คำว่า วิญญาณ นี้ความหมายในพุทธศาสนาจะหมายถึง การรับรู้ หรือ แจ้ง คือเป็นกิริยาที่กำลังรับรู้สิ่งต่างๆอยู่ โดยวิญญาณนี้จะต้องอาศัยอายตนะภายใน (สิ่งเชื่อมต่ออันเป็นภายในซึ่งมี ๖ อายตนะ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ที่ยังดีอยู่และทำงาน มากระทบกับอายตนะภายนอก (สิ่งเชื่อมต่ออันเป็นภายนอก ซึ่งมี ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ ธรรมารมณ์) จึงจะเกิดขึ้นมาได้ (อย่างเช่น เมื่อตามากระทบกับรูป ก็จะเกิดวิญญาณทางตา หรือการรับรู้รูป หรือการเห็นภาพ ขึ้นมา เป็นต้น) เมื่อไม่มีอายตนะภายในหรืออายตนะภายนอก วิญญาณก็จะไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นอยู่ก็จะดับหายไป (อย่างเช่น เมื่อตาบอด หรือ หลับตา หรือลืมตาแต่ไม่มีแสง ก็จะไม่เห็นอะไร) เหมือนแผงโซลาร์เซลล์ที่กระทบแสงอาทิตย์ก็จะเกิดพลังงานไฟฟ้าขึ้นมาได้ (ถ้าวิญญาณที่หมายถึง จิต หรือ ผี ที่สามารถออกจากร่างกายคนเราที่ตายไปแล้วได้นั้นไม่ใช่ความหมายในพุทธศาสนา แต่เป็นความหมายของอัตตาในศาสนาพราหมณ์)
อายตนะภายในนี้ก็ต้องอาศัยร่างกายของสิ่งที่ยังมีชีวิตเพื่อเกิดขึ้น ซึ่งสิ่งที่มีชีวิตก็ได้แก่ คน สัตว์ พืช ซึ่งทั้งคนและสัตว์เราก็พอจะสังเกตุเห็นได้ว่ามีอายตนะภายใน แต่พืชนั้นจะสังเกตุเห็นได้ยาก โดยเราจะสังเกตุได้จากการที่พืชบางชนิดมีการรับรู้ที่เร็วจนเราเห็นได้ อย่างเช่น ต้นไมยราฟที่เวลาเราไปถูกต้นของมันแรงๆ มันก็จะหุบกิ่งหุบใบของมันทันที หรือต้นไม้ที่จับแมลงกินเวลาแมลงเข้าไปในปากของมัน มันก็จะหุบปากของมันงับเอาแมลงเข้าไปแล้วปล่อยน้ำย่อยออกมาย่อยแมลงเพื่อกินเป็นอาหาร ซึ่งแม้พืชทุกชนิดก็มีการเคลื่อนไหวแต่ช้ามากจนต้องใช้การบันทึกภาพติดต่อกันนานๆแล้วเอามาฉายให้เร็วขึ้น เราจึงจะเห็นว่ามันก็เคลื่อนไหวได้ ซึ่งนี่ก็แสดงถึงว่าพืชก็มีการรับรู้หรือวิญญาณเหมือนกับคนเรา
เมื่อพืชก็มีวิญญาณ(การรับรู้) ซึ่งเมื่อมีการรับรู้ ก็ต้องมีความรู้สึก(เวทนา) เมื่อมีความรู้สึก ก็ต้องมีการจำสิ่งที่รู้สึกได้(สัญญา) เมื่อมีการจำสิ่งที่รู้สึกได้ ก็ต้องมีการคิดปรุงแต่งได้(สังขาร) ดังนั้นแสดงว่าพืชก็ต้องมีชีวิตหรือขันธ์ ๕ เหมือนกับคนและสัตว์ เพียงแต่ว่ามันอาจจะเป็นขันธ์หรือชีวิตที่หยาบกว่าของคนและสัตว์เท่านั้น ซึ่งในวินัยของพระสงฆ์นั้นพระพุทธเจ้าทรงปรับอาบัติภิกษุที่พรากของเขียว(ทำลายพืช)เท่ากับทำลายชีวิตสัตว์เท่ากัน (คือปราจิตตีย์เหมือนกัน)
เมื่อเราเข้าใจแล้วว่า แม้พืชก็มีชีวิตไม่ต่างอะไรกับสัตว์และคน ดังนั้นเราจึงควรรักพืชเหมือนกับรักสัตว์และคน ไม่เบียดเบียนพืชโดยไม่จำเป็น(เราจำเป็นต้องกินอาหารแต่กินพืชเท่าที่จำเป็น) แม้สัตว์ก็ไม่ควรเบียดเบียน (เราไม่จำเป็นต้องกินเนื้อสัตว์ก็ได้เพราะไม่จำเป็น) ถ้าเราเบียดเบียนพืชและสัตว์ โดยไม่จำเป็น อย่างที่คนเรากำลังกระทำกันอยู่ด้วยความโลภอย่างไร้เมตตา ชีวิตของเราก็จะมีแต่ความเดือดร้อนวุ่นวายอย่างไม่รู้จักจบสิ้น อย่างที่กำลังเป็นกันอยู่ในโลกปัจจุบัน และถ้าคนเรายังไม่หยุดการเบียดเบียนพืชและสัตว์กันอย่างมโหราฬเช่นนี้ ไม่ช้าความพินาศก็จะบังเกิดแก่คนทั้งโลกอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง แต่ถ้าเราจะรักและไม่เบียดเบียนพืชและสัตว์ สันติสุขก็จะบังเกิดแก่เราทุกคน และโลกก็จะมีสันติภาพ
แม้พืชก็มีวิญญาณ
อายตนะภายในนี้ก็ต้องอาศัยร่างกายของสิ่งที่ยังมีชีวิตเพื่อเกิดขึ้น ซึ่งสิ่งที่มีชีวิตก็ได้แก่ คน สัตว์ พืช ซึ่งทั้งคนและสัตว์เราก็พอจะสังเกตุเห็นได้ว่ามีอายตนะภายใน แต่พืชนั้นจะสังเกตุเห็นได้ยาก โดยเราจะสังเกตุได้จากการที่พืชบางชนิดมีการรับรู้ที่เร็วจนเราเห็นได้ อย่างเช่น ต้นไมยราฟที่เวลาเราไปถูกต้นของมันแรงๆ มันก็จะหุบกิ่งหุบใบของมันทันที หรือต้นไม้ที่จับแมลงกินเวลาแมลงเข้าไปในปากของมัน มันก็จะหุบปากของมันงับเอาแมลงเข้าไปแล้วปล่อยน้ำย่อยออกมาย่อยแมลงเพื่อกินเป็นอาหาร ซึ่งแม้พืชทุกชนิดก็มีการเคลื่อนไหวแต่ช้ามากจนต้องใช้การบันทึกภาพติดต่อกันนานๆแล้วเอามาฉายให้เร็วขึ้น เราจึงจะเห็นว่ามันก็เคลื่อนไหวได้ ซึ่งนี่ก็แสดงถึงว่าพืชก็มีการรับรู้หรือวิญญาณเหมือนกับคนเรา
เมื่อพืชก็มีวิญญาณ(การรับรู้) ซึ่งเมื่อมีการรับรู้ ก็ต้องมีความรู้สึก(เวทนา) เมื่อมีความรู้สึก ก็ต้องมีการจำสิ่งที่รู้สึกได้(สัญญา) เมื่อมีการจำสิ่งที่รู้สึกได้ ก็ต้องมีการคิดปรุงแต่งได้(สังขาร) ดังนั้นแสดงว่าพืชก็ต้องมีชีวิตหรือขันธ์ ๕ เหมือนกับคนและสัตว์ เพียงแต่ว่ามันอาจจะเป็นขันธ์หรือชีวิตที่หยาบกว่าของคนและสัตว์เท่านั้น ซึ่งในวินัยของพระสงฆ์นั้นพระพุทธเจ้าทรงปรับอาบัติภิกษุที่พรากของเขียว(ทำลายพืช)เท่ากับทำลายชีวิตสัตว์เท่ากัน (คือปราจิตตีย์เหมือนกัน)
เมื่อเราเข้าใจแล้วว่า แม้พืชก็มีชีวิตไม่ต่างอะไรกับสัตว์และคน ดังนั้นเราจึงควรรักพืชเหมือนกับรักสัตว์และคน ไม่เบียดเบียนพืชโดยไม่จำเป็น(เราจำเป็นต้องกินอาหารแต่กินพืชเท่าที่จำเป็น) แม้สัตว์ก็ไม่ควรเบียดเบียน (เราไม่จำเป็นต้องกินเนื้อสัตว์ก็ได้เพราะไม่จำเป็น) ถ้าเราเบียดเบียนพืชและสัตว์ โดยไม่จำเป็น อย่างที่คนเรากำลังกระทำกันอยู่ด้วยความโลภอย่างไร้เมตตา ชีวิตของเราก็จะมีแต่ความเดือดร้อนวุ่นวายอย่างไม่รู้จักจบสิ้น อย่างที่กำลังเป็นกันอยู่ในโลกปัจจุบัน และถ้าคนเรายังไม่หยุดการเบียดเบียนพืชและสัตว์กันอย่างมโหราฬเช่นนี้ ไม่ช้าความพินาศก็จะบังเกิดแก่คนทั้งโลกอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง แต่ถ้าเราจะรักและไม่เบียดเบียนพืชและสัตว์ สันติสุขก็จะบังเกิดแก่เราทุกคน และโลกก็จะมีสันติภาพ