ถนนลูกรังไทยอยู่ตรงไหน?
ทางมิได้ปูลาด (Unpaved Road) เป็นชนิดของถนนที่ทำขึ้นด้วยการปรับสภาพหน้าดินให้เป็นทาง กำจัดสิ่งกีดขวาง และบดอัดให้เรียบเหมาะแก่การสัญจรไปมา ประกอบด้วยชนิดของถนนหลายประเภท เช่น ทางดิน (Dirt road) ทางกรวด (Gravel Road) และทางลูกรัง (Laterite or Murram Road)
ทางที่มิได้ปูลาดในประเทศไทย ส่วนมากเป็นทางที่ทำจากดินลูกรัง หรือ Laterite ในภาษาเหนือและอีสานจะเรียกว่า ทางหินแห่ ซึ่งประกอบจากดินและหินที่แตกสลายออกจากศิลาแลงหรือหินแห่ มีส่วนประกอบของธาตุเหล็กมาก ทำให้ดินมีสีแดงและทางมีสีแดงไปด้วย ในฤดูฝนเมื่อฝนตกลงมา ทางลูกรังจะเปียกลื่นและเป็นหลุมบ่อโคลนไม่เหมาะแก่การสัญจร ในฤดูแล้ง ทางลูกรังจะเป็นแหล่งสะสมพัดฝุ่นตะกอนดินสีแดงอาบไปทั่วบริเวณที่ถนนตัดผ่าน
อย่างไรก็ตาม การพัฒนาระบบถนนให้กลายเป็นถนนปูลาด หรือ Paved Road ซึ่งคือถนนคอนกรีตและถนนลาดยาง ถือเป็นความพยายามปรับปรุงการคมนาคมพื้นฐานของประเทศ เนื่องจากถนนปูลาดแล้วจะสัญจรไปมาได้สะดวกและปลอดภัยกว่า
ปัจจุบันประเทศต่างๆ ยังมีทางที่มิได้ปูลาด รวมถึงทางลูกรังอยู่เป็นจำนวนมาก แม้ว่าจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว เนื่องจากค่าบำรุงรักษาของทางมิได้ปูลาดนั้นต่ำ เหมาะสำหรับเขตชนบทที่ห่างไกลและการสัญจรไปมาไม่หนาแน่น รวมถึงมีสภาพภูมิประเทศหรือภูมิอากาศทีก่อสร้างทางปูลาดได้ยาก
โดยแต่ละประเทศมีระยะทางถนนรวมและถนนมิได้ปูลาดแล้ว ดังต่อไปนี้
● ญี่ปุ่นมีถนนความยาวรวม 1,210,251 กิโลเมตร
มีทางมิได้ปูลาดอยู่ 237,017 กิโลเมตร
คิดเป็น 19.58% ของถนนทั้งประเทศ (ปี 2010)
● เกาหลีใต้ มีถนนความยาวรวม 104,983 กิโลเมตร
มีทางมิได้ปูลาดอยู่ 21,784 กิโลเมตร
คิดเป็น 20.75% ของถนนทั้งประเทศ(ปี 2009)
● สหรัฐอเมริกา มีถนนความยาวรวม 6,586,610 กิโลเมตร
มีทางมิได้ปูลาดอยู่ 2,281,895 กิโลเมตร
คิดเป็น 34.64% ของถนนทั้งประเทศ(ปี 2012)
● สาธารณรัฐประชาชนจีน มีถนนความยาวรวม 4,106,387 กิโลเมตร
มีทางมิได้ปูลาดอยู่ 652,497 กิโลเมตร
คิดเป็น 15.89 ของถนนทั้งประเทศ (ปี 2011)
● จีนไทเป(ไต้หวัน) มีถนนความยาวรวม 41,475 กิโลเมตร
มีทางมิได้ปูลาดอยู่ 442 กิโลเมตร
คิดเป็น 1.06% ของถนนทั้งประเทศ(ปี 2010)
● สวีเดน มีถนนความยาวรวม 579,564 กิโลเมตร
มีทางมิได้ปูลาดอยู่ 444,412 กิโลเมตร
คิดเป็น 76.68% ของถนนทั้งประเทศ (ปี 2010)
● อียิปต์ มีถนนความยาวรวม 137,430 กิโลเมตร
มีทางมิได้ปูลาดอยู่10,688 กิโลเมตร
คิดเป็น 7.78% ของถนนทั้งประเทศ (ปี 2010)
● เวียดนาม มีถนนความยาวรวม 206,633 กิโลเมตร
มีทางมิได้ปูลาดอยู่ 47,130 กิโลเมตร
คิดเป็น 22.81% ของถนนทั้งประเทศ (ปี 2011)
● มาเลเซีย มีถนนความยาวรวม 144,403 กิโลเมตร
มีทางมิได้ปูลาดอยู่ 28,234 กิโลเมตร
คิดเป็น 19.55% ของถนนทั้งประเทศ (ปี 2010)
● ลาว มีถนนความยาวรวม 39,568 กิโลเมตร
มีทางมิได้ปูลาดอยู่ 39,038 กิโลเมตร
คิดเป็น 98.66% ของถนนทั้งประเทศ (ปี 2009)
● ไทย มีถนนความยาวรวม 115,077 กิโลเมตร
มีทางมิได้ปูลาด(ทางลูกรัง) 4,958 กิโลเมตร
คิดเป็น 4.3% ของถนนทั้งประเทศ (ปี 2013)
ถือได้ว่าประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีถนนทางปูลาด (paved roads) มากกว่าทางลูกรังมิได้ปูลาดในอัตราที่สูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ รวมถึงประเทศที่พัฒนาแล้ว อาจเป็นเพราะแนวนโยบายการพัฒนาประเทศที่มุ่งเน้นการขนส่งจราจรทางถนนมากกว่าทางอื่น เช่น ระบบราง ระบบขนส่งทางน้ำ หรือทางอากาศ
ทางลูกรังอาจใช้ชี้วัดระดับการพัฒนาเมืองได้ในบางกรณี อย่างไรก็ตาม ทุกตัวชี้วัดพึงใช้ด้วยความระมัดระวังเสมอ
ที่มา
1.
https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/fields/2085.html
2.
http://vigportal.mot.go.th/portal/site/PortalMOT/stat/index6URL/
3.
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=795388197154660&set=a.228416537185165.77508.228414833852002&type=1&theater
มาเปรียบเทียบถนนลูกรังของประเทศไทยกับต่างประเทศกันครับ
ทางมิได้ปูลาด (Unpaved Road) เป็นชนิดของถนนที่ทำขึ้นด้วยการปรับสภาพหน้าดินให้เป็นทาง กำจัดสิ่งกีดขวาง และบดอัดให้เรียบเหมาะแก่การสัญจรไปมา ประกอบด้วยชนิดของถนนหลายประเภท เช่น ทางดิน (Dirt road) ทางกรวด (Gravel Road) และทางลูกรัง (Laterite or Murram Road)
ทางที่มิได้ปูลาดในประเทศไทย ส่วนมากเป็นทางที่ทำจากดินลูกรัง หรือ Laterite ในภาษาเหนือและอีสานจะเรียกว่า ทางหินแห่ ซึ่งประกอบจากดินและหินที่แตกสลายออกจากศิลาแลงหรือหินแห่ มีส่วนประกอบของธาตุเหล็กมาก ทำให้ดินมีสีแดงและทางมีสีแดงไปด้วย ในฤดูฝนเมื่อฝนตกลงมา ทางลูกรังจะเปียกลื่นและเป็นหลุมบ่อโคลนไม่เหมาะแก่การสัญจร ในฤดูแล้ง ทางลูกรังจะเป็นแหล่งสะสมพัดฝุ่นตะกอนดินสีแดงอาบไปทั่วบริเวณที่ถนนตัดผ่าน
อย่างไรก็ตาม การพัฒนาระบบถนนให้กลายเป็นถนนปูลาด หรือ Paved Road ซึ่งคือถนนคอนกรีตและถนนลาดยาง ถือเป็นความพยายามปรับปรุงการคมนาคมพื้นฐานของประเทศ เนื่องจากถนนปูลาดแล้วจะสัญจรไปมาได้สะดวกและปลอดภัยกว่า
ปัจจุบันประเทศต่างๆ ยังมีทางที่มิได้ปูลาด รวมถึงทางลูกรังอยู่เป็นจำนวนมาก แม้ว่าจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว เนื่องจากค่าบำรุงรักษาของทางมิได้ปูลาดนั้นต่ำ เหมาะสำหรับเขตชนบทที่ห่างไกลและการสัญจรไปมาไม่หนาแน่น รวมถึงมีสภาพภูมิประเทศหรือภูมิอากาศทีก่อสร้างทางปูลาดได้ยาก
โดยแต่ละประเทศมีระยะทางถนนรวมและถนนมิได้ปูลาดแล้ว ดังต่อไปนี้
● ญี่ปุ่นมีถนนความยาวรวม 1,210,251 กิโลเมตร
มีทางมิได้ปูลาดอยู่ 237,017 กิโลเมตร
คิดเป็น 19.58% ของถนนทั้งประเทศ (ปี 2010)
● เกาหลีใต้ มีถนนความยาวรวม 104,983 กิโลเมตร
มีทางมิได้ปูลาดอยู่ 21,784 กิโลเมตร
คิดเป็น 20.75% ของถนนทั้งประเทศ(ปี 2009)
● สหรัฐอเมริกา มีถนนความยาวรวม 6,586,610 กิโลเมตร
มีทางมิได้ปูลาดอยู่ 2,281,895 กิโลเมตร
คิดเป็น 34.64% ของถนนทั้งประเทศ(ปี 2012)
● สาธารณรัฐประชาชนจีน มีถนนความยาวรวม 4,106,387 กิโลเมตร
มีทางมิได้ปูลาดอยู่ 652,497 กิโลเมตร
คิดเป็น 15.89 ของถนนทั้งประเทศ (ปี 2011)
● จีนไทเป(ไต้หวัน) มีถนนความยาวรวม 41,475 กิโลเมตร
มีทางมิได้ปูลาดอยู่ 442 กิโลเมตร
คิดเป็น 1.06% ของถนนทั้งประเทศ(ปี 2010)
● สวีเดน มีถนนความยาวรวม 579,564 กิโลเมตร
มีทางมิได้ปูลาดอยู่ 444,412 กิโลเมตร
คิดเป็น 76.68% ของถนนทั้งประเทศ (ปี 2010)
● อียิปต์ มีถนนความยาวรวม 137,430 กิโลเมตร
มีทางมิได้ปูลาดอยู่10,688 กิโลเมตร
คิดเป็น 7.78% ของถนนทั้งประเทศ (ปี 2010)
● เวียดนาม มีถนนความยาวรวม 206,633 กิโลเมตร
มีทางมิได้ปูลาดอยู่ 47,130 กิโลเมตร
คิดเป็น 22.81% ของถนนทั้งประเทศ (ปี 2011)
● มาเลเซีย มีถนนความยาวรวม 144,403 กิโลเมตร
มีทางมิได้ปูลาดอยู่ 28,234 กิโลเมตร
คิดเป็น 19.55% ของถนนทั้งประเทศ (ปี 2010)
● ลาว มีถนนความยาวรวม 39,568 กิโลเมตร
มีทางมิได้ปูลาดอยู่ 39,038 กิโลเมตร
คิดเป็น 98.66% ของถนนทั้งประเทศ (ปี 2009)
● ไทย มีถนนความยาวรวม 115,077 กิโลเมตร
มีทางมิได้ปูลาด(ทางลูกรัง) 4,958 กิโลเมตร
คิดเป็น 4.3% ของถนนทั้งประเทศ (ปี 2013)
ถือได้ว่าประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีถนนทางปูลาด (paved roads) มากกว่าทางลูกรังมิได้ปูลาดในอัตราที่สูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ รวมถึงประเทศที่พัฒนาแล้ว อาจเป็นเพราะแนวนโยบายการพัฒนาประเทศที่มุ่งเน้นการขนส่งจราจรทางถนนมากกว่าทางอื่น เช่น ระบบราง ระบบขนส่งทางน้ำ หรือทางอากาศ
ทางลูกรังอาจใช้ชี้วัดระดับการพัฒนาเมืองได้ในบางกรณี อย่างไรก็ตาม ทุกตัวชี้วัดพึงใช้ด้วยความระมัดระวังเสมอ
ที่มา
1. https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/fields/2085.html
2. http://vigportal.mot.go.th/portal/site/PortalMOT/stat/index6URL/
3. https://www.facebook.com/photo.php?fbid=795388197154660&set=a.228416537185165.77508.228414833852002&type=1&theater