คำสาปจากหลวงธำรงค์นาวาสวัสติ์ อดีตนายกฯ ต่อพรรคประชาธิปัตย์
นี่เป็นเรื่องเล่าที่ไม่ค่อยจะแพร่หลายนัก และเป็นการอ้างว่าเรื่องราวทั้งหมดนับจากนี้ เป็นเรื่องที่ได้มาจากการบอกเล่าของอดีตนักหนังสือพิมพ์ท่านหนึ่ง ที่บังเอิญได้อยู่ใน เหตุการณ์ระหว่างที่คณะรัฐประหาร 2490 เตรียมเข้าจับกุมหลวงธำรงค์ นาวาสวัสดิ์
ผมไม่ยืนยันว่าทั้งหมดนี้จะเป็นเรื่องจริงหรือเท็จ และขอให้พวกเราอ่านด้วยวิจารณญาณ และกรุณาวิจารณ์ด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากหลายท่านที่มีส่วนในเรื่องราวนี้ได้ถึงแก่ อสัญกรรมไปแล้วครับ
เหตุการณ์เริ่มขึ้นในเดือน ต.ค. 2490 กลุ่มนายทหารซึ่งประกอบด้วย น.อ.กาจ เก่งระดมยิง, พ.ท.ก้าน จำนงภูมิเวท, ร.อ.ขุนปรีชารณเสฏฐ์, พ.อ.ศิลป์ รัตนพิบูลย์ชัย ได้ไปชักชวนให้ พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ ทำการรัฐประหารยึดอำนาจจากหลวงธำรงค์ นาวาสวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ในขณะนั้น แต่ อ.ปรีดี ซึ่งเป็นพันธมิตรกับหลวงธำรงค์ ฯ ได้ระแคะระคายถึงเรื่องนี้และได้ วางแผนกับหลวงธำรงค์ ฯ เพื่อเข้าจับกุมคณะผู้ก่อการรัฐประหารในเช้ามืดของวันที่ 9 พ.ย. 2490
แต่เรื่องจริงกลับเป็นเสียยิ่งกว่านิยาย .. ข่าวการเตรียมการจับกุมคณะผู้ก่อการ ฯ ก็ได้รั่ว ไปถึงกลุ่มของพล.ท.ผิน ชุณหะวัณ เช่นกัน ทางกลุ่มคณะรัฐประหารจึงต้องชิงลงมือ ก่อน โดยบุกเข้ายึดอำนาจในคืนวันที่ 7 พ.ย. 2490 ก่อนหน้าแผนของรัฐบาล 2 วัน คณะทหาร กลุ่มนึงได้ไปควบคุมตัว อ.ปรีดี แต่ อ.ปรีดีได้หลบหนีไปก่อนหน้าแล้ว ขณะที่ทหารอีกส่วนหนึ่ง ได้มุ่งหน้าไปจับกุม หลวงธำรงค์ ฯ ที่สวนอัมพร
★ทำไมต้องเป็นสวนอัมพร ?★
คืนวันที่ 7 พ.ย. 2490 นั้น พรรคประชาธิปัตย์ได้จัดงานราตรีการกุศล “เมตตาบันเทิง” ขึ้น ที่สวนอัมพร หลวงธำรงค์ ฯ ได้เป็นแขกรับเชิญของนายควง และในคืนนั้นได้เกิด ปรากฏการณ์ พิเศษขึ้น โดยหลวงธำรงค์ ฯ และนายควง ผู้ซึ่งเป็นขมิ้นกับปูนอย่างถาวรได้ร่วมกันนั่งรถสามล้อถีบ คันเดียวกัน ซึ่งมี ดร.โชติ คุ้มพันธุ์ อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปไตย ซึ่งได้ย้ายเข้ามาเป็น ส.ส. ประชาธิปัตย์เป็นผู้ถีบรถสามล้อพาวนไปรอบสวนอัมพร
แขกเหรื่อและนักข่าวที่มาร่วมงานต่างก็ยินดี คิดว่าทั้งสองขั้วคงจะประสานกันได้แล้ว แต่ไม่ทันจะได้เต้นรำ นายทหารเรือคนสนิทของหลวงธำรงค์ ฯ ได้เข้ามากระซิบว่า คณะรัฐประหารกำลังจะเข้ามาจับกุมตัวหลวงธำรงค์ ฯ ขอให้หลบหนีไปเสียแต่ตอนนี้ เมื่อหลวงธำรงค์ได้ทราบข่าวนี้ ท่านก็ปักใจในทันทีว่านายควง อภัยวงศ์ ต้องมีส่วนรู้เห็น กับคณะรัฐประหาร และร่วมลวงให้ท่านมาถูกจับที่สวนอัมพรซึ่งเป็นการสะดวกสำหรับ คณะรัฐประหารเนื่องจากไม่มีกองกำลังของรัฐบาลคอย อารักขาท่าน
ไคลแมกซ์ของเรื่องนี้อยู่ตรงช่วงเสี้ยวของนาทีก่อนที่หลวงธำรงค์ ฯ จะหลบหนีจากสวนอัมพร มีนักข่าวจากหนังสือพิมพ์การเมืองรายสัปดาห์ได้ยินหลวงธำรงค์ ฯ หันมากล่าวกับนายควง
ก่อนที่จะจากไปว่า
“ผมเสียใจที่เราทั้งสองไม่มีโอกาสจะร่วมกันสร้างชาติให้วัฒนาต่อไปได้ และผมไม่เคยคิดว่า นักการเมืองที่ทรงเกียรติอย่างท่านจะมีเล่ห์กลมากมายอย่างนี้ ผมไม่เสียดายในตำแหน่งของผมแม้แต่น้อย แต่ผมเสียดายที่ประเทศของเราไม่มีโอกาสให้ประชาธิปไตยได้อยู่บนแผ่นดินนี้นานนัก
และ ผมชิงชังเหลือเกินกับผู้ที่มุ่งหาประโยชน์ใส่ตัวด้วยการหักหลังและตระบัดสัตย์ที่เคยให้ไว้แก่ ประชาชน ผมขอสาปแช่งทุกคนที่มีส่วนทำให้ประชาชนและแผ่นดินนี้ต้องย้อนกลับไปสู่อำนาจศักดินาที่กดขี่และตักตวง มันผู้ใดคิดคดทรยศต่อ ประชาชนเพื่อหวังในอำนาจบารมี ผมขอให้มัน มีอันเป็นไปต้องทุกข์ทรมานด้วยสิ้นลมก่อนจะสิ้นใจ และพบกับความวิบัติ
ล่มสลายไปด้วยน้ำมือของประชาชนภายใน 7 ชั่วคน”
นั่นคือบันทึกถ้อยคำสุดท้ายของหลวงธำรงค์ นาวาสวัสดิ์ ที่นักข่าวท่านนั้นบันทึกไว้ ก่อนที่หลวงธำรงค์ ฯ จะหลบหนีไปลี้ภัยที่ฮ่องกง ผมไม่ทราบว่าคำสาปแช่งของหลวงธำรงค์ ฯ ท่านจะเป็นจริงขึ้นมาหรือไม่ แต่ก็ให้น่าแปลกใจที่ในเวลาต่อมา นายควง อภัยวงศ์ ได้ถึงแก่อสัญกรรมลง ในวัย 66 ปี ด้วยโรคทางเดินหายใจขัดข้อง
ท่านต่อมาก็ได้แก่ มรว.เสนีย์ ปราโมช ซึ่งเชื่อกันว่าท่านมีส่วนในการร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับ”ใต้ตุ่ม” ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่คณะรัฐประหาร 2490 ได้นำออกประกาศใช้หลังจากที่ ได้ทำรัฐประหารสำเร็จ ซึ่งในเวลาต่อมาท่าน มรว. เสนีย์ ปราโมช ป่วยเป็นโรคหลอดลม อักเสบเรื้อรังอยู่นานหลายปี และได้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลกรุงเทพ จนถึงแก่อสัญกรรม ในวัย 92 ปี ด้วยโรคถุงลมโป่งพอง
ยังมีอีกหลายเหตุการณ์ที่ฟังแล้วดูเหมือนจะสอดคล้องและทำให้อดคิดไม่ได้ว่า อำนาจความเคียแค้นที่รุนแรงจนกลายเป็นคำสาปแช่งนั้น อาจจะมีอยู่จริง และยังคงดำเนินต่อไปอย่างซื่อสัตย์จนทุกวันนี้ และที่ใกล้ตัวเราที่สุดในขณะนี้ ก็ได้แก่ เรื่องอนาคตของพรรคประชาธิปัตย์เองซึ่งดำเนินงานทางการเมืองผิดพลาด จนเป็นเหตุให้ประชาชนจำนวนไม่น้อยเกลียดชังและเบื่อหน่ายกับรัฐบาลภายใต้ การนำของพรรคประชาธิปัตย์ รวมทั้งคดียุบพรรคที่กำลังดำเนินอยู่ถึง 2 คดีไล่เลี่ยกัน ทำให้อนาคตของพรรคประชาธิปัตย์เริ่มอยู่บนความไม่แน่นอน
และสิ่งที่ผมอยากจะเรียนให้พวกเราจับตาดูในเรื่องนี้เป็นพิเศษก็คือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ คนที่ 7 !!
ผมจึงอดขนลุกไม่ได้กับประโยคสุดท้ายในคำสาปแช่งของหลวงธำรงค์☽
“และพบกับความวิบัติ
ล่มสลายไปด้วยน้ำมือของประชาชนภายใน 7 ชั่วคน”
nopeter.org/forum/index.php?topic=1598.0;wap2
ปชป.บอยคอตการเลือกตั้งหรือว่าคำสาบแช่งจะเป็นจริง
นี่เป็นเรื่องเล่าที่ไม่ค่อยจะแพร่หลายนัก และเป็นการอ้างว่าเรื่องราวทั้งหมดนับจากนี้ เป็นเรื่องที่ได้มาจากการบอกเล่าของอดีตนักหนังสือพิมพ์ท่านหนึ่ง ที่บังเอิญได้อยู่ใน เหตุการณ์ระหว่างที่คณะรัฐประหาร 2490 เตรียมเข้าจับกุมหลวงธำรงค์ นาวาสวัสดิ์
ผมไม่ยืนยันว่าทั้งหมดนี้จะเป็นเรื่องจริงหรือเท็จ และขอให้พวกเราอ่านด้วยวิจารณญาณ และกรุณาวิจารณ์ด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากหลายท่านที่มีส่วนในเรื่องราวนี้ได้ถึงแก่ อสัญกรรมไปแล้วครับ
เหตุการณ์เริ่มขึ้นในเดือน ต.ค. 2490 กลุ่มนายทหารซึ่งประกอบด้วย น.อ.กาจ เก่งระดมยิง, พ.ท.ก้าน จำนงภูมิเวท, ร.อ.ขุนปรีชารณเสฏฐ์, พ.อ.ศิลป์ รัตนพิบูลย์ชัย ได้ไปชักชวนให้ พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ ทำการรัฐประหารยึดอำนาจจากหลวงธำรงค์ นาวาสวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ในขณะนั้น แต่ อ.ปรีดี ซึ่งเป็นพันธมิตรกับหลวงธำรงค์ ฯ ได้ระแคะระคายถึงเรื่องนี้และได้ วางแผนกับหลวงธำรงค์ ฯ เพื่อเข้าจับกุมคณะผู้ก่อการรัฐประหารในเช้ามืดของวันที่ 9 พ.ย. 2490
แต่เรื่องจริงกลับเป็นเสียยิ่งกว่านิยาย .. ข่าวการเตรียมการจับกุมคณะผู้ก่อการ ฯ ก็ได้รั่ว ไปถึงกลุ่มของพล.ท.ผิน ชุณหะวัณ เช่นกัน ทางกลุ่มคณะรัฐประหารจึงต้องชิงลงมือ ก่อน โดยบุกเข้ายึดอำนาจในคืนวันที่ 7 พ.ย. 2490 ก่อนหน้าแผนของรัฐบาล 2 วัน คณะทหาร กลุ่มนึงได้ไปควบคุมตัว อ.ปรีดี แต่ อ.ปรีดีได้หลบหนีไปก่อนหน้าแล้ว ขณะที่ทหารอีกส่วนหนึ่ง ได้มุ่งหน้าไปจับกุม หลวงธำรงค์ ฯ ที่สวนอัมพร
★ทำไมต้องเป็นสวนอัมพร ?★
คืนวันที่ 7 พ.ย. 2490 นั้น พรรคประชาธิปัตย์ได้จัดงานราตรีการกุศล “เมตตาบันเทิง” ขึ้น ที่สวนอัมพร หลวงธำรงค์ ฯ ได้เป็นแขกรับเชิญของนายควง และในคืนนั้นได้เกิด ปรากฏการณ์ พิเศษขึ้น โดยหลวงธำรงค์ ฯ และนายควง ผู้ซึ่งเป็นขมิ้นกับปูนอย่างถาวรได้ร่วมกันนั่งรถสามล้อถีบ คันเดียวกัน ซึ่งมี ดร.โชติ คุ้มพันธุ์ อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปไตย ซึ่งได้ย้ายเข้ามาเป็น ส.ส. ประชาธิปัตย์เป็นผู้ถีบรถสามล้อพาวนไปรอบสวนอัมพร
แขกเหรื่อและนักข่าวที่มาร่วมงานต่างก็ยินดี คิดว่าทั้งสองขั้วคงจะประสานกันได้แล้ว แต่ไม่ทันจะได้เต้นรำ นายทหารเรือคนสนิทของหลวงธำรงค์ ฯ ได้เข้ามากระซิบว่า คณะรัฐประหารกำลังจะเข้ามาจับกุมตัวหลวงธำรงค์ ฯ ขอให้หลบหนีไปเสียแต่ตอนนี้ เมื่อหลวงธำรงค์ได้ทราบข่าวนี้ ท่านก็ปักใจในทันทีว่านายควง อภัยวงศ์ ต้องมีส่วนรู้เห็น กับคณะรัฐประหาร และร่วมลวงให้ท่านมาถูกจับที่สวนอัมพรซึ่งเป็นการสะดวกสำหรับ คณะรัฐประหารเนื่องจากไม่มีกองกำลังของรัฐบาลคอย อารักขาท่าน
ไคลแมกซ์ของเรื่องนี้อยู่ตรงช่วงเสี้ยวของนาทีก่อนที่หลวงธำรงค์ ฯ จะหลบหนีจากสวนอัมพร มีนักข่าวจากหนังสือพิมพ์การเมืองรายสัปดาห์ได้ยินหลวงธำรงค์ ฯ หันมากล่าวกับนายควง
ก่อนที่จะจากไปว่า
“ผมเสียใจที่เราทั้งสองไม่มีโอกาสจะร่วมกันสร้างชาติให้วัฒนาต่อไปได้ และผมไม่เคยคิดว่า นักการเมืองที่ทรงเกียรติอย่างท่านจะมีเล่ห์กลมากมายอย่างนี้ ผมไม่เสียดายในตำแหน่งของผมแม้แต่น้อย แต่ผมเสียดายที่ประเทศของเราไม่มีโอกาสให้ประชาธิปไตยได้อยู่บนแผ่นดินนี้นานนัก
และ ผมชิงชังเหลือเกินกับผู้ที่มุ่งหาประโยชน์ใส่ตัวด้วยการหักหลังและตระบัดสัตย์ที่เคยให้ไว้แก่ ประชาชน ผมขอสาปแช่งทุกคนที่มีส่วนทำให้ประชาชนและแผ่นดินนี้ต้องย้อนกลับไปสู่อำนาจศักดินาที่กดขี่และตักตวง มันผู้ใดคิดคดทรยศต่อ ประชาชนเพื่อหวังในอำนาจบารมี ผมขอให้มัน มีอันเป็นไปต้องทุกข์ทรมานด้วยสิ้นลมก่อนจะสิ้นใจ และพบกับความวิบัติล่มสลายไปด้วยน้ำมือของประชาชนภายใน 7 ชั่วคน”
นั่นคือบันทึกถ้อยคำสุดท้ายของหลวงธำรงค์ นาวาสวัสดิ์ ที่นักข่าวท่านนั้นบันทึกไว้ ก่อนที่หลวงธำรงค์ ฯ จะหลบหนีไปลี้ภัยที่ฮ่องกง ผมไม่ทราบว่าคำสาปแช่งของหลวงธำรงค์ ฯ ท่านจะเป็นจริงขึ้นมาหรือไม่ แต่ก็ให้น่าแปลกใจที่ในเวลาต่อมา นายควง อภัยวงศ์ ได้ถึงแก่อสัญกรรมลง ในวัย 66 ปี ด้วยโรคทางเดินหายใจขัดข้อง
ท่านต่อมาก็ได้แก่ มรว.เสนีย์ ปราโมช ซึ่งเชื่อกันว่าท่านมีส่วนในการร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับ”ใต้ตุ่ม” ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่คณะรัฐประหาร 2490 ได้นำออกประกาศใช้หลังจากที่ ได้ทำรัฐประหารสำเร็จ ซึ่งในเวลาต่อมาท่าน มรว. เสนีย์ ปราโมช ป่วยเป็นโรคหลอดลม อักเสบเรื้อรังอยู่นานหลายปี และได้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลกรุงเทพ จนถึงแก่อสัญกรรม ในวัย 92 ปี ด้วยโรคถุงลมโป่งพอง
ยังมีอีกหลายเหตุการณ์ที่ฟังแล้วดูเหมือนจะสอดคล้องและทำให้อดคิดไม่ได้ว่า อำนาจความเคียแค้นที่รุนแรงจนกลายเป็นคำสาปแช่งนั้น อาจจะมีอยู่จริง และยังคงดำเนินต่อไปอย่างซื่อสัตย์จนทุกวันนี้ และที่ใกล้ตัวเราที่สุดในขณะนี้ ก็ได้แก่ เรื่องอนาคตของพรรคประชาธิปัตย์เองซึ่งดำเนินงานทางการเมืองผิดพลาด จนเป็นเหตุให้ประชาชนจำนวนไม่น้อยเกลียดชังและเบื่อหน่ายกับรัฐบาลภายใต้ การนำของพรรคประชาธิปัตย์ รวมทั้งคดียุบพรรคที่กำลังดำเนินอยู่ถึง 2 คดีไล่เลี่ยกัน ทำให้อนาคตของพรรคประชาธิปัตย์เริ่มอยู่บนความไม่แน่นอน
และสิ่งที่ผมอยากจะเรียนให้พวกเราจับตาดูในเรื่องนี้เป็นพิเศษก็คือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ คนที่ 7 !!
ผมจึงอดขนลุกไม่ได้กับประโยคสุดท้ายในคำสาปแช่งของหลวงธำรงค์☽
“และพบกับความวิบัติล่มสลายไปด้วยน้ำมือของประชาชนภายใน 7 ชั่วคน”
nopeter.org/forum/index.php?topic=1598.0;wap2