*** ความรู้เรื่อง สาเหตุถนนทรุด !! เพราะไม่มีน้ำ ที่เปรียบเสมือนเป็นตัวดันถนนไว้ / กทม ดินอ่อนควรระวัง ***(by:robinhood)

กระทู้สนทนา
คลิ๊กชมคลิปวีดีโอได้ที่นี่  ------- >>>>       http://www.thairath.co.th/clip/22009

เหตุถนนเลียบคลองชลประทานทรุดตัว เกิดขึ้นในหลายจังหวัด ขณะนี้รวมกันเป็นระยะทางยาวกว่า 4-5 กิโลเมตร สาเหตุเกิดจากอะไร ไทยรัฐนิวส์โชว์ สรุปให้เห็นกันอีกครั้ง

พื้นที่ถนนเลียบคลอง อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท โดยการสร้างถนนเลียบคลอง ส่วนใหญ่จะอยู่สูงจากความลึกน้ำประมาณ 5-8 เมตร โดยประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญ คือ

ส่วนแรก เป็นผิวทาง หรือยางมะตอย จะอยู่บนโครงสร้างทาง มีความหนาอยู่ที่ 4-10 เซนติเมตร โดยโครงสร้างถนนและผิวทาง จะมีความหนาแตกต่างกันออกไป ในแต่ละพื้นที่

อีกส่วนเรียกว่าโครงสร้างถนน ประกอบไปด้วย 2 ส่วนคือ ชั้นดินลูกรัง มีความหนาอยู่ที่ 40 เซนติเมตร ลักษณะจะมีส่วนผสมของดินและหินเป็นเม็ดเล็กๆ มีสีแดงไปจนถึงส้ม

ส่วนที่สองคือ ชั้นหินคลุก อยู่ชั้นบนชั้นดินลูกรัง มีความหนาอยู่ที่ 40 เซนติเมตรเช่นกัน ลักษณะจะประกอบด้วยเม็ดหินขนาดใหญ่ มีสีออกเขียวไปจนถึงเทา

เมื่อมาดูภาพหน้าตัดของถนน และคลอง จะเห็นว่าน้ำและมวลดิน ทั้ง 2 ส่วนจะพึ่งพาอาศัยกัน โดยน้ำ จะเปรียบเสมือนเป็นตัวดันถนนไว้

แต่เมื่อไม่มีน้ำ จึงไม่มีแรงที่จะมาดันดิน ส่งผลให้น้ำที่อยู่ในชั้นมวลดิน หาทางออก หรือไหลออกตามแรงโน้มถ่วงของโลก จึงทำให้มวลดินเกิดการทรุดตัว

อีกหนึ่งสาเหตุ คือ ดินเลียบคลองส่วนใหญ่เป็นดินเหนียวที่ได้มาจากการขุดคลอง จึงไม่มีความแข็งแรง

เมื่อมีรถวิ่งจึงทำให้ถนนเกิดการพังทรุดตัว



แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่