พลิก 5 ปมเงื่อน“เงินให้กู้”30 ล้าน“ยิ่งลักษณ์”-ดอกเบี้ยจุดชี้ขาด
ย้อนรอย 5 ปมเงื่อนเงินปล่อยกู้ 30 ล้าน“ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร”เทียบตั๋วสัญญาใช้เงิน 3 ฉบับ-หลักฐานบัญชีงบการเงิน“ลูกหนี้” เท็จ-จริง ไฮไลท์การชำระ“ดอกเบี้ย”
การที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการุทจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ว่ามีเงินให้กู้ยืมเงิน 30 ล้านบาท โดยมีตั๋วสัญญาใช้เงิน 3 ฉบับเป็นหลักฐาน อาจทำให้น.ส.ยิ่งลักษณ์พ้นตำแหน่งนายกฯ ถ้ากระบวนการตรวจสอบได้ข้อเท็จจริงว่าไม่มีการกู้ยืมกันจริง
สำนักข่าวอิศรา (www.isranwes.org) เทียบตั๋วสัญญาใช้เงินของเจ้าหนี้ (น.ส.ยิ่งลักษณ์) เอกสารการบันทึกทางบัญชีงบการเงินของลูกหนี้ (บริษัท แอ็ด อินเด็กซ์ จำกัด) และการตรวจสอบเอกสารสาธารณะสรุปเงื่อนปมให้เห็นอีกครั้งดังนี้
1.น.ส.ยิ่งลักษณ์ ระบุว่ามีเงินให้ บริษัท แอ็ด อินเด็กซ์ จำกัด กู้ยืม จำนวน 30 ล้าน บาท จากการตรวจสอบข้อมูลกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าพบว่า ก่อนให้กู้ยืมเงิน บริษัท แอ็ด อินเด็กซ์ จำกัด มีผลประกอบการขาดทุนหลายปีติดต่อกัน โดยปี 2547 รายได้ 2,299 บาท ขาดทุนสุทธิ 1,092,691 บาท ปี 2548 รายได้ 1,325,779 บาท ขาดทุนสุทธิ 8,299,859 บาท ปี 2549 รายได้ 8,036,772 บาท ขาดทุนสุทธิ 2,575,493 บาท สินทรัพย์ 57,844,481 บาท รายงานผู้สอบบัญชีได้ระบุข้อให้สังเกตในหมายเหตุประกอบงบการเงิน (ข้อ 9)ว่า
“ณ วันที่ 30 เมษายน 2550 และ 2549 บริษัทมีผลขาดทุนสะสมเกินทุนจำนวน 12.2 ล้านบาทและ 6.9 ล้านบาทตามลำดับ”
หลังจากให้กู้ยืมเงินแล้วก็ยังมีผลประกอบการขาดทุนติดต่อกันทุกปี กระทั่งปี 2553 ขาดทุนสะสม 31,403,779 บาท มีหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 40,351,659 บาท
หากมีการพิเคราะห์สถานะของ ลูกหนี้ การปล่อยกู้ให้บริษัทที่มีผลประกอบการขาดทุนติดต่อกัน ในทางธุรกิจ “สุ่มเสี่ยง”อย่างมาก?
2.เงินให้กู้ยืมดังกล่าวแบ่งเป็นตั๋วสัญญาใช้เงิน 3 ฉบับ “ลงวันที่ต่างกัน”
วันที่ 6 ตุลาคม2549 จำนวน 20,000,000 บาท
วันที่ 9 มีนาคม 2550 จำนวน 5,000,000 บาท
วันที่ 13 มีนาคม 2550 จำนวน 5,000,000 บาท
รูปแบบของตั๋วสัญญาใช้เงินทั้ง 3 ฉบับ แม้ลงวันที่ออกตั๋ว จำนวนเงินต่างกัน แต่ ถ้อยคำ ข้อความรายละเอียดเหมือนกันแทบทุกประการ กล่าวคือ
ฉบับแรกเลขที่ 01/2549 วันที่ 6 ตุลาคม 2549 ออกตั๋ว ณ สำนักงานเลขที่ 73 ถนนสุขุมวิท 62 แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพฯ (อาคารเอ็มลิงค์) ผู้ออกตั๋ว บริษัท แอ็ด อินเด็กซ์ จำกัด โดย น.ส.สุมิตรา อิงคผาติ กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม สัญญาจะจ่ายเงิน จำนวน 20,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราเงินฝากประจำ 1 ปี ของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จ่ายเงินตามตั๋วให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อทวงถาม สถานที่ใช้เงิน ณ บ้านเลขที่ 38/9 หมู่ที่ 9 แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ
ฉบับที่ 2 เลขที่ 01/2550 วันที่ 9 มีนาคม 2550 จำนวน 5,000,000 บาท มีรายละเอียดเหมือนตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับแรก
ฉบับที่ 3 เลขที่ 02/2550 วันที่ 13 มีนาคม 2550 จำนวน 5,000,000 บาท มีรายละเอียดเหมือนตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับแรกและฉบับที่สอง
เป็นไปได้หรือไม่ที่ตั๋วสัญญาใช้เงินทั้ง 3 ฉบับทำขึ้นวันเดียวกันแต่ลงวันที่ต่างกัน?
3.ช่วงเวลาในการกู้ยืมเงิน ข้อมูลจากตั๋วสัญญาใช้เงิน 3 ฉบับระบุว่า
วันที่ 6 ตุลาคม2549 จำนวน 20,000,000 บาท
วันที่ 9 มีนาคม 2550 จำนวน 5,000,000 บาท
วันที่ 13 มีนาคม 2550 จำนวน 5,000,000 บาท
เท่ากับในรอบปี 2549 มีการกู้ยืม 20 ล้านบาท ปี 2550 อีก 2 ครั้ง 10 ล้านบาท
แต่ถ้าดูจากหมายเหตุประกอบงบการเงิน บริษัท แอ็ดอินเด็กซ์ จำกัด ปี 2549 ระบุว่า มีรายการ “เงินกู้ยืมระยาว” 1 รายการ เป็นเงิน 29,664,530 บาท
หมายเหตุประกอบงบการเงินระบุว่า
“เงินกู้ระยะยาวเป็นเงินกู้ยืมจากธนาคารในประเทศแห่งหนึ่ง เพื่อใช้ในการก่อสร้างอพาร์ทเม้นท์ มีกำหนดชำระคืนเสร็จสิ้นภายใน 120 เดือน เดือนละ 362,000 บาท เริ่มตั้งแต่เดือนกันยายน 2547 โดยจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของบริษัท,บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน และบุคคลอื่น และค้ำประกันโดยกรรมการและบุคคลอื่น”
“เงินกู้ยืมจากกรรมการ” 1 รายการ เป็นเงิน 33,678,142 บาท (บริษัท แอ็ด อินเด็กซ์ จำกัด มี น.ส.สุมิตรา อิงคผาติ เป็นกรรมการ) ระบุว่า “เป็นเงินกู้ยืมโดยไม่คิดดอกเบี้ย บริษัทกู้เพื่อใช้หมุนเวียนภายในกิจการและไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน”
ไม่ปรากฏว่ามีรายการ “เงินกู้ยืมจากบุคคลอื่น”แต่อย่างใด (ขณะที่ในตั๋วสัญญาใช้เงินที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์แสดงต่อ ป.ป.ช. กลับระบุว่า ปีนี้มีเงินกู้ยืม 20 ล้านบาท)
ขณะที่ยอดเงินให้ “กู้ยืมจากบุคคลอื่น 30 ล้านบาท”กลับมาถูกบันทึกไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินปี 2550
ซึ่งในปีงบการเงิน 2550 มีรายการ “เงินกู้ยืม” 2 รายการ
1. เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน 5,319,207 บาท (ปี 2549 มีจำนวน 29,664,530 บาท)
2. เงินกู้ยืมจากบุคคลอื่น 30,000,000 บาท ระบุว่าคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 2.50-3.75 ต่อปี
ส่วน“เงินกู้ยืมระยะยาวจากกรรมการ” มิได้ระบุจำนวนไว้ (ในปี 2549 ระบุจำนวน 33,678,142 บาท) กล่าวแต่เพียงว่า “เป็นเงินกู้ยืมโดยไม่คิดดอกเบี้ย บริษัทกู้เพื่อใช้หมุนเวียนภายในกิจการและไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน”
เห็นได้ว่ายอดเงิน“กู้ยืมจากบุคคลอื่น 30 ล้านบาท”มาปรากฏในหมายเหตุประกอบงบการเงินปี 2550
ประเด็นนี้ จากการตรวจสอบรอบบัญชีงบการเงิน บริษัท แอ็ด อินเด็กซ์ สิ้นสุดวันที่ 30 เมษายน 2549 เมื่อเงินให้กู้ยืมเกิดขึ้นในเดือนตุลาคม 2549 และมีนาคม2550 จึงเป็นไปได้ต้องนำบันทึกไว้ในถัดมา คือปี 2550
4.อัตราดอกเบี้ย เงินให้กู้ยืมจำนวน 30 ล้านบาท ในตั๋วสัญญาใช้เงิน 3 ฉบับ ระบุว่า
“ดอกเบี้ยในอัตราเงินฝากประจำ 1 ปี ของธนาคารกรุงไทย”
ทว่าบริษัท แอ็ด อินเด็กซ์ จำกัดกลับบันทึกในหมายเหตุประกอบงบการเงิน แต่ละปี “ไม่ตรงกัน” กล่าวคือ
หมายเหตุประกอบงบการเงินวันที่ 30 เมษายน 2550 ระบุ “เงินกู้ยืมจากบุคคลอื่น คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 2.50-3.75 ต่อปี”
หมายเหตุประกอบงบการเงิน วันที่ 30 เมษายน 2551 ระบุว่า “เงินกู้ยืมจากบุคคลอื่น คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 2.50-3.75 ต่อปี”
หมายเหตุประกอบงบการเงิน วันที่ 30 เมษายน 2552 ระบุว่า “เงินกู้ยืมจากบุคคลอื่น คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1-3 ต่อปี”
หมายเหตุประกอบงบการเงิน วันที่ 30 เมษายน 2553 ระบุว่า “คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 0.75 -1 ต่อปี (ปี 2552:ร้อยละ 1-3 ต่อปี)”
หมายเหตุประกอบงบการเงิน วันที่ 30 เมษายน 2554 ระบุว่า “คิดดอกเบี้ยตามประกาศอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 1 ปี ของสถาบันการเงิน”
เห็นได้ว่า อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมเงิน 30 ล้านบาท “คิดดอกเบี้ยตามประกาศอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 1 ปี ของสถาบันการเงิน” (ตามอัตราดอกเบี้ยที่ระบุในตั๋วสัญญาใช้เงิน) กับอัตราดอกเบี้ยที่มีการบันทึกในหมายเหตุประกอบงบการเงินของบริษัท แอ็ด อินเด็กซ์ จำกัด เพิ่งมีอัตราดอกเบี้ย“ตรงกัน” คือ “คิดดอกเบี้ยตามประกาศอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 1 ปี ของสถาบันการเงิน” เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2554
และถ้าดู “ดอกเบี้ยจ่าย” ที่ปรากฏในงบกำไรขาดทุนของบริษัทพบว่า มีตัวเลขสูงสุดในช่วงปี 2550 จำนวน 1,199,203 บาท ต่ำสุดในช่วงปี 2553 จำนวน 281,712 บาท (ดูตาราง)
น่าสังเกตว่า ระหว่าง ปี 2552-2553 อัตราดอกเบี้ยค้างจ่ายแตกต่างกันค่อนข้างมาก
5.สำนักงานใหญ่ บริษัท แอ็ด อินเด็กซ์ จำกัด แจ้งข้อมูลต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ตั้งอยู่เลขที่ 73 อาคารเอ็มลิงค์ ชั้น 5 ซอยสุขุมวิท 62 ถนนสุขุมวิท แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพฯ
ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา เดินทางไปตรวจสอบ (www.isranwes.org) ที่ชั้น 5 อาคารเอ็มลิงค์ ไม่พบป้ายชื่อที่ตั้งบริษัท บริษัท แอ็ด อินเด็กซ์ จำกัด กลับเป็นสถานที่ตั้ง บริษัท พอร์ทัลเน็ท จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือบริษัท เอ็ม ลิงค์ เอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
ล่าสุดในเอกสารของบริษัทปี 2554 บริษัท แอ็ด อินเด็กซ์ จำกัด แจ้งว่าได้เพิ่มสำนักงานสาขา 2 แห่ง แห่งแรก เลขที่ 200 หมู่ที่ 7 ถนนบาง- ตราด ต.บางเสาธง อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ แห่งที่สอง เลขที่ 61/1 หมู่ ที่ 7 ถนนบาง- ตราด ต.บางเสาธง อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ แต่ไม่ได้แจ้งเปลี่ยนแปลงที่ตั้งสำนักงานใหญ่
น่าสังเกตว่า การที่บริษัทแจ้งว่ามีสำนักงาน สาขา 2 แห่ง แต่กลับไม่ปรากฏตัวตนสำนักงานใหญ่ชัดเจน
ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับการตรวจสอบข้อเท็จจริงของ ป.ป.ช.
credit:
http://www.isranews.org/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7/item/20074-%E0%B8%9B%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99.html
=====================================================================
ประเด็นคือว่า ผมอ่านแล้ว ลักษณะการทำธุรกิจที่ขาดทุนมาตลอด เมื่อมีการให้กู้ยืม เสมือนหนึ่งที่ให้กู้ยืม มิได้มาจากการทำธุรกิจอ่ะคาฟ
ประเด็นคือว่า ข่าวนี้ออกมาและปัจจุบันก็ถึงมือ ป.ป.ช. มีรายไหนบ้างที่รอดอ่ะ ผมว่าน้อยนะ
ประเด็นคือว่า มีข่าวเรื่องเขต 3 ที่เกษมประกาศลาออก แล้วการส่งผู้เลือกตั้งคนใหม่ คือ ด......(สงสัยว่า คนเชียงใหม่คิดอย่างไร ถ้าตระกูลหนึ่งต้องคำพิพากษาด้วยเหตุผลใดก็ตาม แล้วมูลมีความเป็นจริง ยังอยากได้อีกหรือคาฟ แบบว่าสงกะสัยอ่ะ)
ประเด็นนี้สำคัญ : จาก monitoring การบริหารราชการแผ่นดินของยิ่งลักษณ์ ไม่มีความโดดเด่นเชิงศักยภาพแต่อย่างใด การที่ยิ่งลักษณ์เสมือนไม่จริงจังอะไร ต่อข้อเรียกร้องของใครบางคน พูดง่ายๆ ก็คือ ทำสำเร็จหรือไม่ก็ let it be นำไปสู่ การเกิดปัญหาว่าด้วยบุคคลกับบุคคล จริงหรือไม่ และถ้าเธอต้องเป็นหนึ่งในหิ่งห้อยที่อับแสง คงไม่ใช่เรื่องที่ผิดตามคาดแต่อย่างใด แปลกจุงเบย ตระกูลนี้ มีแต่เรื่องเงินๆทองๆมายุ่งเกี่ยวทั้งนั้น แหม....น่าจะเอาไปให้คนที่เขายากจน แบบตั้งเป็นมูลนิธิ บ้างก็ดีเน่อะ รวยแล้วเหนียวอ่ะป่าวเนี่ย อิอิๆๆๆๆ
หิ่งห้อย เมื่อไร้แสง เรายังคงเรียกว่า "หิ่งห้อย" หรือไม่คาฟ
พลิก 5 ปมเงื่อน“เงินให้กู้”30 ล้าน“ยิ่งลักษณ์”-ดอกเบี้ยจุดชี้ขาด
ย้อนรอย 5 ปมเงื่อนเงินปล่อยกู้ 30 ล้าน“ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร”เทียบตั๋วสัญญาใช้เงิน 3 ฉบับ-หลักฐานบัญชีงบการเงิน“ลูกหนี้” เท็จ-จริง ไฮไลท์การชำระ“ดอกเบี้ย”
การที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการุทจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ว่ามีเงินให้กู้ยืมเงิน 30 ล้านบาท โดยมีตั๋วสัญญาใช้เงิน 3 ฉบับเป็นหลักฐาน อาจทำให้น.ส.ยิ่งลักษณ์พ้นตำแหน่งนายกฯ ถ้ากระบวนการตรวจสอบได้ข้อเท็จจริงว่าไม่มีการกู้ยืมกันจริง
สำนักข่าวอิศรา (www.isranwes.org) เทียบตั๋วสัญญาใช้เงินของเจ้าหนี้ (น.ส.ยิ่งลักษณ์) เอกสารการบันทึกทางบัญชีงบการเงินของลูกหนี้ (บริษัท แอ็ด อินเด็กซ์ จำกัด) และการตรวจสอบเอกสารสาธารณะสรุปเงื่อนปมให้เห็นอีกครั้งดังนี้
1.น.ส.ยิ่งลักษณ์ ระบุว่ามีเงินให้ บริษัท แอ็ด อินเด็กซ์ จำกัด กู้ยืม จำนวน 30 ล้าน บาท จากการตรวจสอบข้อมูลกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าพบว่า ก่อนให้กู้ยืมเงิน บริษัท แอ็ด อินเด็กซ์ จำกัด มีผลประกอบการขาดทุนหลายปีติดต่อกัน โดยปี 2547 รายได้ 2,299 บาท ขาดทุนสุทธิ 1,092,691 บาท ปี 2548 รายได้ 1,325,779 บาท ขาดทุนสุทธิ 8,299,859 บาท ปี 2549 รายได้ 8,036,772 บาท ขาดทุนสุทธิ 2,575,493 บาท สินทรัพย์ 57,844,481 บาท รายงานผู้สอบบัญชีได้ระบุข้อให้สังเกตในหมายเหตุประกอบงบการเงิน (ข้อ 9)ว่า
“ณ วันที่ 30 เมษายน 2550 และ 2549 บริษัทมีผลขาดทุนสะสมเกินทุนจำนวน 12.2 ล้านบาทและ 6.9 ล้านบาทตามลำดับ”
หลังจากให้กู้ยืมเงินแล้วก็ยังมีผลประกอบการขาดทุนติดต่อกันทุกปี กระทั่งปี 2553 ขาดทุนสะสม 31,403,779 บาท มีหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 40,351,659 บาท
หากมีการพิเคราะห์สถานะของ ลูกหนี้ การปล่อยกู้ให้บริษัทที่มีผลประกอบการขาดทุนติดต่อกัน ในทางธุรกิจ “สุ่มเสี่ยง”อย่างมาก?
2.เงินให้กู้ยืมดังกล่าวแบ่งเป็นตั๋วสัญญาใช้เงิน 3 ฉบับ “ลงวันที่ต่างกัน”
วันที่ 6 ตุลาคม2549 จำนวน 20,000,000 บาท
วันที่ 9 มีนาคม 2550 จำนวน 5,000,000 บาท
วันที่ 13 มีนาคม 2550 จำนวน 5,000,000 บาท
รูปแบบของตั๋วสัญญาใช้เงินทั้ง 3 ฉบับ แม้ลงวันที่ออกตั๋ว จำนวนเงินต่างกัน แต่ ถ้อยคำ ข้อความรายละเอียดเหมือนกันแทบทุกประการ กล่าวคือ
ฉบับแรกเลขที่ 01/2549 วันที่ 6 ตุลาคม 2549 ออกตั๋ว ณ สำนักงานเลขที่ 73 ถนนสุขุมวิท 62 แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพฯ (อาคารเอ็มลิงค์) ผู้ออกตั๋ว บริษัท แอ็ด อินเด็กซ์ จำกัด โดย น.ส.สุมิตรา อิงคผาติ กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม สัญญาจะจ่ายเงิน จำนวน 20,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราเงินฝากประจำ 1 ปี ของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จ่ายเงินตามตั๋วให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อทวงถาม สถานที่ใช้เงิน ณ บ้านเลขที่ 38/9 หมู่ที่ 9 แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ
ฉบับที่ 2 เลขที่ 01/2550 วันที่ 9 มีนาคม 2550 จำนวน 5,000,000 บาท มีรายละเอียดเหมือนตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับแรก
ฉบับที่ 3 เลขที่ 02/2550 วันที่ 13 มีนาคม 2550 จำนวน 5,000,000 บาท มีรายละเอียดเหมือนตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับแรกและฉบับที่สอง
เป็นไปได้หรือไม่ที่ตั๋วสัญญาใช้เงินทั้ง 3 ฉบับทำขึ้นวันเดียวกันแต่ลงวันที่ต่างกัน?
3.ช่วงเวลาในการกู้ยืมเงิน ข้อมูลจากตั๋วสัญญาใช้เงิน 3 ฉบับระบุว่า
วันที่ 6 ตุลาคม2549 จำนวน 20,000,000 บาท
วันที่ 9 มีนาคม 2550 จำนวน 5,000,000 บาท
วันที่ 13 มีนาคม 2550 จำนวน 5,000,000 บาท
เท่ากับในรอบปี 2549 มีการกู้ยืม 20 ล้านบาท ปี 2550 อีก 2 ครั้ง 10 ล้านบาท
แต่ถ้าดูจากหมายเหตุประกอบงบการเงิน บริษัท แอ็ดอินเด็กซ์ จำกัด ปี 2549 ระบุว่า มีรายการ “เงินกู้ยืมระยาว” 1 รายการ เป็นเงิน 29,664,530 บาท
หมายเหตุประกอบงบการเงินระบุว่า
“เงินกู้ระยะยาวเป็นเงินกู้ยืมจากธนาคารในประเทศแห่งหนึ่ง เพื่อใช้ในการก่อสร้างอพาร์ทเม้นท์ มีกำหนดชำระคืนเสร็จสิ้นภายใน 120 เดือน เดือนละ 362,000 บาท เริ่มตั้งแต่เดือนกันยายน 2547 โดยจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของบริษัท,บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน และบุคคลอื่น และค้ำประกันโดยกรรมการและบุคคลอื่น”
“เงินกู้ยืมจากกรรมการ” 1 รายการ เป็นเงิน 33,678,142 บาท (บริษัท แอ็ด อินเด็กซ์ จำกัด มี น.ส.สุมิตรา อิงคผาติ เป็นกรรมการ) ระบุว่า “เป็นเงินกู้ยืมโดยไม่คิดดอกเบี้ย บริษัทกู้เพื่อใช้หมุนเวียนภายในกิจการและไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน”
ไม่ปรากฏว่ามีรายการ “เงินกู้ยืมจากบุคคลอื่น”แต่อย่างใด (ขณะที่ในตั๋วสัญญาใช้เงินที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์แสดงต่อ ป.ป.ช. กลับระบุว่า ปีนี้มีเงินกู้ยืม 20 ล้านบาท)
ขณะที่ยอดเงินให้ “กู้ยืมจากบุคคลอื่น 30 ล้านบาท”กลับมาถูกบันทึกไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินปี 2550
ซึ่งในปีงบการเงิน 2550 มีรายการ “เงินกู้ยืม” 2 รายการ
1. เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน 5,319,207 บาท (ปี 2549 มีจำนวน 29,664,530 บาท)
2. เงินกู้ยืมจากบุคคลอื่น 30,000,000 บาท ระบุว่าคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 2.50-3.75 ต่อปี
ส่วน“เงินกู้ยืมระยะยาวจากกรรมการ” มิได้ระบุจำนวนไว้ (ในปี 2549 ระบุจำนวน 33,678,142 บาท) กล่าวแต่เพียงว่า “เป็นเงินกู้ยืมโดยไม่คิดดอกเบี้ย บริษัทกู้เพื่อใช้หมุนเวียนภายในกิจการและไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน”
เห็นได้ว่ายอดเงิน“กู้ยืมจากบุคคลอื่น 30 ล้านบาท”มาปรากฏในหมายเหตุประกอบงบการเงินปี 2550
ประเด็นนี้ จากการตรวจสอบรอบบัญชีงบการเงิน บริษัท แอ็ด อินเด็กซ์ สิ้นสุดวันที่ 30 เมษายน 2549 เมื่อเงินให้กู้ยืมเกิดขึ้นในเดือนตุลาคม 2549 และมีนาคม2550 จึงเป็นไปได้ต้องนำบันทึกไว้ในถัดมา คือปี 2550
4.อัตราดอกเบี้ย เงินให้กู้ยืมจำนวน 30 ล้านบาท ในตั๋วสัญญาใช้เงิน 3 ฉบับ ระบุว่า
“ดอกเบี้ยในอัตราเงินฝากประจำ 1 ปี ของธนาคารกรุงไทย”
ทว่าบริษัท แอ็ด อินเด็กซ์ จำกัดกลับบันทึกในหมายเหตุประกอบงบการเงิน แต่ละปี “ไม่ตรงกัน” กล่าวคือ
หมายเหตุประกอบงบการเงินวันที่ 30 เมษายน 2550 ระบุ “เงินกู้ยืมจากบุคคลอื่น คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 2.50-3.75 ต่อปี”
หมายเหตุประกอบงบการเงิน วันที่ 30 เมษายน 2551 ระบุว่า “เงินกู้ยืมจากบุคคลอื่น คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 2.50-3.75 ต่อปี”
หมายเหตุประกอบงบการเงิน วันที่ 30 เมษายน 2552 ระบุว่า “เงินกู้ยืมจากบุคคลอื่น คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1-3 ต่อปี”
หมายเหตุประกอบงบการเงิน วันที่ 30 เมษายน 2553 ระบุว่า “คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 0.75 -1 ต่อปี (ปี 2552:ร้อยละ 1-3 ต่อปี)”
หมายเหตุประกอบงบการเงิน วันที่ 30 เมษายน 2554 ระบุว่า “คิดดอกเบี้ยตามประกาศอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 1 ปี ของสถาบันการเงิน”
เห็นได้ว่า อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมเงิน 30 ล้านบาท “คิดดอกเบี้ยตามประกาศอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 1 ปี ของสถาบันการเงิน” (ตามอัตราดอกเบี้ยที่ระบุในตั๋วสัญญาใช้เงิน) กับอัตราดอกเบี้ยที่มีการบันทึกในหมายเหตุประกอบงบการเงินของบริษัท แอ็ด อินเด็กซ์ จำกัด เพิ่งมีอัตราดอกเบี้ย“ตรงกัน” คือ “คิดดอกเบี้ยตามประกาศอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 1 ปี ของสถาบันการเงิน” เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2554
และถ้าดู “ดอกเบี้ยจ่าย” ที่ปรากฏในงบกำไรขาดทุนของบริษัทพบว่า มีตัวเลขสูงสุดในช่วงปี 2550 จำนวน 1,199,203 บาท ต่ำสุดในช่วงปี 2553 จำนวน 281,712 บาท (ดูตาราง)
น่าสังเกตว่า ระหว่าง ปี 2552-2553 อัตราดอกเบี้ยค้างจ่ายแตกต่างกันค่อนข้างมาก
5.สำนักงานใหญ่ บริษัท แอ็ด อินเด็กซ์ จำกัด แจ้งข้อมูลต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ตั้งอยู่เลขที่ 73 อาคารเอ็มลิงค์ ชั้น 5 ซอยสุขุมวิท 62 ถนนสุขุมวิท แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพฯ
ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา เดินทางไปตรวจสอบ (www.isranwes.org) ที่ชั้น 5 อาคารเอ็มลิงค์ ไม่พบป้ายชื่อที่ตั้งบริษัท บริษัท แอ็ด อินเด็กซ์ จำกัด กลับเป็นสถานที่ตั้ง บริษัท พอร์ทัลเน็ท จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือบริษัท เอ็ม ลิงค์ เอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
ล่าสุดในเอกสารของบริษัทปี 2554 บริษัท แอ็ด อินเด็กซ์ จำกัด แจ้งว่าได้เพิ่มสำนักงานสาขา 2 แห่ง แห่งแรก เลขที่ 200 หมู่ที่ 7 ถนนบาง- ตราด ต.บางเสาธง อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ แห่งที่สอง เลขที่ 61/1 หมู่ ที่ 7 ถนนบาง- ตราด ต.บางเสาธง อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ แต่ไม่ได้แจ้งเปลี่ยนแปลงที่ตั้งสำนักงานใหญ่
น่าสังเกตว่า การที่บริษัทแจ้งว่ามีสำนักงาน สาขา 2 แห่ง แต่กลับไม่ปรากฏตัวตนสำนักงานใหญ่ชัดเจน
ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับการตรวจสอบข้อเท็จจริงของ ป.ป.ช.
credit: http://www.isranews.org/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7/item/20074-%E0%B8%9B%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99.html
=====================================================================
ประเด็นคือว่า ผมอ่านแล้ว ลักษณะการทำธุรกิจที่ขาดทุนมาตลอด เมื่อมีการให้กู้ยืม เสมือนหนึ่งที่ให้กู้ยืม มิได้มาจากการทำธุรกิจอ่ะคาฟ
ประเด็นคือว่า ข่าวนี้ออกมาและปัจจุบันก็ถึงมือ ป.ป.ช. มีรายไหนบ้างที่รอดอ่ะ ผมว่าน้อยนะ
ประเด็นคือว่า มีข่าวเรื่องเขต 3 ที่เกษมประกาศลาออก แล้วการส่งผู้เลือกตั้งคนใหม่ คือ ด......(สงสัยว่า คนเชียงใหม่คิดอย่างไร ถ้าตระกูลหนึ่งต้องคำพิพากษาด้วยเหตุผลใดก็ตาม แล้วมูลมีความเป็นจริง ยังอยากได้อีกหรือคาฟ แบบว่าสงกะสัยอ่ะ)
ประเด็นนี้สำคัญ : จาก monitoring การบริหารราชการแผ่นดินของยิ่งลักษณ์ ไม่มีความโดดเด่นเชิงศักยภาพแต่อย่างใด การที่ยิ่งลักษณ์เสมือนไม่จริงจังอะไร ต่อข้อเรียกร้องของใครบางคน พูดง่ายๆ ก็คือ ทำสำเร็จหรือไม่ก็ let it be นำไปสู่ การเกิดปัญหาว่าด้วยบุคคลกับบุคคล จริงหรือไม่ และถ้าเธอต้องเป็นหนึ่งในหิ่งห้อยที่อับแสง คงไม่ใช่เรื่องที่ผิดตามคาดแต่อย่างใด แปลกจุงเบย ตระกูลนี้ มีแต่เรื่องเงินๆทองๆมายุ่งเกี่ยวทั้งนั้น แหม....น่าจะเอาไปให้คนที่เขายากจน แบบตั้งเป็นมูลนิธิ บ้างก็ดีเน่อะ รวยแล้วเหนียวอ่ะป่าวเนี่ย อิอิๆๆๆๆ