หลังจากนี้ไปความแข็งแรงของหุ่นยนต์ที่โลดแล่นผ่านภาพยนตร์บนจอเงินและจอแก้ว อาจจะไม่ใช่ความฝันอีกต่อไปและกลายมาเป็นความจริงในเร็ววันนี้ เมื่อคณะนักวิจัยจากมหาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ได้ค้นพบการพัฒนาใหม่ที่จะทำให้ หุ่นยนต์ ที่เชื่อว่าต่อไปจะกลายมาเป็นเพื่อนรักของมนุษย์ มีความแข็งแรงเพิ่มมากขึ้นถึง 1,000 เท่าเมื่อเทียบกับมนุษย์ปกติ และ 50 เท่าเมื่อเทียบกับหุ่นยนต์ด้วยกัน กับการสร้าง 'กล้ามเนื้อเทียม'
โดยกล้ามเนื้อเทียมสำหรับหุ่นยนต์ที่ว่านี้ จะมีการใช้คุณสมบัติพิเศษจากวัสดุที่มีชื่อ วาเนเดียม ไดออกกไซด์ (vanadium dioxide) ซึ่งเป็นสารประกอบที่สามารถเปลี่ยนจากฉนวนเป็นโลหะได้ที่ความร้อน 67 องศา และนั่นก็จะส่งผลให้มันเปลี่ยนเป็นความแข็งแรงอย่างไม่น่าเชื่อ ซึ่งมากพอที่จะสามารถขนย้ายวัตถุที่มีความหนักมากกว่ากล้ามเนื้อของหุ่นยนต์ทั่วไปถึง 50 เท่า
และจากการทดลองภายในห้องปฏิบัติการ กล้ามเนื้อเทียมเหล่านี้ สามารถที่จะมีชีวิตอยู่รอดจากการหดตัวซ้ำๆ ได้มากถึง 1 ล้านครั้ง หรือแม้แต่มีความเร็วในการเคลื่อนไหวถึง 2 แสนรอบต่อนาที ซึ่งทีมนักวิทยาศาสตร์เจ้าของโปรเจ็คนี้เชื่อว่า การค้นพบดังกล่าวจะนำไปสู่การพัฒนาหุ่นยนต์ที่ทรงประสิทธิภาพมากขึ้น ขณะที่ตัวเทคโนโลยีเองก็จะมีประโยชน์ในการสร้างอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ที่มีประสิทธิภาพด้วย
ที่มา TechSpot
นักวิจัยจากเบิร์กลีย์ ค้นพบ 'กล้ามเนื้อเทียมสำหรับหุ่นยนต์' ให้ค.แข็งแรงกว่ามนุษย์ถึง 1,000 เท่า
โดยกล้ามเนื้อเทียมสำหรับหุ่นยนต์ที่ว่านี้ จะมีการใช้คุณสมบัติพิเศษจากวัสดุที่มีชื่อ วาเนเดียม ไดออกกไซด์ (vanadium dioxide) ซึ่งเป็นสารประกอบที่สามารถเปลี่ยนจากฉนวนเป็นโลหะได้ที่ความร้อน 67 องศา และนั่นก็จะส่งผลให้มันเปลี่ยนเป็นความแข็งแรงอย่างไม่น่าเชื่อ ซึ่งมากพอที่จะสามารถขนย้ายวัตถุที่มีความหนักมากกว่ากล้ามเนื้อของหุ่นยนต์ทั่วไปถึง 50 เท่า
และจากการทดลองภายในห้องปฏิบัติการ กล้ามเนื้อเทียมเหล่านี้ สามารถที่จะมีชีวิตอยู่รอดจากการหดตัวซ้ำๆ ได้มากถึง 1 ล้านครั้ง หรือแม้แต่มีความเร็วในการเคลื่อนไหวถึง 2 แสนรอบต่อนาที ซึ่งทีมนักวิทยาศาสตร์เจ้าของโปรเจ็คนี้เชื่อว่า การค้นพบดังกล่าวจะนำไปสู่การพัฒนาหุ่นยนต์ที่ทรงประสิทธิภาพมากขึ้น ขณะที่ตัวเทคโนโลยีเองก็จะมีประโยชน์ในการสร้างอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ที่มีประสิทธิภาพด้วย
ที่มา TechSpot