สามข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ OTTP ในชาอู่หลงและความอ้วน

สวัสดีครับ  เรื่องนี้ผมค้นคว้าไว้ได้เดือนกว่า ๆ แล้วและเคยตั้งกระทู้ไว้ในเว็บอื่น  พอดีเพิ่งสมัครเป็นสมาชิกของที่นี่ได้ไม่นาน  จึงเพิ่งจะนำมาแบ่งปันครับ  เรื่องของวารสารวิชาการนั้นผมค้นหาจาก PubMed (http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed) ครับ

ข้อเท็จจริงแรก  OTPP ย่อมาจาก Oolong Tea Polymerized Polyphenols เป็นคำเรียกสารกลุ่ม Flavan-3-ols ที่สกัดได้จากชาอู่หลง  ซึ่งสารประเภทโพลีฟีนอลนี้ก็มีอยู่ในชาประเภทอื่น ๆ เช่นเดียวกันครับ  และสูตรโครงสร้างของมันก็หน้าตาประมาณนี้




จากงานวิจัยของคนนี้แหละ  ที่ชื่อติดมากับรูปน่ะ  กล่าวว่า  กลไกการทำงานของสารนี้คือยับยั้งเอนไซม์ไลเปส (เอนไซม์นี้ผลิตจากตับอ่อนเพื่อย่อยไขมัน)  เมื่อไขมันไม่ถูกย่อย  มันจึงไม่ถูกดูดซึมและออกจากระบบย่อยอาหารผ่านทางอุจจาระ

หากใครได้ดู animation โฆษณาจะพบว่ามีการใช้ตัวการ์ตูนแทน OTPP ไปจับและพาไขมันออกจากระบบย่อยอาหาร  ซึ่งไม่ผิดเพี้ยนจากหลักการทำงานของตัวยับยั้งเอนไซม์  นอกจากนี้  การกินตัวยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ย่อยไขมันเพื่อลดความอ้วนหรือป้องกันไม่ให้อ้วนก็ผิดหลักวิชาการด้วย  เนื่องจากความอ้วนไม่ได้เกิดจากเอนไซม์ไลเปสทำงานมากเกิน (จึงต้องกินตัวยับยั้ง)  หรือการกินอาหารที่มีไขมันมากเพียงอย่างเดียว
  
ข้อเท็จจริงถัดมา  งานวิจัยในคนตามบทความของ อ.ศัลยา คงสมบูรณ์เวช  ในเว็บไซต์ http://www.oolongtea-fat.net (ที่ใช้โฆษณาสรรพคุณ OTTP นั่นแหละ) เนื้อหาบทความที่อ้างอิงงานวิจัย Oolong tea increases energy metabolism in Japanese females  แล้วสรุปว่า OTPP  ช่วยในการเผาผลาญพลังงาน  ทั้งที่ใช้กลุ่มตัวอย่างเพียง 11 คน ???  นี่น้อยกว่าที่เครื่องสำอางค์สุ่มตัวอย่างพิสูจน์ความพึงพอใจอีกนะครับ  จำนวนเท่านี้ไม่เพียงพอที่จะกล่าวว่า OTPP ช่วยในการเผาผลาญพลังงานแน่นอน  และยิ่งคิดยิ่งน่าสงสัยว่าแล้วผู้ชายกินจะได้ผลหรือ ? (เพราะทำแค่ในผู้หญิง) แค่นี้ก็พอเข้าใจได้แล้วว่าทำไมไม่ส่งตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ  เนื่องจากรูปแบบการทดลองมันไม่รัดกุมพอที่จะสรุปผลตามที่ต้องการอ้างนั่นเอง (งานวิจัยที่อาจารย์ท่านนี้อ้างถึง  ตีพิมพ์เฉพาะในวารสารวิชาการของญี่ปุ่นเกือบทั้งหมด)
  
ข้อเท็จจริงสุดท้าย  ความอ้วนเกิดจากร่างกายสะสมไขมันส่วนเกิน  และไขมันที่ว่านั้นไม่ได้มาจากการรับประทานอาหารไขมันสูงเพียงอย่างเดียว  แต่ร่างกายจะเปลี่ยนน้ำตาลส่วนเกินที่ได้รับเป็นไขมันด้วย  ซึ่งน้ำตาลที่ว่านี้ก็คือหน่วยย่อยของคาร์โบไฮเดรต (แป้ง)  ฉะนั้นนี่คือสาเหตุหลักที่ทำให้คนกินข้าวเยอะ ๆ หรือกินขนมที่มีแป้ง  และ/หรือน้ำตาลเยอะ ๆ มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
  
หวังว่าทุกคนจะคนพบคำตอบที่ถูกต้องในใจเกี่ยวกับการบริโภคชาอู่หลงและเรื่องของความอ้วนนะครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่