การรวมศูนย์อำนาจของรัฐไทยที่มีมานานแล้วตั้งแต่สมัยสมบูรณายาสิทธิราช ที่กษัตริย์ ส่งเจ้าเมืองไปปกครองหัวเมืองต่างๆ สมัยรัชการที่ 5 มีระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง และแผ่ขยายพระราชอำนาจของส่วนกลางครอบคลุมหัวเมืองและประเทศราชได้อย่างจริงจังโดยนำเอาระบบ “เทศาภิบาล” มาใช้อันเป็นรากฐานสำคัญของการบริหารราชการส่วนภูมิภาคในทุกวันนี้ มีการแต่งตั้งคนจากส่วนกลางไปดำรงตำแหน่งยังหัวเมืองต่าง ๆ และจัดโครงสร้างการบริหารในรูป “มณฑล” หลังจากนั้นก็มีการปรับปรุงหลายครั้ง ในปี 2476, 2495, 2499, 2503 และอีกหลายครั้ง จนครั้งสุดท้าย พ.ศ. 2534
ระบอบการปกครองแบบรวมศูนย์นี้ ควรจะต้องเปลี่ยนแปลงมาตั้งนานแล้ว เพียงแต่ในประเทศไทย พวกข้าราชการกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงอื่นๆ ไม่ยอม เพราะอำนาจจะลดลง กลุ่มคนที่ได้รับประโยชน์มากที่สุดในการปกครองแบบรวมศูนย์นี้ ก็คือข้าราชการเพราะข้าราชการสามารถแบ่งสรรปันส่วนผลประโยชน์และอำนาจที่มีอยู่ในมือกับบุคคลในท้องถิ่นบางกลุ่มรวมทั้งกับนักการเมืองที่เพียงรอคอยและผลัดเปลี่ยนกันเข้ามาเป็นรัฐบาลซึ่งแน่นอนว่าจะมีอำนาจควบคุมกลไกต่างๆในรัฐได้ง่ายกว่าที่จะปล่อยให้อำนาจแตกตัวและกระจายออกไปให้กับกลุ่มอำนาจใหม่ในท้องถิ่น เพราะฉะนั้น จึงมีการขัดขวางการกระจายอำนาจอย่างรุนแรง โดยอ้างว่าไทยเป็นรัฐเดี่ยว ทั้งๆที่ในต่างประเทศ การปกครองท้องถิ่น ที่ไหนๆ (ไม่ว่ารัฐเดี่ยว หรือสหพันธรัฐ) เขาก็ใช้คนในท้องถิ่นนั่นแหละ ทำการบริหาร เพียงแต่ ในกรณีถ้าเป็น"รัฐเดี่ยว"แบบประเทศไทย ยังต้องให้มีการกำกับดูแล ทั้งทางตรง และทางอ้อมจากส่วนกลาง เท่านั้น ไม่ใช่ใช้คนจากส่วนกลาง ไปปกครองท้องถิ่น
ลองนึกถึงตำรวจ ตอนนี้ใครมีคดี ไปแจ้งความ ร้อยเวร,สวส.,สวป.,สวญ.,หัวหน้าสถานีตำรวจ,รองผู้บังคับการ,ผู้บังคับการ ฯลฯ มาจากส่วนกลางทั้งนั้น ถ้าพวกเขาทำคดีล่าช้า ไปฟ้องหัวหน้า ก็มาจากส่วนกลาง ฟ้องผู้ว่า ก็มาจากส่วนกลาง ตกลงชาวบ้านจะไปพึ่งใคร ก็ต้องพึ่ง สส. ทำให้ สส.กลายเป็นผู้มีอิทธิพล เพราะขจัดทุกข์ชาวบ้านได้
หน่วยงานอื่นๆ เช่นเกษตร, ป่าไม้, การศึกษา, สาธารณสุข ฯลฯ ก็แบบเดียวกัน
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ระบอบการปกครองแบบรวมศูนย์นี้ ควรจะต้องเปลี่ยนแปลงมาตั้งนานแล้ว เพียงแต่ในประเทศไทย พวกข้าราชการกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงอื่นๆ ไม่ยอม เพราะอำนาจจะลดลง กลุ่มคนที่ได้รับประโยชน์มากที่สุดในการปกครองแบบรวมศูนย์นี้ ก็คือข้าราชการเพราะข้าราชการสามารถแบ่งสรรปันส่วนผลประโยชน์และอำนาจที่มีอยู่ในมือกับบุคคลในท้องถิ่นบางกลุ่มรวมทั้งกับนักการเมืองที่เพียงรอคอยและผลัดเปลี่ยนกันเข้ามาเป็นรัฐบาลซึ่งแน่นอนว่าจะมีอำนาจควบคุมกลไกต่างๆในรัฐได้ง่ายกว่าที่จะปล่อยให้อำนาจแตกตัวและกระจายออกไปให้กับกลุ่มอำนาจใหม่ในท้องถิ่น เพราะฉะนั้น จึงมีการขัดขวางการกระจายอำนาจอย่างรุนแรง โดยอ้างว่าไทยเป็นรัฐเดี่ยว ทั้งๆที่ในต่างประเทศ การปกครองท้องถิ่น ที่ไหนๆ (ไม่ว่ารัฐเดี่ยว หรือสหพันธรัฐ) เขาก็ใช้คนในท้องถิ่นนั่นแหละ ทำการบริหาร เพียงแต่ ในกรณีถ้าเป็น"รัฐเดี่ยว"แบบประเทศไทย ยังต้องให้มีการกำกับดูแล ทั้งทางตรง และทางอ้อมจากส่วนกลาง เท่านั้น ไม่ใช่ใช้คนจากส่วนกลาง ไปปกครองท้องถิ่น
ลองนึกถึงตำรวจ ตอนนี้ใครมีคดี ไปแจ้งความ ร้อยเวร,สวส.,สวป.,สวญ.,หัวหน้าสถานีตำรวจ,รองผู้บังคับการ,ผู้บังคับการ ฯลฯ มาจากส่วนกลางทั้งนั้น ถ้าพวกเขาทำคดีล่าช้า ไปฟ้องหัวหน้า ก็มาจากส่วนกลาง ฟ้องผู้ว่า ก็มาจากส่วนกลาง ตกลงชาวบ้านจะไปพึ่งใคร ก็ต้องพึ่ง สส. ทำให้ สส.กลายเป็นผู้มีอิทธิพล เพราะขจัดทุกข์ชาวบ้านได้
หน่วยงานอื่นๆ เช่นเกษตร, ป่าไม้, การศึกษา, สาธารณสุข ฯลฯ ก็แบบเดียวกัน