ในสถานการณ์ปัจจุบัน ภายใต้สภาวการณ์ของประเทศที่ยังแก้ปัญหาการเมืองไม่ตกนี้ ได้เกิด ปัญหาการเมืองขึ้นอีกปัญหาหนึ่ง ปัญหานี้นับว่ามีความสำคัญมาก สมควรที่จะต้องทำให้เกิดความ เข้าใจแก่พี่น้องประชาชน มิฉะนั้น จะเป็นมหันตภัยอันร้ายแรงต่อความมั่นคงของ ชาติและสถาบันพระมหากษัตริย์ ปัญหานี้ก็คือ การกระจายอำนาจ โลกในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ได้มีการรวมชาติรูปใหม่โดยรวมแว่นแคว้นต่างๆ เข้าเป็นอัน หนึ่งอันเดียวกัน เรียกว่า รัฐประชาชาติ (National State) (รัฐในประวัติศาสตร์สมัยกลาง เรียกว่า รัฐ เจ้านคร หรือ Feudal State) การรวมชาติเป็นประเทศในประวัติศาสตร์สมัยใหม่นี้ ทำให้มีประเทศเกิด ขึ้นเป็นรัฐ 2 แบบ คือ
1. รัฐเดียว (Unitary State) คือ การรวมชาติเป็นประเทศแบบรัฐเดียว เรียกว่า ราชอาณาจักร (Kingdom) ราชอาณาจักร คือ ประเทศที่มีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ราชอาณาจักร หรือ ประเทศรัฐเดียว ใช้วิธีการตามหลักการ รวมอำนาจการปกครอง (Centralization of Administrative Power) ซึ่งหมายถึง ประเทศรัฐเดียว จะดำรงความเป็นอันหนึ่ง อันเดียวของราชอาณาจักรไว้ได้นั้น ต้องรวมอำนาจการปกครองเท่านั้น จะกระจายอำนาจการปกครอง หรืออำนาจบริหารไม่ได้ ถ้ากระจายอำนาจการปกครองหรืออำนาจบริหาร ก็คือ การทำลายความเป็น อันหนึ่งอันเดียวกันของราชอาณาจักร ซึ่งหมายถึง การทำลายความมั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์ นั่นเอง
2. หลายรัฐ (Multi-State) คือ การรวมชาติเป็นประเทศในแบบหลายรัฐ ซึ่งโดยทั่วไป เรียกว่า สาธารณรัฐ (Republic) สาธารณรัฐ คือ ประเทศที่มีประธานาธิบดีหรือสถาบันอื่นที่ไม่ใช่สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ประเทศหลายรัฐ ใช้วิธีการตามหลักการ การกระจายอำนาจการปกครอง (Decentralization of Administrative Power) แต่การกระจายอำนาจนั้น ก็เป็นการกระจายอำนาจการปกครองภายใต้การ รวมศูนย์อำนาจการปกครองอยู่นั่นเอง หลักการเหล่านี้ เป็นหลักวิชารัฐศาสตร์ ที่ยึดถือกันโดยทั่วไป ของประเทศทั้งหลายในประวัติศาสตร์สมัยใหม่
การรวมศูนย์อำนาจการปกครอง และการกระจายอำนาจการปกครอง ต่างก็เป็นวิธีรวมประเทศ เข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ตามสภาวการณ์ทางประวัติศาสตร์และทางสังคมของแต่ละประเทศ บาง ประเทศสร้างเอกภาพด้วยการรวมศูนย์อำนาจการปกครอง บางประเทศสร้างเอกภาพด้วยการกระจาย อำนาจการปกครอง ซึ่งจะกำหนดเอาตามความต้องการของบุคคลไม่ได้ มิฉะนั้น จะเป็นการทำลาย เอกภาพ หรือความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของประเทศ และนำไปสู่มิคสัญญีกลียุค อย่างหลีกเลี่ยงไม่ พ้น เพราะเป็นกฎที่แน่นอน
การเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด ในประเทศรัฐเดียว ผิดหลักวิชา อย่างไร?
ในสถานการณ์ปัจจุบัน ภายใต้สภาวการณ์ของประเทศที่ยังแก้ปัญหาการเมืองไม่ตกนี้ ได้เกิด ปัญหาการเมืองขึ้นอีกปัญหาหนึ่ง ปัญหานี้นับว่ามีความสำคัญมาก สมควรที่จะต้องทำให้เกิดความ เข้าใจแก่พี่น้องประชาชน มิฉะนั้น จะเป็นมหันตภัยอันร้ายแรงต่อความมั่นคงของ ชาติและสถาบันพระมหากษัตริย์ ปัญหานี้ก็คือ การกระจายอำนาจ โลกในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ได้มีการรวมชาติรูปใหม่โดยรวมแว่นแคว้นต่างๆ เข้าเป็นอัน หนึ่งอันเดียวกัน เรียกว่า รัฐประชาชาติ (National State) (รัฐในประวัติศาสตร์สมัยกลาง เรียกว่า รัฐ เจ้านคร หรือ Feudal State) การรวมชาติเป็นประเทศในประวัติศาสตร์สมัยใหม่นี้ ทำให้มีประเทศเกิด ขึ้นเป็นรัฐ 2 แบบ คือ
1. รัฐเดียว (Unitary State) คือ การรวมชาติเป็นประเทศแบบรัฐเดียว เรียกว่า ราชอาณาจักร (Kingdom) ราชอาณาจักร คือ ประเทศที่มีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ราชอาณาจักร หรือ ประเทศรัฐเดียว ใช้วิธีการตามหลักการ รวมอำนาจการปกครอง (Centralization of Administrative Power) ซึ่งหมายถึง ประเทศรัฐเดียว จะดำรงความเป็นอันหนึ่ง อันเดียวของราชอาณาจักรไว้ได้นั้น ต้องรวมอำนาจการปกครองเท่านั้น จะกระจายอำนาจการปกครอง หรืออำนาจบริหารไม่ได้ ถ้ากระจายอำนาจการปกครองหรืออำนาจบริหาร ก็คือ การทำลายความเป็น อันหนึ่งอันเดียวกันของราชอาณาจักร ซึ่งหมายถึง การทำลายความมั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์ นั่นเอง
2. หลายรัฐ (Multi-State) คือ การรวมชาติเป็นประเทศในแบบหลายรัฐ ซึ่งโดยทั่วไป เรียกว่า สาธารณรัฐ (Republic) สาธารณรัฐ คือ ประเทศที่มีประธานาธิบดีหรือสถาบันอื่นที่ไม่ใช่สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ประเทศหลายรัฐ ใช้วิธีการตามหลักการ การกระจายอำนาจการปกครอง (Decentralization of Administrative Power) แต่การกระจายอำนาจนั้น ก็เป็นการกระจายอำนาจการปกครองภายใต้การ รวมศูนย์อำนาจการปกครองอยู่นั่นเอง หลักการเหล่านี้ เป็นหลักวิชารัฐศาสตร์ ที่ยึดถือกันโดยทั่วไป ของประเทศทั้งหลายในประวัติศาสตร์สมัยใหม่
การรวมศูนย์อำนาจการปกครอง และการกระจายอำนาจการปกครอง ต่างก็เป็นวิธีรวมประเทศ เข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ตามสภาวการณ์ทางประวัติศาสตร์และทางสังคมของแต่ละประเทศ บาง ประเทศสร้างเอกภาพด้วยการรวมศูนย์อำนาจการปกครอง บางประเทศสร้างเอกภาพด้วยการกระจาย อำนาจการปกครอง ซึ่งจะกำหนดเอาตามความต้องการของบุคคลไม่ได้ มิฉะนั้น จะเป็นการทำลาย เอกภาพ หรือความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของประเทศ และนำไปสู่มิคสัญญีกลียุค อย่างหลีกเลี่ยงไม่ พ้น เพราะเป็นกฎที่แน่นอน