สยามฟิวเจอร์ผนึกกลุ่มทุนอิเกีย "อิคาโน่"เดินเครื่อง "เมการังสิต" ซุ่มกว้านซื้อที่ดินเพิ่มไม่หยุด ล่าสุดรวมเป็นแปลงยักษ์ 1,000 ไร่ ขยายอาณาจักรค้าปลีกบิ๊กเบิ้ม ใช้ "ความใหญ่-ครบเครื่อง" ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ เปิดเกมปล่อยหมัดเด็ดทีละเฟส วงการค้าปลีกชี้อิเกียมองไกล ลงทุนมหาศาลซื้ออนาคต
พลันที่กลุ่มสยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเมนท์ แจ้งประกาศการซื้อที่ดินจำนวน 250 ไร่ มูลค่า 700 ล้านบาท บริเวณถนนรังสิต-นครนายก ในช่วงเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา กลายเป็นความคึกคักของตลาดค้าปลีกขึ้นมาทันใด เพราะนั่นเป็นสัญญาณการลงทุนรอบใหม่และสยายปีกปักหมุดกรุงเทพฯตอนเหนืออย่างเต็มรูปแบบของกลุ่ม "อิเกีย"
นอกจากนายสมนึก พจน์เกษมสิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงการได้มาของที่ดิน 250 ไร่ มูลค่า 700 ล้านบาทแล้วนั้น ยังได้มีการก่อตั้งบริษัทร่วมทุนชื่อบริษัท นอร์ธ บางกอก ดีเวลอปเมนท์ จำกัด ด้วยสัดส่วนการถือหุ้น บริษัท สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเมนท์ 49% บริษัท อิคาโน่ จำกัด 49% และบริษัท ไทย วนาสิริ จำกัด 2% สำหรับพัฒนาและบริหารศูนย์การค้าแห่งใหม่ โดยเบื้องต้นจะเรียกโปรเจ็กต์นี้ว่า "เมการังสิต" หรือ "อิเกีย รังสิต"
อย่างไรก็ตาม ความเคลื่อนไหวของการร่วมทุนรอบใหม่ระหว่างสยามฟิวเจอร์ฯ และอิคาโน่ บนทำเลรังสิต-นครนายก ไม่ได้หยุดแค่เพียงที่ดินจำนวน 250 ไร่เท่านั้น ล่าสุดได้กว้านซื้อที่ดินบริเวณใกล้เคียงและฝั่งตรงข้าม รวมเป็นที่ดินแปลงมหึมากว่า 1,000 ไร่ สำหรับการปั้นอาณาจักรค้าปลีกแห่งใหม่รองรับดีมานด์และกำลังซื้อมหาศาลในอนาคต
ลงทุนซื้ออนาคต
แหล่งข่าวระดับสูงในวงการพัฒนาที่ดินและอสังหาริมทรัพย์กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า โปรเจ็กต์เมการังสิต ที่ประกาศแจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯไป 250 ไร่ เป็นเพียงเฟสแรก เพื่อขึ้นโครงการในรูปแบบเดียวกับเมกาบางนา แต่การลงทุนของสยามฟิวเจอร์ฯและอิคาโน่มองไปไกลกว่านั้น ตามยุทธศาสตร์การลงทุนที่จะต้องมีโครงการอีกหลายเฟสทยอยเปิดตัวตามมา เช่นเดียวกับการมีพาร์ตเนอร์ทางธุรกิจกลุ่มอื่น ๆ ที่จะเข้ามาร่วมลงทุนด้วย โดยเป้าหมายเป็นการสร้างเมืองใหม่ สร้างย่านการค้าแห่งใหม่ที่ครบครัน และรองรับทุกความต้องการของลูกค้า
"ตอนนี้อิคาโน่ทยอยซื้อที่เก็บเอาไว้แล้วกว่า 1,000 ไร่ การรวบรวมที่ดินเป็นเรื่องที่ยากมาก และควรทำเงียบ ๆ ไม่งั้นราคาจะขึ้นอย่างรวดเร็วและโหดมาก บางแปลงเรียกตารางวาละ 2 แสน เรื่องนี้จึงเป็นหนังยาว ค่อย ๆ ทยอยเก็บกันไป"
ทั้งนี้การไล่เก็บที่ดินสำหรับขึ้นโครงการอิเกีย รังสิต ผู้บริหารระดับสูงรายนี้ระบุว่า จะเดินหน้าไปพร้อม ๆ กับในฟากกรุงเทพฯฝั่งตะวันตก คือ อิเกีย บางใหญ่ ซึ่งอยู่ระหว่างการรวบรวมที่ดิน ซึ่งขณะนี้ยังได้ไม่ครบตามเป้าหมาย ซึ่งก็ต้องลุยเดินหน้ากันต่อไป
กวาดกำลังซื้อรอบนอก
สอดคล้องกับผู้บริหารระดับสูงสยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเมนท์ ฉายภาพการลงทุนบิ๊กโปรเจ็กต์ครั้งนี้กับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เกมนี้เล่นกันยาวและอาจนานถึง 30 ปีด้วยขนาดของโครงการ และความครบของสินค้าและบริการจะเป็นตัวตอบโจทย์ แต่ไม่ว่าการแข่งขันของผู้ประกอบการเป็นอย่างไร ผู้บริโภคจะเป็นคนเลือก ไม่ว่าจะเป็นบิ๊กมอลล์ขนาด 4-5 ชั้นที่เห็นทั่วไป หรือสไตล์แนวราบ 2 ชั้นของอิเกีย
"เมื่อก่อนเราคิดเหมือนกันว่าค้าปลีกแนวราบจะตรงกับพฤติกรรมคนไทยหรือไม่ กลายเป็นว่าเมกาบางนาเป็นกรณีศึกษาที่ทำให้เห็นรูปแบบใหม่ ๆ ของค้าปลีก จากที่ไปดูเมกา มอลล์ ที่รัสเซีย ของอิเกีย เกิดเป็นคำถามว่าค่าก่อสร้างและที่ดินแพงมาก ทำแบบนี้จะคุ้มเหรอ ตอนแรกเราไม่เห็นด้วย แต่ก็ต้องเสี่ยงดู กลายเป็นว่าเขา (อิคาโน่) ถูก เขาเชื่อในสิ่งที่ทำมาทั่วโลก"
เช่นเดียวกับอิเกีย บางใหญ่ แม้ว่าจะไม่ใช่ที่ดินแปลงขนาดมหึมาเท่ารังสิต แต่ต้องไม่ต่ำกว่า 250 ไร่ ซึ่งการตอบรับของอิเกีย บางนา เป็นสิ่งที่สร้างความมั่นใจในการเดินหน้าลงทุนต่อเนื่อง จากที่ผ่านมากำลังซื้อและทราฟฟิกผู้ใช้บริการของเมกาบางนา เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ คือลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการ 3.5 ล้านคน/ปี หรือเฉลี่ยวันละ 1 แสนคน และพื้นที่เช่าภายในโครงการที่เต็มแล้ว
ขณะเดียวกันร้านค้าใหม่ ๆ ต้องการจะเข้ามาเปิดบริการเพิ่มผู้บริหารสยามฟิวเจอร์ฯระบุว่า ยุทธศาสตร์การเลือกทำเลที่ตั้งของโครงการอิเกียทั่วโลกจะเกาะไปกับถนนวงแหวนรอบนอกไม่ใช่ในเมือง เนื่องจากสอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของคนในปัจจุบัน แม้จะทำงานในเมือง แต่ก็มีที่อยู่อาศัยอยู่นอกเมือง วันหยุดพักผ่อนจึงเลือกทำกิจกรรมในย่านชานเมืองหรือออกไปต่างจังหวัด มากกว่าจะวิ่งเข้ามาจับจ่ายใจกลางเมืองที่จราจรหนาแน่น
"เห็นภาพชัดว่าตอนนี้ไม่มีใครอยากเข้าเมือง ทุกคนมีรถ ต้องการความสะดวกสบาย ไปที่เดียวแล้วครบ ทำให้การลงทุนที่เกิดขึ้นต้องใหญ่และตอบทุกความต้องการ"
วงการตะลึง
แหล่งข่าวในวงการค้าปลีกยอมรับว่า ที่ดินจำนวนดังกล่าวมีขนาดใหญ่มาก และเป็นการลงทุนมหาศาลเผื่อไปถึงอนาคต เมื่อมองถึงศักยภาพของโครงการซึ่งมี
อิเกียเป็นจุดขายหลัก คาดว่านอกจากจะดึงลูกค้าในส่วนกรุงเทพมหานคร ปทุมธานี และอยุธยาบางส่วน ยังรวมไปถึงนครนายก คล้าย ๆ กับเมกาบางนาที่อิเกียเป็นตัวดึงลูกค้าถึงแปดริ้วและชลบุรี แม้ว่าไม่ห่างออกไป ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต ซึ่งเป็นเจ้าตลาดในปัจจุบัน
จากเดิมที่ดินแปลงนี้ได้รับความสนใจจากกลุ่มทุนต่าง ๆ จำนวนมาก แต่ติดปัญหาแม้เจ้าของจะอยู่ในตระกูลเดียวกันแต่ถูกแยกย่อยเป็นแปลง ๆ เนื่องจากเป็นที่ดินมรดก และมีถนนวงแหวนผ่ากลาง ขณะเดียวกันโซนนิ่งผังเมืองยังไม่รองรับการลงทุนเพื่อการพาณิชย์ขนาดใหญ่
"ตอนที่เปิดเมกาบางนาแรก ๆ ผู้เช่าค่อนข้างมีปัญหากับยอดขายในวันธรรมดา ซึ่งลูกค้าน้อยกว่าวันหยุดเสาร์อาทิตย์มาก แต่ตอนนี้สถานการณ์เริ่มดีขึ้น" แหล่งข่าวกล่าว
สอดคล้องกับแหล่งข่าวในบริษัทพัฒนาที่ดินรายใหญ่เปิดเผยว่า ขณะนี้โครงการศูนย์การค้าของบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอ็น หยุดลงชั่วคราว จากเดิมที่มีความคืบหน้าในหลาย ๆ ส่วน โดยเฉพาะการออกแบบ และการเตรียมความพร้อมการลงทุน
Credit ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 26 ธ.ค. 2556
ติดตามข้อคิดการเงินได้ที่ Maibat Fanpage
https://www.facebook.com/maibat.thailand
"อิเกีย"กว้านซื้อที่1,000ไร่ยึดรังสิต แผนลงทุนบิ๊กเบิ้มปั้นอาณาจักรค้าปลีกแห่งใหม่
สยามฟิวเจอร์ผนึกกลุ่มทุนอิเกีย "อิคาโน่"เดินเครื่อง "เมการังสิต" ซุ่มกว้านซื้อที่ดินเพิ่มไม่หยุด ล่าสุดรวมเป็นแปลงยักษ์ 1,000 ไร่ ขยายอาณาจักรค้าปลีกบิ๊กเบิ้ม ใช้ "ความใหญ่-ครบเครื่อง" ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ เปิดเกมปล่อยหมัดเด็ดทีละเฟส วงการค้าปลีกชี้อิเกียมองไกล ลงทุนมหาศาลซื้ออนาคต
พลันที่กลุ่มสยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเมนท์ แจ้งประกาศการซื้อที่ดินจำนวน 250 ไร่ มูลค่า 700 ล้านบาท บริเวณถนนรังสิต-นครนายก ในช่วงเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา กลายเป็นความคึกคักของตลาดค้าปลีกขึ้นมาทันใด เพราะนั่นเป็นสัญญาณการลงทุนรอบใหม่และสยายปีกปักหมุดกรุงเทพฯตอนเหนืออย่างเต็มรูปแบบของกลุ่ม "อิเกีย"
นอกจากนายสมนึก พจน์เกษมสิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงการได้มาของที่ดิน 250 ไร่ มูลค่า 700 ล้านบาทแล้วนั้น ยังได้มีการก่อตั้งบริษัทร่วมทุนชื่อบริษัท นอร์ธ บางกอก ดีเวลอปเมนท์ จำกัด ด้วยสัดส่วนการถือหุ้น บริษัท สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเมนท์ 49% บริษัท อิคาโน่ จำกัด 49% และบริษัท ไทย วนาสิริ จำกัด 2% สำหรับพัฒนาและบริหารศูนย์การค้าแห่งใหม่ โดยเบื้องต้นจะเรียกโปรเจ็กต์นี้ว่า "เมการังสิต" หรือ "อิเกีย รังสิต"
อย่างไรก็ตาม ความเคลื่อนไหวของการร่วมทุนรอบใหม่ระหว่างสยามฟิวเจอร์ฯ และอิคาโน่ บนทำเลรังสิต-นครนายก ไม่ได้หยุดแค่เพียงที่ดินจำนวน 250 ไร่เท่านั้น ล่าสุดได้กว้านซื้อที่ดินบริเวณใกล้เคียงและฝั่งตรงข้าม รวมเป็นที่ดินแปลงมหึมากว่า 1,000 ไร่ สำหรับการปั้นอาณาจักรค้าปลีกแห่งใหม่รองรับดีมานด์และกำลังซื้อมหาศาลในอนาคต
ลงทุนซื้ออนาคต
แหล่งข่าวระดับสูงในวงการพัฒนาที่ดินและอสังหาริมทรัพย์กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า โปรเจ็กต์เมการังสิต ที่ประกาศแจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯไป 250 ไร่ เป็นเพียงเฟสแรก เพื่อขึ้นโครงการในรูปแบบเดียวกับเมกาบางนา แต่การลงทุนของสยามฟิวเจอร์ฯและอิคาโน่มองไปไกลกว่านั้น ตามยุทธศาสตร์การลงทุนที่จะต้องมีโครงการอีกหลายเฟสทยอยเปิดตัวตามมา เช่นเดียวกับการมีพาร์ตเนอร์ทางธุรกิจกลุ่มอื่น ๆ ที่จะเข้ามาร่วมลงทุนด้วย โดยเป้าหมายเป็นการสร้างเมืองใหม่ สร้างย่านการค้าแห่งใหม่ที่ครบครัน และรองรับทุกความต้องการของลูกค้า
"ตอนนี้อิคาโน่ทยอยซื้อที่เก็บเอาไว้แล้วกว่า 1,000 ไร่ การรวบรวมที่ดินเป็นเรื่องที่ยากมาก และควรทำเงียบ ๆ ไม่งั้นราคาจะขึ้นอย่างรวดเร็วและโหดมาก บางแปลงเรียกตารางวาละ 2 แสน เรื่องนี้จึงเป็นหนังยาว ค่อย ๆ ทยอยเก็บกันไป"
ทั้งนี้การไล่เก็บที่ดินสำหรับขึ้นโครงการอิเกีย รังสิต ผู้บริหารระดับสูงรายนี้ระบุว่า จะเดินหน้าไปพร้อม ๆ กับในฟากกรุงเทพฯฝั่งตะวันตก คือ อิเกีย บางใหญ่ ซึ่งอยู่ระหว่างการรวบรวมที่ดิน ซึ่งขณะนี้ยังได้ไม่ครบตามเป้าหมาย ซึ่งก็ต้องลุยเดินหน้ากันต่อไป
กวาดกำลังซื้อรอบนอก
สอดคล้องกับผู้บริหารระดับสูงสยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเมนท์ ฉายภาพการลงทุนบิ๊กโปรเจ็กต์ครั้งนี้กับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เกมนี้เล่นกันยาวและอาจนานถึง 30 ปีด้วยขนาดของโครงการ และความครบของสินค้าและบริการจะเป็นตัวตอบโจทย์ แต่ไม่ว่าการแข่งขันของผู้ประกอบการเป็นอย่างไร ผู้บริโภคจะเป็นคนเลือก ไม่ว่าจะเป็นบิ๊กมอลล์ขนาด 4-5 ชั้นที่เห็นทั่วไป หรือสไตล์แนวราบ 2 ชั้นของอิเกีย
"เมื่อก่อนเราคิดเหมือนกันว่าค้าปลีกแนวราบจะตรงกับพฤติกรรมคนไทยหรือไม่ กลายเป็นว่าเมกาบางนาเป็นกรณีศึกษาที่ทำให้เห็นรูปแบบใหม่ ๆ ของค้าปลีก จากที่ไปดูเมกา มอลล์ ที่รัสเซีย ของอิเกีย เกิดเป็นคำถามว่าค่าก่อสร้างและที่ดินแพงมาก ทำแบบนี้จะคุ้มเหรอ ตอนแรกเราไม่เห็นด้วย แต่ก็ต้องเสี่ยงดู กลายเป็นว่าเขา (อิคาโน่) ถูก เขาเชื่อในสิ่งที่ทำมาทั่วโลก"
เช่นเดียวกับอิเกีย บางใหญ่ แม้ว่าจะไม่ใช่ที่ดินแปลงขนาดมหึมาเท่ารังสิต แต่ต้องไม่ต่ำกว่า 250 ไร่ ซึ่งการตอบรับของอิเกีย บางนา เป็นสิ่งที่สร้างความมั่นใจในการเดินหน้าลงทุนต่อเนื่อง จากที่ผ่านมากำลังซื้อและทราฟฟิกผู้ใช้บริการของเมกาบางนา เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ คือลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการ 3.5 ล้านคน/ปี หรือเฉลี่ยวันละ 1 แสนคน และพื้นที่เช่าภายในโครงการที่เต็มแล้ว
ขณะเดียวกันร้านค้าใหม่ ๆ ต้องการจะเข้ามาเปิดบริการเพิ่มผู้บริหารสยามฟิวเจอร์ฯระบุว่า ยุทธศาสตร์การเลือกทำเลที่ตั้งของโครงการอิเกียทั่วโลกจะเกาะไปกับถนนวงแหวนรอบนอกไม่ใช่ในเมือง เนื่องจากสอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของคนในปัจจุบัน แม้จะทำงานในเมือง แต่ก็มีที่อยู่อาศัยอยู่นอกเมือง วันหยุดพักผ่อนจึงเลือกทำกิจกรรมในย่านชานเมืองหรือออกไปต่างจังหวัด มากกว่าจะวิ่งเข้ามาจับจ่ายใจกลางเมืองที่จราจรหนาแน่น
"เห็นภาพชัดว่าตอนนี้ไม่มีใครอยากเข้าเมือง ทุกคนมีรถ ต้องการความสะดวกสบาย ไปที่เดียวแล้วครบ ทำให้การลงทุนที่เกิดขึ้นต้องใหญ่และตอบทุกความต้องการ"
วงการตะลึง
แหล่งข่าวในวงการค้าปลีกยอมรับว่า ที่ดินจำนวนดังกล่าวมีขนาดใหญ่มาก และเป็นการลงทุนมหาศาลเผื่อไปถึงอนาคต เมื่อมองถึงศักยภาพของโครงการซึ่งมี
อิเกียเป็นจุดขายหลัก คาดว่านอกจากจะดึงลูกค้าในส่วนกรุงเทพมหานคร ปทุมธานี และอยุธยาบางส่วน ยังรวมไปถึงนครนายก คล้าย ๆ กับเมกาบางนาที่อิเกียเป็นตัวดึงลูกค้าถึงแปดริ้วและชลบุรี แม้ว่าไม่ห่างออกไป ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต ซึ่งเป็นเจ้าตลาดในปัจจุบัน
จากเดิมที่ดินแปลงนี้ได้รับความสนใจจากกลุ่มทุนต่าง ๆ จำนวนมาก แต่ติดปัญหาแม้เจ้าของจะอยู่ในตระกูลเดียวกันแต่ถูกแยกย่อยเป็นแปลง ๆ เนื่องจากเป็นที่ดินมรดก และมีถนนวงแหวนผ่ากลาง ขณะเดียวกันโซนนิ่งผังเมืองยังไม่รองรับการลงทุนเพื่อการพาณิชย์ขนาดใหญ่
"ตอนที่เปิดเมกาบางนาแรก ๆ ผู้เช่าค่อนข้างมีปัญหากับยอดขายในวันธรรมดา ซึ่งลูกค้าน้อยกว่าวันหยุดเสาร์อาทิตย์มาก แต่ตอนนี้สถานการณ์เริ่มดีขึ้น" แหล่งข่าวกล่าว
สอดคล้องกับแหล่งข่าวในบริษัทพัฒนาที่ดินรายใหญ่เปิดเผยว่า ขณะนี้โครงการศูนย์การค้าของบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอ็น หยุดลงชั่วคราว จากเดิมที่มีความคืบหน้าในหลาย ๆ ส่วน โดยเฉพาะการออกแบบ และการเตรียมความพร้อมการลงทุน
Credit ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 26 ธ.ค. 2556
ติดตามข้อคิดการเงินได้ที่ Maibat Fanpage
https://www.facebook.com/maibat.thailand