การแบ่งชนชั้นกีดกันไม่ให้คนที่อยู่ต่ำกว่าตนมีสิทธิมีเสียงในการเรียกร้อง นั้นหมายถึงเผด็จการ
แต่หากจะวัดกันที่ความต่างของคุณภาพพลเมือง เรามานับสิ่งที่ประชาชนสนใจต่อเรื่องการเมืองโดยวัดที่การใช้สิทธิดีกว่า ในการเลือกตั้งหากเมื่อเลือกผู้แทนได้แล้ว ในระบบปัจจุบัน สส.มักจะไม่กลับมาลงพื้นที่อีกจนกว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่ และการเข้าพบสสใแต่ละครั้ง ย่อมลำบากเหมือนไปพบมหาเสนาบดีผู้มีงานรัดตัวเสียเหลือเกิน(แต่มีเวลาไปนั่งชิวๆในรัฐสภาได้) ดังนั้นหากการเลือกตั้งที่ใช้งบประมาณ 3,817 ล้านบาท ในปี ๒๕๕๔ โดยตัวอย่างเช่น
กรุงเทพมหานคร มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 4.2 ล้านคน หน่วยเลือกตั้ง 6,506 หน่วย
และจังหวัดที่เล็กที่สุดอย่าง จังหวัดระนอง มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 112,516 ล้านคน หน่วยเลือกตั้ง 193 หน่วย
โดยค่าเฉลี่ย กทม. 1 หน่วยเลือกตั้ง รับรองประชาชนประมาณ 656 คน จังหวัดระนอง 1 หน่วยเลือกตั้ง รับรองประชาชนประมาณ 583 คน หรือก็คือ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศ 46,939,549 คน ตั้งจำนวนหน่วยขั้นต่ำไว้ที่ 500 คนต่อหน่วย จำเป็นต้องมีหน่วยเลือกตั้งอย่างน้อย 93,879 หน่วยทั่วประเทศ โดยเริ่มเลือกตั้งในเวลา ๘ นาฬิกา และสิ้นสุดในเวลา ๑๕ นาฬิกา โดยใช้งบประมาณ ต่อหนึ่งหน่วยเลือกตั้งที่ประมาณ ๔ หมื่นบาท หรืออาจต่ำกว่านั้น
เมื่อเอาตัวเลขราคา ๔ หมื่นบาท มานั่งคำนวนดู มีค่าใช้จ่ายเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นเบี้ยเลี้ยง 500 บาท ต่อวัน ค่าเช่าเต็น ค่าอุปกรณ์เครื่องเขียน ค่าบัตรเลือกตั้ง ค่าน้ำมันสำหรับยานพาหนะ ซึ่งเป็นระบบที่ไม่ได้ใช้เป็นประจำทุกวัน แต่เป็นระบบที่ใช้เป็นชั่วครั้งชั่วคราว
และระบบที่ว่านี้ ในสถาณการณ์ในแบบปัจจุบันนี้ หากสามารถระดมมวลชนได้ ๑ ล้านคนที่ถนนราชดำเนิน งบประมาณ 3,817 ล้านบาท จะมีมูลค่าเท่ากับ ๐ สตาง ในทันที และยังเกิดวาทะกรรมที่ว่า "3 แสนเสียงของกทม.แต่เป็นเสียงที่มีคุณภาพ ย่อมดีกว่า 15 ล้านเสียงในตจว. แต่ไร้คุณภาพ"
http://ppantip.com/topic/31373516
ทางแก้คืออะไร
ทางออกหนึ่งที่ผมเสนอ คือ เมื่อ พลเมือง และ หน้าที่ สัมพันธ์กัน สิทธิอันชอบธรรมย่อมบังเกิด
เมื่อเทียบดูแล้วหากเราเชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตยว่าเป็นระบอบที่ดีที่สุด ก็ควรเดินไปตามครรลองนั้น แต่ต้องอย่าลืมว่ารูปแบบที่ร้ายแรงที่สุดของระบอบประชาธิปไตย คือพวกมากลากไป ซึ่งเป็นอันตรายที่สุดต่อตนเองและคนอื่นรอบข้าง และบุคคลที่อันตรายที่สุดในระบอบนี้คือ คนที่สามารถชี้นำสังคม นำความเห็นของคนส่วนมากมาใช้ประโยชน์ได้ ยกตัวอย่างคือ ท่านปรีดี พนมยงค์ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ท่านต้องไปตายอยู่ต่างประเทศ เพราะบุคคลเช่นนี้สามารถทำในเกิดระบบเผด็จการรัฐสภาขึ้นได้ แต่เมื่อมองในอีกแง่หนึ่ง สิ่งนี้ก็สามารถทำให้ประเทศพัฒนาอย่างต่อเนื่องได้เหมือนอย่างที่ คุณทักษิณเคยกระทำในสมัยที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
แต่เราจะทำอย่างไรไม่ให้เกิดระบบเผด็จการรัฐสภาแต่สร้างเสถียรภาพในแก่รัฐบาลในทางเดียวกัน
คำตอบคือ การให้ภาคประชาชนมีอำนาจอย่างแท้จริงโดยไม่เป็นการผูดขาดอำนาจด้วยการอนุมานเอาว่าประชาชนเห็นชอบทุกอย่างที่ตนกระทำ ของระบบตัวแทนอย่าง สส. หรือพรรคการเมือง แต่สิ่งที่ตามมาคือการจัดลงประชามติแบบถี่ยิบ ต่อ ๑ สมัยในวาระการดำรงตำแหน่งทางกาารเมือง หากเป็นเช่นนั้น ค่าใช้ใจในงบประมาณประเทศจะถูกทุ้มลงไปให้เฉพาะการเเลือกตั้งเพียงอย่างเดียวเท่า ไม่เหลือเงินใช้ในการบริหารประเทศได้
หรือที่เขาเรียกว่า ประชาธิปไตยทางตรง โดยหาอ่านได้ที่
http://prachatai.com/journal/2008/09/18302
แต่สำหรับบ้านเมืองไทยเราต้องการมากกว่านั้น ด้วยการลงประชามติและเลือกตั้งทุกปักษ์ /ครั้งต่อเดือน โดยองค์ประกอบที่ต้องมีคือ
อย่างที่ ๑ ตู้คูหาเลือกตั้งออนไลน์ ที่จะสร้างบัตรลงคะแนนไม่เลือกเขต และต่อต้านการปลอมแปลง
อย่างที่ ๒ การสื่อสารสำหรับมติ ที่ประชาชนต้องเลือก ผ่านสื่อต่างๆ และที่สำคัญคือ App ที่จะเป็นตัวจำลองเสมือน ที่ใช้ในตู้คูหาเลือกตั้งออนไลน์ และรายงานผลได้แบบ Real Time
อย่างที่ ๓ ระบบวีดีโอของกล้องวงจรปิด ที่เป็นเครื่องดูแลความปลอดภัยของคูหาเลือกตั้ง ที่ไม่ได้ใช้เจ้าหน้าที่เป็นมนุษย์ และเปิดเป็นสาธารณะให้ประชาชนเข้ามาตรวจสอบได้
อย่างที่ ๔ กองกำลังป้องกันแฮกเกอร์แห่งชาติ มีพันธ์กิจ ๓ ประการ คือตรวจสอบความปลอดภัยของโลกไซเบอร์ ตักเตือนช่องทางอันไม่ปลอดภัย และโจมตีเองด้วยเพราะเตือนแล้วไม่ฟัง
แต่ถ้าหากการเลือกตั้งใช้ระบบอินเตอร์เน็ทและคอมพิวเตอร์แก้ไขข้อบกพร่องในประเด็นดังต่อไปนี้
1.ใช้ระบบการยืนยันตัวตนป้องกันการสวมสิทธิลงคะแนนแทน โดยการการใช้ระบบยืนยันตัวตนต่างๆ ที่ประชาชนไปลงทะเบียนไว้กับกกต.จังหวัด โดยจะให้เลือกได้ว่าจะใช้ระบบการยืนยันตัวตนกี่ชั้น นอกเหนือจากบัตรประชานชน ไม่ว่าจะเป็นเบอร์โทรศัพท์ที่กกต.จะส่ง SMS ไปยืนยันการใช้สิทธิ การสแกนลายนิ้วมือแบบเข้ารหัสดิจิตอล การสแกนลายม่านตา การจดจำเค้าโครงใบหน้า ระบบแปลงลายมือเป็นเป็นการกุญแจเข้ารหัส การใช้พลาสเวิร์ดที่ต่อต้านการถอดรหัสพร้อมกระดาษช่วยจำรหัสในตารางอักษรรหัสกุญแจ และอื่นเท่าที่ประชาชนจะนึกออก เพื่อเป็นกุญแจแสดงความเป็นตัวตนของประชาชนจริงๆ
2.การเพิ่มความถี่และลดค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้ง เพื่อที่ประชาชนจะสามารถกำกับดูแลสิทธิทางการเมืองได้อย่างเป็นอิสระทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน เมื่อประชาชนเห็นชอบไว้วางใจผู้แทนไปแล้ว สามารถถอนความไว้วางใจได้โดยผ่านการลงคะแนนความนิยมที่ถูกเช็คเดือนละครั้ง ป้องกันไม่ให้สส. กระทำสิ่งใดตามอำเภอใจตลอดวาระการดำรงตำแหน่งได้ และในอีกทางหนึ่งสิ่งนี้เป็นเครื่องช่วยผยุงเสถียรภาพของรัฐบาล หากโครงการของรัฐบาลถูกใจของประชาชน แต่มีการรวมหัวในระบบรัฐสภา ไม่อนุมัติโครงการนี้ รัฐบาลไม่จำเป็นต้องยุบสภา แต่สามารถทำประชามติโดยตรง เพื่อยกเลิกการคัดค้านของระบบรัฐสภาได้
3.การจำกัดพื้นที่เขตในการลงคะแนน อนุญาตให้ประชาชนสามารถเลือกลงคะแนนที่ใดก็ได้ในโลก ไม่ว่าจะเป็นหน่วยคูหาในราชอณาจักร หรือสถานฑูตไทยในรัฐต่างๆ โดยใบลงคะแนนสามารถพิมพ์ออกมาโดยจำแนกเขตเลือกตั้งได้ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนไม่ต้องกลับพื้นที่เพื่อไปเลือกตั้ง
4.ลดปัญหาในกระบวนการนับคะแนน ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย ซึ่งระบบจะมีการนับคะแนนซ้ำ ๓ ครั้ง ผ่านการส่งข้อมูลจากคูหาลงคะแนนแบบเรียลไทม์ ๑ ครั้ง ใช้เครื่องนับที่ศูนย์นับคะแนน กกต.จังหวัด ๑ ครั้ง และการนับมือในกรณีที่ข้อมูลจากเหาลงคะแนนไม่ตรงกับเครื่องนับคะแนนอีก ๑ ครั้ง พร้อมกับการพิสูจน์ดีเอ็นเอของบัตรลงคะแนน
5.การยืนยันผลการเลือกตั้งโดยยกระบบความปลอดภัยรอบคูหาเลือกตั้ง ที่ติดตั้งไว้ และดูแลความปลอดภัยด้วยกล่องวงจรปิดมากกว่า ๓ มุมมองมองขึ้นไป โดยระบบจะส่งภาพนิ่งจากเครื่องหรือวีดีโอตามแต่ความสะดวก พร้อมกับกล่องดำที่มีการบันทึกวีดีโอความละเอียดสูงโดยตรง ซึ่งเจ้าหน้าที่จะเก็บไปพร้อมบัตรเลือกตั้งอีกครั้ง เป็นการยืนยัน ๒ สถาน
ในทั้งนี้ ต่างประเทศนั้นมีการเลือกตั้งโดยระบบอิเล็กทรอนิกส์มาได้พักหนึ่งแล้ว และทางกกต.ก็มีการพัฒนาเครื่องลงคะแนนเลือกตั้งออกมาเป็นยุคที่ ๔ แล้ว โดยความรวมมือกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง รวมทั้ง บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด
โดยประกอบด้วย ๒ ส่วน คือ เครื่องลงคะแนน ซึ่งจะใช้สำหรับการลงคะแนนแทนการกาบัตรเลือกตั้ง โดยจะมีปุ่มแสดงหมายเลขผู้สมัครรับเลือกตั้ง ปุ่มแสดงความประสงค์ไม่ลงคะแนน และปุ่มยืนยันการลงคะแนน และเครื่องรวมคะแนน จะทำหน้าที่บันทึกและเก็บรวบรวมผลการลงคะแนนจากเครื่องลงคะแนนซึ่งส่งมาตามสาย และอย่างที่บอก สำนักวิจัยและพัฒนาการเลือกตั้ง นั้นมีการพัฒนามาถึงเครื่องต้นแบบที่ ๔ ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้
เมื่อ พลเมือง และ หน้าที่ สัมพันธ์กัน สิทธิอันชอบธรรมย่อมบังเกิด
แต่หากจะวัดกันที่ความต่างของคุณภาพพลเมือง เรามานับสิ่งที่ประชาชนสนใจต่อเรื่องการเมืองโดยวัดที่การใช้สิทธิดีกว่า ในการเลือกตั้งหากเมื่อเลือกผู้แทนได้แล้ว ในระบบปัจจุบัน สส.มักจะไม่กลับมาลงพื้นที่อีกจนกว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่ และการเข้าพบสสใแต่ละครั้ง ย่อมลำบากเหมือนไปพบมหาเสนาบดีผู้มีงานรัดตัวเสียเหลือเกิน(แต่มีเวลาไปนั่งชิวๆในรัฐสภาได้) ดังนั้นหากการเลือกตั้งที่ใช้งบประมาณ 3,817 ล้านบาท ในปี ๒๕๕๔ โดยตัวอย่างเช่น
กรุงเทพมหานคร มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 4.2 ล้านคน หน่วยเลือกตั้ง 6,506 หน่วย
และจังหวัดที่เล็กที่สุดอย่าง จังหวัดระนอง มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 112,516 ล้านคน หน่วยเลือกตั้ง 193 หน่วย
โดยค่าเฉลี่ย กทม. 1 หน่วยเลือกตั้ง รับรองประชาชนประมาณ 656 คน จังหวัดระนอง 1 หน่วยเลือกตั้ง รับรองประชาชนประมาณ 583 คน หรือก็คือ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศ 46,939,549 คน ตั้งจำนวนหน่วยขั้นต่ำไว้ที่ 500 คนต่อหน่วย จำเป็นต้องมีหน่วยเลือกตั้งอย่างน้อย 93,879 หน่วยทั่วประเทศ โดยเริ่มเลือกตั้งในเวลา ๘ นาฬิกา และสิ้นสุดในเวลา ๑๕ นาฬิกา โดยใช้งบประมาณ ต่อหนึ่งหน่วยเลือกตั้งที่ประมาณ ๔ หมื่นบาท หรืออาจต่ำกว่านั้น
เมื่อเอาตัวเลขราคา ๔ หมื่นบาท มานั่งคำนวนดู มีค่าใช้จ่ายเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นเบี้ยเลี้ยง 500 บาท ต่อวัน ค่าเช่าเต็น ค่าอุปกรณ์เครื่องเขียน ค่าบัตรเลือกตั้ง ค่าน้ำมันสำหรับยานพาหนะ ซึ่งเป็นระบบที่ไม่ได้ใช้เป็นประจำทุกวัน แต่เป็นระบบที่ใช้เป็นชั่วครั้งชั่วคราว
และระบบที่ว่านี้ ในสถาณการณ์ในแบบปัจจุบันนี้ หากสามารถระดมมวลชนได้ ๑ ล้านคนที่ถนนราชดำเนิน งบประมาณ 3,817 ล้านบาท จะมีมูลค่าเท่ากับ ๐ สตาง ในทันที และยังเกิดวาทะกรรมที่ว่า "3 แสนเสียงของกทม.แต่เป็นเสียงที่มีคุณภาพ ย่อมดีกว่า 15 ล้านเสียงในตจว. แต่ไร้คุณภาพ" http://ppantip.com/topic/31373516
ทางแก้คืออะไร
ทางออกหนึ่งที่ผมเสนอ คือ เมื่อ พลเมือง และ หน้าที่ สัมพันธ์กัน สิทธิอันชอบธรรมย่อมบังเกิด
เมื่อเทียบดูแล้วหากเราเชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตยว่าเป็นระบอบที่ดีที่สุด ก็ควรเดินไปตามครรลองนั้น แต่ต้องอย่าลืมว่ารูปแบบที่ร้ายแรงที่สุดของระบอบประชาธิปไตย คือพวกมากลากไป ซึ่งเป็นอันตรายที่สุดต่อตนเองและคนอื่นรอบข้าง และบุคคลที่อันตรายที่สุดในระบอบนี้คือ คนที่สามารถชี้นำสังคม นำความเห็นของคนส่วนมากมาใช้ประโยชน์ได้ ยกตัวอย่างคือ ท่านปรีดี พนมยงค์ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ท่านต้องไปตายอยู่ต่างประเทศ เพราะบุคคลเช่นนี้สามารถทำในเกิดระบบเผด็จการรัฐสภาขึ้นได้ แต่เมื่อมองในอีกแง่หนึ่ง สิ่งนี้ก็สามารถทำให้ประเทศพัฒนาอย่างต่อเนื่องได้เหมือนอย่างที่ คุณทักษิณเคยกระทำในสมัยที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
แต่เราจะทำอย่างไรไม่ให้เกิดระบบเผด็จการรัฐสภาแต่สร้างเสถียรภาพในแก่รัฐบาลในทางเดียวกัน
คำตอบคือ การให้ภาคประชาชนมีอำนาจอย่างแท้จริงโดยไม่เป็นการผูดขาดอำนาจด้วยการอนุมานเอาว่าประชาชนเห็นชอบทุกอย่างที่ตนกระทำ ของระบบตัวแทนอย่าง สส. หรือพรรคการเมือง แต่สิ่งที่ตามมาคือการจัดลงประชามติแบบถี่ยิบ ต่อ ๑ สมัยในวาระการดำรงตำแหน่งทางกาารเมือง หากเป็นเช่นนั้น ค่าใช้ใจในงบประมาณประเทศจะถูกทุ้มลงไปให้เฉพาะการเเลือกตั้งเพียงอย่างเดียวเท่า ไม่เหลือเงินใช้ในการบริหารประเทศได้
หรือที่เขาเรียกว่า ประชาธิปไตยทางตรง โดยหาอ่านได้ที่ http://prachatai.com/journal/2008/09/18302
แต่สำหรับบ้านเมืองไทยเราต้องการมากกว่านั้น ด้วยการลงประชามติและเลือกตั้งทุกปักษ์ /ครั้งต่อเดือน โดยองค์ประกอบที่ต้องมีคือ
อย่างที่ ๑ ตู้คูหาเลือกตั้งออนไลน์ ที่จะสร้างบัตรลงคะแนนไม่เลือกเขต และต่อต้านการปลอมแปลง
อย่างที่ ๒ การสื่อสารสำหรับมติ ที่ประชาชนต้องเลือก ผ่านสื่อต่างๆ และที่สำคัญคือ App ที่จะเป็นตัวจำลองเสมือน ที่ใช้ในตู้คูหาเลือกตั้งออนไลน์ และรายงานผลได้แบบ Real Time
อย่างที่ ๓ ระบบวีดีโอของกล้องวงจรปิด ที่เป็นเครื่องดูแลความปลอดภัยของคูหาเลือกตั้ง ที่ไม่ได้ใช้เจ้าหน้าที่เป็นมนุษย์ และเปิดเป็นสาธารณะให้ประชาชนเข้ามาตรวจสอบได้
อย่างที่ ๔ กองกำลังป้องกันแฮกเกอร์แห่งชาติ มีพันธ์กิจ ๓ ประการ คือตรวจสอบความปลอดภัยของโลกไซเบอร์ ตักเตือนช่องทางอันไม่ปลอดภัย และโจมตีเองด้วยเพราะเตือนแล้วไม่ฟัง
แต่ถ้าหากการเลือกตั้งใช้ระบบอินเตอร์เน็ทและคอมพิวเตอร์แก้ไขข้อบกพร่องในประเด็นดังต่อไปนี้
1.ใช้ระบบการยืนยันตัวตนป้องกันการสวมสิทธิลงคะแนนแทน โดยการการใช้ระบบยืนยันตัวตนต่างๆ ที่ประชาชนไปลงทะเบียนไว้กับกกต.จังหวัด โดยจะให้เลือกได้ว่าจะใช้ระบบการยืนยันตัวตนกี่ชั้น นอกเหนือจากบัตรประชานชน ไม่ว่าจะเป็นเบอร์โทรศัพท์ที่กกต.จะส่ง SMS ไปยืนยันการใช้สิทธิ การสแกนลายนิ้วมือแบบเข้ารหัสดิจิตอล การสแกนลายม่านตา การจดจำเค้าโครงใบหน้า ระบบแปลงลายมือเป็นเป็นการกุญแจเข้ารหัส การใช้พลาสเวิร์ดที่ต่อต้านการถอดรหัสพร้อมกระดาษช่วยจำรหัสในตารางอักษรรหัสกุญแจ และอื่นเท่าที่ประชาชนจะนึกออก เพื่อเป็นกุญแจแสดงความเป็นตัวตนของประชาชนจริงๆ
2.การเพิ่มความถี่และลดค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้ง เพื่อที่ประชาชนจะสามารถกำกับดูแลสิทธิทางการเมืองได้อย่างเป็นอิสระทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน เมื่อประชาชนเห็นชอบไว้วางใจผู้แทนไปแล้ว สามารถถอนความไว้วางใจได้โดยผ่านการลงคะแนนความนิยมที่ถูกเช็คเดือนละครั้ง ป้องกันไม่ให้สส. กระทำสิ่งใดตามอำเภอใจตลอดวาระการดำรงตำแหน่งได้ และในอีกทางหนึ่งสิ่งนี้เป็นเครื่องช่วยผยุงเสถียรภาพของรัฐบาล หากโครงการของรัฐบาลถูกใจของประชาชน แต่มีการรวมหัวในระบบรัฐสภา ไม่อนุมัติโครงการนี้ รัฐบาลไม่จำเป็นต้องยุบสภา แต่สามารถทำประชามติโดยตรง เพื่อยกเลิกการคัดค้านของระบบรัฐสภาได้
3.การจำกัดพื้นที่เขตในการลงคะแนน อนุญาตให้ประชาชนสามารถเลือกลงคะแนนที่ใดก็ได้ในโลก ไม่ว่าจะเป็นหน่วยคูหาในราชอณาจักร หรือสถานฑูตไทยในรัฐต่างๆ โดยใบลงคะแนนสามารถพิมพ์ออกมาโดยจำแนกเขตเลือกตั้งได้ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนไม่ต้องกลับพื้นที่เพื่อไปเลือกตั้ง
4.ลดปัญหาในกระบวนการนับคะแนน ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย ซึ่งระบบจะมีการนับคะแนนซ้ำ ๓ ครั้ง ผ่านการส่งข้อมูลจากคูหาลงคะแนนแบบเรียลไทม์ ๑ ครั้ง ใช้เครื่องนับที่ศูนย์นับคะแนน กกต.จังหวัด ๑ ครั้ง และการนับมือในกรณีที่ข้อมูลจากเหาลงคะแนนไม่ตรงกับเครื่องนับคะแนนอีก ๑ ครั้ง พร้อมกับการพิสูจน์ดีเอ็นเอของบัตรลงคะแนน
5.การยืนยันผลการเลือกตั้งโดยยกระบบความปลอดภัยรอบคูหาเลือกตั้ง ที่ติดตั้งไว้ และดูแลความปลอดภัยด้วยกล่องวงจรปิดมากกว่า ๓ มุมมองมองขึ้นไป โดยระบบจะส่งภาพนิ่งจากเครื่องหรือวีดีโอตามแต่ความสะดวก พร้อมกับกล่องดำที่มีการบันทึกวีดีโอความละเอียดสูงโดยตรง ซึ่งเจ้าหน้าที่จะเก็บไปพร้อมบัตรเลือกตั้งอีกครั้ง เป็นการยืนยัน ๒ สถาน
ในทั้งนี้ ต่างประเทศนั้นมีการเลือกตั้งโดยระบบอิเล็กทรอนิกส์มาได้พักหนึ่งแล้ว และทางกกต.ก็มีการพัฒนาเครื่องลงคะแนนเลือกตั้งออกมาเป็นยุคที่ ๔ แล้ว โดยความรวมมือกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง รวมทั้ง บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด
โดยประกอบด้วย ๒ ส่วน คือ เครื่องลงคะแนน ซึ่งจะใช้สำหรับการลงคะแนนแทนการกาบัตรเลือกตั้ง โดยจะมีปุ่มแสดงหมายเลขผู้สมัครรับเลือกตั้ง ปุ่มแสดงความประสงค์ไม่ลงคะแนน และปุ่มยืนยันการลงคะแนน และเครื่องรวมคะแนน จะทำหน้าที่บันทึกและเก็บรวบรวมผลการลงคะแนนจากเครื่องลงคะแนนซึ่งส่งมาตามสาย และอย่างที่บอก สำนักวิจัยและพัฒนาการเลือกตั้ง นั้นมีการพัฒนามาถึงเครื่องต้นแบบที่ ๔ ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้