพบแหล่งขนาดเล็กและมีต้นทุนต่อหน่วยสูง ผลิตได้น้อยก็สามารถพัฒนาเชิงพาณิชย์ได้ ขณะที่ผู้ที่ค้นพบแหล่งขนาดใหญ่ ต้นทุนต่อหน่วยต่ำกว่าและผลิตได้มากก็ต้องแบ่งผลประโยชน์ให้รัฐเพิ่มขึ้นตามสัดส่วน จนถึงปี 2555 มีการสำรวจพบแหล่งปิโตรเลียมเพิ่มขึ้นอีกมากและสามารถผลิตเชิงพาณิชย์แล้ว 48 สัมปทาน นอกจากนี้ผู้รับสัมปทานในระบบ Thailand II ก็ได้โอนมาเข้าระบบ Thailand III ด้วย ปัจจุบันประเทศไทยมีสัมปทานปิโตรเลียมทั้งสิ้น 63 สัมปทาน โดยมีผู้รับสัมปทานที่ยังอยู่ในระบบ Thailand I เพียง 9 สัมปทานเท่านั้นและจะเริ่มหมดอายุลงตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นไป
สำหรับหน่วยงานของรัฐที่ดำเนินการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ได้แก่ กรมการพลังงานทหาร กระทรวงกลาโหม เป็นหน่วยงานรัฐเพียงหน่วยงานเดียวที่ดำเนินการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม โดยผลิตน้ำมันจากแหล่งฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ในอัตราประมาณวันละ 1,000 บาร์เรล โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นยุทธปัจจัยและความมั่นคง ปลอดภัยของประเทศ
จึงสรุปได้ว่าการสำรวจปิโตรเลียมต้องใช้เงินลงทุนสูง เป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงค่อนข้างสูงและมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จ โดยทั่วไปเพียงร้อยละ 10 ดังนั้น ที่ผ่านมารัฐบาลจึงส่งเสริมให้เอกชนทั้งไทยและต่างชาติมาลงทุนในธุรกิจนี้แทนที่รัฐจะลงทุนเอง
ระบบสัมปทานปิโตรเลียมของประเทศไทยมีพัฒนาการมาสามขั้นตอน มีการแก้กฎหมายหลายครั้ง มีการปรับเปลี่ยนอัตราการแบ่งปันผลประโยชน์ไปตามยุคสมัยและประสบการณ์ของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ระบบ Thailand I เริ่มตั้งแต่ พรบ.ปิโตรเลียมฉบับแรก พ.ศ.2514 กำหนดค่าภาคหลวงร้อยละ 12.5 ของมูลค่าปิโตรเลียมที่จำหน่าย และ พรบ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมอีกร้อยละ 50 ของกำไรสุทธิ โครงการระยะที่หนึ่งประสบความสำเร็จพอสมควร จนถึงปี 2524 มีการค้นพบแหล่งปิโตรเลียมจำนวนหนึ่ง ประกอบกับโลกกำลังประสบภาวะวิกฤตราคาน้ำมัน รัฐบาลไทยจึงได้ปรับเปลี่ยนการแบ่งปันผลประโยชน์เสียใหม่ แก้ไขกฎหมายให้ผู้รับสัมปทานแบ่งผลประโยชน์แก่รัฐเพิ่มขึ้น โดยเริ่มต้นปี 2525 กำหนดว่านอกจากจะจ่ายค่าภาคหลวงร้อยละ 12.5 ของมูลค่าจำหน่ายแล้ว ให้ผู้รับสัมปทานหักค่าใช้จ่ายตาม พรบ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของรายรับ (จากที่เคยหักค่าใช้จ่ายได้ตามจริง) และจ่ายโบนัสเพิ่มรายปีเป็นอัตราขั้นบันไดจากร้อยละ 27.5 ถึงร้อยละ 43.5 ของรายได้จากน้ำมันดิบที่ผลิตเฉลี่ยวันละตั้งแต่ 10,000 บาร์เรล ถึงเฉลี่ยวันละ 30,000 บาร์เรล ระบบใหม่นี้เรียกว่า Thailand II ปรากฏว่าจนถึงปี 2532 มีผู้รับสัมปทานไปเพียง 6 รายเท่านั้น แม้จะมีการสำรวจพบแหล่งปิโตรเลียมบนบกเพิ่มเติม แต่ไม่มีการลงทุนผลิตเชิงพาณิชย์เลย สาเหตุคือ แหล่งปิโตรเลียมบนบกมีขนาดเล็ก กระจัดกระจาย ทำให้มีทั้งความเสี่ยงและต้นทุนในการผลิตต่อบาร์เรลสูง ผู้รับสัมปทานต้องแบ่งผลประโยชน์ให้รัฐสูงจนไม่มีความคุ้มค่าทางธุรกิจ ผลก็คือ รัฐบาลไทยไม่สามารถจัดเก็บผลประโยชน์ปิโตรเลียมตามระบบ Thailand II ได้เลย
ในปี 2532 จึงได้มีการแก้ไขกฎหมายอีกครั้งเป็นระบบ Thailand III ระบุผลประโยชน์แก่รัฐสามส่วน ส่วนแรกคือ ค่าภาคหลวงเป็นอัตราขั้นบันไดตั้งแต่ร้อยละ 5 ขึ้นไปถึงร้อยละ 15 ตามปริมาณจำหน่ายปิโตรเลียมต่ำสุดจากไม่เกิน 60,000 บาร์เรลต่อเดือน ไปจนถึงสูงกว่า 600,000 บาร์เรลต่อเดือน ส่วนที่สองคือภาษีเงินได้ปิโตรเลียมในอัตราร้อยละ 50 ของกำไรสุทธิ ส่วนที่สามคือ ผลประโยชนตอบแทนพิเศษจากกำไรส่วนเกิน โดยจะจัดเก็บเมื่อยอดจำหน่ายปิโตรเลียมเพิ่มเกินกว่าระดับที่กำหนด ระบบ Thailand III จึงมีความยืดหยุ่นมาก ผู้รับสัมปทานที่ค้นพบแหล่งขนาดเล็กและมีต้นทุนต่อหน่วยสูง ผลิตได้น้อยก็สามารถพัฒนาเชิงพาณิชย์ได้ ขณะที่ผู้ที่ค้นพบแหล่งขนาดใหญ่ ต้นทุนต่อหน่วยต่ำกว่าและผลิตได้มากก็ต้องแบ่งผลประโยชน์ให้รัฐเพิ่มขึ้นตามสัดส่วน จนถึงปี 2555 มีการสำรวจพบแหล่งปิโตรเลียมเพิ่มขึ้นอีกมากและสามารถผลิตเชิงพาณิชย์แล้ว 48 สัมปทาน นอกจากนี้ผู้รับสัมปทานในระบบ Thailand II ก็ได้โอนมาเข้าระบบ Thailand III ด้วย ปัจจุบันประเทศไทยมีสัมปทานปิโตรเลียมทั้งสิ้น 63 สัมปทาน โดยมีผู้รับสัมปทานที่ยังอยู่ในระบบ Thailand I เพียง 9 สัมปทานเท่านั้นและจะเริ่มหมดอายุลงตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นไป
แสดงความคิดเห็น
การขุดน้ำมันในประเทศไทยโดยต่างชาติมาทำสัมปทาน??
ทำให้สงสัยมากว่าทำไมน้ำมันในประเทศเราเอง เราจะขุดเองไม่ได้สักที
ต้องขายสัมปทานให้ ต่างชาติมาขุดตลอด ทั้งที่ๆมันเป็นทรัพยากรของแผ่นดิน
ยอมรับว่าแรกเริ่มเดิมทีเราด้อยพัฒนาจำเป็นต้องให้ต่างชาติมาพัฒนา
แต่นี่ผ่านมาสามสี่สิบปี เผลอๆจะเป็นครึ่งศตวรรษ ที่เราไม่คิดจะพัฒนาเอง
ปตท กำไรก็เยอะ ทำไมยังพัฒนาด้านนี้เองไม่ได้
หรือคนไทยเราจะมีสติปัญญา ที่ไม่ฉลาดเท่าเทียมต่างชาติ
หรือเรียกด้วยคำง่ายๆ โง่ หรือ?