เพื่อนๆ คิดว่า คอมมิวนิตี้มอลล์ จะตีห้าง Department Store แบบ CPN ให้พื้นฐานเปลี่ยนได้รึเปล่าครับ
ถกกันได้เลยนะครับ
ประชาชาติธุรกิจ
ธุรกิจค้าปลีกพัฒนาและปรับเปลี่ยนโมเดลอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับการปรากฏตัวผู้เล่น "หน้าใหม่" โดยเฉพาะในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อวิกฤตการณ์ปี 2540
"ภาพรวมตลาดค้าปลีกในกรุงเทพมหานคร ตลาดพื้นที่ค้าปลีกในกรุงเทพมหานครยังคงเติบโตต่อเนื่อง...ถึงแม้ภาพรวมตลาดค้าปลีกค้าส่งในระดับมหภาคจะชะลอตัวโดยเฉพาะค้าปลีกในรูปแบบคอมมิวนิตี้มอลล์มีการขยายตัวเร็วที่สุดและต่อเนื่องของกรุงเทพมหานครในด้านของจำนวนโครงการ"
ทั้งได้แสดงแผนภูมิสัดส่วนรูปแบบค้าปลีกให้เห็นภาพใหญ่ด้วยว่าShopping Mall ครองสัดส่วนมากที่สุด 61% ส่วน Superstore 20% และ Department Store 19% ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาเฉพาะรูปแบบ Shopping Mall สามารถแยกแยะได้ออกเป็นรูปแบบปิด (Enclose Mall) แบบเดิมยังครองส่วนแบ่งข้างมาก 41% ขณะเดียวกัน Community Mall เติบโตอย่างรวดเร็วมีสัดส่วนถึง 12%
ข้อมูลข้างต้นอ้างมาจากรายงานประจำปี 2556 บริษัท สยามฟิวเจอร์ดีเวลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ได้ให้ภาพที่ตื่นเต้นเร้าใจไว้ว่า ด้วยการเกิดขึ้นและเติบโตค้าปลีกรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า Community Mall
เช่นเดียวกับความเป็นมา บริษัทสยามฟิวเจอร์ดีเวลอปเมนท์ ก่อตั้งขึ้นอย่างเงียบ ๆ ในช่วงปี 2537 เริ่มดำเนินธุรกิจศูนย์การค้าแบบเปิด (Open-air Shopping Center) ในชานกรุงเทพฯ ภายใต้การบริหารของคนหนุ่มที่ไม่มีใครรู้จัก เขามีความรู้ด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ บวกกับประสบการณ์ดั้งเดิมบริหารตลาดแบบเก่าของครอบครัว กับการทำงานช่วงหนึ่งกับเครือข่ายธุรกิจใหญ่ที่มีความทันสมัย (เอสซีจี) สยามฟิวเจอร์ฯใช้เวลาเพียงทศวรรษเดียวสามารถก้าวขึ้นเป็นผู้นำธุรกิจค้าปลีกรูปแบบใหม่
ภาพ Community Mall ขยายจินตนาการมากขึ้น เชื่อมโยงกับความเป็นไปของสังคมกรุงเทพฯด้วยข้อมูลพื้น ๆ ที่ควรขยายความในโอกาสต่อไป
"ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ธุรกิจพัฒนาและให้เช่าพื้นที่ค้าปลีกศูนย์การค้าประเภทคอมมิวนิตี้มอลล์ในเขตกรุงเทพมหานคร มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว อันเป็นผลมาจากการเติบโตของธุรกิจค้าปลีกและกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ปรับตัวเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่แถบชานเมืองกรุงเทพมหานคร โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวกรวดเร็ว ทำให้นิยมซื้อสินค้าใกล้บ้าน อีกทั้งทำเลของร้านค้าปลีกหรือศูนย์การค้าคอมมิวนิตี้มอลล์ขนาดเล็กไม่มีข้อจำกัดเรื่องกฎหมายผังเมือง ทำให้สามารถหาพื้นที่เหมาะสมได้ง่ายกว่า และอาศัยเงินลงทุนไม่มากนัก (อ้างอิงจากศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 เรื่อง อะไรเป็นปัจจัยขับเคลื่อนธุรกิจค้าปลีกในปี พ.ศ. 2555)
จากปัจจัยดังกล่าวข้างต้น อุปทานของพื้นที่เช่าของโครงการคอมมิวนิตี้มอลล์ในกรุงเทพมหานคร จึงปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้นจาก 235,730 ตารางเมตรในปี พ.ศ. 2551 เป็น 547,966 ตารางเมตรในปี พ.ศ. 2555 หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตโดยเฉลี่ยต่อปี (Compound Annual Growth Rate) เท่ากับร้อยละ 23.50 (ข้อมูลบริษัทไนท์แฟรงค์ ชาร์เตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด)"
ข้อมูลข้างต้นคัดมาจากหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนส่วนข้อมูลโครงการกองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์คริสตัลรีเทลโกรทจัดทำโดยบลจ.ไทยพาณิชย์ มิถุนายน 2556
กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์คริสตัล รีเทล โกรท เป็นเครื่องมือทางการเงิน เพื่อระดมทุนสนับสนุนโครงการคอมมิวนิตี้มอลล์ของกลุ่มเค.อี.แลนด์ ผู้นำธุรกิจค้าปลีกในรูปแบบคอมมิวนิตี้มอลล์อีกรายหนึ่ง
ชื่อเค.อี.ฯเชื่อว่า เกี่ยวข้องกับชื่อย่อของคนสองคน คนแรกเป็นหุ้นส่วนในธุรกิจค้าสุรายุคเก่า ยุคแม่โขง-หงส์ทอง เมื่อวางมือจากวงการ ความมั่งคั่งที่สะสมไว้ สร้างโอกาส ค่อย ๆ สะสมที่ดินย่านประดิษฐ์มนูธรรมได้หลายร้อยไร่ คนที่สองเป็นบุตรชาย ใช้ชีวิตศึกษาเล่าเรียนในสหรัฐมาประมาณ 10 ปี มีประสบการณ์ทำงานในอาชีพใหม่ที่รุ่งโรจน์ ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน เกี่ยวข้องกับดีลใหญ่ในช่วงวิกฤตการณ์ เมื่อเข้ามาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับที่ดินครอบครัว เขาจึงมองกว้างไปกว่าคนรุ่นเดิม
ทั้งสยามฟิวเจอร์ดีเวลอปเมนท์ และเค.อี.แลนด์ ยืนอยู่ในตำแหน่งที่ดี ท่ามกลางสถานการณ์และแนวโน้มค้าปลีกในรูปแบบใหม่ เชื่อว่ายังพัฒนาไปอีกไกล ภาพดังกล่าวควรนำเสนอต่อเนื่องเพิ่มเติม
"ทั้งนี้ บริษัท ไนท์แฟรงค์ ชาร์เตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ประมาณการว่า ณ สิ้นปี พ.ศ. 2555 มีโครงการคอมมิวนิตี้มอลล์ที่อยู่ระหว่างก่อสร้างประมาณ 15 โครงการ (เฉพาะโครงการที่มีการประกาศเปิดตัวแล้ว) โดยจะมีพื้นที่ให้เช่ารวมประมาณ 135,116 ตารางเมตร ซึ่งจะเป็นอุปทานที่เข้าสู่ตลาดภายในปี พ.ศ. 2556 และจะทำให้พื้นที่เช่าคอมมิวนิตี้มอลล์รวมของกรุงเทพมหานครเพิ่มขึ้นเป็น 683,082 ตารางเมตร" หนังสือชี้ชวนฯกองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์คริสตัล รีเทล โกรท นำเสนอข้อมูลอีกบางตอนให้เห็นภาพพัฒนาการคอมมิวนิตี้มอลล์อย่างคึกคักในช่วงปี 2555
ส่วนในรายงานประจำปี 2556 (เชื่อว่าเป็นข้อมูลที่จัดทำขึ้นในช่วงก่อนสิ้นไตรมาสแรกของปี 2557) บริษัทสยามฟิวเจอร์ดีเวลอปเมนท์ เสนอข้อมูลในทำนองเดียวกันเช่นกัน โดยมีรายละเอียดเพิ่มเติม เป็นภาพที่ต่อเนื่อง คาดการณ์โครงการคอมมิวนิตี้ที่เกิดใหม่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครในช่วงปี 2556-2558 ไว้อย่างน่าตื่นเต้นและเป็นรูปธรรม โดยให้ข้อมูลอย่างละเอียดว่ามีทั้งหมดถึง 33 โครงการ โดยระบุว่าเป็นโครงการคอมมิวนิตี้มอลล์ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จไป 6 โครงการ ทั้งนี้ กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างอีกจำนวนมากถึง 25 โครงการ และมีแผนการแน่ชัดแล้วอีก 2 โครงการ จากการคำนวณคร่าว ๆ จากตัวเลขที่นำเสนอ (โดยผู้เขียนเอง) คาดว่าจะมีพื้นที่เช่าเพิ่มขึ้นรวมกันมากกว่า 3 แสนตารางเมตร
ที่น่าสนใจต่อไปอีก เมื่อพิจารณาเจ้าของโครงการเหล่านั้นพบว่า มีบรรดาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบเดิม ซึ่งไม่เคยมีโครงการในรูปแบบนี้มาก่อน ได้เข้าสู่การแข่งขันในเกมใหม่อย่างคึกคัก เป็นเรื่องเป็นราวโดยเฉพาะกิจการที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อาทิ อารียา พร็อพเพอร์ตี้ (A) ณุศาศิริ (NUSA) แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ (LPN) และพร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค (PF)
ส่วนผู้นำทั้งสองรายที่กล่าวถึงข้างต้นมีโครงการคอมมิวนิตี้มอลล์ ซึ่งดำเนินไปก่อนหน้าไปไกล อย่างเป็นหลักเป็นฐานแล้ว
ความจริงแล้วสยามฟิวเจอร์ดีเวลอปเมนท์ ดำเนินธุรกิจค้าปลีกในหลายรูปแบบมากถึง 29 แห่งในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา โดยมีรูปแบบคอมมิวนิตี้มอลล์จำนวนมากที่สุดถึง 14 แห่ง ทั้งหมดอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สามารถแบ่งย่อยเป็นชื่อเรียกอย่างที่เขาต้องการเป็น 2 ประเภท-ศูนย์การค้าชุมชน (Neighborhood Shopping Center) จำนวน 7 แห่ง และศูนย์การค้าไลฟ์สไตล์ (Lifestyle Center) 7 แห่ง (โปรดพิจารณารายละเอียดจาก
http://sf-th.listedcompany.com/)
ส่วนเค.อี.แลนด์เข้ามาสู่ธุรกิจโดยเริ่มต้นพัฒนาโครงการบ้านจัดสรรในปี2544เป็นโครงการแรกจึงตามมาด้วยThe Crystal ถือเป็นไลฟ์สไตล์ช็อปปิ้งมอลล์แห่งแรกบนถนนประดิษฐ์มนูธรรมในปี 2550 เป็นโครงการที่โดดเด่น สร้างกระแสคอมมิวนิตี้มอลล์ให้แรงขึ้นอย่างชัดเจน จากนั้นมีโครงการใหญ่ขึ้นอีก Crystal Design Center (CDC) ฝั่งตรงข้ามโครงการแรก เปิดตัวในปี 2552 ก้าวกระโดดไปอีกขั้นเมื่อร่วมทุนกับ ปตท.เปิด The Crystal PTT ในปี 2557 รวมทั้งข้ามพรมแดนเดิมสู่พื้นที่ใหม่ที่กำลังเติบโต The Crystal ราชพฤกษ์
เรื่องราวของสยามฟิวเจอร์ฯ และเค.อี.แลนด์ จะกล่าวถึงให้มากขึ้นในตอนต่อไป
ลมหายใจค้าปลีก คอมมิวนิตี้มอลล์ (1)
ถกกันได้เลยนะครับ
ประชาชาติธุรกิจ
ธุรกิจค้าปลีกพัฒนาและปรับเปลี่ยนโมเดลอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับการปรากฏตัวผู้เล่น "หน้าใหม่" โดยเฉพาะในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อวิกฤตการณ์ปี 2540
"ภาพรวมตลาดค้าปลีกในกรุงเทพมหานคร ตลาดพื้นที่ค้าปลีกในกรุงเทพมหานครยังคงเติบโตต่อเนื่อง...ถึงแม้ภาพรวมตลาดค้าปลีกค้าส่งในระดับมหภาคจะชะลอตัวโดยเฉพาะค้าปลีกในรูปแบบคอมมิวนิตี้มอลล์มีการขยายตัวเร็วที่สุดและต่อเนื่องของกรุงเทพมหานครในด้านของจำนวนโครงการ"
ทั้งได้แสดงแผนภูมิสัดส่วนรูปแบบค้าปลีกให้เห็นภาพใหญ่ด้วยว่าShopping Mall ครองสัดส่วนมากที่สุด 61% ส่วน Superstore 20% และ Department Store 19% ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาเฉพาะรูปแบบ Shopping Mall สามารถแยกแยะได้ออกเป็นรูปแบบปิด (Enclose Mall) แบบเดิมยังครองส่วนแบ่งข้างมาก 41% ขณะเดียวกัน Community Mall เติบโตอย่างรวดเร็วมีสัดส่วนถึง 12%
ข้อมูลข้างต้นอ้างมาจากรายงานประจำปี 2556 บริษัท สยามฟิวเจอร์ดีเวลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ได้ให้ภาพที่ตื่นเต้นเร้าใจไว้ว่า ด้วยการเกิดขึ้นและเติบโตค้าปลีกรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า Community Mall
เช่นเดียวกับความเป็นมา บริษัทสยามฟิวเจอร์ดีเวลอปเมนท์ ก่อตั้งขึ้นอย่างเงียบ ๆ ในช่วงปี 2537 เริ่มดำเนินธุรกิจศูนย์การค้าแบบเปิด (Open-air Shopping Center) ในชานกรุงเทพฯ ภายใต้การบริหารของคนหนุ่มที่ไม่มีใครรู้จัก เขามีความรู้ด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ บวกกับประสบการณ์ดั้งเดิมบริหารตลาดแบบเก่าของครอบครัว กับการทำงานช่วงหนึ่งกับเครือข่ายธุรกิจใหญ่ที่มีความทันสมัย (เอสซีจี) สยามฟิวเจอร์ฯใช้เวลาเพียงทศวรรษเดียวสามารถก้าวขึ้นเป็นผู้นำธุรกิจค้าปลีกรูปแบบใหม่
ภาพ Community Mall ขยายจินตนาการมากขึ้น เชื่อมโยงกับความเป็นไปของสังคมกรุงเทพฯด้วยข้อมูลพื้น ๆ ที่ควรขยายความในโอกาสต่อไป
"ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ธุรกิจพัฒนาและให้เช่าพื้นที่ค้าปลีกศูนย์การค้าประเภทคอมมิวนิตี้มอลล์ในเขตกรุงเทพมหานคร มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว อันเป็นผลมาจากการเติบโตของธุรกิจค้าปลีกและกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ปรับตัวเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่แถบชานเมืองกรุงเทพมหานคร โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวกรวดเร็ว ทำให้นิยมซื้อสินค้าใกล้บ้าน อีกทั้งทำเลของร้านค้าปลีกหรือศูนย์การค้าคอมมิวนิตี้มอลล์ขนาดเล็กไม่มีข้อจำกัดเรื่องกฎหมายผังเมือง ทำให้สามารถหาพื้นที่เหมาะสมได้ง่ายกว่า และอาศัยเงินลงทุนไม่มากนัก (อ้างอิงจากศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 เรื่อง อะไรเป็นปัจจัยขับเคลื่อนธุรกิจค้าปลีกในปี พ.ศ. 2555)
จากปัจจัยดังกล่าวข้างต้น อุปทานของพื้นที่เช่าของโครงการคอมมิวนิตี้มอลล์ในกรุงเทพมหานคร จึงปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้นจาก 235,730 ตารางเมตรในปี พ.ศ. 2551 เป็น 547,966 ตารางเมตรในปี พ.ศ. 2555 หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตโดยเฉลี่ยต่อปี (Compound Annual Growth Rate) เท่ากับร้อยละ 23.50 (ข้อมูลบริษัทไนท์แฟรงค์ ชาร์เตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด)"
ข้อมูลข้างต้นคัดมาจากหนังสือชี้ชวนเสนอขายหน่วยลงทุนส่วนข้อมูลโครงการกองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์คริสตัลรีเทลโกรทจัดทำโดยบลจ.ไทยพาณิชย์ มิถุนายน 2556
กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์คริสตัล รีเทล โกรท เป็นเครื่องมือทางการเงิน เพื่อระดมทุนสนับสนุนโครงการคอมมิวนิตี้มอลล์ของกลุ่มเค.อี.แลนด์ ผู้นำธุรกิจค้าปลีกในรูปแบบคอมมิวนิตี้มอลล์อีกรายหนึ่ง
ชื่อเค.อี.ฯเชื่อว่า เกี่ยวข้องกับชื่อย่อของคนสองคน คนแรกเป็นหุ้นส่วนในธุรกิจค้าสุรายุคเก่า ยุคแม่โขง-หงส์ทอง เมื่อวางมือจากวงการ ความมั่งคั่งที่สะสมไว้ สร้างโอกาส ค่อย ๆ สะสมที่ดินย่านประดิษฐ์มนูธรรมได้หลายร้อยไร่ คนที่สองเป็นบุตรชาย ใช้ชีวิตศึกษาเล่าเรียนในสหรัฐมาประมาณ 10 ปี มีประสบการณ์ทำงานในอาชีพใหม่ที่รุ่งโรจน์ ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน เกี่ยวข้องกับดีลใหญ่ในช่วงวิกฤตการณ์ เมื่อเข้ามาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับที่ดินครอบครัว เขาจึงมองกว้างไปกว่าคนรุ่นเดิม
ทั้งสยามฟิวเจอร์ดีเวลอปเมนท์ และเค.อี.แลนด์ ยืนอยู่ในตำแหน่งที่ดี ท่ามกลางสถานการณ์และแนวโน้มค้าปลีกในรูปแบบใหม่ เชื่อว่ายังพัฒนาไปอีกไกล ภาพดังกล่าวควรนำเสนอต่อเนื่องเพิ่มเติม
"ทั้งนี้ บริษัท ไนท์แฟรงค์ ชาร์เตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ประมาณการว่า ณ สิ้นปี พ.ศ. 2555 มีโครงการคอมมิวนิตี้มอลล์ที่อยู่ระหว่างก่อสร้างประมาณ 15 โครงการ (เฉพาะโครงการที่มีการประกาศเปิดตัวแล้ว) โดยจะมีพื้นที่ให้เช่ารวมประมาณ 135,116 ตารางเมตร ซึ่งจะเป็นอุปทานที่เข้าสู่ตลาดภายในปี พ.ศ. 2556 และจะทำให้พื้นที่เช่าคอมมิวนิตี้มอลล์รวมของกรุงเทพมหานครเพิ่มขึ้นเป็น 683,082 ตารางเมตร" หนังสือชี้ชวนฯกองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์คริสตัล รีเทล โกรท นำเสนอข้อมูลอีกบางตอนให้เห็นภาพพัฒนาการคอมมิวนิตี้มอลล์อย่างคึกคักในช่วงปี 2555
ส่วนในรายงานประจำปี 2556 (เชื่อว่าเป็นข้อมูลที่จัดทำขึ้นในช่วงก่อนสิ้นไตรมาสแรกของปี 2557) บริษัทสยามฟิวเจอร์ดีเวลอปเมนท์ เสนอข้อมูลในทำนองเดียวกันเช่นกัน โดยมีรายละเอียดเพิ่มเติม เป็นภาพที่ต่อเนื่อง คาดการณ์โครงการคอมมิวนิตี้ที่เกิดใหม่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครในช่วงปี 2556-2558 ไว้อย่างน่าตื่นเต้นและเป็นรูปธรรม โดยให้ข้อมูลอย่างละเอียดว่ามีทั้งหมดถึง 33 โครงการ โดยระบุว่าเป็นโครงการคอมมิวนิตี้มอลล์ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จไป 6 โครงการ ทั้งนี้ กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างอีกจำนวนมากถึง 25 โครงการ และมีแผนการแน่ชัดแล้วอีก 2 โครงการ จากการคำนวณคร่าว ๆ จากตัวเลขที่นำเสนอ (โดยผู้เขียนเอง) คาดว่าจะมีพื้นที่เช่าเพิ่มขึ้นรวมกันมากกว่า 3 แสนตารางเมตร
ที่น่าสนใจต่อไปอีก เมื่อพิจารณาเจ้าของโครงการเหล่านั้นพบว่า มีบรรดาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบเดิม ซึ่งไม่เคยมีโครงการในรูปแบบนี้มาก่อน ได้เข้าสู่การแข่งขันในเกมใหม่อย่างคึกคัก เป็นเรื่องเป็นราวโดยเฉพาะกิจการที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อาทิ อารียา พร็อพเพอร์ตี้ (A) ณุศาศิริ (NUSA) แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ (LPN) และพร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค (PF)
ส่วนผู้นำทั้งสองรายที่กล่าวถึงข้างต้นมีโครงการคอมมิวนิตี้มอลล์ ซึ่งดำเนินไปก่อนหน้าไปไกล อย่างเป็นหลักเป็นฐานแล้ว
ความจริงแล้วสยามฟิวเจอร์ดีเวลอปเมนท์ ดำเนินธุรกิจค้าปลีกในหลายรูปแบบมากถึง 29 แห่งในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา โดยมีรูปแบบคอมมิวนิตี้มอลล์จำนวนมากที่สุดถึง 14 แห่ง ทั้งหมดอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สามารถแบ่งย่อยเป็นชื่อเรียกอย่างที่เขาต้องการเป็น 2 ประเภท-ศูนย์การค้าชุมชน (Neighborhood Shopping Center) จำนวน 7 แห่ง และศูนย์การค้าไลฟ์สไตล์ (Lifestyle Center) 7 แห่ง (โปรดพิจารณารายละเอียดจาก http://sf-th.listedcompany.com/)
ส่วนเค.อี.แลนด์เข้ามาสู่ธุรกิจโดยเริ่มต้นพัฒนาโครงการบ้านจัดสรรในปี2544เป็นโครงการแรกจึงตามมาด้วยThe Crystal ถือเป็นไลฟ์สไตล์ช็อปปิ้งมอลล์แห่งแรกบนถนนประดิษฐ์มนูธรรมในปี 2550 เป็นโครงการที่โดดเด่น สร้างกระแสคอมมิวนิตี้มอลล์ให้แรงขึ้นอย่างชัดเจน จากนั้นมีโครงการใหญ่ขึ้นอีก Crystal Design Center (CDC) ฝั่งตรงข้ามโครงการแรก เปิดตัวในปี 2552 ก้าวกระโดดไปอีกขั้นเมื่อร่วมทุนกับ ปตท.เปิด The Crystal PTT ในปี 2557 รวมทั้งข้ามพรมแดนเดิมสู่พื้นที่ใหม่ที่กำลังเติบโต The Crystal ราชพฤกษ์
เรื่องราวของสยามฟิวเจอร์ฯ และเค.อี.แลนด์ จะกล่าวถึงให้มากขึ้นในตอนต่อไป