สื่อต่างประเทศเกาะติดความคืบหน้าปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศไทย โดยระบุว่า การประกาศบอยคอตการเลือกตั้งครั้งใหม่ของพรรคประชาธิปัตย์ อาจเป็นการสร้างเงื่อนไขให้ทหารก่อการปฏิวัติ
สำนักข่าวชื่อดังทั่วโลกยังคงรายงานเกาะติดความเคลื่อนไหวทางการเมืองในประเทศไทย โดยเฉพาะการประกาศบอยคอตการเลือกตั้งรอบใหม่ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ของพรรคประชาธิปัตย์
สำนักข่าวบีบีซี ของอังกฤษ รายงานโดยอ้างคำพูดของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งให้เหตุผลว่า การประกาศไม่ส่งตัวแทนพรรคลงเลือกตั้งรอบใหม่เป็นเพราะการเมืองไทยในปัจจุบันอยู่ในภาวะที่ล้มเหลว ขณะที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก เริ่มออกมาเตือนถึงความหวาดวิตกว่าจะเกิดสงครามกลางเมือง พร้อมสนับสนุนให้มีการจัดตั้ง"สภาประชาชน"เพื่อแก้ไขปัญหา แต่เป็นคนละแนวทางกับที่กลุ่มกปปส. ของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ได้เสนอไว้ก่อนหน้านี้
ด้านนายโจนาธาน เฮด ผู้สื่อข่าวของบีบีซี วิเคราะห์ว่า การบอยคอตเลือกตั้งเป็นครั้งที่สองในรอบ 10 ปี ของพรรคประชาธิปัตย์ ส่งผลให้เกิดความไม่เป็นเอกภาพภายในพรรค โดยฝ่ายคัดค้านมตินี้มองว่า การตัดสินใจดังกล่าวถือเป็นความเสี่ยง ทั้งในเรื่องชื่อเสียง เนื่องจากอาจเป็นการเปิดทางไปสู่การปฏิวัติรัฐประหารคล้ายกับเมื่อปี 2549
นอกจากนี้ การบอยคอตเลือกตั้งยังอาจเสี่ยงต่อการลดทอนอำนาจ และอิทธิพลของพรรค หากการเลือกตั้งดำเนินไปได้ตามปกติ เนื่องจากฐานเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ อาจถูกเจาะโดยพรรคอื่นที่ลงเลือกตั้งในครั้งนี้
อย่างไรก็ตาม สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์บางคนมองว่า การที่พรรคสูญสิ้นอำนาจ และต้องมาเริ่มต้นนับหนึ่งกันใหม่อาจถือเป็นเรื่องดี หลังจากที่พรรคนี้ไม่เคยชนะการเลือกตั้งใหญ่มาติดต่อกันเป็นเวลานานกว่า 20 ปี
ด้านแชนนอล นิวส์ เอเชีย ของสิงคโปร์ รายงานว่า พรรคประชาธิปัตย์บอยคอตการเลือกตั้งครั้งนี้เพื่อกดดันรัฐบาล ไปพร้อมๆกับที่กลุ่มผู้ประท้วง ซึ่งแกนนำส่วนใหญ่เป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ เตรียมประท้วงใหญ่รอบใหม่ โดยมีเป้าหมายเพื่อฉุดรั้งระบอบประชาธิปไตย
นอกจากนี้ รายงานของสำนักข่าวสิงคโปร์ยังอ้างบทสัมภาษณ์ของนักวิชาการที่ระบุว่า การบอยคอตการเลือกตั้งดังกล่าวของพรรคประชาธิปัตย์คล้ายคลึงกับเหตุการณ์เมื่อปี 2549 ที่นำมาซึ่งเงื่อนไขให้กองทัพออกมาก่อการปฏิวัติรัฐประหาร
อย่างไรก็ตาม นักวิชาการชี้ว่า การบอยคอตเลือกตั้งอาจเป็นการฆ่าตัวตายของพรรคประชาธิปัตย์ได้เช่นกัน หากการเลือกตั้งยังคงเกิดขึ้นตามปกติ และประชาคมโลกยังคงจับตาดูสถานการณ์ทางการเมืองของไทยต่อไปอย่างใกล้ชิด
ที่มา :
http://shows.voicetv.co.th/voice-news/91856.html
22 ธันวาคม 2556 เวลา 12:05 น
สื่อนอกระบุ ประชาธิปัตย์ ไม่ลงเลือกตั้ง ปูทางทหารปฎิวัติ
สื่อต่างประเทศเกาะติดความคืบหน้าปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศไทย โดยระบุว่า การประกาศบอยคอตการเลือกตั้งครั้งใหม่ของพรรคประชาธิปัตย์ อาจเป็นการสร้างเงื่อนไขให้ทหารก่อการปฏิวัติ
สำนักข่าวชื่อดังทั่วโลกยังคงรายงานเกาะติดความเคลื่อนไหวทางการเมืองในประเทศไทย โดยเฉพาะการประกาศบอยคอตการเลือกตั้งรอบใหม่ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ของพรรคประชาธิปัตย์
สำนักข่าวบีบีซี ของอังกฤษ รายงานโดยอ้างคำพูดของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งให้เหตุผลว่า การประกาศไม่ส่งตัวแทนพรรคลงเลือกตั้งรอบใหม่เป็นเพราะการเมืองไทยในปัจจุบันอยู่ในภาวะที่ล้มเหลว ขณะที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก เริ่มออกมาเตือนถึงความหวาดวิตกว่าจะเกิดสงครามกลางเมือง พร้อมสนับสนุนให้มีการจัดตั้ง"สภาประชาชน"เพื่อแก้ไขปัญหา แต่เป็นคนละแนวทางกับที่กลุ่มกปปส. ของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ได้เสนอไว้ก่อนหน้านี้
ด้านนายโจนาธาน เฮด ผู้สื่อข่าวของบีบีซี วิเคราะห์ว่า การบอยคอตเลือกตั้งเป็นครั้งที่สองในรอบ 10 ปี ของพรรคประชาธิปัตย์ ส่งผลให้เกิดความไม่เป็นเอกภาพภายในพรรค โดยฝ่ายคัดค้านมตินี้มองว่า การตัดสินใจดังกล่าวถือเป็นความเสี่ยง ทั้งในเรื่องชื่อเสียง เนื่องจากอาจเป็นการเปิดทางไปสู่การปฏิวัติรัฐประหารคล้ายกับเมื่อปี 2549
นอกจากนี้ การบอยคอตเลือกตั้งยังอาจเสี่ยงต่อการลดทอนอำนาจ และอิทธิพลของพรรค หากการเลือกตั้งดำเนินไปได้ตามปกติ เนื่องจากฐานเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ อาจถูกเจาะโดยพรรคอื่นที่ลงเลือกตั้งในครั้งนี้
อย่างไรก็ตาม สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์บางคนมองว่า การที่พรรคสูญสิ้นอำนาจ และต้องมาเริ่มต้นนับหนึ่งกันใหม่อาจถือเป็นเรื่องดี หลังจากที่พรรคนี้ไม่เคยชนะการเลือกตั้งใหญ่มาติดต่อกันเป็นเวลานานกว่า 20 ปี
ด้านแชนนอล นิวส์ เอเชีย ของสิงคโปร์ รายงานว่า พรรคประชาธิปัตย์บอยคอตการเลือกตั้งครั้งนี้เพื่อกดดันรัฐบาล ไปพร้อมๆกับที่กลุ่มผู้ประท้วง ซึ่งแกนนำส่วนใหญ่เป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ เตรียมประท้วงใหญ่รอบใหม่ โดยมีเป้าหมายเพื่อฉุดรั้งระบอบประชาธิปไตย
นอกจากนี้ รายงานของสำนักข่าวสิงคโปร์ยังอ้างบทสัมภาษณ์ของนักวิชาการที่ระบุว่า การบอยคอตการเลือกตั้งดังกล่าวของพรรคประชาธิปัตย์คล้ายคลึงกับเหตุการณ์เมื่อปี 2549 ที่นำมาซึ่งเงื่อนไขให้กองทัพออกมาก่อการปฏิวัติรัฐประหาร
อย่างไรก็ตาม นักวิชาการชี้ว่า การบอยคอตเลือกตั้งอาจเป็นการฆ่าตัวตายของพรรคประชาธิปัตย์ได้เช่นกัน หากการเลือกตั้งยังคงเกิดขึ้นตามปกติ และประชาคมโลกยังคงจับตาดูสถานการณ์ทางการเมืองของไทยต่อไปอย่างใกล้ชิด
ที่มา : http://shows.voicetv.co.th/voice-news/91856.html
22 ธันวาคม 2556 เวลา 12:05 น