อนุสรณ์ อมรฉัตร สามีที่มิได้จดทะเบียนสมรสกับยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เคยมีหนี้สิน 513 ล้านบาท มิหนำซ้ำบริษัทส่วนตัวอีก 2 แห่ง คือบริษัทแอ็ด อินเด็กซ์ จำกัด และบริษัทเอ็ม-บิท จำกัดก็ประสบปัญหาขาดทุนต่อเนื่องมายาวนาน 11 ปี แต่สุดท้ายกลับสามารถเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ได้อย่างมหัศจรรย์จนหนี้ก้อนโตหายไปเกือบหมด คงเหลือตกค้างไว้ดูต่างหน้าแค่เพียง 7 ล้านเท่านั้น
ยิ่งลักษณ์เคยแจงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินเมื่อเข้ารับตำแหน่งส.ส. ณ วันที่ 2 สิงหาคม 2554 และรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 สิงหาคมปีเดียวกัน โดยระบุว่าสามีนอกสมรสมีหนี้เงินกู้สถาบันการเงิน 369,658,334.40 บาท แต่จากการตรวจสอบล่าสุดหลังจากมีการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้แล้ว กลับทำให้มีหนี้เหลือเพียง 7 ล้านบาทเศษ เรื่องแบบนี้ลูกหนี้ระดับชาติหลายรายตั้งข้อสงสัยว่า เหตุใดสามีนอกสมรสของนายกฯ จึงสามารถทำได้ ลูกหนี้หลายต่อหลายรายจึงอยากเรียนรู้กรรมวิธีลดหนี้แบบมหัศจรรย์เช่นนี้บ้าง พร้อมทั้งยังเรียกร้องให้สามีนายกฯ เปิดหลักสูตรอบรมการเจรจาเพื่อลดหนี้ราวปาฏิหารย์เช่นนี้ให้สาธารณชนได้รับทราบ เพื่อจะได้นำไปใช้เป็นแบบอย่างบ้าง ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งของเรื่องอยู่ที่ยิ่งลักษณ์ไม่เคยแสดงรายละเอียดของรายการหนี้สินของสามีผู้นี้ ดังนั้นเมื่อจู่ ๆ สาธารณชนจับได้ว่าหนี้สินมากมายของสามีรายนี้เกิดอันตรธานไปอย่างน่าพิสวงก็จึงทำให้มีคำถามตามมามากมายว่า หนี้ก้อนใหญ่หายไปโดยกรรมวิธีใด
สำนักข่าวอิศราตรวจสอบพบว่าเมื่อปี 2553 บ. แอ็ด อินเด็กซ์ มีหนี้สิน 66,755,438 บาท ขาดทุนสะสม 31,403,779 บาท ส่วนปี 2554 มีหนี้สิน 31,706,273 บาท ขาดทุนสะสม 34,926,684 บาท ส่วน บ. เอ็ม-บิท (ซึ่งแต่เดิมชื่อ บ. มิวชวลเบเนฟิต อินเตอร์เนชั่นแนล เทรดดิ้ง จำกัด ซึ่งธนินท์ เจียรวนนท์ และบุคคลตระกูลเจียรวนนท์อีกกลุ่มหนึ่งถือหุ้นใหญ่) บ. เอ็ม-บิท ผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์เครื่องมือสื่อสาร และเครื่องจักร มีทุนจดทะเบียน 15 ล้านบาท กรรมการคือเชวง โคตะนนท์ และบุญธรรม อรุณรังสี
สำหรับ บ. เอ็ม-บิท มีการแจ้งรายรับรายจ่ายมาตั้งแต่ปี 2540 ถึง 2550 ว่าขาดทุนมาโดยตลอด เช่นปี 2540 ขาดทุนสุทธิ 255,465,340.58 บาท ปี 2541 ขาดทุนสุทธิ 181,253,485.60 บาท แม้กระทั่งปี 2550 ก็ขาดทุนสุทธิ 3,421,849.56 บาท ต่อมาปี 2551-2553 บริษัทขอปรับโครงสร้างหนี้กับธนาคาร จึงทำให้บริษัทมีกำไรเฉลี่ยปีละ 7 ล้านบาทเศษ แต่เมื่อตรวจสอบหมายเหตุประกอบงบการเงินบริษัทปี 2553 พบว่าขาดทุนจากการดำเนินงานมาโดยต่อเนื่อง โดยเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2553 ขาดทุนสะสม 492.06 ล้านบาท ส่วนปี 2552 ขาดทุนสะสม 496.09 ล้านบาท เมื่อดูตัวเลขหนี้สินทั้งหมดก็พบว่าสูงถึง 477,129,413 บาท ล่าสุด บ. เอ็ม-บิท ยังไม่ได้แจ้งงบดุลและการเงินปี 2554 ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
แต่ยิ่งลักษณ์ยื่นแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อป.ป.ช. เมื่อเดือนสิงหาคม 2554 โดยระบุยอดเงินกู้จากสถาบันการเงินของสามีแค่เพียง 369,658,334.40 บาท ซึ่งไม่ตรงกับยอดหนี้จริงเมื่อดูจากงบการเงินปี 2553 ที่ระบุว่ามีหนี้ 477,129,413 บาท หากนำหนี้จาก บ. แอ็ด อินเด็กซ์อีกประมาณ 98 ล้านบาทไปรวมด้วยก็จะเท่ากับว่าสามีของยิ่งลักษณ์มีหนี้สินรวม 543,884,851 บาท ทั้งนี้ยังมิได้นำประเด็นที่ บ. แอ็ด อินเด็กซ์ กู้ยืมเงิน 30 ล้านบาทจากยิ่งลักษณ์ไปอีก
ดังนั้นการที่ยิ่งลักษณ์แจ้งว่าสามีผู้นี้มีหนี้สิน 369,658,334.40 บาท จึงไม่น่าจะตรงกับตัวเลขหนี้แท้จริงที่ตรวจพบจากบัญชีของบริษัททั้ง 2 ของอนุสรณ์ แต่แล้วจู่ ๆ ก็มีการประกาศว่าปัจจุบันบริษัทได้ปรับโครงสร้างหนี้เพียงเฉพาะส่วนเหลือเพียง 7 ล้านบาท จึงทำให้สาธารณชนสงสัยว่าทำได้อย่างไร และทำโดยกรรมวิธีใด
http://www.naewna.com/politic/columnist/937
สามีนายกฯ ปูเสกหนี้ก้อนโตหายมหัศจรรย์
ยิ่งลักษณ์เคยแจงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินเมื่อเข้ารับตำแหน่งส.ส. ณ วันที่ 2 สิงหาคม 2554 และรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 สิงหาคมปีเดียวกัน โดยระบุว่าสามีนอกสมรสมีหนี้เงินกู้สถาบันการเงิน 369,658,334.40 บาท แต่จากการตรวจสอบล่าสุดหลังจากมีการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้แล้ว กลับทำให้มีหนี้เหลือเพียง 7 ล้านบาทเศษ เรื่องแบบนี้ลูกหนี้ระดับชาติหลายรายตั้งข้อสงสัยว่า เหตุใดสามีนอกสมรสของนายกฯ จึงสามารถทำได้ ลูกหนี้หลายต่อหลายรายจึงอยากเรียนรู้กรรมวิธีลดหนี้แบบมหัศจรรย์เช่นนี้บ้าง พร้อมทั้งยังเรียกร้องให้สามีนายกฯ เปิดหลักสูตรอบรมการเจรจาเพื่อลดหนี้ราวปาฏิหารย์เช่นนี้ให้สาธารณชนได้รับทราบ เพื่อจะได้นำไปใช้เป็นแบบอย่างบ้าง ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งของเรื่องอยู่ที่ยิ่งลักษณ์ไม่เคยแสดงรายละเอียดของรายการหนี้สินของสามีผู้นี้ ดังนั้นเมื่อจู่ ๆ สาธารณชนจับได้ว่าหนี้สินมากมายของสามีรายนี้เกิดอันตรธานไปอย่างน่าพิสวงก็จึงทำให้มีคำถามตามมามากมายว่า หนี้ก้อนใหญ่หายไปโดยกรรมวิธีใด
สำนักข่าวอิศราตรวจสอบพบว่าเมื่อปี 2553 บ. แอ็ด อินเด็กซ์ มีหนี้สิน 66,755,438 บาท ขาดทุนสะสม 31,403,779 บาท ส่วนปี 2554 มีหนี้สิน 31,706,273 บาท ขาดทุนสะสม 34,926,684 บาท ส่วน บ. เอ็ม-บิท (ซึ่งแต่เดิมชื่อ บ. มิวชวลเบเนฟิต อินเตอร์เนชั่นแนล เทรดดิ้ง จำกัด ซึ่งธนินท์ เจียรวนนท์ และบุคคลตระกูลเจียรวนนท์อีกกลุ่มหนึ่งถือหุ้นใหญ่) บ. เอ็ม-บิท ผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์เครื่องมือสื่อสาร และเครื่องจักร มีทุนจดทะเบียน 15 ล้านบาท กรรมการคือเชวง โคตะนนท์ และบุญธรรม อรุณรังสี
สำหรับ บ. เอ็ม-บิท มีการแจ้งรายรับรายจ่ายมาตั้งแต่ปี 2540 ถึง 2550 ว่าขาดทุนมาโดยตลอด เช่นปี 2540 ขาดทุนสุทธิ 255,465,340.58 บาท ปี 2541 ขาดทุนสุทธิ 181,253,485.60 บาท แม้กระทั่งปี 2550 ก็ขาดทุนสุทธิ 3,421,849.56 บาท ต่อมาปี 2551-2553 บริษัทขอปรับโครงสร้างหนี้กับธนาคาร จึงทำให้บริษัทมีกำไรเฉลี่ยปีละ 7 ล้านบาทเศษ แต่เมื่อตรวจสอบหมายเหตุประกอบงบการเงินบริษัทปี 2553 พบว่าขาดทุนจากการดำเนินงานมาโดยต่อเนื่อง โดยเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2553 ขาดทุนสะสม 492.06 ล้านบาท ส่วนปี 2552 ขาดทุนสะสม 496.09 ล้านบาท เมื่อดูตัวเลขหนี้สินทั้งหมดก็พบว่าสูงถึง 477,129,413 บาท ล่าสุด บ. เอ็ม-บิท ยังไม่ได้แจ้งงบดุลและการเงินปี 2554 ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
แต่ยิ่งลักษณ์ยื่นแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อป.ป.ช. เมื่อเดือนสิงหาคม 2554 โดยระบุยอดเงินกู้จากสถาบันการเงินของสามีแค่เพียง 369,658,334.40 บาท ซึ่งไม่ตรงกับยอดหนี้จริงเมื่อดูจากงบการเงินปี 2553 ที่ระบุว่ามีหนี้ 477,129,413 บาท หากนำหนี้จาก บ. แอ็ด อินเด็กซ์อีกประมาณ 98 ล้านบาทไปรวมด้วยก็จะเท่ากับว่าสามีของยิ่งลักษณ์มีหนี้สินรวม 543,884,851 บาท ทั้งนี้ยังมิได้นำประเด็นที่ บ. แอ็ด อินเด็กซ์ กู้ยืมเงิน 30 ล้านบาทจากยิ่งลักษณ์ไปอีก
ดังนั้นการที่ยิ่งลักษณ์แจ้งว่าสามีผู้นี้มีหนี้สิน 369,658,334.40 บาท จึงไม่น่าจะตรงกับตัวเลขหนี้แท้จริงที่ตรวจพบจากบัญชีของบริษัททั้ง 2 ของอนุสรณ์ แต่แล้วจู่ ๆ ก็มีการประกาศว่าปัจจุบันบริษัทได้ปรับโครงสร้างหนี้เพียงเฉพาะส่วนเหลือเพียง 7 ล้านบาท จึงทำให้สาธารณชนสงสัยว่าทำได้อย่างไร และทำโดยกรรมวิธีใด
http://www.naewna.com/politic/columnist/937