จากการเถียงกันเรื่องรถไฟความเร็วสูง ที่เห็นกระทู้ืำทำนองนี้มาทั้งปี
ไม่ว่าฝ่ายที่หนุนคือค้านรัฐบาลนี้ พูดตรงกันว่ารถไฟรางคู่เป็นอะไรที่ต้องสร้างอย่างเร่งด่วน ด้วยประโยชน์ต่างๆ นานา (รถไฟราคาถูก เป็นที่พึ่งของคนรายได้น้อยเพราะปลอดภัยกว่ารถทัวร์เวลากลับบ้านช่วงเทศกาล รวมทั้งใช้ขนของได้ด้วย ดังนั้นถ้าทำรางคู่ได้ทั่ว ปท. ก็ไม่ต้องรอเวลารถสวนมา ทำให้หัวรถจักรวิ่งได้เต็มที่ ใช้เวลาเดินทางน้อยลงพอสมควร ลดปัญหารถไฟไม่ตรงเวลา และข้อดีคือไม่ต้องขึ้นค่าโดยสารมากนัก)
ที่ต่างกันก็คือ ฝ่ายคัดค้านไม่ต้องการให้สร้างรถไฟความเร็วสูง (200 km/h ขึ้นไป) เพราะมองแล้วว่าไม่คุ้มค่า เนื่องจากไม่ว่าประเทศไหนๆ ก็นิยมใช้ขนคนมากกว่าขนของ (ส่วนรถไฟที่ขนของได้ ถ้าไม่ใช่รถไฟโบราณแบบที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ อย่างดีหน่อยก็หัวรถประเภทที่ AirportLink ใช้)
ที่บอกว่าไม่คุ้มค่า ฝ่ายนี้ยกข้อมูลเรื่องรายได้-ค่าครองชีพ รวมทั้งกระแสบ่นๆ ของคนไทย ที่ไม่ว่าจะไปไหน ก็จะได้ยินคนบ่นว่าทุกวันนี้ข้าวของแพงขึ้น (เห็นมีประเด็นไปทีเรื่องราคาอาหารตามสั่ง) ดังนั้นอะไรๆ ที่ประหยัดได้ก็จะประหยัด สังเกตได้จากพฤติกรรมการกิน หรือการใช้ขนส่งสาธารณะ นอกจากการยอมทนโหนรถเมล์ร้อนหรือรถฟรีท่ามกลางรถติด ที่เห็นอีกอย่างคือถ้ารถตู้สามารถนั่งต่อเดียวจากที่ทำงานถึงใกล้บ้านได้เลย คนจำนวนมากยินดีนั่งรถตู้แม้ว่ามันจะเสี่ยงอันตรายกว่าก็ตาม เพราะต่อเดียวถึงใกล้บ้านเลย ดีกว่านั่งรถไฟฟ้าเพื่อไปต่อรถเมล์ สองแถว ฯลฯ ที่โดยรวมแพงกว่า
ขณะเดียวกัน ฝ่ายที่เชื่อว่ารถไฟความเร็วสูงคุ้มค่าไม่ขาดทุนแน่ๆ ก็ยกสถิติการใช้จ่ายของคนไทยเช่นกัน การท่องเที่ยวเดินทาง ทั้งเครื่องบินและรถทัวร์ พบว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้น และเมืองต่างๆ ก็มีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้น
ดังนั้นเชื่อว่ามีกำลังซื้อเพียงพอแน่นอน เพราะคนไทยมีรายได้เพิ่มขึ้น
-------------------------------
เอาละ กระทู้นี้ไม่ได้จะคุยกันเรื่องรถไฟความเร็วสูงนะครับ
แต่จากหัวข้อนี้ตลอดทั้งปี ผมมีคำถามเดียวให้ทุกท่านลองแสดงความเห็นกัน
ตกลงแล้ว
"คนไทยรวยขึ้นหรือจนลง" กันแน่ครับ
~Laziest Snake~
ตกลงแล้วคนไทย "จนลง" หรือ "รวยขึ้น" กันแน่
ไม่ว่าฝ่ายที่หนุนคือค้านรัฐบาลนี้ พูดตรงกันว่ารถไฟรางคู่เป็นอะไรที่ต้องสร้างอย่างเร่งด่วน ด้วยประโยชน์ต่างๆ นานา (รถไฟราคาถูก เป็นที่พึ่งของคนรายได้น้อยเพราะปลอดภัยกว่ารถทัวร์เวลากลับบ้านช่วงเทศกาล รวมทั้งใช้ขนของได้ด้วย ดังนั้นถ้าทำรางคู่ได้ทั่ว ปท. ก็ไม่ต้องรอเวลารถสวนมา ทำให้หัวรถจักรวิ่งได้เต็มที่ ใช้เวลาเดินทางน้อยลงพอสมควร ลดปัญหารถไฟไม่ตรงเวลา และข้อดีคือไม่ต้องขึ้นค่าโดยสารมากนัก)
ที่ต่างกันก็คือ ฝ่ายคัดค้านไม่ต้องการให้สร้างรถไฟความเร็วสูง (200 km/h ขึ้นไป) เพราะมองแล้วว่าไม่คุ้มค่า เนื่องจากไม่ว่าประเทศไหนๆ ก็นิยมใช้ขนคนมากกว่าขนของ (ส่วนรถไฟที่ขนของได้ ถ้าไม่ใช่รถไฟโบราณแบบที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ อย่างดีหน่อยก็หัวรถประเภทที่ AirportLink ใช้)
ที่บอกว่าไม่คุ้มค่า ฝ่ายนี้ยกข้อมูลเรื่องรายได้-ค่าครองชีพ รวมทั้งกระแสบ่นๆ ของคนไทย ที่ไม่ว่าจะไปไหน ก็จะได้ยินคนบ่นว่าทุกวันนี้ข้าวของแพงขึ้น (เห็นมีประเด็นไปทีเรื่องราคาอาหารตามสั่ง) ดังนั้นอะไรๆ ที่ประหยัดได้ก็จะประหยัด สังเกตได้จากพฤติกรรมการกิน หรือการใช้ขนส่งสาธารณะ นอกจากการยอมทนโหนรถเมล์ร้อนหรือรถฟรีท่ามกลางรถติด ที่เห็นอีกอย่างคือถ้ารถตู้สามารถนั่งต่อเดียวจากที่ทำงานถึงใกล้บ้านได้เลย คนจำนวนมากยินดีนั่งรถตู้แม้ว่ามันจะเสี่ยงอันตรายกว่าก็ตาม เพราะต่อเดียวถึงใกล้บ้านเลย ดีกว่านั่งรถไฟฟ้าเพื่อไปต่อรถเมล์ สองแถว ฯลฯ ที่โดยรวมแพงกว่า
ขณะเดียวกัน ฝ่ายที่เชื่อว่ารถไฟความเร็วสูงคุ้มค่าไม่ขาดทุนแน่ๆ ก็ยกสถิติการใช้จ่ายของคนไทยเช่นกัน การท่องเที่ยวเดินทาง ทั้งเครื่องบินและรถทัวร์ พบว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้น และเมืองต่างๆ ก็มีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้น
ดังนั้นเชื่อว่ามีกำลังซื้อเพียงพอแน่นอน เพราะคนไทยมีรายได้เพิ่มขึ้น
-------------------------------
เอาละ กระทู้นี้ไม่ได้จะคุยกันเรื่องรถไฟความเร็วสูงนะครับ
แต่จากหัวข้อนี้ตลอดทั้งปี ผมมีคำถามเดียวให้ทุกท่านลองแสดงความเห็นกัน
ตกลงแล้ว "คนไทยรวยขึ้นหรือจนลง" กันแน่ครับ
~Laziest Snake~