"ต้องสอบเลือกตั้ง"
"คนเสียภาษีเท่านั้นที่มีสิทธิเลือกตั้ง"
วาทกรรมของคนเมือง ที่ฝันหวานว่าจะเป็นทางออกของประเทศไทย
https://www.change.org/th/แคมเปญรณรงค์/ปฎิรูปการเมืองไทย-คัดกรองผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
เชื่อมั้ยครับว่า ครั้งหนึ่งผมก็เคยคิดแบบนี้แหละ 5 ปีที่เรียนพาณิชพระนคร เดินผ่านทำเนียบที่ พล.อ. เปรม เป็นนายก เป็นคนจน ๆ ปักหลักประท้วงอยู่ข้าง ก.พ. เช้า ๆ ก็นึ่งข้าวเหนียว เป็นภาพที่คุ้นตาเวลาเดินผ่าน
พอเข้าทำงานก็รับแนวความคิดของพี่ตู้ จรัสพงษ์ สุรัสวดี แล้วก็นั่งคุยกับเพื่อนในที่ทำงาน
จนมีความคิดกันว่า น่าจะให้สิทธิเลือกตั้งตามจำนวนเงินที่เสียภาษี เช่น เสียภาษี 10,000 บาท ได้ 1 สิทธิ์
ความเชื่อผิด ๆ ว่าคนเมืองเท่านั้นที่เสียภาษี
สัดส่วนการจัดเก็บรายได้ภาษีของรัฐบาล ปีงบประมาณ 2550
43% มาจากภาษีทางตรง
13% มาจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
26% มาจากภาษีเงินได้นิติบุคคล
57% มาจากภาษีทางอ้อม
29% มาจากภาษีมูลค่าเพิ่ม
19% มาจากภาษีสรรพสามิต
จะเห็นได้ว่ารายได้ภาษีส่วนใหญ่ เกิดจากการบริโภค
ยกตัวอย่าง เกษตรกร ขายพืชผล ไม่เสียภาษี
แต่รายได้ เอาไปซื้อรถกระบะ เติมน้ำเงิน ปลูกบ้าน ซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า ใช้จ่ายเกือบทุกอย่าง ล้วนแต่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีสรรพสามิตทั้งนั้น
ถ้ายึดถือหลักการที่ว่า "คนเสียภาษีเท่านั้น ที่มีสิทธิเลือกตั้ง"
ต่อไป จะซื้อรถ จะเติมน้ำเงิน ซื้อสินค้าทุกอย่าง ต้องเก็บใบกำกับภาษีทุกใบ รวบรวมเอาไว้ทวงสิทธิเลือกตั้งกันล่ะ
ภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่มากกว่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ถึง 2 เท่า
ถ้าจะอ้างว่าเจ้าของและพนักงานที่ทำงานในนิติบุคคล เป็นคนเมือง จึงควรได้สิทธิเลือกตั้ง มากกว่าคนชนบท แล้วล่ะก็
ก็ต้องถามว่า แล้วรายได้ของนิติบุคคลเหล่านั้นมาจากไหน
ก็มาจากการบริโภคอีกนั่นแหละ
ยกตัวอย่าง เติมเงินมือถือ จ่ายบิลรายเดือน ซื้อของ 7-11 โลตัส บิ๊กซี
ก็จ่าย VAT ไปก่อนแล้ว 7% หักต้นทุนสินค้าและบริการ
ที่เหลือเป็นกำไร เอาไปเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
ถ้ายึดถือหลักการที่ว่า "คนเสียภาษีเท่านั้น ที่มีสิทธิเลือกตั้ง"
ต่อไปต้องออกกฏหมายบังคับว่า บริษัทไหนจะขายสินค้าและบริการให้คนในจังหวัดไหน จะต้องรวบรวมรายได้ เสียภาษีให้จังหวัดนั้นเท่านั้น
ผมเชียร์เต็มที่กับหลักการที่ว่า "คนเสียภาษีเท่านั้น ที่มีสิทธิเลือกตั้ง"
คนชนบท จะได้พูดเต็มปากว่า กูก็เสียภาษีให้ประเทศ เท่า ๆ กับคนเมืองนั้นแหละ
ข้ออ้างที่ว่า รัฐบาลเอาเงินภาษีไปล้างผลาญกับโครงการรับจำนำข้าว
ก็ถามกลับว่า การที่ทำแบบนี้ ทำให้ข้าวสารที่ขายกันอยู่ทุกวันนี้ มีราคาต่ำกว่าต้นทุนที่แท้จริง ใช่หรือไม่
ถ้าเพิ่มราคาข้าวถุงอีก 50 บาท เพื่อจะไม่ต้องเอาภาษีไปอุ้ม จะยอมรับกันได้มั้ย
อย่าเข้าใจผิดว่ารัฐบาลเอาภาษีของคนเมืองไปให้ชาวนา
แท้ที่จริงแล้ว ก็เป็นภาษีของคนชนบทเองนั้นแหละ
คนที่ขับรถ เติมน้ำมัน ใช้โทรศัพท์มือถือ
ก็เอาภาษีจากตรงนี้แหละ ไปพยุงไม่ให้ข้าวมีราคาแพงขึ้น
ภาษีของคนชนบท อุ้มคนชนบทด้วยกันเอง ผิดตรงไหน
อย่าเข้าใจผิด อย่ามายาคติ อย่าตีกิน อ้างสิทธิเป็นเจ้าของประเทศเลยนะ คนเมือง
คนชนบท เสียภาษีเท่าเทียมกัน อย่าให้คนเมืองตีกิน อ้างสิทธิเป็นเจ้าของประเทศ
"คนเสียภาษีเท่านั้นที่มีสิทธิเลือกตั้ง"
วาทกรรมของคนเมือง ที่ฝันหวานว่าจะเป็นทางออกของประเทศไทย
https://www.change.org/th/แคมเปญรณรงค์/ปฎิรูปการเมืองไทย-คัดกรองผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
เชื่อมั้ยครับว่า ครั้งหนึ่งผมก็เคยคิดแบบนี้แหละ 5 ปีที่เรียนพาณิชพระนคร เดินผ่านทำเนียบที่ พล.อ. เปรม เป็นนายก เป็นคนจน ๆ ปักหลักประท้วงอยู่ข้าง ก.พ. เช้า ๆ ก็นึ่งข้าวเหนียว เป็นภาพที่คุ้นตาเวลาเดินผ่าน
พอเข้าทำงานก็รับแนวความคิดของพี่ตู้ จรัสพงษ์ สุรัสวดี แล้วก็นั่งคุยกับเพื่อนในที่ทำงาน
จนมีความคิดกันว่า น่าจะให้สิทธิเลือกตั้งตามจำนวนเงินที่เสียภาษี เช่น เสียภาษี 10,000 บาท ได้ 1 สิทธิ์
ความเชื่อผิด ๆ ว่าคนเมืองเท่านั้นที่เสียภาษี
สัดส่วนการจัดเก็บรายได้ภาษีของรัฐบาล ปีงบประมาณ 2550
43% มาจากภาษีทางตรง
13% มาจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
26% มาจากภาษีเงินได้นิติบุคคล
57% มาจากภาษีทางอ้อม
29% มาจากภาษีมูลค่าเพิ่ม
19% มาจากภาษีสรรพสามิต
จะเห็นได้ว่ารายได้ภาษีส่วนใหญ่ เกิดจากการบริโภค
ยกตัวอย่าง เกษตรกร ขายพืชผล ไม่เสียภาษี
แต่รายได้ เอาไปซื้อรถกระบะ เติมน้ำเงิน ปลูกบ้าน ซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า ใช้จ่ายเกือบทุกอย่าง ล้วนแต่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีสรรพสามิตทั้งนั้น
ถ้ายึดถือหลักการที่ว่า "คนเสียภาษีเท่านั้น ที่มีสิทธิเลือกตั้ง"
ต่อไป จะซื้อรถ จะเติมน้ำเงิน ซื้อสินค้าทุกอย่าง ต้องเก็บใบกำกับภาษีทุกใบ รวบรวมเอาไว้ทวงสิทธิเลือกตั้งกันล่ะ
ภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่มากกว่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ถึง 2 เท่า
ถ้าจะอ้างว่าเจ้าของและพนักงานที่ทำงานในนิติบุคคล เป็นคนเมือง จึงควรได้สิทธิเลือกตั้ง มากกว่าคนชนบท แล้วล่ะก็
ก็ต้องถามว่า แล้วรายได้ของนิติบุคคลเหล่านั้นมาจากไหน
ก็มาจากการบริโภคอีกนั่นแหละ
ยกตัวอย่าง เติมเงินมือถือ จ่ายบิลรายเดือน ซื้อของ 7-11 โลตัส บิ๊กซี
ก็จ่าย VAT ไปก่อนแล้ว 7% หักต้นทุนสินค้าและบริการ
ที่เหลือเป็นกำไร เอาไปเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
ถ้ายึดถือหลักการที่ว่า "คนเสียภาษีเท่านั้น ที่มีสิทธิเลือกตั้ง"
ต่อไปต้องออกกฏหมายบังคับว่า บริษัทไหนจะขายสินค้าและบริการให้คนในจังหวัดไหน จะต้องรวบรวมรายได้ เสียภาษีให้จังหวัดนั้นเท่านั้น
ผมเชียร์เต็มที่กับหลักการที่ว่า "คนเสียภาษีเท่านั้น ที่มีสิทธิเลือกตั้ง"
คนชนบท จะได้พูดเต็มปากว่า กูก็เสียภาษีให้ประเทศ เท่า ๆ กับคนเมืองนั้นแหละ
ข้ออ้างที่ว่า รัฐบาลเอาเงินภาษีไปล้างผลาญกับโครงการรับจำนำข้าว
ก็ถามกลับว่า การที่ทำแบบนี้ ทำให้ข้าวสารที่ขายกันอยู่ทุกวันนี้ มีราคาต่ำกว่าต้นทุนที่แท้จริง ใช่หรือไม่
ถ้าเพิ่มราคาข้าวถุงอีก 50 บาท เพื่อจะไม่ต้องเอาภาษีไปอุ้ม จะยอมรับกันได้มั้ย
อย่าเข้าใจผิดว่ารัฐบาลเอาภาษีของคนเมืองไปให้ชาวนา
แท้ที่จริงแล้ว ก็เป็นภาษีของคนชนบทเองนั้นแหละ
คนที่ขับรถ เติมน้ำมัน ใช้โทรศัพท์มือถือ
ก็เอาภาษีจากตรงนี้แหละ ไปพยุงไม่ให้ข้าวมีราคาแพงขึ้น
ภาษีของคนชนบท อุ้มคนชนบทด้วยกันเอง ผิดตรงไหน
อย่าเข้าใจผิด อย่ามายาคติ อย่าตีกิน อ้างสิทธิเป็นเจ้าของประเทศเลยนะ คนเมือง