เถียงกันกี่ชาติถึงจะจบรถไฟความเร็วสูง

ผมมานั่งลองนึกดูบางกลุ่มก็อยากได้ บางกลุ่มก็ไม่อยากได้

มันจะเป็นไปได้ไหมครับถ้าเราจะเก็บภาษีเพิ่มเติมในการเอาไปทำโครงการจากคนที่ให้การสนับสนุน

สมมุติว่ามีคนสนับสนุนโครงการนี้อยู่ 10 ล้านคน ก็นำจำนวนเงินที่จะกู้ไปหารกับจำนวนประชากรและเก็บเป็นภาษีเพิ่มเติม
จากภาษีเดิมที่จ่ายอยู่ อาจจะทะยอยแบ่งเก็บ 10 ปี 20ปี หรือ 50ปี (สำหรับคนที่ไม่เห็นด้วยก็ให้เก็บตามปกติที่เคยเก็บ)

โอเค...เพื่อไม่เป็นการได้เปรียบเสียเปรียบ ก็ให้สิทธิคนเสียเงินขึ้นเท่านั้น คนที่ไม่ได้เสียเงินก็ไม่ต้องใช้บริการ หรือหากอยากจะใช้บริการ
ในภายหลังก็ให้เก็บเงินให้หนัก สมมุติค่าบริการคนที่สนับสนุน(เสียเงิน) คือ 1000 บาท  ก็ให้เก็บคนที่ไม่เห็นด้วยและไม่จ่ายเงินในตอนแรกสัก 10000 บาท อะไรทำนองนี้

เงินกู้ที่ขนาดทำให้คนเป็นหนี้กันคนละหลายแสน หลายล้าน อย่าบังคับคนที่เค้าไม่เห็นด้วยเลยครับ
มันไม่ใช่คนไม่เห็นด้วยแค่ แสนสองแสนคน แต่มันเป็นล้านคน

ผมเห็นด้วยนะครับเรื่องที่ว่าจะกู้เงินมาปรับปรุงการจราจรทั้งในกรุงเทพ ทั้งต่างจังหวัด ขยายถนน ราดยางมะตอย หรือกระจายความเจริญต่างๆไปยังชนบท ทำโครงการที่เห็นประโยชน์อย่างชัดเจนเรียบง่ายไม่ต้องโอเวอร์

เหมือนที่เค้าบอกแหละครับว่าทำถนนลุกรังให้หมดก่อนดีไหม ทำมาคนจนก็ใช่จะได้ขึ้นค่าโดยสารคงจะหลายพันน้องๆเครื่องบิน
ไอ้ที่ถนนขับรถยนต์ไปถูกกว่ายังทำได้ไม่ดีเลย อย่าไปเทียบกับประเทศโน้นประเทศนี้เลยครับมันไม่เหมือนกัน
ประเทศโน้นก็มีประเทศนั้นก็มี มีแล้วมันยังไงครับ เห็นเพื่อนมีจำเป็นต้องมีตามเหรอครับ

บ้านเพื่อนเค้าน้ำมันถูกบ้านเราน้ำมันแพงไม่เห็นมีใครเอาอย่างเพื่อนบ้านบ้าง
แค่รถเมลล์ยังทำให้ดีไม่ได้ แค่รถไฟฟ้ายังทำให้ครอบคลุมและราคาถูกไม่ได้
ผมนึกไม่ออกเลยว่ามีรถไฟความเร็วสูงแล้วจะเจริญขึ้นยังไง

ถึงได้บอกว่าเถียงกันกี่ชาติก็ไม่จบหรอกครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่