ทุนนิยมมิใช่เป็นแค่ระบบเศรษฐกิจเท่านั้น หากยังเป็นอุดมการณ์ที่ทรงอิทธิพลอย่างยิ่งโดยเฉพาะในยุคที่เรียกว่าโลกาภิวัตน์
ดังนั้นจึงมีอิทธิพลต่อโลกทัศน์และมุมมองเกี่ยวกับชีวิต รวมทั้งพฤติกรรมของผู้คนทั่วโลก
อิทธิพลดังกล่าวเคยเป็นบทบาทของศาสนามาช้านาน แต่บัดนี้กำลังถูกท้าทายและทดแทนโดยทุนนิยมอย่างมิอาจมองข้ามไปได้
ทุนนิยมนั้นมีปรัชญาพื้นฐานอยู่ ๕ ประการ
ประการแรกคือความเชื่อว่าถ้าทุกคนทำเพื่อประโยชน์ส่วนตนแล้ว ในที่สุดจะเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม ยกตัวอย่างเช่น การที่เรามีข้าวกิน มีดินสอใช้ มีรถยนต์ขับ มีชีวิตที่สะดวกสบาย ก็เพราะว่าทุกคนทำเพื่อประโยชน์ส่วนตัวทั้งนั้น ตั้งแต่ชาวนา กรรมกร ชาวนา คนขับรถ พนักงานบริษัทห้างร้าน ทุกคนทำเพื่อประโยชน์ส่วนตัว เช่น อยากมีเงินใช้ อยากรวย อยากอยู่สบาย ก็เลยพากันเอาของมาขาย หรือมารับจ้าง จึงทำให้สังคมมีสิ่งต่าง ๆ ใช้สอยไม่ขาดแคลน ไม่ว่าข้าวปลาอาหาร สิ่งอำนวยความสะดวก นี้คือประโยชน์ที่เกิดกับส่วนรวม
พูดอีกอย่างคือ ทุนนิยมเชื่อว่าความเห็นแก่ตัวเป็นพลังสำคัญที่ผลักดันให้เกิดความเจริญก้าวหน้าในสังคมได้ โดยเฉพาะในทางเศรษฐกิจ ด้วยเหตุนี้ทุนนิยมจึงพยายามกระตุ้นให้ผู้คนเกิดความเห็นแก่ตัวหรือใช้ความเห็นแก่ตัวเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เจริญก้าวหน้า ทั้งในแง่การผลิต การจำหน่ายจ่ายแจกและการบริโภค ทั้งหมดนี้จะทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่าความเจริญในที่สุด เป็นความเจริญโดยเกิดจากสิ่งที่เรียกว่า “มือที่มองไม่เห็น” (invisible hand)
ความคิดเช่นนี้ต่างจากหลักศาสนาอย่างชัดเจน เพราะศาสนาเชื่อว่าแม้มนุษย์เรามีความเห็นแก่ตัวแต่เราไม่ควรจะกระตุ้นความโลภหรือกระตุ้นการแสวงหากำไรอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เพราะจะกลายเป็นโทษต่อสังคมในระยะยาว ศาสนาจึงมุ่งลดความเห็นแก่ตัวให้เหลือน้อยที่สุดหรือควบคุมให้อยู่ในขอบเขต
วิพากษ์ทุนนิยม จากมุมมองของศาสนา (พระไพศาล วิสาโล)
ดังนั้นจึงมีอิทธิพลต่อโลกทัศน์และมุมมองเกี่ยวกับชีวิต รวมทั้งพฤติกรรมของผู้คนทั่วโลก
อิทธิพลดังกล่าวเคยเป็นบทบาทของศาสนามาช้านาน แต่บัดนี้กำลังถูกท้าทายและทดแทนโดยทุนนิยมอย่างมิอาจมองข้ามไปได้
ทุนนิยมนั้นมีปรัชญาพื้นฐานอยู่ ๕ ประการ
ประการแรกคือความเชื่อว่าถ้าทุกคนทำเพื่อประโยชน์ส่วนตนแล้ว ในที่สุดจะเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม ยกตัวอย่างเช่น การที่เรามีข้าวกิน มีดินสอใช้ มีรถยนต์ขับ มีชีวิตที่สะดวกสบาย ก็เพราะว่าทุกคนทำเพื่อประโยชน์ส่วนตัวทั้งนั้น ตั้งแต่ชาวนา กรรมกร ชาวนา คนขับรถ พนักงานบริษัทห้างร้าน ทุกคนทำเพื่อประโยชน์ส่วนตัว เช่น อยากมีเงินใช้ อยากรวย อยากอยู่สบาย ก็เลยพากันเอาของมาขาย หรือมารับจ้าง จึงทำให้สังคมมีสิ่งต่าง ๆ ใช้สอยไม่ขาดแคลน ไม่ว่าข้าวปลาอาหาร สิ่งอำนวยความสะดวก นี้คือประโยชน์ที่เกิดกับส่วนรวม
พูดอีกอย่างคือ ทุนนิยมเชื่อว่าความเห็นแก่ตัวเป็นพลังสำคัญที่ผลักดันให้เกิดความเจริญก้าวหน้าในสังคมได้ โดยเฉพาะในทางเศรษฐกิจ ด้วยเหตุนี้ทุนนิยมจึงพยายามกระตุ้นให้ผู้คนเกิดความเห็นแก่ตัวหรือใช้ความเห็นแก่ตัวเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เจริญก้าวหน้า ทั้งในแง่การผลิต การจำหน่ายจ่ายแจกและการบริโภค ทั้งหมดนี้จะทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่าความเจริญในที่สุด เป็นความเจริญโดยเกิดจากสิ่งที่เรียกว่า “มือที่มองไม่เห็น” (invisible hand)
ความคิดเช่นนี้ต่างจากหลักศาสนาอย่างชัดเจน เพราะศาสนาเชื่อว่าแม้มนุษย์เรามีความเห็นแก่ตัวแต่เราไม่ควรจะกระตุ้นความโลภหรือกระตุ้นการแสวงหากำไรอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เพราะจะกลายเป็นโทษต่อสังคมในระยะยาว ศาสนาจึงมุ่งลดความเห็นแก่ตัวให้เหลือน้อยที่สุดหรือควบคุมให้อยู่ในขอบเขต