1. กลุ่มชาติพันธุ์จ้วง Zhuang 壮族
กลุ่มชาติพันธุ์จ้วงถือเป็นชนกลุ่มน้อยที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน มีประชากร16,178,811 คน ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในดินแดนปกครองตนเองกวางสีจ้วง และบางส่วนในหยุนหนาน กวางตุ้ง กุ้ยโจว หูหนาน และเวียดนามเหนือ ชาวจ้วงเชื่อว่าสีบเชื้อสายมาจากชาว ไป่เยว่ หรือชาวเยว่ร้อยเผ่าในอดีต ภาษาจ้วงจัดอยู่ในกลุ่มภาษา ไท กระได
2. กลุ่มชาติพันธุ์ปูใหย่ Buyei 布依族
น่าจะอ่านว่าปูใหย่หรือผู้ใหญ่นะครับ กลุ่มชาติพันธุ์ปูใหย่ประกอบด้วยประชากร 2,971,460 คน อาศัยอยู่ในเขตภูเขาสูงของมณฑลกุ้ยโจว รวมทั้งหยุนหนาน และเสฉวน แม้ว่ารัฐบาลจีนจะแยกว่าเป็นอีกกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่ง แต่ชาวปูใหย่ก็ยังถือว่าตนเองเป็นคนจ้วง ชาวปูใหย่พูดภาษาในตระกูลภาษาไทและมีความใกล้เคียงกับภาษาจ้วง และนับถือผีและพระพุทธศาสนา
3.กลุ่มชาติพันธุ์ตง Dong 侗族
กลุ่มชาติพันธุ์ตงประกอบด้วยประชากร 2,960,293 คนอาศัยอยู่ในเขตภูเขาของ กุ้ยโจว หูหนานและกวางสี ตงเป็นชื่อที่ทางรัฐบาลจีนเรียกกลุ่มชาติพันธุ์ แต่ชาวตงเรียกตนเองว่าขาม ภาษาของชาวขามหรือตงเป็นภาษาในกลุ่มกระได ซึ่งอยู่ในตระกูลภาษาไท กระได ชาวตงมีชื่อเสียงในด้านการสร้างสะพานที่มีหลังคาครอบที่เรียกว่าสะพานลมและฝน และนอกจากนี้ยังมีชื่อเสียงเรื่องการขับร้องเพลงประสานเสียงอีกด้วย ซึ่งการขับร้องเพลงประสานเสียงของชาวตงยังได้รับการขึ้นทะเบียนจากยูเนสโกให้เป็นมรดกที่จับต้องไม่ได้อีกด้วย
4.กลุ่มชาติพันธุ์ไต Dai 傣族
กลุ่มชาติพันธุ์ไตหรือไทลื้อมีประชากรประมาณ 1,158,989 คน นอกจากนี้ยังมีชาวไทลื้ออีกกว่าสามแสนคนในประเทศไทยและลาว ชาวไทลื้อมีวัฒนธรรมและภาษาพูดที่ใกล้เคียงกับคนไทยโดยเฉพาะคนไทยในภาคเหนือมากที่สุดจากกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆของจีน ชาวไตลื้อในจีนส่วนมากอาศัยอยู่ในอำเภอปกครองตนเองซื่อชวงปั่นน่า หรือสิบสองปันนาที่มีเมืองเหลืองชื่อว่าจิ่งหงหรือว่าเชียงรุ้ง ชาวไทลื้อนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทเช่นเดียวกับคนไทยและก็มีชื่อเสียงเกี่ยวกับประเพณีสงกรานต์เช่นเดียวกับคนไทยด้วย
5.กลุ่มชาติพันธุ์กะเหล่า Gelao 仡佬族
กลุ่มชาติพันธุ์กะเหล่ามีประชากรประมาณ 579,357 คน ส่วนมากอาศัยอยู่ในมณฑลกุ้ยโจว และบางส่วนในมณฑลกวางสี หยุนหนานและเสฉวน ภาษากะเหล่าจัดอยู่อยู่ในตระกูลภาษาไท กระได แต่ชาวกะเหล่าส่วนมากกันด้วยภาษาาจีนเนื่องด้วยภาษาถิ่นของชาวกะเหล่ามีความแตกต่างกันมาก ชาวกะเหล่านับถือพระพุทธศาสนามหายานและลัทธิเต๋า
6.กลุ่มชาติพันธุ์สุย Sui 水族
กลุ่มชาติพันธุ์สุยมีประชากรประมาณ 406,902 คน อาศัยอยู่ในมณฑลกวางสี กุ้ยโจวและหยุนหนาน ชาวสุยเชื่อว่าสืบเชื้อสายมาจากชาวเยว่ที่อาตั้งถิ่นฐานอยู่ชายฝั่งตะวันออกของจีนในอดีตก่อนสมัยราชวงศ์ฮั่น คำว่าสุยแปลว่าน้ำซึ่งชาวสุยได้ใช้คำนี้ระหว่างยุคราชวงศ์หมิง ชาวสุยพูดภาษาสุยซึ่งอยู่ในตระกูลภาษาไท กระได
7.กลุ่มชาติพันธุ์มูเลา Mulao 仫佬族
กลุ่มชาติพันธุ์มูเหลาหรือมูหลามมีประชากรประมาณ 207,352 คน อาศัยอยู่ในมณฑลกวางสีทางใต้ของจีน เป็นที่เชื่อกันว่าชาวมู่หลามสืบเชื้อสายมาจากชาวหลิงหรือเหลียวที่อาศัยอยู่ในดินแดนนี้ในอดีตตั้งแต่สมัยราชวงศ์จิน ชาวมู่หลามพูดภาษามู่หลามซึ่งเป็นภาษาหนึ่งในตระกูลไท กระได ชาวมู่หลามนับถือพระพุทธศาสนาร่วมกับสัทธิเต๋าและการบูชาผี
8.กลุ่มชาติพันธุ์เหมาหนาน Maonan 毛南族
กลุ่มชาติพันธุ์เมาหนานมีประชากรประมาณ 107,166 คน อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของเขตปกครองตนเองกวางสี ภาษาของชาวเหมานานเป็นภาษาในตระกูลภาษาไท กระได สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับชาวเหมานานก็คือ กว่า 80% ของชาวเหมานานมียามสกุลเดียวกัน คือนามสกุลถัน (Tan) ซึ่งเชื่อว่าเกิดจากชาวหูหนานกลุ่มหนึ่งได้มาอพยพมาแต่งงานกับหญิงชาวเหมานาน และนอกจากนี้หมู่บ้านของชาวเหมานานไม่มีหมู่บ้านไหนที่มีประชากรเกิน 100 คนเลย
9.กลุ่มชาติพันธุ์ลี Li 黎族
กลุ่มชาติพันธุ์ลีมีประชากรประมาณ 1,247,814 คน เกือบทั้งหมดอาศัยอยู่ในเกาะไหหลำทางใต้ของจีน นอกจากนี้ยังพบชาวลีอยู่ในหมู่เกาะในทะเลจีนใต้ในเขตของแระเทศฟิลิปปินส์
ชาวเกาะพื้นเมืองในทะเลลูซอน อันได้แก่ชาวฟิลิปปินส์ ก็รวมอยู่ในกลุ่มชาติพันธุ์ลีด้วย ชาวลีพูดภาษาไหลซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของตระกูลภาษาไท กระได และนับถือผีร่วมกับพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท นอกจากนี้การทอผ้าของชาวลียังได้รับการขึ้นทะเบียนจากยูเนสโกให้เป็นมรดกอันจับต้องมิได้อีกด้วย
กลุ่มคนเชื้อสายไท ในบรรดา 56 ชนเผ่าในประเทศจีน
1. กลุ่มชาติพันธุ์จ้วง Zhuang 壮族
กลุ่มชาติพันธุ์จ้วงถือเป็นชนกลุ่มน้อยที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน มีประชากร16,178,811 คน ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในดินแดนปกครองตนเองกวางสีจ้วง และบางส่วนในหยุนหนาน กวางตุ้ง กุ้ยโจว หูหนาน และเวียดนามเหนือ ชาวจ้วงเชื่อว่าสีบเชื้อสายมาจากชาว ไป่เยว่ หรือชาวเยว่ร้อยเผ่าในอดีต ภาษาจ้วงจัดอยู่ในกลุ่มภาษา ไท กระได
2. กลุ่มชาติพันธุ์ปูใหย่ Buyei 布依族
น่าจะอ่านว่าปูใหย่หรือผู้ใหญ่นะครับ กลุ่มชาติพันธุ์ปูใหย่ประกอบด้วยประชากร 2,971,460 คน อาศัยอยู่ในเขตภูเขาสูงของมณฑลกุ้ยโจว รวมทั้งหยุนหนาน และเสฉวน แม้ว่ารัฐบาลจีนจะแยกว่าเป็นอีกกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่ง แต่ชาวปูใหย่ก็ยังถือว่าตนเองเป็นคนจ้วง ชาวปูใหย่พูดภาษาในตระกูลภาษาไทและมีความใกล้เคียงกับภาษาจ้วง และนับถือผีและพระพุทธศาสนา
3.กลุ่มชาติพันธุ์ตง Dong 侗族
กลุ่มชาติพันธุ์ตงประกอบด้วยประชากร 2,960,293 คนอาศัยอยู่ในเขตภูเขาของ กุ้ยโจว หูหนานและกวางสี ตงเป็นชื่อที่ทางรัฐบาลจีนเรียกกลุ่มชาติพันธุ์ แต่ชาวตงเรียกตนเองว่าขาม ภาษาของชาวขามหรือตงเป็นภาษาในกลุ่มกระได ซึ่งอยู่ในตระกูลภาษาไท กระได ชาวตงมีชื่อเสียงในด้านการสร้างสะพานที่มีหลังคาครอบที่เรียกว่าสะพานลมและฝน และนอกจากนี้ยังมีชื่อเสียงเรื่องการขับร้องเพลงประสานเสียงอีกด้วย ซึ่งการขับร้องเพลงประสานเสียงของชาวตงยังได้รับการขึ้นทะเบียนจากยูเนสโกให้เป็นมรดกที่จับต้องไม่ได้อีกด้วย
4.กลุ่มชาติพันธุ์ไต Dai 傣族
กลุ่มชาติพันธุ์ไตหรือไทลื้อมีประชากรประมาณ 1,158,989 คน นอกจากนี้ยังมีชาวไทลื้ออีกกว่าสามแสนคนในประเทศไทยและลาว ชาวไทลื้อมีวัฒนธรรมและภาษาพูดที่ใกล้เคียงกับคนไทยโดยเฉพาะคนไทยในภาคเหนือมากที่สุดจากกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆของจีน ชาวไตลื้อในจีนส่วนมากอาศัยอยู่ในอำเภอปกครองตนเองซื่อชวงปั่นน่า หรือสิบสองปันนาที่มีเมืองเหลืองชื่อว่าจิ่งหงหรือว่าเชียงรุ้ง ชาวไทลื้อนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทเช่นเดียวกับคนไทยและก็มีชื่อเสียงเกี่ยวกับประเพณีสงกรานต์เช่นเดียวกับคนไทยด้วย
5.กลุ่มชาติพันธุ์กะเหล่า Gelao 仡佬族
กลุ่มชาติพันธุ์กะเหล่ามีประชากรประมาณ 579,357 คน ส่วนมากอาศัยอยู่ในมณฑลกุ้ยโจว และบางส่วนในมณฑลกวางสี หยุนหนานและเสฉวน ภาษากะเหล่าจัดอยู่อยู่ในตระกูลภาษาไท กระได แต่ชาวกะเหล่าส่วนมากกันด้วยภาษาาจีนเนื่องด้วยภาษาถิ่นของชาวกะเหล่ามีความแตกต่างกันมาก ชาวกะเหล่านับถือพระพุทธศาสนามหายานและลัทธิเต๋า
6.กลุ่มชาติพันธุ์สุย Sui 水族
กลุ่มชาติพันธุ์สุยมีประชากรประมาณ 406,902 คน อาศัยอยู่ในมณฑลกวางสี กุ้ยโจวและหยุนหนาน ชาวสุยเชื่อว่าสืบเชื้อสายมาจากชาวเยว่ที่อาตั้งถิ่นฐานอยู่ชายฝั่งตะวันออกของจีนในอดีตก่อนสมัยราชวงศ์ฮั่น คำว่าสุยแปลว่าน้ำซึ่งชาวสุยได้ใช้คำนี้ระหว่างยุคราชวงศ์หมิง ชาวสุยพูดภาษาสุยซึ่งอยู่ในตระกูลภาษาไท กระได
7.กลุ่มชาติพันธุ์มูเลา Mulao 仫佬族
กลุ่มชาติพันธุ์มูเหลาหรือมูหลามมีประชากรประมาณ 207,352 คน อาศัยอยู่ในมณฑลกวางสีทางใต้ของจีน เป็นที่เชื่อกันว่าชาวมู่หลามสืบเชื้อสายมาจากชาวหลิงหรือเหลียวที่อาศัยอยู่ในดินแดนนี้ในอดีตตั้งแต่สมัยราชวงศ์จิน ชาวมู่หลามพูดภาษามู่หลามซึ่งเป็นภาษาหนึ่งในตระกูลไท กระได ชาวมู่หลามนับถือพระพุทธศาสนาร่วมกับสัทธิเต๋าและการบูชาผี
8.กลุ่มชาติพันธุ์เหมาหนาน Maonan 毛南族
กลุ่มชาติพันธุ์เมาหนานมีประชากรประมาณ 107,166 คน อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของเขตปกครองตนเองกวางสี ภาษาของชาวเหมานานเป็นภาษาในตระกูลภาษาไท กระได สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับชาวเหมานานก็คือ กว่า 80% ของชาวเหมานานมียามสกุลเดียวกัน คือนามสกุลถัน (Tan) ซึ่งเชื่อว่าเกิดจากชาวหูหนานกลุ่มหนึ่งได้มาอพยพมาแต่งงานกับหญิงชาวเหมานาน และนอกจากนี้หมู่บ้านของชาวเหมานานไม่มีหมู่บ้านไหนที่มีประชากรเกิน 100 คนเลย
9.กลุ่มชาติพันธุ์ลี Li 黎族
กลุ่มชาติพันธุ์ลีมีประชากรประมาณ 1,247,814 คน เกือบทั้งหมดอาศัยอยู่ในเกาะไหหลำทางใต้ของจีน นอกจากนี้ยังพบชาวลีอยู่ในหมู่เกาะในทะเลจีนใต้ในเขตของแระเทศฟิลิปปินส์
ชาวเกาะพื้นเมืองในทะเลลูซอน อันได้แก่ชาวฟิลิปปินส์ ก็รวมอยู่ในกลุ่มชาติพันธุ์ลีด้วย ชาวลีพูดภาษาไหลซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของตระกูลภาษาไท กระได และนับถือผีร่วมกับพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท นอกจากนี้การทอผ้าของชาวลียังได้รับการขึ้นทะเบียนจากยูเนสโกให้เป็นมรดกอันจับต้องมิได้อีกด้วย