การประท้วงที่ยืดเยื้อในเมืองไทยไม่ใช่เรื่อง"แปลกประหลาด"อะไร เพราะกลุ่มเสียอำนาจไม่ยอมกระจายอำนาจและทรัพย์สินออกไป
Joshua Kurlantzick บอกว่าการประท้วงที่ยืดเยื้อในเมืองไทย ไม่ใช่เรื่อง"แปลกประหลาด" อะไร เพราะในหลายประเทศที่เริ่มมีการพัฒนาประชาธิปไตยไปพร้อมกับการเติบโตด้านเศรษฐกิจ ย่อมทำให้ชนชั้นกลางและชนชั้นอำมาตย์เกิดความไม่พอใจต่อการสูญเสียสถานะของตนเอง เพราะการกระจายอำนาจและทรัพย์สินออกไป พวกเขาจึงพยายามใช้วิถีทางนอกรัฐธรรมนูญเพื่อทำลายระบอบประชาธิปไตย
วิถีทางนอกรัฐธรรมนูญที่เขาพูดถึง ก็อย่างเช่นข้อเสนอให้แช่แข็งปฏิรูปประเทศอย่างที่เป็นอยู่ในเวลานี้ บรรดาแกนนำนกหวีดต่างก็อ้างว่าเมืองไทยเราต้องการ "ประชาธิปไตยแบบไทย ๆ" เราไม่ตามก้นฝรั่ง เราต้องการ"คนดี" เพื่อมาปกครองบ้านเมือง
ผู้เขียนบอกว่าแม้ไทยจะมีลักษณะความตึงเครียดทางการเมืองเหมือนประเทศมีรายได้ปานกลางอื่นๆ แต่ที่ต่างไปคือ (1) เราเป็น constitutional monarchy ที่ไม่ได้กำหนดขอบเขต "พระราชอำนาจ"ไว้ชัดเจน (2) เราเป็นประเทศที่มีการทำรัฐประหารมากครั้งกว่าประเทศรายได้ปานกลางอื่นใดในโลก
เขาเปรียบเทียบไทยกับสเปนว่า ในช่วงทศวรรษ 70 และ 80 บรรดาซากเดนศักดินาทั้งทหาร ข้าราชการ และนายทุนพยายามครั้งแล้วครั้งเล่าที่จะโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในสเปน ด้วยวิธีการนอกรัฐธรรมนูญ แต่ไม่สำเร็จเพราะทั้งกษัตริย์ฆวน คาร์ลอส และ
แม่ทัพระดับสูงไม่เล่นด้วย ไม่อนุญาตให้มีการทำรัฐประหาร และขัดขวางการแทรกแซงของอำนาจนอกระบบเสมอ สุดท้ายทำให้การทำรัฐประหารไม่อาจเกิดขึ้นได้อีกในสเปน ส่วนพวกอำมาตย์ก็ต้องยอมไกล่เกลี่ยตัวเองให้เข้ากับการเมืองตามระบอบประชาธิปไตย
ผู้เชียนมองว่าเป็นสัญญาณที่ดีว่า แม้ม็อบนกหวีดจะกวักมือเรียกทหารทุกวัน แต่กองทัพไทยยังไม่เคลื่อนรถถังออกมา แสดงว่าบรรดาแม่ทัพนายกองคงเริ่มสำนึกว่า รัฐประหารมันไม่เวิร์ก
เขายังพูดถึงทางออกได้อย่างน่าสนใจ เขาเปรียบเทียบไทยกับอินโดนีเซียว่า เดิมทั้งสองประเทศต่างพึ่งพาโครงสร้างสถาบันอย่างไม่เป็นทางการเพื่อไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ในอินโดนีเซียเดิมก็เป็น "ซูฮาร์โต"ซึ่งทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยผลประโยชน์ พอหมดยุคซูฮาร์โต ทุกวันนี้คนอินโดฯ เริ่มสถาปนาองคาพยพของสถาบันหลักในชาติ อย่างเช่น ระบบศาล ซึ่งเป็นที่น่าเชื่อถือมากขึ้น
ในขณะที่ไทยเรามักพึ่งพา "พ่อหลวง"ของเรา พึ่งพา network monarchy เพื่อไกล่เกลี่ยความขัดแย้ง ผู้เขียนเห็นว่าคนไทยต้องช่วยกันพัฒนาการเมืองขึ้นมาอย่างเป็น"ระบบ"พัฒนาโครงสร้างสถาบันอย่างเป็นทางการ โดยไม่พึ่งพาความช่วยเหลือจากผู้ชายและผู้หญิงเพียงกลุ่มเล็กๆ อีกต่อไป เขาบอกว่าขนาดอินโดฯ ซึ่งยากจนกว่าเรา ยังพัฒนาโครงสร้างประชาธิปไตยอย่างเป็นทางการเช่นนี้ขึ้นมาได้เลย
การเมือง : บทวิเคราะห์ ไม่ใช่เรื่องแปลกประท้วงยืดเยื้อในเมืองไทย อำมาตย์กลัวสูญเสียอำนาจ
Joshua Kurlantzick บอกว่าการประท้วงที่ยืดเยื้อในเมืองไทย ไม่ใช่เรื่อง"แปลกประหลาด" อะไร เพราะในหลายประเทศที่เริ่มมีการพัฒนาประชาธิปไตยไปพร้อมกับการเติบโตด้านเศรษฐกิจ ย่อมทำให้ชนชั้นกลางและชนชั้นอำมาตย์เกิดความไม่พอใจต่อการสูญเสียสถานะของตนเอง เพราะการกระจายอำนาจและทรัพย์สินออกไป พวกเขาจึงพยายามใช้วิถีทางนอกรัฐธรรมนูญเพื่อทำลายระบอบประชาธิปไตย
วิถีทางนอกรัฐธรรมนูญที่เขาพูดถึง ก็อย่างเช่นข้อเสนอให้แช่แข็งปฏิรูปประเทศอย่างที่เป็นอยู่ในเวลานี้ บรรดาแกนนำนกหวีดต่างก็อ้างว่าเมืองไทยเราต้องการ "ประชาธิปไตยแบบไทย ๆ" เราไม่ตามก้นฝรั่ง เราต้องการ"คนดี" เพื่อมาปกครองบ้านเมือง
ผู้เขียนบอกว่าแม้ไทยจะมีลักษณะความตึงเครียดทางการเมืองเหมือนประเทศมีรายได้ปานกลางอื่นๆ แต่ที่ต่างไปคือ (1) เราเป็น constitutional monarchy ที่ไม่ได้กำหนดขอบเขต "พระราชอำนาจ"ไว้ชัดเจน (2) เราเป็นประเทศที่มีการทำรัฐประหารมากครั้งกว่าประเทศรายได้ปานกลางอื่นใดในโลก
เขาเปรียบเทียบไทยกับสเปนว่า ในช่วงทศวรรษ 70 และ 80 บรรดาซากเดนศักดินาทั้งทหาร ข้าราชการ และนายทุนพยายามครั้งแล้วครั้งเล่าที่จะโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในสเปน ด้วยวิธีการนอกรัฐธรรมนูญ แต่ไม่สำเร็จเพราะทั้งกษัตริย์ฆวน คาร์ลอส และแม่ทัพระดับสูงไม่เล่นด้วย ไม่อนุญาตให้มีการทำรัฐประหาร และขัดขวางการแทรกแซงของอำนาจนอกระบบเสมอ สุดท้ายทำให้การทำรัฐประหารไม่อาจเกิดขึ้นได้อีกในสเปน ส่วนพวกอำมาตย์ก็ต้องยอมไกล่เกลี่ยตัวเองให้เข้ากับการเมืองตามระบอบประชาธิปไตย
ผู้เชียนมองว่าเป็นสัญญาณที่ดีว่า แม้ม็อบนกหวีดจะกวักมือเรียกทหารทุกวัน แต่กองทัพไทยยังไม่เคลื่อนรถถังออกมา แสดงว่าบรรดาแม่ทัพนายกองคงเริ่มสำนึกว่า รัฐประหารมันไม่เวิร์ก
เขายังพูดถึงทางออกได้อย่างน่าสนใจ เขาเปรียบเทียบไทยกับอินโดนีเซียว่า เดิมทั้งสองประเทศต่างพึ่งพาโครงสร้างสถาบันอย่างไม่เป็นทางการเพื่อไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ในอินโดนีเซียเดิมก็เป็น "ซูฮาร์โต"ซึ่งทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยผลประโยชน์ พอหมดยุคซูฮาร์โต ทุกวันนี้คนอินโดฯ เริ่มสถาปนาองคาพยพของสถาบันหลักในชาติ อย่างเช่น ระบบศาล ซึ่งเป็นที่น่าเชื่อถือมากขึ้น
ในขณะที่ไทยเรามักพึ่งพา "พ่อหลวง"ของเรา พึ่งพา network monarchy เพื่อไกล่เกลี่ยความขัดแย้ง ผู้เขียนเห็นว่าคนไทยต้องช่วยกันพัฒนาการเมืองขึ้นมาอย่างเป็น"ระบบ"พัฒนาโครงสร้างสถาบันอย่างเป็นทางการ โดยไม่พึ่งพาความช่วยเหลือจากผู้ชายและผู้หญิงเพียงกลุ่มเล็กๆ อีกต่อไป เขาบอกว่าขนาดอินโดฯ ซึ่งยากจนกว่าเรา ยังพัฒนาโครงสร้างประชาธิปไตยอย่างเป็นทางการเช่นนี้ขึ้นมาได้เลย