นางสาวรุ่งระวี โสขุมา เลขานุการศาลอาญา ออกหนังสือชี้แจงกรณียกคำร้องเพิกถอนหมายจับ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำกลุ่มคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ในข้อหาก่อกบฏ ลงวันที่ 16 ธ.ค.ที่ผ่านมา ว่า คำร้องของผู้ต้องหาที่ได้เพิกถอนหมายจับ ได้อ้างว่าเป็นการชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธ ตามสิทธิในรัฐธรรมนูญ จึงไม่เป็นการฝ่าฟืนรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 วรรค 1 ตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
ขณะเดียวกัน บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 216 วรรค 5 ได้บัญญัติไว้ว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรเอกชนอื่นของรัฐ ก็ตาม แต่คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ จะต้องเป็นข้อเท็จจริงเช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ ข้อเท็จจริงตามที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ฉบับที่ 56/2556 ว่าการชุมนุมไม่ได้เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ประกอบกับคำวินิจฉัย 66/2556 ระบุว่าการบุกรุกยึดสถานที่ราชการไม่เกิดขึ้นแล้ว และสถานการณ์ได้พัฒนาไปสู่การยุบสภาผู้แทนราษฎรและเข้าสู่การเลือกตั้ง จึงไม่มีมูลเป็นการฝ่าฝืน มาตรา 68 วรรค 1 นั้น แตกต่างจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการไต่สวนของพนักงานสอบสวน เพราะนายสุเทพกับพวกได้ร่วมกันขู่เข็ญ ว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายให้ฝ่ายบริหารไม่อาจใช้อำนาจในการบริหารประเทศไทย บุกรุกเข้ายึดสถานที่ราชการ คือกระทรวงการคลังและศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ ทั้งขู่เข็ญ ตัดน้ำ ตัดไฟฟ้า เป็นเหตุให้ข้าราชการไม่กล้าเข้าไปทำงาน หรือเข้าที่ทำงานไม่ได้ อันเป็นการยุยงให้ประชาชนละเมิดกฎหมาย เป็นการมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง
"ดังนั้น คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่ตรงกับข้อเท็จจริงในคดีนี้ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันศาลอาญา ให้ต้องฟังข้อเท็จจริงเช่นเดียวกับศาลรัฐธรรมนูญ"
ส่วนการที่ผู้ต้องหาอ้างเป็นการชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธ และเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 63 ศาลอาญาเห็นว่า แม้รัฐธรรมนูญบัญญัติ แต่ไม่ได้หมายความว่า ประชาชนจะสามารถใช้เสรีภาพจนปราศจากขอบเขต หรือไปละเมิดสิทธิของประชาชนผู้อื่นด้วย โดยเฉพาะต้องไม่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายบ้านเมือง เพราะเป็นกฎหมายที่ตราออกมาบังคับประชาชนทุกคน
"การอ้างเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ แต่มีการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย โดยเฉพาะประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่มีอัตราโทษสูง จึงไม่อาจถือได้ว่าการกระทำดังกล่าวของผู้ต้องหา เป็นการชุมนุมที่สงบตามที่กล่าวอ้าง" เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4946/2555
ขณะที่คำกล่าวอ้าง เกี่ยวกับพนักงานสอบสวนขอหมายจับมิชอบ โดยไม่มีการรับฟังพยาน ผู้ต้องหา และออกหมายเรียก ศาลเห็นว่าการออกหมายจับ เป็นอำนาจศาลโดยตรง เมื่อศาลเห็นว่ามีพยานหลักฐานตามสมควร ว่าผู้ต้องหาน่าจะทำผิดกฎหมายอาญา ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกสูงเกิน 3 ปี ศาลย่อมใช้ดุลพินิจออกหมายจับได้ทันที ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 66 (1) ไม่จำเป็นต้องออกหมายเรียกก่อน เพราะการออกหมายจับเป็นเพียงขั้นตอน เพื่อให้ผู้ต้องหาเข้าสู่กระบวนการ ยุติธรรม ดังนั้น การออกหมายจับผู้ต้องหา จึงเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีเหตุต้องเพิกถอนหมายจับ.
เครดิต :
http://www.thairath.co.th/content/pol/390433
“ศาลอาญา” แจงกรณียกคำร้องเพิกถอนหมายจับ "สุเทพ" ชี้คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญไม่ตรงกับข้อเท็จจริง
ขณะเดียวกัน บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 216 วรรค 5 ได้บัญญัติไว้ว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรเอกชนอื่นของรัฐ ก็ตาม แต่คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ จะต้องเป็นข้อเท็จจริงเช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ ข้อเท็จจริงตามที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ฉบับที่ 56/2556 ว่าการชุมนุมไม่ได้เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ประกอบกับคำวินิจฉัย 66/2556 ระบุว่าการบุกรุกยึดสถานที่ราชการไม่เกิดขึ้นแล้ว และสถานการณ์ได้พัฒนาไปสู่การยุบสภาผู้แทนราษฎรและเข้าสู่การเลือกตั้ง จึงไม่มีมูลเป็นการฝ่าฝืน มาตรา 68 วรรค 1 นั้น แตกต่างจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการไต่สวนของพนักงานสอบสวน เพราะนายสุเทพกับพวกได้ร่วมกันขู่เข็ญ ว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายให้ฝ่ายบริหารไม่อาจใช้อำนาจในการบริหารประเทศไทย บุกรุกเข้ายึดสถานที่ราชการ คือกระทรวงการคลังและศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ ทั้งขู่เข็ญ ตัดน้ำ ตัดไฟฟ้า เป็นเหตุให้ข้าราชการไม่กล้าเข้าไปทำงาน หรือเข้าที่ทำงานไม่ได้ อันเป็นการยุยงให้ประชาชนละเมิดกฎหมาย เป็นการมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง
"ดังนั้น คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่ตรงกับข้อเท็จจริงในคดีนี้ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันศาลอาญา ให้ต้องฟังข้อเท็จจริงเช่นเดียวกับศาลรัฐธรรมนูญ"
ส่วนการที่ผู้ต้องหาอ้างเป็นการชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธ และเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 63 ศาลอาญาเห็นว่า แม้รัฐธรรมนูญบัญญัติ แต่ไม่ได้หมายความว่า ประชาชนจะสามารถใช้เสรีภาพจนปราศจากขอบเขต หรือไปละเมิดสิทธิของประชาชนผู้อื่นด้วย โดยเฉพาะต้องไม่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายบ้านเมือง เพราะเป็นกฎหมายที่ตราออกมาบังคับประชาชนทุกคน
"การอ้างเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ แต่มีการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย โดยเฉพาะประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่มีอัตราโทษสูง จึงไม่อาจถือได้ว่าการกระทำดังกล่าวของผู้ต้องหา เป็นการชุมนุมที่สงบตามที่กล่าวอ้าง" เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4946/2555
ขณะที่คำกล่าวอ้าง เกี่ยวกับพนักงานสอบสวนขอหมายจับมิชอบ โดยไม่มีการรับฟังพยาน ผู้ต้องหา และออกหมายเรียก ศาลเห็นว่าการออกหมายจับ เป็นอำนาจศาลโดยตรง เมื่อศาลเห็นว่ามีพยานหลักฐานตามสมควร ว่าผู้ต้องหาน่าจะทำผิดกฎหมายอาญา ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกสูงเกิน 3 ปี ศาลย่อมใช้ดุลพินิจออกหมายจับได้ทันที ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 66 (1) ไม่จำเป็นต้องออกหมายเรียกก่อน เพราะการออกหมายจับเป็นเพียงขั้นตอน เพื่อให้ผู้ต้องหาเข้าสู่กระบวนการ ยุติธรรม ดังนั้น การออกหมายจับผู้ต้องหา จึงเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีเหตุต้องเพิกถอนหมายจับ.
เครดิต : http://www.thairath.co.th/content/pol/390433