พูดถึงบทความนี้ ขอพูดเรื่องการกระจายอํานาจที่มากขึ้นหน่อย แล้วกัน บทความนี้เปรียบเปรยว่าถ้าแยกประเทศแล้วอีสานในสภาพนี้จะเป็นไงภาคใต้แยกประเทศแล้วจะเป็นไง ดังนั้นถ้าจะให้ทุกภาคเท่าเทียมกันในเรื่องความเจริญต้องกระจายอํานาจ ลดอํานาจรัฐส่วนกลางลงมา
1. ปฏิรูปประเทศอย่างไร ?
ประเทศที่เป็นรัฐเดี่ยว มีแนวโน้มที่จะกระจายอำนาจต่ำ เนื่องจากมีการผูกขาดอำนาจสูง การผูกขาดอำนาจ จะเกิดขึ้นทั้งโดยนักการเมือง และข้าราชการเอง
ประเทศไทย จะไม่มีทางแก้ปัญหานี้ตก หากไม่กระจายอำนาจออกไป ซึ่งในที่สุด ข้าราชการก็จะถูกแทรกแซง หรือไม่ก็เข้าไปรับใช้นักการเมือง เพราะเป็นผู้ให้คุณให้โทษได้ การกระจายอำนาจ จะช่วยบรรเทาปัญหานี้ได้ แม้ไม่หมดไป แต่ก็จะดีขึ้นมาก เพราะไม่มีใครที่สามารถผูกขาดอำนาจไว้อย่างเด็ดขาด
2. การกระจายอำนาจ ทำอย่างไร ?
ทำได้โดย การทำให้ประเทศเป็นรูปแบบรัฐเดี่ยวที่มีการกระจายอำนาจสูง กล่าวคือ เป็นรัฐเดี่ยวที่ใกล้จะเป็นสหพันธรัฐ (Quasi Federal State) เช่น อังกฤษ หรือเป็นรัฐเดี่ยวที่มีการกระจายอำนาจสูง เช่น ญี่ปุ่น และกลไกที่นำมาช่วยได้ มีอาทิ
- การให้ประชาชนเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดของตนเอง ซึ่งรัฐธรรมนูญมาตรา 78 (3) กำหนดให้ การยกจังหวัดเป็นท้องถิ่นขนาดใหญ่ (ไม่ใช่ภูมิภาค) เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประชาชน ซึ่งหมายความว่า ไม่มีอะไรมาทัดทานประชาชนได้ วิธีการเช่นนี้ จะเป็นการลดอำนาจของนักการเมือง คือ รัฐบาล และระบบราชการอันเป็นแขนขาที่นักการเมืองใช้
- กองทัพ จะไม่สามารถปฏิวัติได้สำเร็จ เพราะอำนาจถูกกระจายไปทั่ว ไม่ได้ถูกรวมศูนย์อยู่ที่กรุงเทพที่เดียว
- จากนั้น ให้ตำรวจไปสังกัดจังหวัดที่เป็นท้องถิ่น
- กระบวนการยุติธรรมจะต้องเฉียบขาด สามารถนำคนผิดมาลงโทษได้ โดยไม่มีการต่อรองนอกระบบ
- โทษทางอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ต้องไม่มีอายุความ
- ส่วนระบบการเมืองต้องออกแบบใหม่ เช่น ส.ส. ไม่ต้องสังกัดพรรค ซึ่งจะถูกควบคุมให้โหวตตามพรรค
- เพิ่ม ส.ส. สัดส่วนให้มากกว่า ส.ส. เขต เพราะมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำหน้าที่บริหารพื้นที่ทุกตารางนิ้วอยู่แล้ว ส.ส. มีหน้าที่เพียงออกกฎหมาย ไม่ใช่ผันงบประมาณ
- การแปรรูปรัฐวิสาหกิจจะต้องคิดว่าอะไรเป็นประโยชน์ อะไรไม่เป็นประโยชน์
- ส่วนสถาบันพระมหากษัตริย์ จะยังคงสถิตย์อยู่ตลอดไป เช่น อังกฤษ และ ญี่ปุ่น
- ฯลฯ
ให้รัฐบาลรับผิดชอบเพียงด้านเศรษฐกิจ การต่างประเทศ การคลัง และการทหาร นอกนั้นให้จังหวัดรับผิดชอบ จังหวัดจะได้รับงบประมาณมากขึ้น อันเป็นการกระจายความเจริญออกไปจากกรุงเทพ
รัฐบาลจะมีงบประมาณน้อยลง ไม่สามารถทำประชานิยมได้ตามอำเภอใจ
ประชาชนจะถูกฝึกให้เป็นพลเมืองมากขึ้น เพราะต้องรับผิดชอบอนาคตของตัวเองในจังหวัดมากขึ้น ไม่ใช่แค่ผู้รอรับนโยบายจากรัฐ หรือแบมือขอนโยบายประชานิยมเท่านั้น มีการเล่นพวกพ้อง และอุปถัมภ์
ความขัดแย้งของประชาชนในชาติจะลดลง แม้จะไม่หมดไป แต่การจะคงสภาพนี้ไว้แบบเดิม จะไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เพราะประเทศไม่อาจฝากชะตากรรมไว้ที่การเลือกตั้ง เพียงอย่างเดียว
การเป็นรัฐเดี่ยว ในรูปแบบนี้ จะมีเสถียรภาพ กว่าการเป็นรัฐเดี่ยวที่รวมศูนย์อำนาจอย่างมากแบบเดิม อันจะเป็นการแก้ปัญหา คนจำนวนมากที่ไม่เสียภาษี แต่กลับมีผลในการกำหนดทิศทางการเมืองจากการเป็นเสียงส่วนใหญ่ ในการเลือกตั้ง ถ้าอยู่แบบเดิมก็ ก็จะได้ หัวคะแนน ตำรวจ สส. ผู้ว่าราชการจังหวัด ที่เป็นสายพาน ส่งนักการเมืองตามภูมิภาคต่าง ๆ ขึ้นสู่อำนาจ
การกระจายอำนาจ ทำอย่างไร ?
1. ปฏิรูปประเทศอย่างไร ?
ประเทศที่เป็นรัฐเดี่ยว มีแนวโน้มที่จะกระจายอำนาจต่ำ เนื่องจากมีการผูกขาดอำนาจสูง การผูกขาดอำนาจ จะเกิดขึ้นทั้งโดยนักการเมือง และข้าราชการเอง
ประเทศไทย จะไม่มีทางแก้ปัญหานี้ตก หากไม่กระจายอำนาจออกไป ซึ่งในที่สุด ข้าราชการก็จะถูกแทรกแซง หรือไม่ก็เข้าไปรับใช้นักการเมือง เพราะเป็นผู้ให้คุณให้โทษได้ การกระจายอำนาจ จะช่วยบรรเทาปัญหานี้ได้ แม้ไม่หมดไป แต่ก็จะดีขึ้นมาก เพราะไม่มีใครที่สามารถผูกขาดอำนาจไว้อย่างเด็ดขาด
2. การกระจายอำนาจ ทำอย่างไร ?
ทำได้โดย การทำให้ประเทศเป็นรูปแบบรัฐเดี่ยวที่มีการกระจายอำนาจสูง กล่าวคือ เป็นรัฐเดี่ยวที่ใกล้จะเป็นสหพันธรัฐ (Quasi Federal State) เช่น อังกฤษ หรือเป็นรัฐเดี่ยวที่มีการกระจายอำนาจสูง เช่น ญี่ปุ่น และกลไกที่นำมาช่วยได้ มีอาทิ
- การให้ประชาชนเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดของตนเอง ซึ่งรัฐธรรมนูญมาตรา 78 (3) กำหนดให้ การยกจังหวัดเป็นท้องถิ่นขนาดใหญ่ (ไม่ใช่ภูมิภาค) เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประชาชน ซึ่งหมายความว่า ไม่มีอะไรมาทัดทานประชาชนได้ วิธีการเช่นนี้ จะเป็นการลดอำนาจของนักการเมือง คือ รัฐบาล และระบบราชการอันเป็นแขนขาที่นักการเมืองใช้
- กองทัพ จะไม่สามารถปฏิวัติได้สำเร็จ เพราะอำนาจถูกกระจายไปทั่ว ไม่ได้ถูกรวมศูนย์อยู่ที่กรุงเทพที่เดียว
- จากนั้น ให้ตำรวจไปสังกัดจังหวัดที่เป็นท้องถิ่น
- กระบวนการยุติธรรมจะต้องเฉียบขาด สามารถนำคนผิดมาลงโทษได้ โดยไม่มีการต่อรองนอกระบบ
- โทษทางอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ต้องไม่มีอายุความ
- ส่วนระบบการเมืองต้องออกแบบใหม่ เช่น ส.ส. ไม่ต้องสังกัดพรรค ซึ่งจะถูกควบคุมให้โหวตตามพรรค
- เพิ่ม ส.ส. สัดส่วนให้มากกว่า ส.ส. เขต เพราะมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำหน้าที่บริหารพื้นที่ทุกตารางนิ้วอยู่แล้ว ส.ส. มีหน้าที่เพียงออกกฎหมาย ไม่ใช่ผันงบประมาณ
- การแปรรูปรัฐวิสาหกิจจะต้องคิดว่าอะไรเป็นประโยชน์ อะไรไม่เป็นประโยชน์
- ส่วนสถาบันพระมหากษัตริย์ จะยังคงสถิตย์อยู่ตลอดไป เช่น อังกฤษ และ ญี่ปุ่น
- ฯลฯ
ให้รัฐบาลรับผิดชอบเพียงด้านเศรษฐกิจ การต่างประเทศ การคลัง และการทหาร นอกนั้นให้จังหวัดรับผิดชอบ จังหวัดจะได้รับงบประมาณมากขึ้น อันเป็นการกระจายความเจริญออกไปจากกรุงเทพ
รัฐบาลจะมีงบประมาณน้อยลง ไม่สามารถทำประชานิยมได้ตามอำเภอใจ
ประชาชนจะถูกฝึกให้เป็นพลเมืองมากขึ้น เพราะต้องรับผิดชอบอนาคตของตัวเองในจังหวัดมากขึ้น ไม่ใช่แค่ผู้รอรับนโยบายจากรัฐ หรือแบมือขอนโยบายประชานิยมเท่านั้น มีการเล่นพวกพ้อง และอุปถัมภ์
ความขัดแย้งของประชาชนในชาติจะลดลง แม้จะไม่หมดไป แต่การจะคงสภาพนี้ไว้แบบเดิม จะไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เพราะประเทศไม่อาจฝากชะตากรรมไว้ที่การเลือกตั้ง เพียงอย่างเดียว
การเป็นรัฐเดี่ยว ในรูปแบบนี้ จะมีเสถียรภาพ กว่าการเป็นรัฐเดี่ยวที่รวมศูนย์อำนาจอย่างมากแบบเดิม อันจะเป็นการแก้ปัญหา คนจำนวนมากที่ไม่เสียภาษี แต่กลับมีผลในการกำหนดทิศทางการเมืองจากการเป็นเสียงส่วนใหญ่ ในการเลือกตั้ง ถ้าอยู่แบบเดิมก็ ก็จะได้ หัวคะแนน ตำรวจ สส. ผู้ว่าราชการจังหวัด ที่เป็นสายพาน ส่งนักการเมืองตามภูมิภาคต่าง ๆ ขึ้นสู่อำนาจ