สร้างหุ่นยนต์ชีวภาพที่ได้จากสิ่งมีชีวิต

 “Xenobots”



ขอบคุณภาพจาก https://www.sciencealert.com/scientists-have-built-robots-entirely-out-of-living-frog-cells

นักวิทยาศาสตร์สร้างหุ่นยนต์จากเซลล์ของสิ่งมีชีวิตได้สำเร็จเป็นครั้งแรก โดยหุ่นยนต์ดังกล่าวนี้มีชื่อว่า “Xenobots” สร้างขึ้นมาจากเซลล์ของกบมีเล็บอาฟริกัน ทั้งนี้นักวิทยาศาสตร์หวังว่าในอนาคตจะสามารถใช้หุ่นยนต์พวกนี้ในการกำจัดขยะในทะเล หรือกระทั่งเดินทางเข้าไปในเส้นเลือดมนุษย์เพื่อรักษาโรคได้
.
นักวิทยาศาสตร์จากสหรัฐฯ ได้ร่วมกันสร้างหุ่นยนต์จากเซลล์ของสิ่งมีชีวิตขึ้นได้สำเร็จเป็นครั้งแรก โดยหุ่นยนต์ที่สร้างขึ้นนี้มีชื่อว่า “Xenobots” ที่ได้ชื่อดังกล่าวนี้ เนื่องจากหุ่นยนต์พวกนี้สร้างขึ้นจากเซลล์ของกบมีเล็บอาฟริกัน (African clawed frogs) ซึ่งมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า “Xenopus laevis” จึงได้นำชื่อตัวหน้า Xeno ไปเป็นชื่อหุ่นยนต์ด้วย

สำหรับการสร้างหุ่นยนต์ชีวภาพตัวนี้ นักวิทยาศาสตร์จะใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่ใช้ “อัลกอริทึมวิวัฒนาการ” (evolutionary algorithm) ในการสุ่มสร้างรูปแบบของหุ่นยนต์ชีวภาพดังกล่าวนี้ออกมาหลายๆ แบบก่อน จากนั้นรูปแบบที่สุ่มสร้างขึ้นมาได้จะถูกนำมาทดสอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อดูคุณสมบัติต่างๆ ว่าแต่ละรูปแบบทำงานได้ดีแค่ไหน เช่นว่าสามารถเคลื่อนที่ไปได้ไกลแค่ไหน จากนั้นรูปแบบที่มีคุณสมบัติดีที่สุดจะได้รับการนำไปพัฒนาต่อจนได้รูปแบบที่น่าพอใจ
.
จากนั้นนักวิทยาศาสตร์จะนำเซลล์หัวใจและเซลล์ผิวหนัง ที่ได้จากตัวอ่อน (embryos) ของกบมีเล็บอาฟริกันมาประกอบสร้างตามแบบ โดยหนึ่งในรูปแบบที่ประสบความสำเร็จที่สุดคือรูปแบบที่ดูเหมือนมีขา 2 ข้างงอกออกมาจากส่วนอก ส่วนอีกรูปแบบหนึ่งมีรูตรงกลางลำตัวซึ่งนักวิทยาศาสตร์ได้แปลงให้กลายเป็นเหมือนกระเป๋าหน้าซึ่งหุ่นยนต์ชีวภาพใช้ในการบรรทุกสิ่งของชิ้นเล็กๆ

ทั้งนี้ หุ่นยนต์ชีวภาพที่สร้างขึ้นนี้ มีขนาดประมาณ 1 มิลลิเมตรเท่านั้น ประกอบด้วยเซลล์ประมาณ 500-1,000 เซลล์ แต่ก็มีพลังงานในตัวเอง โดยมันสามารถใช้โปรตีนที่มีอยู่ในตัวเคลื่อนที่ด้วยตัวเองตามโปรแกรมที่วางไว้ได้นานถึง 7-10 วัน และหลังจากนั้นก็จะตายและย่อยสลายไปเอง
.
ดร.ไมเคิล เลวิน จาก Tufts University สหรัฐอเมริกา ระบุว่า “นี่ถือเป็นสิ่งมีชีวิตรูปแบบใหม่ พวกมันไม่เคยมีอยู่มาก่อนบนโลก มันเป็นสิ่งมีชีวิตที่ถูกโปรแกรมได้”
.
ทั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์หวังว่า ในอนาคตหากสามารถสร้างและออกแบบหุ่นยนต์ชีวภาพดังกล่าวนี้ได้ดีขึ้น ก็อาจสามารถนำไปใช้ในการกำจัดขยะพลาสติกในทะเล เก็บกวาดไมโครพลาสติก เดินทางเข้าไปในเส้นเลือดของมนุษย์เพื่อปฏิบัติภารกิจทางการแพทย์ต่างๆ รวมไปถึงทำงานที่อันตรายเกินกว่าที่มนุษย์จะทำได้ อย่างเช่นการสำรวจขยะนิวเคลียร์ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม การสร้างหุ่นยนต์จากเซลล์สิ่งมีชีวิตขึ้นนี้ก็ทำให้เกิดประเด็นเชิงจริยธรรมตามมา เพราะหากเราตีความว่าหุ่นยนต์ชีวภาพนี้เป็นสิ่งมีชีวิตจริงๆ ไม่ใช่แค่หุ่นยนต์รูปแบบหนึ่ง เราก็อาจต้องปฏิบัติกับมันประหนึ่งสิ่งมีชีวิตอื่นๆ หรือไม่ รวมถึงในอนาคต หุ่นยนต์ชีวภาพพวกนี้อาจจะไม่ได้ถูกสร้างขึ้นจากเพียงเซลล์ผิวหนังและเซลล์หัวใจเท่านั้น แต่อาจถูกสร้างขึ้นจากเซลล์ประสาทที่อาจทำให้มันรู้สึกเจ็บปวดหรือมีความรู้สึกขึ้นมาได้ ซึ่งถือเป็นประเด็นทางจริยธรรมที่ต้องมีการถกเถียงกันต่อไป
ขอบคุณที่มา https://www.theguardian.com/…/scientists-use-stem-cells-fro…
https://www.pnas.org/…/pnas/…/2020/01/07/1910837117.full.pdf
Cr.https://www.facebook.com/WorkpointNews/photos/a.153956988306921/1169555983413678/?type=3&eid=ARDIpdnxxT-5ZoKKHV2JjBhY5TP-9_f-_xJkvImvtc9k

หุ่นยนต์กึ่งชีวภาพที่ใช้กล้ามเนื้อของหอยทาก


ทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Case Western Reserve ได้ทำการสร้างหุ่นยนต์ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากทากทะเล โดยนำเอากล้ามเนื้อจากทากจริงๆและนำกล้ามเนื้อเหล่านั้นเพื่อสร้างหุ่นยนต์กึ่งชีวภาพ แต่ถ้าพูดให้ถูกต้องคือพวกเขาได้นำกล้ามเนื้อบริเวณปากของทากกินตะไคร่(ทากทะเลชนิดหนึ่ง)ในทะเลแคลิฟอร์เนียและนำมาเชื่อมต่อกับชิ้นส่วนสามมิติที่ถูกออกแบบไว้และเมื่อทำการกระตุ้นกล้ามเนื้อเหล่านั้นด้วยกระแสไฟฟ้าก็จะทำให้ขาของหุ่นยนต์เคลื่อนที่ไปข้างหน้า

ทางทีมได้เลือกทากทะเลสำหรับโครงการนี้ก็เพราะว่าสัตว์เหล่านี้มีความสามารถในการทนต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันของทั้งด้านอุณหภูมิและความเค็มของน้ำ ซึ่งสัตว์ทะเลที่ไม่มีกระดูกสันหลังส่วนมากนั้นมีความอดทนและสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับสภาพน้ำที่แตกต่างกันได้ ซึ่งผลลัพท์ที่ได้ก็คือหุ่นยนต์ทากนั้นมีความทนทานสูงและยังสามารทำงานได้ในสภาพแวดล้อมที่เลวร้ายได้

หุ่นยนต์กึ่งชีวภาพนี้จะส่งผลให้ทั้งการทำงานต่างๆมีศักยภาพมากขึ้น สามารถปฎิบัติงานได้หลากหลายรูปแบบขึ้น และมีราคาที่ถูกกว่าหุ่นยนต์ที่ใช้กระบวนการของมนุษย์สร้างทั้งตัว สักวันหนึ่งทางองค์กรต่างๆจะสามารถนำกลุ่มหุ่นยนต์ประเภทนี้ไปใช้ในการหาแหล่งที่มาของการรั่วไหลของสารพิษหรือการค้นหากล่องดำของเครื่องบินที่ตกในทะเล 

แต่สำหรับตอนนี้ทางทีมก็คงต้องทำงานกันอย่างหนักเพื่อที่จะให้เจ้าหุ่นยนต์นี้มีความสามารถในการทำงานแบบที่ว่ามาได้ ก่อนอื่นก็คงเป็นเรื่องความเร็วในการเคลื่อนที่ของพวกมันเพราะในตอนนี้เจ้าหุ่นยนต์ตัวจิ๋วขนาดเพียงแค่ 2 นิ้วนี้มีความเร็วในการเคลื่อนที่อยู่เพียงแค่ 0.4 ซม. ต่อ วินาทีเท่านั้น
Cr.https://technology.thaiza.com/news/343780/

หุ่นยนต์สมองชีวภาพตัวแรกของโลก


นักวิจัยได้สร้างสมองชีวภาพจากเซลล์ประสาทของหนู โดยการสั่งงานจากเซลล์ประสาทที่ได้จากสมองของหนูทำให้หุ่น ยนต์นี้เคลื่อนที่ นักวิจัยกล่าวว่าด้วยการทดลองนี้อาจทำให้เราเข้าใจการสั่งการของเซลล์สมอง ได้ และอาจนำไปสู่การค้นหาสาเหตุของโรค Alzheimer และ Parkinson ได้

เซลล์สมองของหนูนั้นถูกบรรจุไว้ในกระเปาะเล็กๆที่ปลอด เชื้อ ซึ่งมีอุณหภูมิเท่ากับร่างของหนู ภายในประกอบไปด้วยเซลล์จำนวนมากถึง 300,000 เซลล์ โดยเซลล์ประสาทจะส่งสัญญาณทางไฟฟ้าผ่านทางงจรไฟฟ้าที่เรียกว่า Multi Electrode Array (MEA) และสัญญาณจะถูกแปลผลเป็นการเคลื่อนที่ของตัวหุ่นยนต์

 เซลล์ประสาทถูกติดตั้งไว้ภายใต้วงจรไฟฟ้าที่เรียกว่า Multi Electrode Array (MEA)  ซึ่งนักวิจัยไดhเพัฒนาให้สามารถเชื่อมโยงกัน โดยขั้วไฟฟ้าที่ฝังตัวในเซลล์จะทำหน้าที่  บันทึกสัญญาณไฟฟ้าที่ไม่ต่อเนื่องที่มาจากเซลล์ประสาท

 นักวิจัยกล่าวว่าหุ่นยนต์ซึ่งถูกตั้งชื่อว่า Gordon สามารถเรียนรู้การเคลื่อนที่ด้วยตัวเองได้ โดยเมื่อหุ่นยนต์เคลื่อนที่ชนกำแพง เซ็นเซอร์จะส่งสัญญาณและแปลผลกลับไปยังเซลล์สมอง เพื่อเรียนรู้การหลบหลีกสิ่งกีดขวาง นาย Kevin Warwick กล่าวว่าหุ่นยนต์ Gordon สามารถหลีกเลี่ยงการชนกำแพงได้ 8 ใน 10 ครั้ง
นักวิจัยมีแผนที่จะทำลายความจำของ เซลล์สมองเพื่อสร้างสภาวะเช่นเดียวกับในโรค Alzheimer และ Parkinson เพื่อศึกษาการเสื่อมสภาพหรือการตายของเซลล์สมองว่ามีผลลัพธ์อย่างไร ซึ่งอาจนำไปสู่การค้นพบสาเหตุของโรค ซึ่งจนถึงขณะนี้ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง
http://blogs.discovermagazine.com/80beats/2008/08/14/rat-neurons-build-a-biological-brain-for-a-robot/
http://www.automatesintelligents.com/labo/2008/aou/gordon.html
Cr.http://rdscience-news.blogspot.com/2010/05/blog-post_26.html โดย crownberry

เล็งใช้ “ใยแมงมุม” เพื่อนำไปสร้างเป็น “กล้ามเนื้อของหุ่นยนต์” ในอนาคต


ใยแมงมุมถือได้ว่าเป็นหนึ่งในวัสดุที่แข็งแกร่งที่สุดในโลกในแง่ของน้ำหนักและการใช้งานที่มีความหลากหลายมาก ไม่ว่าจะเป็นการสร้างเกราะ การสร้างผิวหนังเทียม ช่วยเหลือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บและพิการด้วยการรักษาไขสันหลังที่เสียหาย และปรับปรุงไมโครโฟนในเครื่องช่วยฟัง ล่าสุดนักวิจัยจาก สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) ได้ค้นพบคุณสมบัติใหม่ของมันที่อาจถูกนำไปสร้างเป็นกล้ามเนื้อของหุ่นยนต์ในอนาคตอันใกล้นี้
 
ทีมวิจัยพบว่าใยแมงมุมไม่เพียงแต่มีความยืดหยุ่นสูงเท่านั้น แต่ยังมีการตอบสนองที่แปลกประหลาดต่อการเปลี่ยนแปลงของความชื้น เมื่ออากาศรอบ ๆ เส้นใยมีความชื้นสัมพันธ์ในระดับหนึ่ง พวกมันจะบิดและหดตัวทันที ซึ่งการหดนี้แรงพอที่จะใช้เป็นตัวกระตุ้นได้ เช่นการเปิดวาล์ว
นักวิจัยเรียกการควบคุมนี้ว่า “Supercontraction” ซึ่งใยแมงมุมมีการออกแรงอย่างรุนแรงเพราะหดตัวของความชื้นด้วยเช่นกัน และมันยังให้แรงบิดด้วย ซึ่งไม่เหมือนกับเส้นใยชนิดอื่น ๆ ไม่ว่าจะมาจากธรรมชาติหรือที่มนุษย์สร้างขึ้น และดูเหมือนว่าจะเป็นเอกลักษณ์ที่มีแต่ในใยของแมงมุมเท่านั้น

แม้ตอนนี้นักวิจัยจะไม่แน่ใจว่าการบิดนี้มีประโยชน์ในทางชีวภาพไหม แต่พวกเขาคิดว่ามันจะถูกนำไปปรับใช้กับหุ่นยนต์
“นี่น่าสนใจสำหรับชุมชนหุ่นยนต์มาก ๆ” นักวิจัย Markus Buehler หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่ามันสามารถถูกนำไปใช้ในการควบคุมเซ็นเซอร์หรืออุปกรณ์ควบคุมบางชนิดได้ “มันแม่นยำมาก ๆ ที่จะคุณสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวเหล่านี้โดยการควบคุมความชื้น”

Pupa Gilbert ศาสตราจารย์วิชาฟิสิกส์เคมีและวัสดุศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสัน ไม่ได้มีส่วนร่วมในการวิจัยครั้งนี้ แต่ก็ได้แสดงความเห็นว่าเขาประทับใจในศักยภาพของมันเช่นกัน “นี่เป็นเหมือนเชือกที่บิดและไม่บิดตัวเองโดยขึ้นอยู่กับความชื้นในอากาศ กลไกลระดับโมเลกุลที่นำไปสู่ประสิทธิภาพอันโดดเด่นนี้ สามารถนำไปสร้างหุ่นยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยความชื้น หรือสร้างพวกผ้าอัจฉริยะได้”

แม้ว่าใยแมงมุมอาจดูเหมือนบอบบาง แต่ความจริงแล้ว ใยของแมงมุม Darwin’s Bark เป็นเส้นใยที่แข็งแกร่งที่สุดในโลก ทนทานและยืดหยุ่นกว่าเส้นใยธรรมชาติหรือใยสังเคราะห์จนถูกนำไปทำเป็นเสื้อเกราะกันกระสุน นอกจากนี้ Darwin’s Bark ยังสามารถพ่นใยได้ไกลถึง 25 เมตรอีกด้วย
Cr.https://www.flagfrog.com/mit-spider-web-muscle-for-robot/ โดย By FlyingPin

ขอขอบคุณข้อมูลจากที่มาทั้งหมด
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่