วันที่ 27 ธันวาคม 2556 เวลา 10.00 น. ที่ห้องพิจารณาคดี 2 ศาลปกครอง ตุลาการศาลปกครอง ออกนั่งบัลลังก์พิพากษาคดีหมายเลขดำที่ 745/2551 คดีหมายเลขแดงที่ 2237/2556 ระหว่างผู้ฟ้องคดีคือ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร กับผู้ถูกฟ้องคดี รวม 13 รายประกอบด้วย นายนาม ยิ้มแย้ม , นายแก้วสรร อติโพธิ, นายสัก กอแสงเรือง, นายอุดม เฟื่องฟุ้ง, คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา, นายจิรนิติ หะวานนท์, นายบรรเจิด สิงคะเนติ, นายกล้านรงค์ จันทิก, นายวิโรจน์ เลาหะพันธ์, นายอำนวย ธันธรา, นางเสาวนีย์ อัศวโรจน์, คณะกรรมการตรวจสอบและกระทรวงการคลัง ผู้ถูกฟ้องคดี ที่ 13 เรื่อง คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงาน ทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของหน่วยฟุ้ง,งานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากคำสั่งทางปกครอง
ทั้งนี้ ศาลมีคำพิพากษายกฟ้อง โดยในสำนวนคำวินิจฉัย มีใจความสำคัญตอนหนึ่ง ระบุถึงคำร้อง ของผู้ฟ้องคดี คือ พ.ต.ท ทักษิณ ชินวัตร ที่ระบุว่าการกระทำของผู้ฟ้องคดีที่ 1 ถึง 12 ทำให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหาย ผู้ฟ้องจึงนำคดีมาฟ้องต่อศาล โดยขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่ง ดังนี้
1.เพิกถอนคำสั่งคณะกรรมการตรวจสอบ ที่12 ที่ คตส.016/2550 ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2550 ที่คตส.017/2550 ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2550 ที่ คตส.021/2550 ลงวันที่ 18 มิถุนายน 2550 และที่ คตส. 022/2550 ลงวันที่ 20 มิถุนายน 2550 และห้ามมิให้ผุ้ถูกฟ้องคดีที่ 12 เข้าไปยุ่งเกี่ยวหรือเกี่ยวข้องหรือมีคำสั่งใดๆ อันเป็นการขัดขวางการใช้สิทธิกับทรัพย์สิน ของผู้ฟ้องคดีและให้ผู้ฟ้องคดีใช้สิทธิในทรัพย์สินที่ถูกอายัดในฐานะเจ้าของทรัพย์สินได้ดังเดิม
2. ห้ามผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ถึง 11 ในฐานะกรรมการของผู้ถูกฟ้องที่ 12 กล่าว หรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริง ให้เป็นที่เสื่อมเสียแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณ หรือเป็นที่เสียหายแก่ทางทำมาหาได้ หรือทางเจริญของผู้ฟ้องคดีอีกต่อไป
3. ให้ผู้ถูกฟ้อง คดีที่ 13 ในฐานะหน่วยงานต้องรับผิดแทนผู้ถูกฟ้องคดีที่ 12 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ไม่สังกัดหน่วยงานใด ชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินจำนวน 16,680,998 บาทพร้อมทั้งค่าเสียหายในอัตราร้อยละ 30 ต่อปี ของต้นเงินที่ถูกอายัดจำนวน 548,519,312.27 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป พร้อมทั้งดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จนกว่าจะได้มีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งอายัดทรัพย์ของผู้ฟ้องคดี
4. ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 13 ในฐานะหน่วยงานต้องรับผิดแทนผู้ถูกฟ้องคดีที่ 12 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ไม่สังกัดหน่วยงานใด รับผิดชดใช้ค่าสินไหม ทดแทน และค่าเสียหาย เป็นเงินจำนวน 50,000,000,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป จนกว่าจะชำระเสร็จให้แก่ผู้ฟ้องคดีเสร็จสิ้น
5.ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 13 ในฐานะหน่วยงานต้องรับผิดแทนผู้ถูกฟ้องคดีที่ 12 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ไม่สังกัดหน่วยงานใด ชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียม และค่าท นายความแทนผู้ฟ้องคดีด้วย
หลังจากนั้น ศาลอ่านสำนวนคำให้การของผู้ถูกฟ้องคดี ที่ 1 และ 12 โดยละเอียด และอ่านการตรวจสอบเส้นทางการเงินและกรณีการทุจริต ในหลายประเด็น โดยใจความสำคัญตอนหนึ่งเปิดเผยการตรวจสอบเส้นทางการเงิน ธุรกรรมทางการเงิน ของทั้งตัวผู้ฟ้องคดีและครอบครัวผู้ฟ้องคดี บุคคลใกล้ชิดและบริวาร ของผู้ฟ้องคดีรวมทั้งบริษัทในเครือชิคอร์ปฯ บริษัทของผู้ฟ้องคดีและครอบครัวผู้ฟ้องคดีที่ได้จดทะเบียน จัดตั้งขึ้นทั้งในประเทศและนอกประเทศ ปรากฏว่ามีพยานหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า ขณะที่ผู้ฟ้องคดีดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีทั้ง 2 สมัย ในปี 2544 และปี 2548 นั้น ผู้ฟ้อง คดีและภรรยายังคงถือไว้ ซึ่งหุ้นธุรกิจสัมปทานของชินคออร์ปฯ จำนวนร้อยละ 49.6 โดยใช้ชื่อบุคคลอื่นเป้นตัวแทนเชิดถือไว้แทน ในนามของบุตรชาย บุตรสาว ญาติพี่น้อง บุคคลใกล้ชิด ตลอดจนบริษัทที่ผู้ฟ้องคดีจัดตั้งขึ้นในต่างประเทศ (บริษัท แอมเพิลริช อินเวสเมนต์ และบริษัท วินมาร์ค ลิมิเต็ด ) โดยบริษัทในต่างประเทศเหล่านี้ ผู้ฟ้องคดียังคงเป็นผู้มีอำนาจเต็มในการบริหารจัดการ ตลอดจนมีอำนาจจัดการด้านการเงินในบริษัทเหล่านั้นด้วย
ดังนั้นเงินที่ได้จากการขายหุ้นชินคอร์ป ให้แก่กองทุนเทมาเส็ก ของประเทศสิงคโปร์ จำนวนร้อยละ 49.6 เป็นเงินจำนวน 73,000 ล้านบาทเศษนี้ จึงยังคงเป้นขอองผู้ฟ้องคดี และภรรยา โดยเงินดังกล่าวมีการเคลื่อนไหวในบัญชี ตลอดเวลา โดยได้ถูกยักย้ายถ่ายโอนทางบัญชี มีการกระจายออกไปตามบัญชีต่างๆ ของบุคคล และนิตบุคคลอื่นๆ มีการแปรสภาพ จากเงินสด เป็นทรัพย์สินในรูปแบบอื่นๆ ตลอดเวลา แม้ขณะเวลาที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่12 ทำการตรวจสอบอยู่ ปรากฏว่ามีเงินคงเหลือเพียง 52,000 ล้านบาทเศษ ซึ่งหากปล่อยระยะเวลาเนิ่นนานออกไปอีก ก็ไม่แน่ว่าเงินที่เกิดจากการขายหุ้นชินคอร์ป ทั้งหมดนี้ จะยังคงมีเหลืออยู่อีกหรือไม่ อาจมีการกระจัดกระจายออกไป รวมทั้งมีการไหลออกไปนอกประเทศในรูปแบบต่างๆ จนไม่สามารถติดตามกลับคืนมาได้
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 12ได้ตรวจสอบและไต่สวน คดีต่างๆ หลายคดี จนลุล่วง ถึงขั้นมีพยานหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า ผู้ฟ้องคดี กับพวก ได้ทุจริต ประพฤติมิชอบ และร่ำรวยผิดปกติ ได้ทรัพย์สินโดยมิสมควรได้ จากการใช้อำนาจหน้าที่ เอื้อประโยชน์ ต่อกิจการของชินคอร์ป ที่ยังคงเป็นของผู้ฟ้องคดีและภรรยา ทำให้ชิยคอร์ป และผู้ฟ้องคดีได้ประโยชน์ แต่ก่อใหห้เกิดความเสียหายแก่รัฐโดยรวม
นอกจากนี้ ศาลอ่านคำวินิจฉัยระบุด้วยว่า พฤติการณ์ทุจริตของผู้ฟ้องคดี กับพวกนั้น ได้ถูกผู้ถูกฟ้องคดี ทำการไต่สวน กล่าวหาแล้วรวม 5 คดี คือ
1.คดีทุจริต โครงการจัดซื้อที่ดินจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ซึ่งปัจจุบัน ผู้ฟ้องคดีและภรรยาได้ถูกอัยการสูงสุดฟ้อง เป็นผู้ถูกฟ้อง คดี ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มูลค่าคดีตามสัญญาซื้อขายที่ดินจำนวน 772 ล้านบาท
2.คดีการจัดซื้อกล้ายางของกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มูลค่าตามสัญญา 1,440 ล้านบาท
3.คดีทุจริต โครงการจัดซื้อจัดจ้าง ปรับเปลี่ยนสายพาน ลำเลียงกระเป๋า สัมภาระผู้โดยสาร และเครื่องตรวจสอบวัตถุระเบิดซีทีเอ็กซ์ 9000 ( CTX 9000 ) ทำให้รัฐเสียหาย 1500 ล้านบาท
4.คดีโครงการ ออกสลากพิเศษรางวัลเลขท้าย 3 ตัว และ 2 ตัว ของสำนักงาน สลากกินแบ่งรัฐบาล ทำให้รัฐเสียหาย 37,790 ล้านบาท และ
5 คดีการให้เงินกู้โดยทุจริต ของผู้บริหารธนาคารกรุงไทย จำกัด ( มหาชน ) ทำให้รัฐเสียหายจำนวน 5,185 ล้านบาท
ทั้งนี้ สำนวนคำวินิจฉัยของศาล ระบุถึงพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปรกติจากการใช้อำนาจหน้าที่ของผู้ฟ้อง เอื้อประโยชน์ต่อกิจการของชินคอร์ปฯ และบริษัทในเครือ ด้วยการทุจริตเชิงนโยบาย ใช้ข้อมูลภายในหาประโยชน์ อาทิ ผู้ฟ้องคดี ใช้อำนาจหน้าที่ผลักดันให้มีการแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติประกอบกิจการโทรคมนาคม ให้บุคคลต่างด้าว สามารถถือหุ้นในบริษัทด้านกิจกการโทรคมนาคมจากเดิมไม่เกินร้อยละ 25 เพิ่มขึ้น เป็นไม่เกินร้อยละ 50 พร้อมๆ กับ ผู้ฟ้องคดี ได้มีการเจรจาขายหุ้นชินคอร์ปฯ จำนวนร้อยละ 49.6 ของผู้ฟ้องคดี และภรรยา ที่ใช้ชื่อบุคคลอื่นถือไว้แทนรวมถึงคดีซุกหุ้น ภาค 2 ที่ผู้ฟ้องคดี และภรรยา ซุกซ่อนปิดบัง ยักย้ายหุ้นมาตั้งแต่ผู้ฟ้องดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
นอกจากนี้ สำนวนคำวินิจฉัยของศาล ระบุถึงคดีทุจริต อีก 6 คดี ที่ คตส. หรือ ผู้ถูกฟ้อง ทั้ง 12 ไต่สวนดำเนินคดีแล้วในปัจจุบันด้วย อาทิ คดีแก้ไขสัญญาข้อตกลงลดส่วนแบ่งรายได้ค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบใช้บัตรจ่ายเงินล่วงหน้า เอื้อประโยชน์แก่บริษัทในเครือชินคอร์ป ทำให้รัฐ ( บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เสียประโยชน์ ตลอดอายุสัมปทานเป็นเงินจำนวน 71,667 ล้านบาท, คดีสั่งการให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ( EXIM BANK) ให้รัฐบาลสหภาพพม่ากู้เงินเพื่อซื้อสินค้าและบริการของบริษัท ชิน แซทเทลไลท์ จำกัด ( มหาชน) ในจำนวนเงินกู้ประมาณ 1000 ล้านบาท, อาศัยการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ นำผลประโยชน์ของชาติ แลกเปลี่ยนบุกเบิกตลาดธุรกิจ ดาวเทียมให้แก่สายธุรกิจดาวเทียมในเครือบริษัท ชินคอร์ปฯ เพิ่มมูลค่าธุรกิจดาวเทียมของบริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด ( มหาชน ) เป็นอันมาก เป็นต้น จะเห็นได้ว่า พฤติการณ์และการกระทำต่างๆ ของผู้ฟ้องคดีกับพวก เข้าองค์ประกอบเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วย การป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 กรณีร่ำรวยผิดปกติจากการได้ทรัพย์สินมาโดยมิควรได้ สืบเนื่องจากการใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่
ในที่สุด ศาลได้วินิจฉัยว่าคำสั่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ 12 ที่ คตส.016/2550 ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2550 ที่คตส.021/2550 ลงวันที่ 18 มิถุนายน 2550 และที่ คตส. 022/2550 ลงวันที่ 20 มิถุนายน 2550 อายัดเงินในบัญชีธนาคารของผู้ฟ้องคดี เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป้นกการกระทำ ละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ถึงที่ 5 ที่ 7 และที่ 8 ได้รับการแต่งตั้งและปฏิบัติหน้าที่เป็นกรรมกการตรวจสอบ โดยได้รับการยกเว้น มิให้นำกฎหมายเกี่ยวกับกรณีห้ามมิให้บุคคลใดดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการ หรือห้ามปฏิบัติหน้าที่อื่นใดในการดำรง ตำแหน่งมาใช้บังคับกับการแต่งตั้งและการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคล ที่เป็นกรรมการตรวจสอบ ตาม ข้อ 2 ของประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 30 เรื่องการตรวจสอบ การกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ลงวันที่ 30 กันยายน 2549 รวมทั้งการแถลงข่าวของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ถึงที่ 3 ที่ได้รับมอบหมาย จากผู้ถูกฟ้องคดีที่ 12 ไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดีแล้ว ศาลจึงไม่จำต้องวินิจฉัยในประเด็นอื่นตามที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างอีกต่อไปพิพากษายกฟ้อง
ที่มา
http://www.isranews.org/isranews-news/item/26226-court-thaksin.html
ทักษิณ ดิ้นไปก็เท่านั้น
ศาลปกครองกลางยกฟ้อง “ทักษิณ” เรียกค่าเสียหายอดีต คตส. 5 หมื่นล้าน กรณีออกคำสั่งอายัดทรัพย์
ทั้งนี้ ศาลมีคำพิพากษายกฟ้อง โดยในสำนวนคำวินิจฉัย มีใจความสำคัญตอนหนึ่ง ระบุถึงคำร้อง ของผู้ฟ้องคดี คือ พ.ต.ท ทักษิณ ชินวัตร ที่ระบุว่าการกระทำของผู้ฟ้องคดีที่ 1 ถึง 12 ทำให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหาย ผู้ฟ้องจึงนำคดีมาฟ้องต่อศาล โดยขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่ง ดังนี้
1.เพิกถอนคำสั่งคณะกรรมการตรวจสอบ ที่12 ที่ คตส.016/2550 ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2550 ที่คตส.017/2550 ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2550 ที่ คตส.021/2550 ลงวันที่ 18 มิถุนายน 2550 และที่ คตส. 022/2550 ลงวันที่ 20 มิถุนายน 2550 และห้ามมิให้ผุ้ถูกฟ้องคดีที่ 12 เข้าไปยุ่งเกี่ยวหรือเกี่ยวข้องหรือมีคำสั่งใดๆ อันเป็นการขัดขวางการใช้สิทธิกับทรัพย์สิน ของผู้ฟ้องคดีและให้ผู้ฟ้องคดีใช้สิทธิในทรัพย์สินที่ถูกอายัดในฐานะเจ้าของทรัพย์สินได้ดังเดิม
2. ห้ามผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ถึง 11 ในฐานะกรรมการของผู้ถูกฟ้องที่ 12 กล่าว หรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริง ให้เป็นที่เสื่อมเสียแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณ หรือเป็นที่เสียหายแก่ทางทำมาหาได้ หรือทางเจริญของผู้ฟ้องคดีอีกต่อไป
3. ให้ผู้ถูกฟ้อง คดีที่ 13 ในฐานะหน่วยงานต้องรับผิดแทนผู้ถูกฟ้องคดีที่ 12 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ไม่สังกัดหน่วยงานใด ชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินจำนวน 16,680,998 บาทพร้อมทั้งค่าเสียหายในอัตราร้อยละ 30 ต่อปี ของต้นเงินที่ถูกอายัดจำนวน 548,519,312.27 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป พร้อมทั้งดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จนกว่าจะได้มีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งอายัดทรัพย์ของผู้ฟ้องคดี
4. ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 13 ในฐานะหน่วยงานต้องรับผิดแทนผู้ถูกฟ้องคดีที่ 12 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ไม่สังกัดหน่วยงานใด รับผิดชดใช้ค่าสินไหม ทดแทน และค่าเสียหาย เป็นเงินจำนวน 50,000,000,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ย ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป จนกว่าจะชำระเสร็จให้แก่ผู้ฟ้องคดีเสร็จสิ้น
5.ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 13 ในฐานะหน่วยงานต้องรับผิดแทนผู้ถูกฟ้องคดีที่ 12 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ไม่สังกัดหน่วยงานใด ชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียม และค่าท นายความแทนผู้ฟ้องคดีด้วย
หลังจากนั้น ศาลอ่านสำนวนคำให้การของผู้ถูกฟ้องคดี ที่ 1 และ 12 โดยละเอียด และอ่านการตรวจสอบเส้นทางการเงินและกรณีการทุจริต ในหลายประเด็น โดยใจความสำคัญตอนหนึ่งเปิดเผยการตรวจสอบเส้นทางการเงิน ธุรกรรมทางการเงิน ของทั้งตัวผู้ฟ้องคดีและครอบครัวผู้ฟ้องคดี บุคคลใกล้ชิดและบริวาร ของผู้ฟ้องคดีรวมทั้งบริษัทในเครือชิคอร์ปฯ บริษัทของผู้ฟ้องคดีและครอบครัวผู้ฟ้องคดีที่ได้จดทะเบียน จัดตั้งขึ้นทั้งในประเทศและนอกประเทศ ปรากฏว่ามีพยานหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า ขณะที่ผู้ฟ้องคดีดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีทั้ง 2 สมัย ในปี 2544 และปี 2548 นั้น ผู้ฟ้อง คดีและภรรยายังคงถือไว้ ซึ่งหุ้นธุรกิจสัมปทานของชินคออร์ปฯ จำนวนร้อยละ 49.6 โดยใช้ชื่อบุคคลอื่นเป้นตัวแทนเชิดถือไว้แทน ในนามของบุตรชาย บุตรสาว ญาติพี่น้อง บุคคลใกล้ชิด ตลอดจนบริษัทที่ผู้ฟ้องคดีจัดตั้งขึ้นในต่างประเทศ (บริษัท แอมเพิลริช อินเวสเมนต์ และบริษัท วินมาร์ค ลิมิเต็ด ) โดยบริษัทในต่างประเทศเหล่านี้ ผู้ฟ้องคดียังคงเป็นผู้มีอำนาจเต็มในการบริหารจัดการ ตลอดจนมีอำนาจจัดการด้านการเงินในบริษัทเหล่านั้นด้วย
ดังนั้นเงินที่ได้จากการขายหุ้นชินคอร์ป ให้แก่กองทุนเทมาเส็ก ของประเทศสิงคโปร์ จำนวนร้อยละ 49.6 เป็นเงินจำนวน 73,000 ล้านบาทเศษนี้ จึงยังคงเป้นขอองผู้ฟ้องคดี และภรรยา โดยเงินดังกล่าวมีการเคลื่อนไหวในบัญชี ตลอดเวลา โดยได้ถูกยักย้ายถ่ายโอนทางบัญชี มีการกระจายออกไปตามบัญชีต่างๆ ของบุคคล และนิตบุคคลอื่นๆ มีการแปรสภาพ จากเงินสด เป็นทรัพย์สินในรูปแบบอื่นๆ ตลอดเวลา แม้ขณะเวลาที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่12 ทำการตรวจสอบอยู่ ปรากฏว่ามีเงินคงเหลือเพียง 52,000 ล้านบาทเศษ ซึ่งหากปล่อยระยะเวลาเนิ่นนานออกไปอีก ก็ไม่แน่ว่าเงินที่เกิดจากการขายหุ้นชินคอร์ป ทั้งหมดนี้ จะยังคงมีเหลืออยู่อีกหรือไม่ อาจมีการกระจัดกระจายออกไป รวมทั้งมีการไหลออกไปนอกประเทศในรูปแบบต่างๆ จนไม่สามารถติดตามกลับคืนมาได้
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 12ได้ตรวจสอบและไต่สวน คดีต่างๆ หลายคดี จนลุล่วง ถึงขั้นมีพยานหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า ผู้ฟ้องคดี กับพวก ได้ทุจริต ประพฤติมิชอบ และร่ำรวยผิดปกติ ได้ทรัพย์สินโดยมิสมควรได้ จากการใช้อำนาจหน้าที่ เอื้อประโยชน์ ต่อกิจการของชินคอร์ป ที่ยังคงเป็นของผู้ฟ้องคดีและภรรยา ทำให้ชิยคอร์ป และผู้ฟ้องคดีได้ประโยชน์ แต่ก่อใหห้เกิดความเสียหายแก่รัฐโดยรวม
นอกจากนี้ ศาลอ่านคำวินิจฉัยระบุด้วยว่า พฤติการณ์ทุจริตของผู้ฟ้องคดี กับพวกนั้น ได้ถูกผู้ถูกฟ้องคดี ทำการไต่สวน กล่าวหาแล้วรวม 5 คดี คือ
1.คดีทุจริต โครงการจัดซื้อที่ดินจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ซึ่งปัจจุบัน ผู้ฟ้องคดีและภรรยาได้ถูกอัยการสูงสุดฟ้อง เป็นผู้ถูกฟ้อง คดี ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มูลค่าคดีตามสัญญาซื้อขายที่ดินจำนวน 772 ล้านบาท
2.คดีการจัดซื้อกล้ายางของกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มูลค่าตามสัญญา 1,440 ล้านบาท
3.คดีทุจริต โครงการจัดซื้อจัดจ้าง ปรับเปลี่ยนสายพาน ลำเลียงกระเป๋า สัมภาระผู้โดยสาร และเครื่องตรวจสอบวัตถุระเบิดซีทีเอ็กซ์ 9000 ( CTX 9000 ) ทำให้รัฐเสียหาย 1500 ล้านบาท
4.คดีโครงการ ออกสลากพิเศษรางวัลเลขท้าย 3 ตัว และ 2 ตัว ของสำนักงาน สลากกินแบ่งรัฐบาล ทำให้รัฐเสียหาย 37,790 ล้านบาท และ
5 คดีการให้เงินกู้โดยทุจริต ของผู้บริหารธนาคารกรุงไทย จำกัด ( มหาชน ) ทำให้รัฐเสียหายจำนวน 5,185 ล้านบาท
ทั้งนี้ สำนวนคำวินิจฉัยของศาล ระบุถึงพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปรกติจากการใช้อำนาจหน้าที่ของผู้ฟ้อง เอื้อประโยชน์ต่อกิจการของชินคอร์ปฯ และบริษัทในเครือ ด้วยการทุจริตเชิงนโยบาย ใช้ข้อมูลภายในหาประโยชน์ อาทิ ผู้ฟ้องคดี ใช้อำนาจหน้าที่ผลักดันให้มีการแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติประกอบกิจการโทรคมนาคม ให้บุคคลต่างด้าว สามารถถือหุ้นในบริษัทด้านกิจกการโทรคมนาคมจากเดิมไม่เกินร้อยละ 25 เพิ่มขึ้น เป็นไม่เกินร้อยละ 50 พร้อมๆ กับ ผู้ฟ้องคดี ได้มีการเจรจาขายหุ้นชินคอร์ปฯ จำนวนร้อยละ 49.6 ของผู้ฟ้องคดี และภรรยา ที่ใช้ชื่อบุคคลอื่นถือไว้แทนรวมถึงคดีซุกหุ้น ภาค 2 ที่ผู้ฟ้องคดี และภรรยา ซุกซ่อนปิดบัง ยักย้ายหุ้นมาตั้งแต่ผู้ฟ้องดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
นอกจากนี้ สำนวนคำวินิจฉัยของศาล ระบุถึงคดีทุจริต อีก 6 คดี ที่ คตส. หรือ ผู้ถูกฟ้อง ทั้ง 12 ไต่สวนดำเนินคดีแล้วในปัจจุบันด้วย อาทิ คดีแก้ไขสัญญาข้อตกลงลดส่วนแบ่งรายได้ค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบใช้บัตรจ่ายเงินล่วงหน้า เอื้อประโยชน์แก่บริษัทในเครือชินคอร์ป ทำให้รัฐ ( บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เสียประโยชน์ ตลอดอายุสัมปทานเป็นเงินจำนวน 71,667 ล้านบาท, คดีสั่งการให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ( EXIM BANK) ให้รัฐบาลสหภาพพม่ากู้เงินเพื่อซื้อสินค้าและบริการของบริษัท ชิน แซทเทลไลท์ จำกัด ( มหาชน) ในจำนวนเงินกู้ประมาณ 1000 ล้านบาท, อาศัยการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ นำผลประโยชน์ของชาติ แลกเปลี่ยนบุกเบิกตลาดธุรกิจ ดาวเทียมให้แก่สายธุรกิจดาวเทียมในเครือบริษัท ชินคอร์ปฯ เพิ่มมูลค่าธุรกิจดาวเทียมของบริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด ( มหาชน ) เป็นอันมาก เป็นต้น จะเห็นได้ว่า พฤติการณ์และการกระทำต่างๆ ของผู้ฟ้องคดีกับพวก เข้าองค์ประกอบเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วย การป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 กรณีร่ำรวยผิดปกติจากการได้ทรัพย์สินมาโดยมิควรได้ สืบเนื่องจากการใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่
ในที่สุด ศาลได้วินิจฉัยว่าคำสั่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ 12 ที่ คตส.016/2550 ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2550 ที่คตส.021/2550 ลงวันที่ 18 มิถุนายน 2550 และที่ คตส. 022/2550 ลงวันที่ 20 มิถุนายน 2550 อายัดเงินในบัญชีธนาคารของผู้ฟ้องคดี เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป้นกการกระทำ ละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ถึงที่ 5 ที่ 7 และที่ 8 ได้รับการแต่งตั้งและปฏิบัติหน้าที่เป็นกรรมกการตรวจสอบ โดยได้รับการยกเว้น มิให้นำกฎหมายเกี่ยวกับกรณีห้ามมิให้บุคคลใดดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการ หรือห้ามปฏิบัติหน้าที่อื่นใดในการดำรง ตำแหน่งมาใช้บังคับกับการแต่งตั้งและการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคล ที่เป็นกรรมการตรวจสอบ ตาม ข้อ 2 ของประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 30 เรื่องการตรวจสอบ การกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ลงวันที่ 30 กันยายน 2549 รวมทั้งการแถลงข่าวของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ถึงที่ 3 ที่ได้รับมอบหมาย จากผู้ถูกฟ้องคดีที่ 12 ไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดีแล้ว ศาลจึงไม่จำต้องวินิจฉัยในประเด็นอื่นตามที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างอีกต่อไปพิพากษายกฟ้อง
ที่มา http://www.isranews.org/isranews-news/item/26226-court-thaksin.html
ทักษิณ ดิ้นไปก็เท่านั้น