ทักษะที่จำเป็นในการสมัครงาน ตอนที่ 1
ผมสรุปง่ายๆออกมา 4 ขั้นเพื่อการมีงานที่ได้อย่างใจหวัง เหมือนเล่นกีฬา ของพวกนี้ต้องใช้ทักษะ
1. แนวคิดในการหางาน
2.การหาตำแหน่งงานว่าง
3.จดหมายสมัครงาน ประวัติย่อ และ จดหมายขอบคุณ
4.การติดตามผล
ผมจะมาอธิบายทีละขั้นๆ จากประสบการและหลักวิชาการในโอกาสต่อไปนะครับ
1.จากประสบการของผู้เขียน ได้รับการอบรมหลักสูตร Career Workshop ของมูลนิธิอเมริกัน และจากการที่ให้คำปรึกษาด้านอาชีพ โดยเฉพาะการสมัครงาน และการที่ได้ใช้ในการหางาน ค้นพบแนนวคิดในการหางานโดยจำแนกได้เป็นข้อๆดังนี้
2.เราสามารถสมัครงานได้มากกว่าที่เดียวที่เราอยากทำจริงๆ ข้อนี้ไม่ได้ล้อเล่นนะครับมีหลายคนหางานจนได้งานที่อยากทำแล้วสมัครที่เดียวแล้วรอถ้าไม่ได้หาใหม่ สมัครใหม่ แต่เราสามารถสมัครได้หลายๆที่ อย่างน้อยเราสมัครมากจนมีนัดสัมภาษณ์ 2 ต่อวัน
การหางานเป็นทักษะอย่างหนึ่งเราจะเชี่ยวชาญได้จากการฝึกฝนและเราจะสามารถได้ทำงานในฝันได้จริงๆ แต่หากเราไม่ได้มีทักษะ งานในฝันคงเป็นเพียงงานในฝันต่อไป
3.งานที่หนักที่สุดในชีวิตคือการไม่มีงานทำ ดังนั้นคนเราทำงาน 8-12 ช.ม. ต่อวัน เราก็ต้องใช้เวลาทุ่มเทกับการหางานมากพอๆกับการทำงาน ใช้เวลาในการหางานในอินเตอร์เน็ต การไปจัดหางานจังหวัด การนัดสัมภาษณ์งาน การโทรศัพท์ คนตกงงานบางคนใช้เวลาเพียง ไม่กี่ชั่วโมงต่อวันเพื่อหางาน และใช้เวลาที่เหลือในแต่ละวันในการทำอย่างอื่น
4.กว่า 80%ของคนที่ได้งานไม่ใช้ได้งานจากการหางานในอินเตอร์เน็ตเพียงอย่างเดียว แต่มาจากการได้งานจากเครือข่าย การได้งานจากเครือข่ายไม่ได้หมายถึงการเป็นเด็กฝากเด็กเส้น แต่การที่มีคนรับรองเราในการทำงานก็เป็นการกลั่นกรองเราก่อนชั้นหนึ่งก่อน ขอให้บอกคนรอบข้าง อาจารย์ เพื่อน พ่อแม่ ญาติ คนรู้จักที่มีความน่าเชื่อถือว่าปัจจุบันกำลังหางานทำ ต้องการงานประเภทใด เงินเดือนเท่าไหร่ จะเพิ่มโอกาสมากขึ้นในการได้งานทำ
5.หากยังหางานที่อยากทำไม่ได้แทนที่จะรองาน ให้หางานที่ทำได้ทำไปก่อน ชีวิตต้องวางแผนระยะยาวและระยะสั้น
ในทุกบริษัทจะมีคนหาคนมาทำงาน หากเราเข้าใจขั้นตอนการทำงานเราจะได้งานที่เราอยากทำ
ผมจะลงไปในรายละเอียดว่าหลังจากเรามีแนวคิดที่ถูกต้องแล้วเราจะไปต่ออย่างไรให้ได้งาน หากทำตามขั้นตอนที่ผมได้นำเสนอรับรองว่าท่านจะโดดเด่นกว่าผู้สมัครคนอื่นๆ โดยเฉพาะในเชียงใหม่ที่ผู้สมัครงานช่างน่าตี คือไม่ค่อยมีทักษะในการหางานเท่าใดนัก ท่านทำได้ แต่ท่านต้องทำ
ตำแหน่งงานว่างมีแหล่งให้เราไปค้นหาหลายแหล่ง แต่สามารถสรุปได้ 3 แหล่งคือ
1.การหางานจากอินเตอร์เน็ต
2.การหางานผ่านระบบเครือข่าย
3.บริการจัดหางานโดยรัฐและเอกชน
1.การหางานจากอินเตอร์เน็ต
ในการหางานให้เราจำใว้ว่าจะมีนายจ้างหรือเจ้าหน้าที่จ้างงานมาซื้อบริการจากเวบไซท์
เช่น บริษัท มะม่วงไม่รู้หาวมะนาวไม่รู้โห่ จำกัด ต้องการพนักงานฝ่ายประสานงานลูกค้าต่างประเทศ มาทำงานที่สาขาเชียงใหม่ เจ้าหน้าที่บริษัทก็จะต้องทำทุกวิถีทางเพื่อจะหาคนมาให้ได้ ในเวบไซท์มีอยู่สองวิธีคือ
1.1. โพสหางานในหน้าเวบของเวบไซท์จัดหางาน อย่างที่เราๆท่านๆเห็นอยู่ทัวไป เช่น
บริษัท มะม่วงไม่รู้หาวมะนาวไม่รู้โห่ จำกัด ต้องการรับสมัครงาน
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ประสานงานลูกค้าต่างประทศ
สถานที่ทำงาน เชียงใหม่ วุฒิการศึกษา ป.ตรี ประสบการณ์ 3-5 ปีในะธุรกิจบริการลูกค้าที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษ
เงินเดือน แล้วแต่จะตกลง
แบบนี้หากเราสนใจรายละเอียดสามารถดูในเวบไซท์อย่างละเอียด และโทรไปสมัครงานได้ โดยอาจจะส่งใบสมัครทางอีเมลแต่ขอแนะนำเอาใบสมัครไปให้เองดีกว่า
แต่อย่าพึ่งบึ่งไปสมัครงานเลยนะ ดีไม่ดีเจ้าของบริษัทเดินผ่านมาอยากได้ตำแหน่งนี้พอดีเลยขอสัมภาษณ์เลย ก่อนไปที่ทำงานต้องแต่งตัวให้มีมาตรฐานสูงกว่าพนักงานที่นั่น 1 ขั้น เช่น เขาแต่งตามสบายเราต้องใส่เสื้อเชิ้ต เขาใสเชิ้ตเราผูกไทร์ เขาผูกไทร์ เราใส่สูท เขาใส่สูท เราอย่าใสทักซีโด้ไปนะ ฮ่าๆๆๆ
ศึกษารายละเอียดว่างานนั้นต้องทำอะไรบ้าง มีขอบข่ายอะไร และบริษัททำงานเกี่ยวกับอะไรมีที่มาอย่างไร จำให้ได้ด้วยว่า เราเจองานนี้จากเวบไหน เขาจะถามแน่นอน
1.2. พนักงานจัดหางานหรือนายจ้างจะสามารถค้นประวัติคนว่างงานที่เราไปฝากใว้ รายละเอียดแบบ ยิบๆ จะบอกให้อีกทีในบทความต่อไปแต่ก็มีหลักกว้างๆ ดังนี้
รูปถ่าย ควรเป็นแบบสุภาพ ไม่ต้องให้ช่างเขาแต่งจน สวยเกินตัวจริง แต่ก็ควรแต่งหน้าบ้างพองาม ไม่ควรเอารูแถ่ายเล่นๆ ชู สองนิ้ว โชว์เนื้อหนังมากไปก็ไม่ดีเหมาะแก่การสมัครงานพริทตี้ มากกว่างานสำนักงาน
อีเมลที่ใส่ใว้ในเวบสมัครงาน ส่วนใหญ่คนเราจะใช้อีเมลเดียวดังนั้นพวกนายจ้างหรือคนรับสมัครงานจะเข้าไปหาใน Google ว่า เราเคยมีประวัติทางอีเล็กโทรนิกส์อย่างไรบ้าง บางคนเรียบร้อยๆ แต่ พอไปค้นโอ้โห แรงส์ หรือบางคนตั้งชื่ออีเมลซะ น่ารัก หรือ ซ่าส์ มากๆก็ฟังดูไม่ดี เช่น yakulza_Kawaii @hotmail.com สมัยที่เอาใว้เล่น MSN
อย่ากระนั้นเลย สร้างอีเมลใหม่ ให้เป็น ชื่อ.นามสกุล@gmail.com หรือ ชื่อ_นามสกุล@lives.com ดี กว่า เพื่อความเป็นมืออาชีพ แล้วบทความต่อๆไปจะแนะนำวิธีใช้ linked-in ในการยืนยันตัวตน
2.การหางานผ่านระบบเครือข่าย
การหางานผ่านระบบคนรู้จักหรือเครือข่ายนี่เป็นวิธีที่ได้งานทำมากที่สุด ต่างจากเด็กฝาก เด็กท่านนะครับ แต่เป็นการติดต่อกับคนรู้จักที่รักและอยากให้เราได้งาน แต่ก็ต้องคัดเลือกงานด้วยครับ บางคนก็หางานที่เราไม่อยากได้มาให้เรา หรือเห็นตามป้ายข้างทางซึ่งไม่มีโอกาสที่เราจะมีสายสัมพันธ์กับแหล่งงานได้เลย
แหล่งงานนายจ้างหรือ เจ้าหน้าที่หางานจะมีหน้าที่ หาคนมาทำงานเขาจะบอกกับคนรอบข้าง คนในบริษัท หรือ ญาติว่าต้องการตำแหน่งงานนั้นๆ รายละเอียด จะหาโอกาสมาเรียนรับใช้กันอีกทีครับ
3.การใช้บริการจัดหางาน
บริการจัดหางานแบ่งออกเป็นสองประเภท คือ แบบของรัฐ และของเอกชน
3.1 บริการจัดหางานของรัฐ ทุกจังหวัดจะมีสำนักงานจัดหางานจังหวัดในสังกัดกรมการจัดหางาน เช่นเชียงใหม่ก็มีสำนักงานจัดหางานจังหวัดเชียงใหม่ มีหน้าที่ดังนี้
จัดหางาน
บริการแนะแนวอาชีพ
เป็นศูนย์รวมข้อมูลข่าวสารตลาดแรงงาน
การรับบริการสามารถรับบริการ ค้นตำแหน่งงานว่างได้โดยที่
http://cmemployment.org/
หรือเข้ารับบริการโดยเริ่มตั้งแต่
กรอกใบสมัครงานขึ้นทะเบียนคนว่างงาน
พบกับเจ้าหน้าที่ แนะแนวอาชีพ เพื่อรับบริการแนะแนวอาชีพ
พบกับเจ้าหน้าที่จัดหางานเพื่อหางานที่เข้ากับเราได้
ส่'ตัวพบนายจ้างโดยมีเอกสารส่งตัวจากสำนักงาน
ติดตามผล
โดยบริการดังกล่าวเป็นบริการที่ให้เปล่าไม่มีค่าใช้จ่าย แต่งตัวให้เรียบร้อย ไปถึง สนง.เช้าๆ จะได้สดชื่อน เรื่องงานไม่ชอบ หรือไม่อยากทำงานที่ จนท เขาจัดใว้ให้ไม่ต้องคิดมาก การรับบริการแนะแนวอาชีพเป็นโอกาสล้ำค่ามาก
3.2 บริการจัดหางานของเอกชน
บริษัทจัดหางาน เป็นอีกแหล่งที่เราจะสามารถไปรับบริการได้ เช่น pasona.co.th หรือ adecco.co.th/ เป็นบริการแบบมีค่าใช้จ่ายอาจจะเป็น 25% ของเงินเดือนเดือนแรก
และตามมหาวิทยาลัย ก็มีบริการจัดหางาน เช่น กองแนะแนว
ม.แม่โจ้
http://employ.guidance.mju.ac.th/
ทั้งสามแหล่งนี้หากเราจริงจังกับมันงานในฝันนั้นอยู่ไม่ไกล
เทคนิคการหางานแบบง่าย "หางานอย่างไรให้ได้งาน" ตอนที่ 1
ผมสรุปง่ายๆออกมา 4 ขั้นเพื่อการมีงานที่ได้อย่างใจหวัง เหมือนเล่นกีฬา ของพวกนี้ต้องใช้ทักษะ
1. แนวคิดในการหางาน
2.การหาตำแหน่งงานว่าง
3.จดหมายสมัครงาน ประวัติย่อ และ จดหมายขอบคุณ
4.การติดตามผล
ผมจะมาอธิบายทีละขั้นๆ จากประสบการและหลักวิชาการในโอกาสต่อไปนะครับ
1.จากประสบการของผู้เขียน ได้รับการอบรมหลักสูตร Career Workshop ของมูลนิธิอเมริกัน และจากการที่ให้คำปรึกษาด้านอาชีพ โดยเฉพาะการสมัครงาน และการที่ได้ใช้ในการหางาน ค้นพบแนนวคิดในการหางานโดยจำแนกได้เป็นข้อๆดังนี้
2.เราสามารถสมัครงานได้มากกว่าที่เดียวที่เราอยากทำจริงๆ ข้อนี้ไม่ได้ล้อเล่นนะครับมีหลายคนหางานจนได้งานที่อยากทำแล้วสมัครที่เดียวแล้วรอถ้าไม่ได้หาใหม่ สมัครใหม่ แต่เราสามารถสมัครได้หลายๆที่ อย่างน้อยเราสมัครมากจนมีนัดสัมภาษณ์ 2 ต่อวัน
การหางานเป็นทักษะอย่างหนึ่งเราจะเชี่ยวชาญได้จากการฝึกฝนและเราจะสามารถได้ทำงานในฝันได้จริงๆ แต่หากเราไม่ได้มีทักษะ งานในฝันคงเป็นเพียงงานในฝันต่อไป
3.งานที่หนักที่สุดในชีวิตคือการไม่มีงานทำ ดังนั้นคนเราทำงาน 8-12 ช.ม. ต่อวัน เราก็ต้องใช้เวลาทุ่มเทกับการหางานมากพอๆกับการทำงาน ใช้เวลาในการหางานในอินเตอร์เน็ต การไปจัดหางานจังหวัด การนัดสัมภาษณ์งาน การโทรศัพท์ คนตกงงานบางคนใช้เวลาเพียง ไม่กี่ชั่วโมงต่อวันเพื่อหางาน และใช้เวลาที่เหลือในแต่ละวันในการทำอย่างอื่น
4.กว่า 80%ของคนที่ได้งานไม่ใช้ได้งานจากการหางานในอินเตอร์เน็ตเพียงอย่างเดียว แต่มาจากการได้งานจากเครือข่าย การได้งานจากเครือข่ายไม่ได้หมายถึงการเป็นเด็กฝากเด็กเส้น แต่การที่มีคนรับรองเราในการทำงานก็เป็นการกลั่นกรองเราก่อนชั้นหนึ่งก่อน ขอให้บอกคนรอบข้าง อาจารย์ เพื่อน พ่อแม่ ญาติ คนรู้จักที่มีความน่าเชื่อถือว่าปัจจุบันกำลังหางานทำ ต้องการงานประเภทใด เงินเดือนเท่าไหร่ จะเพิ่มโอกาสมากขึ้นในการได้งานทำ
5.หากยังหางานที่อยากทำไม่ได้แทนที่จะรองาน ให้หางานที่ทำได้ทำไปก่อน ชีวิตต้องวางแผนระยะยาวและระยะสั้น
ในทุกบริษัทจะมีคนหาคนมาทำงาน หากเราเข้าใจขั้นตอนการทำงานเราจะได้งานที่เราอยากทำ
ผมจะลงไปในรายละเอียดว่าหลังจากเรามีแนวคิดที่ถูกต้องแล้วเราจะไปต่ออย่างไรให้ได้งาน หากทำตามขั้นตอนที่ผมได้นำเสนอรับรองว่าท่านจะโดดเด่นกว่าผู้สมัครคนอื่นๆ โดยเฉพาะในเชียงใหม่ที่ผู้สมัครงานช่างน่าตี คือไม่ค่อยมีทักษะในการหางานเท่าใดนัก ท่านทำได้ แต่ท่านต้องทำ
ตำแหน่งงานว่างมีแหล่งให้เราไปค้นหาหลายแหล่ง แต่สามารถสรุปได้ 3 แหล่งคือ
1.การหางานจากอินเตอร์เน็ต
2.การหางานผ่านระบบเครือข่าย
3.บริการจัดหางานโดยรัฐและเอกชน
1.การหางานจากอินเตอร์เน็ต
ในการหางานให้เราจำใว้ว่าจะมีนายจ้างหรือเจ้าหน้าที่จ้างงานมาซื้อบริการจากเวบไซท์
เช่น บริษัท มะม่วงไม่รู้หาวมะนาวไม่รู้โห่ จำกัด ต้องการพนักงานฝ่ายประสานงานลูกค้าต่างประเทศ มาทำงานที่สาขาเชียงใหม่ เจ้าหน้าที่บริษัทก็จะต้องทำทุกวิถีทางเพื่อจะหาคนมาให้ได้ ในเวบไซท์มีอยู่สองวิธีคือ
1.1. โพสหางานในหน้าเวบของเวบไซท์จัดหางาน อย่างที่เราๆท่านๆเห็นอยู่ทัวไป เช่น
บริษัท มะม่วงไม่รู้หาวมะนาวไม่รู้โห่ จำกัด ต้องการรับสมัครงาน
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ประสานงานลูกค้าต่างประทศ
สถานที่ทำงาน เชียงใหม่ วุฒิการศึกษา ป.ตรี ประสบการณ์ 3-5 ปีในะธุรกิจบริการลูกค้าที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษ
เงินเดือน แล้วแต่จะตกลง
แบบนี้หากเราสนใจรายละเอียดสามารถดูในเวบไซท์อย่างละเอียด และโทรไปสมัครงานได้ โดยอาจจะส่งใบสมัครทางอีเมลแต่ขอแนะนำเอาใบสมัครไปให้เองดีกว่า
แต่อย่าพึ่งบึ่งไปสมัครงานเลยนะ ดีไม่ดีเจ้าของบริษัทเดินผ่านมาอยากได้ตำแหน่งนี้พอดีเลยขอสัมภาษณ์เลย ก่อนไปที่ทำงานต้องแต่งตัวให้มีมาตรฐานสูงกว่าพนักงานที่นั่น 1 ขั้น เช่น เขาแต่งตามสบายเราต้องใส่เสื้อเชิ้ต เขาใสเชิ้ตเราผูกไทร์ เขาผูกไทร์ เราใส่สูท เขาใส่สูท เราอย่าใสทักซีโด้ไปนะ ฮ่าๆๆๆ
ศึกษารายละเอียดว่างานนั้นต้องทำอะไรบ้าง มีขอบข่ายอะไร และบริษัททำงานเกี่ยวกับอะไรมีที่มาอย่างไร จำให้ได้ด้วยว่า เราเจองานนี้จากเวบไหน เขาจะถามแน่นอน
1.2. พนักงานจัดหางานหรือนายจ้างจะสามารถค้นประวัติคนว่างงานที่เราไปฝากใว้ รายละเอียดแบบ ยิบๆ จะบอกให้อีกทีในบทความต่อไปแต่ก็มีหลักกว้างๆ ดังนี้
รูปถ่าย ควรเป็นแบบสุภาพ ไม่ต้องให้ช่างเขาแต่งจน สวยเกินตัวจริง แต่ก็ควรแต่งหน้าบ้างพองาม ไม่ควรเอารูแถ่ายเล่นๆ ชู สองนิ้ว โชว์เนื้อหนังมากไปก็ไม่ดีเหมาะแก่การสมัครงานพริทตี้ มากกว่างานสำนักงาน
อีเมลที่ใส่ใว้ในเวบสมัครงาน ส่วนใหญ่คนเราจะใช้อีเมลเดียวดังนั้นพวกนายจ้างหรือคนรับสมัครงานจะเข้าไปหาใน Google ว่า เราเคยมีประวัติทางอีเล็กโทรนิกส์อย่างไรบ้าง บางคนเรียบร้อยๆ แต่ พอไปค้นโอ้โห แรงส์ หรือบางคนตั้งชื่ออีเมลซะ น่ารัก หรือ ซ่าส์ มากๆก็ฟังดูไม่ดี เช่น yakulza_Kawaii @hotmail.com สมัยที่เอาใว้เล่น MSN
อย่ากระนั้นเลย สร้างอีเมลใหม่ ให้เป็น ชื่อ.นามสกุล@gmail.com หรือ ชื่อ_นามสกุล@lives.com ดี กว่า เพื่อความเป็นมืออาชีพ แล้วบทความต่อๆไปจะแนะนำวิธีใช้ linked-in ในการยืนยันตัวตน
2.การหางานผ่านระบบเครือข่าย
การหางานผ่านระบบคนรู้จักหรือเครือข่ายนี่เป็นวิธีที่ได้งานทำมากที่สุด ต่างจากเด็กฝาก เด็กท่านนะครับ แต่เป็นการติดต่อกับคนรู้จักที่รักและอยากให้เราได้งาน แต่ก็ต้องคัดเลือกงานด้วยครับ บางคนก็หางานที่เราไม่อยากได้มาให้เรา หรือเห็นตามป้ายข้างทางซึ่งไม่มีโอกาสที่เราจะมีสายสัมพันธ์กับแหล่งงานได้เลย
แหล่งงานนายจ้างหรือ เจ้าหน้าที่หางานจะมีหน้าที่ หาคนมาทำงานเขาจะบอกกับคนรอบข้าง คนในบริษัท หรือ ญาติว่าต้องการตำแหน่งงานนั้นๆ รายละเอียด จะหาโอกาสมาเรียนรับใช้กันอีกทีครับ
3.การใช้บริการจัดหางาน
บริการจัดหางานแบ่งออกเป็นสองประเภท คือ แบบของรัฐ และของเอกชน
3.1 บริการจัดหางานของรัฐ ทุกจังหวัดจะมีสำนักงานจัดหางานจังหวัดในสังกัดกรมการจัดหางาน เช่นเชียงใหม่ก็มีสำนักงานจัดหางานจังหวัดเชียงใหม่ มีหน้าที่ดังนี้
จัดหางาน
บริการแนะแนวอาชีพ
เป็นศูนย์รวมข้อมูลข่าวสารตลาดแรงงาน
การรับบริการสามารถรับบริการ ค้นตำแหน่งงานว่างได้โดยที่ http://cmemployment.org/
หรือเข้ารับบริการโดยเริ่มตั้งแต่
กรอกใบสมัครงานขึ้นทะเบียนคนว่างงาน
พบกับเจ้าหน้าที่ แนะแนวอาชีพ เพื่อรับบริการแนะแนวอาชีพ
พบกับเจ้าหน้าที่จัดหางานเพื่อหางานที่เข้ากับเราได้
ส่'ตัวพบนายจ้างโดยมีเอกสารส่งตัวจากสำนักงาน
ติดตามผล
โดยบริการดังกล่าวเป็นบริการที่ให้เปล่าไม่มีค่าใช้จ่าย แต่งตัวให้เรียบร้อย ไปถึง สนง.เช้าๆ จะได้สดชื่อน เรื่องงานไม่ชอบ หรือไม่อยากทำงานที่ จนท เขาจัดใว้ให้ไม่ต้องคิดมาก การรับบริการแนะแนวอาชีพเป็นโอกาสล้ำค่ามาก
3.2 บริการจัดหางานของเอกชน
บริษัทจัดหางาน เป็นอีกแหล่งที่เราจะสามารถไปรับบริการได้ เช่น pasona.co.th หรือ adecco.co.th/ เป็นบริการแบบมีค่าใช้จ่ายอาจจะเป็น 25% ของเงินเดือนเดือนแรก
และตามมหาวิทยาลัย ก็มีบริการจัดหางาน เช่น กองแนะแนว
ม.แม่โจ้ http://employ.guidance.mju.ac.th/
ทั้งสามแหล่งนี้หากเราจริงจังกับมันงานในฝันนั้นอยู่ไม่ไกล