หาก รัฐบาลรักษาการและฝ่ายต่อต้าน เป็นห่วงว่า ต่างชาติคิดอย่างไรกับประเทศไทย ในภาวะการเมืองยุ่งเหยิงอย่างนี้
ผมบอกได้เลยว่า “เละ”
ผมได้พูดคุยกับนักการทูตต่างประเทศประจำกรุงเทพฯ หลายคนในช่วงปลายปี คำถามที่ผมได้รับเหมือนกันหมด
นั่นคือ “คนไทยแก้ปัญหาของตัวเองไม่ได้จริงๆ หรือ?”
นักการทูตเอเชียคนหนึ่ง ที่สนิทสนมกับทั้งรัฐบาลและฝ่ายต่อต้าน บอกว่า เขามองไม่ออกเลยว่าประเทศไทยจะกลับสู่ภาวะปกติได้อย่างไร หากทั้งสองฝ่ายไม่ยอมถอยจากจุดยืนของตน
เขาบอกว่า ธรรมเนียมปฏิบัติของเอเชีย ไม่ควรจะต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งจนมุม ต่างคนต่างต้องถอยกันคนละก้าว และฝ่ายที่ได้เปรียบจะต้องเป็นคนถอยก่อน จึงจะไม่เกิดการ “เสียหน้า” ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากในวัฒนธรรมการเมืองเอเชีย
“ผมศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองไทยในอดีต ก็เห็นนักการเมืองรู้กติกาดี นั่นคือ ถ้าคุณพ่ายแพ้ก็ควรจะต้องอำลาการเมือง และอีกฝ่ายหนึ่งก็จะยอมให้คุณอยู่ต่อไปในสภาพที่คุณต้องยอมรับกติกา...แต่วันนี้ ผมเห็นว่าไม่มีใครยอมถอยเพื่อให้บ้านเมืองสงบเลย นี่มิใช่วิสัยคนไทยในความรู้สึกของผม...”
ผมได้แต่ฟัง ไม่แสดงความเห็นเพิ่มเติม เพราะว่าผมเองก็งุนงงกับความเปลี่ยนไปของพฤติกรรมผู้อยู่ในแวดวงการเมืองและการต่อสู้เพื่ออำนาจทางการเมือง
นักการทูตตะวันตกคนหนึ่งบอกผมว่า คนเข้ามาเล่นการเมือง ต้องยอมรับกติกาของการยอมประนีประนอม เมื่อเกิดการเผชิญหน้าจนถึงทางตัน
เขายกตัวอย่าง ประธานาธิบดีบารัก โอบามา ของ สหรัฐ กับการเผชิญหน้ากับพรรครีพับลิกันในรัฐสภา กรณีการ shutdown ของกลไกรัฐ อันเกิดจากความขัดแย้งเรื่องงบประมาณ
แม้ว่าต่างฝ่ายต่างจะยืนยันในจุดยืนของตนตลอดเวลาของการโต้เถียง เพื่อให้ประชาชนคนอเมริกันเอียงมาข้างตนเอง แต่เมื่อเข้าใกล้เส้นตายที่จะทำให้ประเทศเป็นอัมพาต ทั้งสองฝ่ายก็ยอมปรองดอง ฝ่ายค้านยอมลงมติให้ผ่านงบประมาณไปก่อน เพื่อจะได้ถกแถลงเพื่อหาทางออกในวันข้างหน้า
“Politics is the art of the possible” นักการทูตตะวันตกคนนั้นบอกผม เพื่ออธิบายว่าเกมการเมืองนั้น ไม่ว่าจะดุเดือดเลือดพล่านเพียงใด ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องสำนึกว่าในท้ายที่สุดแล้ว นักการเมืองต้องสำเหนียกว่าการต่อสู้ดิ้นรนบนเวทีการเมือง เป็น “ศิลป์แห่งความเป็นไปได้” เท่านั้น
แปลว่า ทุกฝ่ายที่อยู่ในความขัดแย้งจะต้องเข้าใจเป็นเบื้องต้นว่า การตั้งเงื่อนไขใดๆ ในการต่อรองกับอีกฝ่ายหนึ่งนั้น ไม่ว่าแต่ละคนจะแสดงอาการขึงขังจริงจัง ด้วยวาทกรรมทางการเมืองอย่างเผ็ดร้อนทำนองว่า หัวเด็ดตีนขาดก็จะไม่ยอมอย่างไร แต่ทุกคนต้องรู้ว่าในจุดสุดท้ายแล้ว การจะเดินหน้าต่อไปได้จะต้องอยู่บนพื้นฐานของ “ความเป็นไปได้”
ตอกย้ำว่า ใครคิดว่าจะตั้งเงื่อนไขที่ “เป็นไปไม่ได้” ในทางปฏิบัติ หรือจะเอาชนะคะคานตามข้อเรียกร้องที่ตนต้องการ เพราะเข้าใจเอาเองว่ามีอำนาจต่อรองที่สูงกว่า และอีกฝ่ายหนึ่งจะต้องยอมตนเท่านั้น ก็เท่ากับผลักดันให้บ้านเมืองเข้าสู่วิกฤติ
เมื่อประเทศเข้าสู่ภาวะวิกฤติแล้ว คู่กรณีขัดแย้งก็จะไม่ได้ประโยชน์อันใด เพราะแปลว่าสิ่งที่ “ผิดกติกา” จะเกิดขึ้น และการเมืองปกติก็จะตกอยู่ในภาวะ “นอกเหนือการควบคุม”
นักการทูตหลายคนที่ผมสนทนาด้วย มีคำถามที่ผมตอบไม่ได้ แต่ก็น่าสนใจว่าเป็นความคิดที่มาจากคนที่เป็นนักสังเกตการณ์ ที่อยู่ใกล้ชิดกับการเมืองไทยพอสมควร
ทูตบางคนถามผมว่า ทำไม นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กับ แกนนำ กปปส. สุเทพ เทือกสุบรรณ ไม่เจรจาหาทางออกร่วมกัน?
ทูตอีกคนหนึ่งถามว่า ถ้าทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันว่า การปฏิรูปประเทศชาติ เป็นเรื่องสำคัญ และต่างคนต่างก็มีสูตรเสนอมาแล้ว ทำไมสองฝ่ายไม่เอาสองข้อเสนอนั้น มาร่วมกันพิจารณาให้กลายเป็นสูตรเดียวกัน
อีกคนหนึ่งถามว่า “รัฐธรรมนูญห้าม นายกฯ รักษาการ ลาออกจริงหรือ? และ ถ้า นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ยอมลาออก คุณสุเทพจะยอมเลิกชุมนุมไหม?”
นักการทูตใกล้บ้านคนหนึ่งกระซิบกับผมว่า “ผมเห็นคนไทยออกมาเรียกร้องปฏิรูปการเมืองกันมากมายอย่างนี้ พรรคการเมืองไหนไม่ฟังอย่างจริงจัง อยู่ไม่ได้หรอกครับ”
จบการสนทนาแล้ว ทุกคนบอกว่า...สงสารประเทศไทย...ครับ
รอสองท่านคุยกันโดยตรง เมื่อใหร่เอ่ย
การเมือง คือ 'ศิลป์แห่งความเป็นไปได้'
ผมบอกได้เลยว่า “เละ”
ผมได้พูดคุยกับนักการทูตต่างประเทศประจำกรุงเทพฯ หลายคนในช่วงปลายปี คำถามที่ผมได้รับเหมือนกันหมด
นั่นคือ “คนไทยแก้ปัญหาของตัวเองไม่ได้จริงๆ หรือ?”
นักการทูตเอเชียคนหนึ่ง ที่สนิทสนมกับทั้งรัฐบาลและฝ่ายต่อต้าน บอกว่า เขามองไม่ออกเลยว่าประเทศไทยจะกลับสู่ภาวะปกติได้อย่างไร หากทั้งสองฝ่ายไม่ยอมถอยจากจุดยืนของตน
เขาบอกว่า ธรรมเนียมปฏิบัติของเอเชีย ไม่ควรจะต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งจนมุม ต่างคนต่างต้องถอยกันคนละก้าว และฝ่ายที่ได้เปรียบจะต้องเป็นคนถอยก่อน จึงจะไม่เกิดการ “เสียหน้า” ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากในวัฒนธรรมการเมืองเอเชีย
“ผมศึกษาประวัติศาสตร์การเมืองไทยในอดีต ก็เห็นนักการเมืองรู้กติกาดี นั่นคือ ถ้าคุณพ่ายแพ้ก็ควรจะต้องอำลาการเมือง และอีกฝ่ายหนึ่งก็จะยอมให้คุณอยู่ต่อไปในสภาพที่คุณต้องยอมรับกติกา...แต่วันนี้ ผมเห็นว่าไม่มีใครยอมถอยเพื่อให้บ้านเมืองสงบเลย นี่มิใช่วิสัยคนไทยในความรู้สึกของผม...”
ผมได้แต่ฟัง ไม่แสดงความเห็นเพิ่มเติม เพราะว่าผมเองก็งุนงงกับความเปลี่ยนไปของพฤติกรรมผู้อยู่ในแวดวงการเมืองและการต่อสู้เพื่ออำนาจทางการเมือง
นักการทูตตะวันตกคนหนึ่งบอกผมว่า คนเข้ามาเล่นการเมือง ต้องยอมรับกติกาของการยอมประนีประนอม เมื่อเกิดการเผชิญหน้าจนถึงทางตัน
เขายกตัวอย่าง ประธานาธิบดีบารัก โอบามา ของ สหรัฐ กับการเผชิญหน้ากับพรรครีพับลิกันในรัฐสภา กรณีการ shutdown ของกลไกรัฐ อันเกิดจากความขัดแย้งเรื่องงบประมาณ
แม้ว่าต่างฝ่ายต่างจะยืนยันในจุดยืนของตนตลอดเวลาของการโต้เถียง เพื่อให้ประชาชนคนอเมริกันเอียงมาข้างตนเอง แต่เมื่อเข้าใกล้เส้นตายที่จะทำให้ประเทศเป็นอัมพาต ทั้งสองฝ่ายก็ยอมปรองดอง ฝ่ายค้านยอมลงมติให้ผ่านงบประมาณไปก่อน เพื่อจะได้ถกแถลงเพื่อหาทางออกในวันข้างหน้า
“Politics is the art of the possible” นักการทูตตะวันตกคนนั้นบอกผม เพื่ออธิบายว่าเกมการเมืองนั้น ไม่ว่าจะดุเดือดเลือดพล่านเพียงใด ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องสำนึกว่าในท้ายที่สุดแล้ว นักการเมืองต้องสำเหนียกว่าการต่อสู้ดิ้นรนบนเวทีการเมือง เป็น “ศิลป์แห่งความเป็นไปได้” เท่านั้น
แปลว่า ทุกฝ่ายที่อยู่ในความขัดแย้งจะต้องเข้าใจเป็นเบื้องต้นว่า การตั้งเงื่อนไขใดๆ ในการต่อรองกับอีกฝ่ายหนึ่งนั้น ไม่ว่าแต่ละคนจะแสดงอาการขึงขังจริงจัง ด้วยวาทกรรมทางการเมืองอย่างเผ็ดร้อนทำนองว่า หัวเด็ดตีนขาดก็จะไม่ยอมอย่างไร แต่ทุกคนต้องรู้ว่าในจุดสุดท้ายแล้ว การจะเดินหน้าต่อไปได้จะต้องอยู่บนพื้นฐานของ “ความเป็นไปได้”
ตอกย้ำว่า ใครคิดว่าจะตั้งเงื่อนไขที่ “เป็นไปไม่ได้” ในทางปฏิบัติ หรือจะเอาชนะคะคานตามข้อเรียกร้องที่ตนต้องการ เพราะเข้าใจเอาเองว่ามีอำนาจต่อรองที่สูงกว่า และอีกฝ่ายหนึ่งจะต้องยอมตนเท่านั้น ก็เท่ากับผลักดันให้บ้านเมืองเข้าสู่วิกฤติ
เมื่อประเทศเข้าสู่ภาวะวิกฤติแล้ว คู่กรณีขัดแย้งก็จะไม่ได้ประโยชน์อันใด เพราะแปลว่าสิ่งที่ “ผิดกติกา” จะเกิดขึ้น และการเมืองปกติก็จะตกอยู่ในภาวะ “นอกเหนือการควบคุม”
นักการทูตหลายคนที่ผมสนทนาด้วย มีคำถามที่ผมตอบไม่ได้ แต่ก็น่าสนใจว่าเป็นความคิดที่มาจากคนที่เป็นนักสังเกตการณ์ ที่อยู่ใกล้ชิดกับการเมืองไทยพอสมควร
ทูตบางคนถามผมว่า ทำไม นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กับ แกนนำ กปปส. สุเทพ เทือกสุบรรณ ไม่เจรจาหาทางออกร่วมกัน?
ทูตอีกคนหนึ่งถามว่า ถ้าทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันว่า การปฏิรูปประเทศชาติ เป็นเรื่องสำคัญ และต่างคนต่างก็มีสูตรเสนอมาแล้ว ทำไมสองฝ่ายไม่เอาสองข้อเสนอนั้น มาร่วมกันพิจารณาให้กลายเป็นสูตรเดียวกัน
อีกคนหนึ่งถามว่า “รัฐธรรมนูญห้าม นายกฯ รักษาการ ลาออกจริงหรือ? และ ถ้า นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ยอมลาออก คุณสุเทพจะยอมเลิกชุมนุมไหม?”
นักการทูตใกล้บ้านคนหนึ่งกระซิบกับผมว่า “ผมเห็นคนไทยออกมาเรียกร้องปฏิรูปการเมืองกันมากมายอย่างนี้ พรรคการเมืองไหนไม่ฟังอย่างจริงจัง อยู่ไม่ได้หรอกครับ”
จบการสนทนาแล้ว ทุกคนบอกว่า...สงสารประเทศไทย...ครับ
รอสองท่านคุยกันโดยตรง เมื่อใหร่เอ่ย