ปัญหาความแตกแยกทุกวันนี้ ผมมองว่ามันมาจากการที่รวบอำนาจทุกอย่างไว้ที่ส่วนกลาง การบริหารพัฒนาและการแก้ปัญหาในส่วนท้องถิ่น
เกิดความล่าช้าและคดโกงงบประมาณ เพราะทั้งการยื่นของบและการอนุมัติต้องผ่านหลายทอดจากท้องถิ่นถึงส่วนกลางแล้วจึงกลับมาถึงท้องถิ่น
ซึ่งต้องผ่านทางสส. ส่วนตัวผมแล้วผมคิดว่าเราให้อำนาจสส.และรัฐบาลกลางมากเกินไป ทำให้ไม่เกิดกระบวนการพัฒนาการเมืองการปกครองในระดับท้องถิ่น
อีกทั้งประชาชนขาดสำนึกความรับผิดชอบต่อการเลือกผู้นำของตนในการพัฒนาบ้านเมืองของตนเอง ประมาณว่าเลือกพรรคมากกว่าที่ตัวบุคคล เพราะว่าไม่ว่าจะเลือกใครเข้าไป
สุดท้ายแล้วการบริหารก็ต้องเป็นไปตามการตัดสินใจของทางพรรคอยู่ดี อีกทั้งข้าราชการเองก็ขึ้นตรงกับส่วนกลางทั้งหมด จึงทำให้เกิดระบบเช้าชามเย็นชาม
ข้าราชการเป็นนายประชาชนเป็นบ่าว ทั้งๆที่รับเงินเดือนจากประชาชนทั้งนั้น และเพื่อลดความขัดแย้งในเรื่องของคนกทม.หรือจังหวัดใหญ่ๆที่รู้สึกว่าตนเสียภาษีเยอะ แต่ต้องแบ่งงบไปให้คนจังหวัดอื่นๆที่เสียภาษีน้อยกว่า ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรม
ผมจึงอยากจะขอเสนอแนวทางปฏิรูปการปกครองแบบนี้ครับ เเต่ยังคงไว้ซึ่งนายกรัฐมนตรีและสถาบันพระมหากษัตริย์
คล้ายๆกับที่อเมริกาใช้นั่นแหละหรือถ้าจะให้เห็นภาพง่ายๆก็ดูแบบเมืองพัทยาครับ แบ่งภาษีส่วนกลาง(Federal Tax)
และส่วนท้องถิ่น(State Tax)ทั้งจากภาษีการค้า และภาษีส่วนบุคคล โดยแต่ละจังหวัดมีการเลือกตั้งผู้ว่า(Governor)และทีมผู้บริหารงบประมาณ
ว่าจะนำเงินส่วนที่เป็นภาษีท้องถิ่นนั้นอย่างไร ลดบทบาทและอำนาจของสส.เหลือแค่การร่างกฏหมายและการบริหารงบประมาณจากภาษีส่วนกลาง ส่วนเรื่องการบริหารงบประมาณท้องถิ่น สส.ไม่มีสิทธิ์มาเกี่ยวข้อง อำนาจตรงนี้ขึ้นกับผู้ว่าและทีมบริหารในจังหวัดนั้นๆ จะทำอะไรจะใช้จ่ายอะไร ผู้ว่ามีสิทธิ์ตัดสินใจได้เลยไม่ต้องรอส่วนกลางอีกต่อไป
ทำให้การพัฒนาแต่ละจังหวัดรวดเร็วและโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ เพราะไม่ต้องรอการอนุมัติงบจากส่วนกลาง
ลดความรู้สึกของคนเมืองที่คิดว่าตัวเองเสียภาษีเยอะแต่ต้องเอาไปแชร์ให้คนต่างจังหวัดที่เสียภาษีน้อยกว่า หากมีการทุจริตในเรื่องการบริหารงบประมาณในส่วนจังหวัด
การตรวจสอบก็สามารถทำได้ง่าย และความเสียหายก็อยู่แค่ในวงระดับจังหวัดซึ่งไม่เกี่ยวกับรัฐบาลกลาง มีการแบ่งข้าราชการส่วนกลางและส่วนจังหวัดออกจากกันอย่างชัดเจน
ระบอบการปกครองแบบนี้จะทำให้การซื้อเสียงหมดไปอย่างถาวร เพราะถ้าประชาชนเลือกคนโกงกินมาบริหารงบประมาณท้องถิ่น
ผลเสียก็จะตกอยู่กับคนในท้องถิ่น(จังหวัด)นั้นๆเอง จะไปโทษรัฐบาลไม่ได้ เป็นการให้ฝึกให้คนมีความรับผิดชอบในการใช้สิทธิ์ของตนในการลงคะเเนนเสียงเลือกตั้ง
ถ้าเลือกคนดีมีความสามารถ จังหวัดของตัวเองก็จะเจริญ ใหม่ๆก็คงจะมีการลองผิดลองถูกในเรื่องการเลือกบุคลากรเข้าไปบริหารงบประมาณ แต่ผมเชื่อว่าเวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์
ยกตัวอย่างเช่นในจำนวนเงินภาษีที่เก็บได้เท่าๆกัน จังหวัดตัวเองไม่พัฒนาแต่จังหวัดข้างๆเจริญก้าวหน้าไปมาก ประชาชนก็จะเกิดข้อสงสัยและตั้งคำถาม หากพบว่ามีการทุจริตเกิดขึ้น การเลือกตั้งครั้งหน้าก็ไม่ต้องไปเลือกมันอีก...
สุดท้ายแล้วนี่เป็นเพียงแค่แนวความคิดซึ่งผมเองก็คิดว่ามันคงเป็นไปได้ยาก เพราะนักการเมืองและผู้มีอำนาจในระบอบกินรวบคงไม่ยอมให้มันเกิดขึ้น การปกครองในระบอบนี้ทำให้อำนาจกับประชาชนมากเกินไปซึ่งพวกเขาคงไม่ยอมให้เกิดขึ้นแน่ หากท่านใดมีความเห็นอย่างไรยินดีแลกเปลี่ยนครับ
สาธารณรัฐ : คำตอบของความแตกแยก
เกิดความล่าช้าและคดโกงงบประมาณ เพราะทั้งการยื่นของบและการอนุมัติต้องผ่านหลายทอดจากท้องถิ่นถึงส่วนกลางแล้วจึงกลับมาถึงท้องถิ่น
ซึ่งต้องผ่านทางสส. ส่วนตัวผมแล้วผมคิดว่าเราให้อำนาจสส.และรัฐบาลกลางมากเกินไป ทำให้ไม่เกิดกระบวนการพัฒนาการเมืองการปกครองในระดับท้องถิ่น
อีกทั้งประชาชนขาดสำนึกความรับผิดชอบต่อการเลือกผู้นำของตนในการพัฒนาบ้านเมืองของตนเอง ประมาณว่าเลือกพรรคมากกว่าที่ตัวบุคคล เพราะว่าไม่ว่าจะเลือกใครเข้าไป
สุดท้ายแล้วการบริหารก็ต้องเป็นไปตามการตัดสินใจของทางพรรคอยู่ดี อีกทั้งข้าราชการเองก็ขึ้นตรงกับส่วนกลางทั้งหมด จึงทำให้เกิดระบบเช้าชามเย็นชาม
ข้าราชการเป็นนายประชาชนเป็นบ่าว ทั้งๆที่รับเงินเดือนจากประชาชนทั้งนั้น และเพื่อลดความขัดแย้งในเรื่องของคนกทม.หรือจังหวัดใหญ่ๆที่รู้สึกว่าตนเสียภาษีเยอะ แต่ต้องแบ่งงบไปให้คนจังหวัดอื่นๆที่เสียภาษีน้อยกว่า ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรม
ผมจึงอยากจะขอเสนอแนวทางปฏิรูปการปกครองแบบนี้ครับ เเต่ยังคงไว้ซึ่งนายกรัฐมนตรีและสถาบันพระมหากษัตริย์
คล้ายๆกับที่อเมริกาใช้นั่นแหละหรือถ้าจะให้เห็นภาพง่ายๆก็ดูแบบเมืองพัทยาครับ แบ่งภาษีส่วนกลาง(Federal Tax)
และส่วนท้องถิ่น(State Tax)ทั้งจากภาษีการค้า และภาษีส่วนบุคคล โดยแต่ละจังหวัดมีการเลือกตั้งผู้ว่า(Governor)และทีมผู้บริหารงบประมาณ
ว่าจะนำเงินส่วนที่เป็นภาษีท้องถิ่นนั้นอย่างไร ลดบทบาทและอำนาจของสส.เหลือแค่การร่างกฏหมายและการบริหารงบประมาณจากภาษีส่วนกลาง ส่วนเรื่องการบริหารงบประมาณท้องถิ่น สส.ไม่มีสิทธิ์มาเกี่ยวข้อง อำนาจตรงนี้ขึ้นกับผู้ว่าและทีมบริหารในจังหวัดนั้นๆ จะทำอะไรจะใช้จ่ายอะไร ผู้ว่ามีสิทธิ์ตัดสินใจได้เลยไม่ต้องรอส่วนกลางอีกต่อไป
ทำให้การพัฒนาแต่ละจังหวัดรวดเร็วและโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ เพราะไม่ต้องรอการอนุมัติงบจากส่วนกลาง
ลดความรู้สึกของคนเมืองที่คิดว่าตัวเองเสียภาษีเยอะแต่ต้องเอาไปแชร์ให้คนต่างจังหวัดที่เสียภาษีน้อยกว่า หากมีการทุจริตในเรื่องการบริหารงบประมาณในส่วนจังหวัด
การตรวจสอบก็สามารถทำได้ง่าย และความเสียหายก็อยู่แค่ในวงระดับจังหวัดซึ่งไม่เกี่ยวกับรัฐบาลกลาง มีการแบ่งข้าราชการส่วนกลางและส่วนจังหวัดออกจากกันอย่างชัดเจน
ระบอบการปกครองแบบนี้จะทำให้การซื้อเสียงหมดไปอย่างถาวร เพราะถ้าประชาชนเลือกคนโกงกินมาบริหารงบประมาณท้องถิ่น
ผลเสียก็จะตกอยู่กับคนในท้องถิ่น(จังหวัด)นั้นๆเอง จะไปโทษรัฐบาลไม่ได้ เป็นการให้ฝึกให้คนมีความรับผิดชอบในการใช้สิทธิ์ของตนในการลงคะเเนนเสียงเลือกตั้ง
ถ้าเลือกคนดีมีความสามารถ จังหวัดของตัวเองก็จะเจริญ ใหม่ๆก็คงจะมีการลองผิดลองถูกในเรื่องการเลือกบุคลากรเข้าไปบริหารงบประมาณ แต่ผมเชื่อว่าเวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์
ยกตัวอย่างเช่นในจำนวนเงินภาษีที่เก็บได้เท่าๆกัน จังหวัดตัวเองไม่พัฒนาแต่จังหวัดข้างๆเจริญก้าวหน้าไปมาก ประชาชนก็จะเกิดข้อสงสัยและตั้งคำถาม หากพบว่ามีการทุจริตเกิดขึ้น การเลือกตั้งครั้งหน้าก็ไม่ต้องไปเลือกมันอีก...
สุดท้ายแล้วนี่เป็นเพียงแค่แนวความคิดซึ่งผมเองก็คิดว่ามันคงเป็นไปได้ยาก เพราะนักการเมืองและผู้มีอำนาจในระบอบกินรวบคงไม่ยอมให้มันเกิดขึ้น การปกครองในระบอบนี้ทำให้อำนาจกับประชาชนมากเกินไปซึ่งพวกเขาคงไม่ยอมให้เกิดขึ้นแน่ หากท่านใดมีความเห็นอย่างไรยินดีแลกเปลี่ยนครับ