เป็นเรื่องฉาวขึ้นมาเลยทีเดียว หลังเฟซบุ๊กแฟนเพจ ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี ปรากฏภาพชักชวนไปเลือกตั้งสวยงาม ไอเดียดี ติดอยู่นิดเดียวที่ชาวเน็ตรู้ทันว่าไปก๊อปภาพนี้จากค่ายการ์ตูนเมืองนอกชื่อดังอย่าง Marvel แถมยังเห็นว่าใต้เท้าฮีโร่ปลอดประสพคือซากหน้ากากขาวและนกหวีด เลยถูกรุมโห่ทั้งก๊อปปี้งานอย่างหน้าไม่อาย แล้วยังสื่อความออกมาได้อย่างทุเรศอีกด้วย
วิจารณ์แซ่ด ปลอดฯ ขี้ก๊อป
นักการเมืองติดอันดับคนไทยไม่ชอบขี้หน้า ปลอดประสพ สุรัสวดี งามหน้าอีกรอบหลังโพสต์ภาพแฝงนัย ทุกคนเป็นฮีโร่ได้แค่ไปเลือกตั้ง ในภาพปรากฏผู้คนในหลากหลายอาชีพชูบัตรเลือกตั้ง พร้อมระบุว่า “1 คน 1 เสียงเท่ากัน รักษาประชาธิปไตยคือไปเลือกตั้ง” พร้อมบรรยายเนื้อหายืดยาวกล่าวถึงความเท่าเทียม ความจริงภาพนี้อาจช่วยเสริมภาพลักษณ์ให้ปลอดประสพดูดีกว่านี้ ถ้าหากไม่มีใครจับได้ว่า รูปภาพนี้มีความคล้ายคลึงใกล้เคียงกับภาพเหล่าซูเปอร์ฮีโร่จากค่ายการ์ตูน Marvel เลยถูกเผยแพร่ว่อน ติติงถึงความไม่เหมาะสม
“แค่คิดภาพโฆษณาแกยังไม่มีปัญญาคิดเลยไปเลียนแบบของมาร์เวลเขา เดี๋ยวเขาก็ฟ้องละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาแกหรอก เห็นแล้วน่าเป็นห่วงนะ แค่โปสเตอร์แกยังโกงเลย ไปลอกเขามาแล้วอย่างอื่นจะขนาดไหน เซ็งเป็ด”
“รอบก่อนอยากเป็นเทวดา รอบนี้อยากเป็นยอดมนุษย์นี่เอง โถๆๆๆๆๆๆๆ ทั่นปลอด”
“คงไม่โดนฟ้องหรอกครับเรื่องเลียนแบบ แต่มันสื่อถึงนิสัยคนทำครับ คิดเองไม่ได้ ก๊อปปี้เอา แล้วมาเรียกแรงบันดาลใจ มันมักง่าย และส่อให้เห็นว่าทำอะไรเองไม่เป็น”
“ภาพที่คุณเหยียบหน้ากากขาวกับนกหวีดนี่แสดงถึงความเป็นคนที่รักษาประชาธิปไตยของคุณซินะ แน่ใจนะว่าเข้าใจคำว่าประชาธิปไตย แค่ภาพคุณยังไป copy เค้ามาเลย ขำจริงๆๆๆ คิดเองไม่เป็นหรือ ดร.”
“ทำไมไม่ขออนุญาตก่อนล่ะคะ นี่รอให้ทางเจ้าของลิขสิทธิ์ฟ้องก่อนแล้วถึงทำหนังสือ มันดูผิดวิสัยของคนที่มีการศึกษาค่ะ หลายครั้งแล้วที่เห็นทำก่อน พอมีเรื่องก็จะมาขอกันทีหลัง แบบนี้จะไปสอนลูกหลานให้เป็นคนสุจริตกันได้ยังไง คนแก่หัวหงอกอย่างท่านยังไม่ทำเป็นตัวอย่าง”
หลังมีการท้วงติงกันยกใหญ่เรื่องของการลอกเลียนแบบ จึงได้มีการตอบสนองจากทีมงานที่ดูแลเฟซบุ๊กนี้ โดยมีการเสริมข้อความใต้ภาพแย้งไปแบบข้างๆ คูๆ ว่า ภาพนี้เป็นแค่การล้อเลียน (Parody) ซึ่งถ้าหากมีปัญหาอะไรก็จะค่อยทำหนังสือขออนุญาตไปถึงทางมาร์เวล
“ปล. มีคนท้วงว่าเหมือนภาพมาเวล ก็ทีมงานผมเป็นแฟนคลับตัวยง หนังผมก็เคยดูมาครับ สนุกดี แรงบันดาลใจของภาพนี้ก็ได้มาจากมาร์เวลนั้นแหละครับ ผมอยากให้ทุกคนรู้ว่าตัวเองเป็นฮีโร่ เพราะทุกคน ทุกอาชีพ เราเป็น hero เท่ากันในระบอบประชาธิปไตยครับ
ส่วนเรื่องลิขสิทธิ์นั้นน้องๆ ทีมงานบอกว่านี่ถือเป็นการล้อเหมือนที่ฝรั่งเรียกว่า พาโรดี้ ไม่ได้ใช้เพื่อการค้า และหากมาร์เวลติดต่อมาผมก็พร้อมจะทำหนังสือขออนุญาตอย่างเป็นทางการครับ”
กฎหมายยังกำกวม
ในแง่ของกฎหมายลิขสิทธิ์ไทยยังคงมีความกำกวมอยู่บ้าง ในเรื่องของการข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ ดังพ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ไทยด้านล่างนี้ ซึ่งในตัวบทกฎหมายของหลายๆ ประเทศก็มักให้ความสำคัญต่อเรื่องของการส่งผลกระทบต่อตัวเจ้าของลิขสิทธิ์เป็นสำคัญเช่นกัน
ส่วนที่ 6 ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์
มาตรา 32 การกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ หากไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์ และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร มิให้ถือว่า เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
ภายใต้บังคับบทบัญญัติในวรรคหนึ่ง การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งาน อันมีลิขสิทธิ์ตามวรรคหนึ่งมิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้
(1) วิจัยหรือศึกษางานนั้น อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
(2) ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่น ในครอบครัวหรือญาติสนิท
(3) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ในงานนั้น
(4) เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของ ลิขสิทธิ์ในงานนั้น
(5) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว
(6) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏโดยผู้สอน เพื่อประโยชน์ในการสอนของตน อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
(7) ทำซ้ำ ดัดแปลงบางส่วนของงาน หรือตัดทอนหรือทำบทสรุปโดยผู้สอน หรือสถาบันศึกษา เพื่อแจกจ่ายหรือจำหน่ายแก่ผู้เรียนในชั้นเรียนหรือในสถาบันศึกษา ทั้งนี้ ต้องไม่เป็นการกระทำเพื่อหากำไร
(8 ) นำงานนั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ
ทั้งนี้ กฎหมายลิขสิทธิ์ของทางสหรัฐอเมริกา ระบุว่า การใช้งานโดยชอบธรรม หรือการนำเนื้อหาที่มีลิขสิทธิ์ไปประกอบในงานของผู้อื่น สามารถทำได้บนเงื่อนไขบางประการ (Fair Use) ต้องพิจารณาจากหลัก 4 ข้อ ดังนี้
1. The Purpose and Character of the Use จุดประสงค์การใช้งาน
2. The Nature of the Copyrighted Work ลักษณะของงาน
3. The Amount and Substantiality of the Portion Used จำนวนของการนำไปใช้
4. The Effect upon the Plaintiff's Potential Market ผลกระทบต่อเจ้าของงาน
สำหรับกรณีนี้ มีการคาดเดาไปต่างๆ นานา ทั้งถูก ทั้งผิด หากมองผ่านๆ ดูด้วยตาอาจจะคิดว่าผิด แต่สำหรับในเรื่องของคดีความตามกระบวนการศาลต้องใช้เหตุผลพิจารณาประกอบมากกว่านั้น รวมถึงการคาดเดาว่าทางบริษัท Marvel คงไม่ฟ้องกลับมาตามทัศนะที่หลายคนระบุว่าเป็นเพียงคดีเล็กๆ ด้วย
ลอกงานผิดไหม?? ต้องดูเจตนา
มองอีกมุมหนึ่งในแง่ของวงการศิลปะ การลอกเลียนผลงาน การดัดแปลงผลงาน หรือการใช้ผลงานอื่นมาเป็นต้นแบบ เป็นแรงบันดาลใจเพื่อสร้างสรรค์งานศิลปะชิ้นใหม่ขึ้นมา คงพอมีให้เห็นกันอยู่เนืองๆ แต่มักไม่ค่อยได้เป็นคดีความดังเสียเท่าไหร่นัก ดังที่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สรรเสริญ มิลินทสูต คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ระบุว่า การลอกเลียนผลงานศิลปะนั้น ผิดหรือไม่?? ต้องดูที่ตัวผลงาน ดูเจตนาการทำซ้ำว่า ซ้ำแบบไหน และทำซ้ำเพื่อเจตนารมณ์อะไร
“มันพูดลำบากมากครับ เพราะว่าในงานศิลปะเนี่ยมันจะเรียกว่า Appropriate คือการนำสิ่งที่เคยมีคนทำมาแล้ว มาทำต่ออีกในอีกแบบหนึ่ง ซึ่งจริงๆ เนี่ย ในวงการศิลปะก็มีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นมาโดยตลอด ตรงนี้มันก็ขึ้นอยู่กับว่าเอามาทำด้วยลักษณะแบบไหน เจตนารมณ์แบบไหน แล้วก็ทำออกมาเพื่อประโยชน์อะไร
ในสมัยก่อนเองมันก็ไม่ค่อยมีเรื่องการทับซ้อนของผลประโยชน์อะไรจากผลงานที่สร้างเดิม มันก็จะไม่ค่อยมีปัญหา แต่ในเรื่องนี้ แม้กระทั่งเชิงกฎหมายลิขสิทธิ์ ผมเชื่อว่า มันมีรายละเอียดยิบย่อยมาก มันไม่ได้ตรงเป๊ะๆ อะไรขนาดนั้น ก็เลยอาจจะเอาผิดไม่ได้
สุดท้ายคือมันอยู่ที่เจตนารมณ์ แต่ว่ามันอาจจะมีวิธีการที่คล้ายคลึง คือมีต้นแบบเดิมแต่เราเอาไปตีความใหม่ ก็ทำให้มันเกิดรูปแบบใหม่ในลักษณะอื่นขึ้นมา สมมติ ย้อนกลับไปดูในสมัยดาด้า (Dadaism ผลงานศิลปะเชิงเยาะเย้ย ถากถาง เสียดสี -ดัน ประชดประชันแบบไร้เหตุผล) ตอนนั้นดูชองป์นำภาพโมนาลิซ่ามาใส่หนวด มันก็มีขึ้นมา แต่เป็นการตีความใหม่เท่านั้นเอง”
ทั้งนี้ เหตุการณ์การลอกเลียนแบบผลงานที่ใกล้เคียงกับกรณีนี้ เคยเกิดขึ้นเมื่อช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมา หลังมีการแชร์ภาพผ่านโลกออนไลน์และตั้งข้อสังเกตว่า โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 18 (ปี 2013) มีการออกแบบคล้ายคลึงกับโปสเตอร์งานมหกรรมหนังสือที่ฝรั่งเศสเมื่อปีที่แล้ว หรือ Paris Book Fair 2012
สุดท้ายเหตุการณ์จบลงด้วยดี เมื่อเฟซบุ๊ก Wrongdesign House ซึ่งเป็นผู้ออกแบบโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 18 ได้เขียนข้อความชี้แจง โดยยอมรับว่า การออกแบบครั้งนี้ได้รับ Reference มาจากชิ้นงานของปารีสจริง และหากคนมองว่าเป็นการลอกเลียนก็ต้องขออภัยต่อเรื่องนี้ด้วย พร้อมยืนยันว่าต่อไปจะเพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้น
“ขอชี้แจงเรื่องการออกแบบโปสเตอร์งานมหกรรมหนังสือ ตุลาคม 2013 : ข้อสงสัยที่มีต่อตัวชิ้นงานว่าได้ทำการลอกเลียนมาจาก Poster Paris Book Fair 2012, ทางผู้ออกแบบซึ่งคือตัวผม ก็ได้เห็นและรับ Reference มาจากชิ้นงานดังกล่าวจริง ซึ่งในขั้นตอนการนำเสนอแบบต่อคณะกรรมการนั้น ได้มีการนำเสนอแบบที่หลากหลาย โดยแบบที่ทุกท่านได้เห็นนี้ คือแบบที่ผ่านการคัดเลือกจากที่ประชุม จนนำไปสู่การผลิตชิ้นงานจริง หากมีการออกแบบในแง่มุมใดที่ชวนดูเป็นการลอกเลียน ผมต้องขออภัยต่อทุกท่านเป็นอย่างยิ่ง และจะระมัดระวังเพิ่มขึ้นในชิ้นงานต่อไป ขอบคุณมากครับ”
กลับมาถึงเหตุการณ์ของฟากปลอดประสพที่กำลังพยายามสร้างภาพโฆษณาสวยหรู ที่เหมือนจะดูดี แต่สุดท้ายก็แค่ลอกผลงานของต่างประเทศมาใช้แบบมักง่าย ชี้ให้เห็นถึงอุปนิสัยของนักการเมืองได้ดี ถึงแม้ในด้านกฎหมายอาจจะไม่ได้ผิดพลาดอะไรหนักหนาถึงขั้นต้องขึ้นโรงขึ้นศาล แต่อย่างน้อยจะลอกผลงานใครก็ควรมีความละอายใจเสียบ้างเถอะ
ข่าวโดย ASTV ผู้จัดการ Live
ปลอดประสพ ฉาวไม่อาย!! ก๊อปภาพ Marvel ไม่กลัวลิขสิทธิ์
วิจารณ์แซ่ด ปลอดฯ ขี้ก๊อป
นักการเมืองติดอันดับคนไทยไม่ชอบขี้หน้า ปลอดประสพ สุรัสวดี งามหน้าอีกรอบหลังโพสต์ภาพแฝงนัย ทุกคนเป็นฮีโร่ได้แค่ไปเลือกตั้ง ในภาพปรากฏผู้คนในหลากหลายอาชีพชูบัตรเลือกตั้ง พร้อมระบุว่า “1 คน 1 เสียงเท่ากัน รักษาประชาธิปไตยคือไปเลือกตั้ง” พร้อมบรรยายเนื้อหายืดยาวกล่าวถึงความเท่าเทียม ความจริงภาพนี้อาจช่วยเสริมภาพลักษณ์ให้ปลอดประสพดูดีกว่านี้ ถ้าหากไม่มีใครจับได้ว่า รูปภาพนี้มีความคล้ายคลึงใกล้เคียงกับภาพเหล่าซูเปอร์ฮีโร่จากค่ายการ์ตูน Marvel เลยถูกเผยแพร่ว่อน ติติงถึงความไม่เหมาะสม
“แค่คิดภาพโฆษณาแกยังไม่มีปัญญาคิดเลยไปเลียนแบบของมาร์เวลเขา เดี๋ยวเขาก็ฟ้องละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาแกหรอก เห็นแล้วน่าเป็นห่วงนะ แค่โปสเตอร์แกยังโกงเลย ไปลอกเขามาแล้วอย่างอื่นจะขนาดไหน เซ็งเป็ด”
“รอบก่อนอยากเป็นเทวดา รอบนี้อยากเป็นยอดมนุษย์นี่เอง โถๆๆๆๆๆๆๆ ทั่นปลอด”
“คงไม่โดนฟ้องหรอกครับเรื่องเลียนแบบ แต่มันสื่อถึงนิสัยคนทำครับ คิดเองไม่ได้ ก๊อปปี้เอา แล้วมาเรียกแรงบันดาลใจ มันมักง่าย และส่อให้เห็นว่าทำอะไรเองไม่เป็น”
“ภาพที่คุณเหยียบหน้ากากขาวกับนกหวีดนี่แสดงถึงความเป็นคนที่รักษาประชาธิปไตยของคุณซินะ แน่ใจนะว่าเข้าใจคำว่าประชาธิปไตย แค่ภาพคุณยังไป copy เค้ามาเลย ขำจริงๆๆๆ คิดเองไม่เป็นหรือ ดร.”
“ทำไมไม่ขออนุญาตก่อนล่ะคะ นี่รอให้ทางเจ้าของลิขสิทธิ์ฟ้องก่อนแล้วถึงทำหนังสือ มันดูผิดวิสัยของคนที่มีการศึกษาค่ะ หลายครั้งแล้วที่เห็นทำก่อน พอมีเรื่องก็จะมาขอกันทีหลัง แบบนี้จะไปสอนลูกหลานให้เป็นคนสุจริตกันได้ยังไง คนแก่หัวหงอกอย่างท่านยังไม่ทำเป็นตัวอย่าง”
หลังมีการท้วงติงกันยกใหญ่เรื่องของการลอกเลียนแบบ จึงได้มีการตอบสนองจากทีมงานที่ดูแลเฟซบุ๊กนี้ โดยมีการเสริมข้อความใต้ภาพแย้งไปแบบข้างๆ คูๆ ว่า ภาพนี้เป็นแค่การล้อเลียน (Parody) ซึ่งถ้าหากมีปัญหาอะไรก็จะค่อยทำหนังสือขออนุญาตไปถึงทางมาร์เวล
“ปล. มีคนท้วงว่าเหมือนภาพมาเวล ก็ทีมงานผมเป็นแฟนคลับตัวยง หนังผมก็เคยดูมาครับ สนุกดี แรงบันดาลใจของภาพนี้ก็ได้มาจากมาร์เวลนั้นแหละครับ ผมอยากให้ทุกคนรู้ว่าตัวเองเป็นฮีโร่ เพราะทุกคน ทุกอาชีพ เราเป็น hero เท่ากันในระบอบประชาธิปไตยครับ
ส่วนเรื่องลิขสิทธิ์นั้นน้องๆ ทีมงานบอกว่านี่ถือเป็นการล้อเหมือนที่ฝรั่งเรียกว่า พาโรดี้ ไม่ได้ใช้เพื่อการค้า และหากมาร์เวลติดต่อมาผมก็พร้อมจะทำหนังสือขออนุญาตอย่างเป็นทางการครับ”
กฎหมายยังกำกวม
ในแง่ของกฎหมายลิขสิทธิ์ไทยยังคงมีความกำกวมอยู่บ้าง ในเรื่องของการข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ ดังพ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ไทยด้านล่างนี้ ซึ่งในตัวบทกฎหมายของหลายๆ ประเทศก็มักให้ความสำคัญต่อเรื่องของการส่งผลกระทบต่อตัวเจ้าของลิขสิทธิ์เป็นสำคัญเช่นกัน
ส่วนที่ 6 ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์
มาตรา 32 การกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ หากไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์ และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร มิให้ถือว่า เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
ภายใต้บังคับบทบัญญัติในวรรคหนึ่ง การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งาน อันมีลิขสิทธิ์ตามวรรคหนึ่งมิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้
(1) วิจัยหรือศึกษางานนั้น อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
(2) ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่น ในครอบครัวหรือญาติสนิท
(3) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ในงานนั้น
(4) เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของ ลิขสิทธิ์ในงานนั้น
(5) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว
(6) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏโดยผู้สอน เพื่อประโยชน์ในการสอนของตน อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร
(7) ทำซ้ำ ดัดแปลงบางส่วนของงาน หรือตัดทอนหรือทำบทสรุปโดยผู้สอน หรือสถาบันศึกษา เพื่อแจกจ่ายหรือจำหน่ายแก่ผู้เรียนในชั้นเรียนหรือในสถาบันศึกษา ทั้งนี้ ต้องไม่เป็นการกระทำเพื่อหากำไร
(8 ) นำงานนั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ
ทั้งนี้ กฎหมายลิขสิทธิ์ของทางสหรัฐอเมริกา ระบุว่า การใช้งานโดยชอบธรรม หรือการนำเนื้อหาที่มีลิขสิทธิ์ไปประกอบในงานของผู้อื่น สามารถทำได้บนเงื่อนไขบางประการ (Fair Use) ต้องพิจารณาจากหลัก 4 ข้อ ดังนี้
1. The Purpose and Character of the Use จุดประสงค์การใช้งาน
2. The Nature of the Copyrighted Work ลักษณะของงาน
3. The Amount and Substantiality of the Portion Used จำนวนของการนำไปใช้
4. The Effect upon the Plaintiff's Potential Market ผลกระทบต่อเจ้าของงาน
สำหรับกรณีนี้ มีการคาดเดาไปต่างๆ นานา ทั้งถูก ทั้งผิด หากมองผ่านๆ ดูด้วยตาอาจจะคิดว่าผิด แต่สำหรับในเรื่องของคดีความตามกระบวนการศาลต้องใช้เหตุผลพิจารณาประกอบมากกว่านั้น รวมถึงการคาดเดาว่าทางบริษัท Marvel คงไม่ฟ้องกลับมาตามทัศนะที่หลายคนระบุว่าเป็นเพียงคดีเล็กๆ ด้วย
ลอกงานผิดไหม?? ต้องดูเจตนา
มองอีกมุมหนึ่งในแง่ของวงการศิลปะ การลอกเลียนผลงาน การดัดแปลงผลงาน หรือการใช้ผลงานอื่นมาเป็นต้นแบบ เป็นแรงบันดาลใจเพื่อสร้างสรรค์งานศิลปะชิ้นใหม่ขึ้นมา คงพอมีให้เห็นกันอยู่เนืองๆ แต่มักไม่ค่อยได้เป็นคดีความดังเสียเท่าไหร่นัก ดังที่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สรรเสริญ มิลินทสูต คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ระบุว่า การลอกเลียนผลงานศิลปะนั้น ผิดหรือไม่?? ต้องดูที่ตัวผลงาน ดูเจตนาการทำซ้ำว่า ซ้ำแบบไหน และทำซ้ำเพื่อเจตนารมณ์อะไร
“มันพูดลำบากมากครับ เพราะว่าในงานศิลปะเนี่ยมันจะเรียกว่า Appropriate คือการนำสิ่งที่เคยมีคนทำมาแล้ว มาทำต่ออีกในอีกแบบหนึ่ง ซึ่งจริงๆ เนี่ย ในวงการศิลปะก็มีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นมาโดยตลอด ตรงนี้มันก็ขึ้นอยู่กับว่าเอามาทำด้วยลักษณะแบบไหน เจตนารมณ์แบบไหน แล้วก็ทำออกมาเพื่อประโยชน์อะไร
ในสมัยก่อนเองมันก็ไม่ค่อยมีเรื่องการทับซ้อนของผลประโยชน์อะไรจากผลงานที่สร้างเดิม มันก็จะไม่ค่อยมีปัญหา แต่ในเรื่องนี้ แม้กระทั่งเชิงกฎหมายลิขสิทธิ์ ผมเชื่อว่า มันมีรายละเอียดยิบย่อยมาก มันไม่ได้ตรงเป๊ะๆ อะไรขนาดนั้น ก็เลยอาจจะเอาผิดไม่ได้
สุดท้ายคือมันอยู่ที่เจตนารมณ์ แต่ว่ามันอาจจะมีวิธีการที่คล้ายคลึง คือมีต้นแบบเดิมแต่เราเอาไปตีความใหม่ ก็ทำให้มันเกิดรูปแบบใหม่ในลักษณะอื่นขึ้นมา สมมติ ย้อนกลับไปดูในสมัยดาด้า (Dadaism ผลงานศิลปะเชิงเยาะเย้ย ถากถาง เสียดสี -ดัน ประชดประชันแบบไร้เหตุผล) ตอนนั้นดูชองป์นำภาพโมนาลิซ่ามาใส่หนวด มันก็มีขึ้นมา แต่เป็นการตีความใหม่เท่านั้นเอง”
ทั้งนี้ เหตุการณ์การลอกเลียนแบบผลงานที่ใกล้เคียงกับกรณีนี้ เคยเกิดขึ้นเมื่อช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมา หลังมีการแชร์ภาพผ่านโลกออนไลน์และตั้งข้อสังเกตว่า โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 18 (ปี 2013) มีการออกแบบคล้ายคลึงกับโปสเตอร์งานมหกรรมหนังสือที่ฝรั่งเศสเมื่อปีที่แล้ว หรือ Paris Book Fair 2012
สุดท้ายเหตุการณ์จบลงด้วยดี เมื่อเฟซบุ๊ก Wrongdesign House ซึ่งเป็นผู้ออกแบบโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 18 ได้เขียนข้อความชี้แจง โดยยอมรับว่า การออกแบบครั้งนี้ได้รับ Reference มาจากชิ้นงานของปารีสจริง และหากคนมองว่าเป็นการลอกเลียนก็ต้องขออภัยต่อเรื่องนี้ด้วย พร้อมยืนยันว่าต่อไปจะเพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้น
“ขอชี้แจงเรื่องการออกแบบโปสเตอร์งานมหกรรมหนังสือ ตุลาคม 2013 : ข้อสงสัยที่มีต่อตัวชิ้นงานว่าได้ทำการลอกเลียนมาจาก Poster Paris Book Fair 2012, ทางผู้ออกแบบซึ่งคือตัวผม ก็ได้เห็นและรับ Reference มาจากชิ้นงานดังกล่าวจริง ซึ่งในขั้นตอนการนำเสนอแบบต่อคณะกรรมการนั้น ได้มีการนำเสนอแบบที่หลากหลาย โดยแบบที่ทุกท่านได้เห็นนี้ คือแบบที่ผ่านการคัดเลือกจากที่ประชุม จนนำไปสู่การผลิตชิ้นงานจริง หากมีการออกแบบในแง่มุมใดที่ชวนดูเป็นการลอกเลียน ผมต้องขออภัยต่อทุกท่านเป็นอย่างยิ่ง และจะระมัดระวังเพิ่มขึ้นในชิ้นงานต่อไป ขอบคุณมากครับ”
กลับมาถึงเหตุการณ์ของฟากปลอดประสพที่กำลังพยายามสร้างภาพโฆษณาสวยหรู ที่เหมือนจะดูดี แต่สุดท้ายก็แค่ลอกผลงานของต่างประเทศมาใช้แบบมักง่าย ชี้ให้เห็นถึงอุปนิสัยของนักการเมืองได้ดี ถึงแม้ในด้านกฎหมายอาจจะไม่ได้ผิดพลาดอะไรหนักหนาถึงขั้นต้องขึ้นโรงขึ้นศาล แต่อย่างน้อยจะลอกผลงานใครก็ควรมีความละอายใจเสียบ้างเถอะ
ข่าวโดย ASTV ผู้จัดการ Live