ดร.เจริญ คันธวงศ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์
สำนักข่าวBBC เคยลงรายงานข่าววิกฤตการณ์ทางการเมืองไทยว่า
คือการต่อสู้ขัดแย้งทางชนชั้น ระหว่างคนที่ยากจนในเขตชนบท กับคนที่ร่ำรวยในกรุงเทพฯ
ระหว่างคนที่ได้รับผลประโยชน์และสิทธิของความเป็นมนุษย์จากนโยบายของรัฐบาลทักษิณ
กับบรรดาอภิชนที่เสียผลประโยชน์ สื่อมวลชนต่างประเทศหลายสำนักก็ต่างนำเสนอเรื่องนี้
แต่ไม่มีใครตอก ย้ำได้ดีเท่าสมาชิกอาวุโสของพรรคประชาธิปัตย์ ดร.เจริญ คันธวงศ์
ที่บอกกับสำนักข่าวต่างประเทศว่า รัฐบาลประชาธิปัตย์ ไม่ได้กังวลนักกับการที่คนในเขตภาคอีสานเป็นฐานพลังมวลชนไพศาลให้แก่อดีต นายกฯทักษิณ และเป็นคนกลุ่มเสื้อแดงที่จะต่อต้านรัฐบาล โดยการนำของนายวีระ มุสิกพงษ์
"คนในภาคอีสานก็เป็นเพียงแรงงานให้กับคนกรุงเทพฯ คนรับใช้ในบ้านผมก็มาจากภาคอีสาน เด็กปั๊มน้ำมันที่มาให้บริการแก่คนกรุงก็มาจากอีสานทั้งนั้น"ดร.เจริญกล่าว
แม้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
อาศัยโอกาสที่เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี กล่าวจีบคนอีสานให้หันกลับมาสนับสนุน
ผ่านนิยายเรื่องแหวนหมั้นยายเนียม เพื่อสมานแผลที่ร้าวลึกคาใจกับคนภูมิภาคนี้
กลบเรื่องราวขุ่นข้องหมองใจที่คนอีสานโกรธแค้นรัฐบาลประชาธิปัตย์
สมัยนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี ปล่อยหมากัดม็อบ ซึ่งคนอีสานถือมากว่าเหยียดหยาม
แต่คำพูดของดร.เจริญอาจทำให้ขยายแผลที่กำลังจะสมานได้ลงเสียแล้ว
หนังสือ พิมพ์สเตรทไทมส์ โดย Nirmal Ghosh
เขียนบทวิจารณ์ “How long can the new Thai govt last?” รัฐบาลใหม่ของไทยจะอยู่ได้นานแค่ไหน) เผยแพร่เมื่อวันที่ 16 ธ.ค.2551
เนื้อหาส่วนหนึ่งกล่าวถึง ดร.เจริญ คันธวงศ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งไม่กี่นาทีหลังจากที่อภิสิทธิ์ได้รับการลงมติในสภาเมื่อวันที่ 16 ธ.ค.2551 ดร.เจริญ คันธวงศ์ ได้บอกกับผู้สื่อข่าวจากสเตรทไทม์ว่าพรรคประชาธิปัตย์ต้องให้ความสำคัญกับ สองสิ่ง คือ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่อยู่ในภาวะตกต่ำ และเยียวยาความแตกแยกอย่างรุนแรงในชาติ
แต่เขาไม่กังวลเกี่ยวกับความ นิยมทางการเมืองที่แบ่งแยกออกเป็นภูมิภาค ที่กรุงเทพฯ และภาคใต้เป็นฐานเสียงสำคัญของพรรคประชาธิปัตย์ ขณะที่ภูมิภาคที่มีประชากรหนาแน่นอย่างภาคเหนือและภาคอีสานเป็นฐานเสียงของ พรรคเพื่อไทย
“คุณรู้ไหม, คนจากภาคอีสานเป็นลูกจ้างให้คนในกรุงเทพฯ คนรับใช้ของผมมาจากภาคอีสาน ลูกจ้างปั๊มน้ำมันในกรุงเทพฯ ก็มาจากภาคอีสาน” นายเจริญกล่าว
ทั้ง นี้คำพูดของนายเจริญ ถูกอ้างถึงอีกครั้งในดิการ์เดียนของอังกฤษ เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. ในบทวิเคราะห์ที่ชื่อ “Class war behind Thai colour clash” รายงานโดย Bill Condie ผู้สื่อข่าวเดอะการ์เดียนในกรุงเทพฯ
สมบัติ ธำรงธัญวงศ์
"ปกติหลักการประชาธิปไตย จะใช้ 1 คน 1 เสียง ก็เป็นหลักการที่ถูกต้อง แต่คำถามคือ ทำไมหลักการนี้เมื่อมาใช้กับประเทศต่างๆ มันไม่เหมือนกัน ให้อธิบายสาเหตุว่าทำไม ถ้ามันได้ผลเหมือนกันก็ดี แต่เมื่อนำหลักการนี้ไปใช้ในสหรัฐอเมริกา อังกฤษ หรือประเทศต่างๆ ได้ผลดี แต่ถ้านำมาใช้ในประเทศไทยแล้วมันไม่ได้ผล เพราะอะไร ตนก็ต้องการคำอธิบายเหมือนกัน ตนเห็นว่า มันมีเงื่อนไขที่แตกต่างกัน แต่เมื่อคนบอกว่ายึดหลักว่ามันเหมือนกันก็ต้องอธิบายให้ตนฟัง ว่า ทำไมได้ผลไม่เหมือนกัน
“ทำไมนำหลักการนี้ไปใช้ในต่างประเทศแล้วได้นักการเมืองดีๆ เวลามีนักการเมืองไม่ดี ก็สามารถให้ประชาชนถอดถอนได้ ทำไมนำมาใช้ในประเทศไทยแล้วได้นักการเมืองที่ไม่ดีมากกว่า เพราะเมื่อพบว่านักการเมืองทำไม่ดี ไม่ถูกต้อง มีหลักฐานพยานชัดเจน ก็แถๆไป แล้วก็ถอดถอนไม่ได้ เพราะอะไร คนกลุ่มนี้ต้องอธิบายให้ผมฟัง ไม่ใช่ให้ผมอธิบาย” นายสมบัติ กล่าว
อดีตอธิการนิด้า กล่าวต่อว่า หลักการนี้ถ้าถูกต้องแล้ว ทำไมใช้ในไทยไม่ได้ ประชาชนไทยไม่ได้โง่ เพียงแต่ในวันหนึ่งๆ เขาต้องทำมาหากิน ไม่ได้มาคิดเรื่องนี้มากเท่าไร ขณะนี้บ้านเมืองก็พยายามหาวิธีที่มีข้อเสียน้อย เพราะการที่ได้ผลไม่เหมือนกัน แสดงว่ามีสาเหตุบางประการที่ทำให้แตกต่างกัน ยกตัวอย่างประเทศแอฟริกาใต้ ขณะนี้เป็นประเทศที่เจริญมากกว่าไทย ระบบเลือกตั้งจะให้เลือกได้แค่ส.ส.บัญชีรายชื่อเท่านั้น ไม่มีส.ส.เขต เพราะว่าส.ส.เขตจะซื้อสิทธิขายเสียงกันง่าย นี่คือระบอบประชาธิปไตยทางตรง เป็นหลักการ 1 คน 1 เสียง เหมือนกัน ในขณะที่ประเทศเยอรมันก็มีส.ส.เขตและส.ส.บัญชีรายชื่ออย่างละครึ่ง
“จะเห็นว่าระบอบประชาธิปไตยแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน ตามบริบทของประเทศ ถ้าไทยจะทำก็ต้องดูบริบทของประเทศ ออกแบบประชาธิปไตยให้มันสอดคล้อง ไม่งั้นจะแก้ปัญหาไม่ได้ ระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน ต้องทำให้ประชาชนเลือกคนดีมาเป็นผู้ปกครองให้ได้ เพราะมีแต่คนดีเท่านั้นที่จะใช้อำนาจทำสิ่งที่ดีเพื่อประชาชน ถ้าเลือกคนเลว ก็จะใช้อำนาจนั้น หาประโยชน์ให้ตนเองและพรรคพวก เหมือนสภาของระบอบทักษิณที่ทำอยู่ทุกวันนี้” นายสมบัติ กล่าว
ข่าวสด :
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNNE5qYzJOamN5TUE9PQ==&subcatid=
@@@@@@@@@
เป็นตัวแทน มุมมองพื้นฐานของพรรคประชาธิปัตย์ ในเชิงเหยียดชนชั้น
เป็นพรรคที่ไม่เคยยอมรับความเท่าเทียมกัน ของคนในสังคม
ไม่เคยเคารพในเสียงของประชาชน และเป็นพรรคที่ดูถูกประชาชนเสมอมา
จึงไม่แปลกที่จะเกิดขบวนการล้มเลือกตั้ง ไม่เคารพกติกาเสียเอง ในวันนี้
เพราะพรรคนี้แพ้ดักดานนานปี ก็เพราะมีแนวคิดอย่างนี้แหละ....
"..คนอีสานเป็นเพียงลูกจ้าง.."จาก เจริญ คันธวงศ์ สู่ สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ "1 คน 1 เสียง ยังใช้กับไทยไม่ได้"
สำนักข่าวBBC เคยลงรายงานข่าววิกฤตการณ์ทางการเมืองไทยว่า
คือการต่อสู้ขัดแย้งทางชนชั้น ระหว่างคนที่ยากจนในเขตชนบท กับคนที่ร่ำรวยในกรุงเทพฯ
ระหว่างคนที่ได้รับผลประโยชน์และสิทธิของความเป็นมนุษย์จากนโยบายของรัฐบาลทักษิณ
กับบรรดาอภิชนที่เสียผลประโยชน์ สื่อมวลชนต่างประเทศหลายสำนักก็ต่างนำเสนอเรื่องนี้
แต่ไม่มีใครตอก ย้ำได้ดีเท่าสมาชิกอาวุโสของพรรคประชาธิปัตย์ ดร.เจริญ คันธวงศ์
ที่บอกกับสำนักข่าวต่างประเทศว่า รัฐบาลประชาธิปัตย์ ไม่ได้กังวลนักกับการที่คนในเขตภาคอีสานเป็นฐานพลังมวลชนไพศาลให้แก่อดีต นายกฯทักษิณ และเป็นคนกลุ่มเสื้อแดงที่จะต่อต้านรัฐบาล โดยการนำของนายวีระ มุสิกพงษ์
"คนในภาคอีสานก็เป็นเพียงแรงงานให้กับคนกรุงเทพฯ คนรับใช้ในบ้านผมก็มาจากภาคอีสาน เด็กปั๊มน้ำมันที่มาให้บริการแก่คนกรุงก็มาจากอีสานทั้งนั้น"ดร.เจริญกล่าว
แม้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
อาศัยโอกาสที่เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี กล่าวจีบคนอีสานให้หันกลับมาสนับสนุน
ผ่านนิยายเรื่องแหวนหมั้นยายเนียม เพื่อสมานแผลที่ร้าวลึกคาใจกับคนภูมิภาคนี้
กลบเรื่องราวขุ่นข้องหมองใจที่คนอีสานโกรธแค้นรัฐบาลประชาธิปัตย์
สมัยนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี ปล่อยหมากัดม็อบ ซึ่งคนอีสานถือมากว่าเหยียดหยาม
แต่คำพูดของดร.เจริญอาจทำให้ขยายแผลที่กำลังจะสมานได้ลงเสียแล้ว
หนังสือ พิมพ์สเตรทไทมส์ โดย Nirmal Ghosh
เขียนบทวิจารณ์ “How long can the new Thai govt last?” รัฐบาลใหม่ของไทยจะอยู่ได้นานแค่ไหน) เผยแพร่เมื่อวันที่ 16 ธ.ค.2551
เนื้อหาส่วนหนึ่งกล่าวถึง ดร.เจริญ คันธวงศ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งไม่กี่นาทีหลังจากที่อภิสิทธิ์ได้รับการลงมติในสภาเมื่อวันที่ 16 ธ.ค.2551 ดร.เจริญ คันธวงศ์ ได้บอกกับผู้สื่อข่าวจากสเตรทไทม์ว่าพรรคประชาธิปัตย์ต้องให้ความสำคัญกับ สองสิ่ง คือ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่อยู่ในภาวะตกต่ำ และเยียวยาความแตกแยกอย่างรุนแรงในชาติ
แต่เขาไม่กังวลเกี่ยวกับความ นิยมทางการเมืองที่แบ่งแยกออกเป็นภูมิภาค ที่กรุงเทพฯ และภาคใต้เป็นฐานเสียงสำคัญของพรรคประชาธิปัตย์ ขณะที่ภูมิภาคที่มีประชากรหนาแน่นอย่างภาคเหนือและภาคอีสานเป็นฐานเสียงของ พรรคเพื่อไทย
“คุณรู้ไหม, คนจากภาคอีสานเป็นลูกจ้างให้คนในกรุงเทพฯ คนรับใช้ของผมมาจากภาคอีสาน ลูกจ้างปั๊มน้ำมันในกรุงเทพฯ ก็มาจากภาคอีสาน” นายเจริญกล่าว
ทั้ง นี้คำพูดของนายเจริญ ถูกอ้างถึงอีกครั้งในดิการ์เดียนของอังกฤษ เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. ในบทวิเคราะห์ที่ชื่อ “Class war behind Thai colour clash” รายงานโดย Bill Condie ผู้สื่อข่าวเดอะการ์เดียนในกรุงเทพฯ
สมบัติ ธำรงธัญวงศ์
"ปกติหลักการประชาธิปไตย จะใช้ 1 คน 1 เสียง ก็เป็นหลักการที่ถูกต้อง แต่คำถามคือ ทำไมหลักการนี้เมื่อมาใช้กับประเทศต่างๆ มันไม่เหมือนกัน ให้อธิบายสาเหตุว่าทำไม ถ้ามันได้ผลเหมือนกันก็ดี แต่เมื่อนำหลักการนี้ไปใช้ในสหรัฐอเมริกา อังกฤษ หรือประเทศต่างๆ ได้ผลดี แต่ถ้านำมาใช้ในประเทศไทยแล้วมันไม่ได้ผล เพราะอะไร ตนก็ต้องการคำอธิบายเหมือนกัน ตนเห็นว่า มันมีเงื่อนไขที่แตกต่างกัน แต่เมื่อคนบอกว่ายึดหลักว่ามันเหมือนกันก็ต้องอธิบายให้ตนฟัง ว่า ทำไมได้ผลไม่เหมือนกัน
“ทำไมนำหลักการนี้ไปใช้ในต่างประเทศแล้วได้นักการเมืองดีๆ เวลามีนักการเมืองไม่ดี ก็สามารถให้ประชาชนถอดถอนได้ ทำไมนำมาใช้ในประเทศไทยแล้วได้นักการเมืองที่ไม่ดีมากกว่า เพราะเมื่อพบว่านักการเมืองทำไม่ดี ไม่ถูกต้อง มีหลักฐานพยานชัดเจน ก็แถๆไป แล้วก็ถอดถอนไม่ได้ เพราะอะไร คนกลุ่มนี้ต้องอธิบายให้ผมฟัง ไม่ใช่ให้ผมอธิบาย” นายสมบัติ กล่าว
อดีตอธิการนิด้า กล่าวต่อว่า หลักการนี้ถ้าถูกต้องแล้ว ทำไมใช้ในไทยไม่ได้ ประชาชนไทยไม่ได้โง่ เพียงแต่ในวันหนึ่งๆ เขาต้องทำมาหากิน ไม่ได้มาคิดเรื่องนี้มากเท่าไร ขณะนี้บ้านเมืองก็พยายามหาวิธีที่มีข้อเสียน้อย เพราะการที่ได้ผลไม่เหมือนกัน แสดงว่ามีสาเหตุบางประการที่ทำให้แตกต่างกัน ยกตัวอย่างประเทศแอฟริกาใต้ ขณะนี้เป็นประเทศที่เจริญมากกว่าไทย ระบบเลือกตั้งจะให้เลือกได้แค่ส.ส.บัญชีรายชื่อเท่านั้น ไม่มีส.ส.เขต เพราะว่าส.ส.เขตจะซื้อสิทธิขายเสียงกันง่าย นี่คือระบอบประชาธิปไตยทางตรง เป็นหลักการ 1 คน 1 เสียง เหมือนกัน ในขณะที่ประเทศเยอรมันก็มีส.ส.เขตและส.ส.บัญชีรายชื่ออย่างละครึ่ง
“จะเห็นว่าระบอบประชาธิปไตยแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน ตามบริบทของประเทศ ถ้าไทยจะทำก็ต้องดูบริบทของประเทศ ออกแบบประชาธิปไตยให้มันสอดคล้อง ไม่งั้นจะแก้ปัญหาไม่ได้ ระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน ต้องทำให้ประชาชนเลือกคนดีมาเป็นผู้ปกครองให้ได้ เพราะมีแต่คนดีเท่านั้นที่จะใช้อำนาจทำสิ่งที่ดีเพื่อประชาชน ถ้าเลือกคนเลว ก็จะใช้อำนาจนั้น หาประโยชน์ให้ตนเองและพรรคพวก เหมือนสภาของระบอบทักษิณที่ทำอยู่ทุกวันนี้” นายสมบัติ กล่าว
ข่าวสด : http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNNE5qYzJOamN5TUE9PQ==&subcatid=
@@@@@@@@@
เป็นตัวแทน มุมมองพื้นฐานของพรรคประชาธิปัตย์ ในเชิงเหยียดชนชั้น
เป็นพรรคที่ไม่เคยยอมรับความเท่าเทียมกัน ของคนในสังคม
ไม่เคยเคารพในเสียงของประชาชน และเป็นพรรคที่ดูถูกประชาชนเสมอมา
จึงไม่แปลกที่จะเกิดขบวนการล้มเลือกตั้ง ไม่เคารพกติกาเสียเอง ในวันนี้
เพราะพรรคนี้แพ้ดักดานนานปี ก็เพราะมีแนวคิดอย่างนี้แหละ....