คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการการขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการบริจาคให้แก่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ออกไปอีก 5 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2571 โดยให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับการบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากร (e-Donation) ให้แก่ กสศ. และเพิ่มเติมการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ให้แก่บุคคลธรรมดาและบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับการบริจาคทรัพย์สินให้แก่ กสศ. ให้เหมือนกันกับการบริจาคทรัพย์สินให้แก่สถานศึกษา
ดร.กุลยา ตันติเตมิท อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า “คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. เรื่อง การขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการบริจาคให้แก่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ออกไปอีก 5 ปี และเพิ่มเติมการยกเว้นภาษีสำหรับการบริจาคทรัพย์สินให้แก่ กสศ. ให้เหมือนกันกับการบริจาคทรัพย์สินให้แก่สถานศึกษา โดยมีหลักการสรุปได้ดังนี้
1. ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับการบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากร (e-Donation) ให้แก่ กสศ. ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2571ดังต่อไปนี้
1.1 บุคคลธรรมดา ให้หักลดหย่อนได้ 2 เท่าของจำนวนเงินที่บริจาค โดยยกเว้น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ๒ เท่าของจำนวนเงินที่บริจาค และเมื่อรวมกับเงินได้ที่ได้มีพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในประมวลรัษฎากรกำหนดให้มีการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2 เท่า ของเงินที่ได้จ่ายแล้ว ต้องไม่เกินร้อยละ ๑๐ ของเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนตามมาตรา 47 (1) (2) (3) (4) (5) หรือ (6) แห่งประมวลรัษฎากร
1.2 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ให้หักรายจ่ายได้ 2 เท่าของรายจ่ายที่บริจาค ไม่ว่าจะได้จ่ายเป็นเงินหรือทรัพย์สิน โดยยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 2 เท่าของรายจ่ายที่บริจาค และเมื่อรวมกับรายจ่ายที่ได้มีพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในประมวลรัษฎากรกำหนดให้มีการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ๒ เท่าของรายจ่ายที่ได้จ่ายแล้ว ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่าย เพื่อการกุศลสาธารณะหรือเพื่อการสาธารณประโยชน์ และรายจ่ายเพื่อการศึกษาหรือเพื่อการกีฬาตามมาตรา 65 ตรี (3) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร
2. ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ให้แก่บุคคลธรรมดาและบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับการโอนทรัพย์สินการขายสินค้า หรือการกระทำตราสารอันเนื่องมาจากการบริจาคให้แก่ กสศ. โดยจะต้องไม่นำต้นทุน ของทรัพย์สินหรือสินค้าซึ่งได้รับยกเว้นภาษีดังกล่าวมาหักเป็นค่าใช้จ่าย หรือรายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือภาษีเงินได้นิติบุคคล แล้วแต่กรณี”
ดร.กุลยา ตันติเตมิท อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวสรุปว่า “กรมสรรพากรหวังเป็นอย่างยิ่งว่า มาตรการภาษีข้างต้นจะช่วยจูงใจให้ภาคเอกชนและภาคประชาชนบริจาคสนับสนุนการดำเนินการของ กสศ.อย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์และผู้ด้อยโอกาสให้มีโอกาสเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมมากยิ่งขึ้น อันเป็นการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา รวมทั้งการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ทำให้ประเทศมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีศักยภาพเพิ่มมากขึ้น อันเป็นรากฐานสำคัญของการยกระดับความสามารถในการแข่งขัน ตลอดจนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะยาว”
หากมีข้อสงสัย สอบถามรายละเอียดได้ที่สำนักงานสรรพากรทุกแห่งทั่วประเทศหรือศูนย์สารนิเทศสรรพากร (RD Intelligence Center) โทร. 1161
ขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการบริจาคให้แก่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ออกไปอีก 5 ปี
ดร.กุลยา ตันติเตมิท อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า “คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. เรื่อง การขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการบริจาคให้แก่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ออกไปอีก 5 ปี และเพิ่มเติมการยกเว้นภาษีสำหรับการบริจาคทรัพย์สินให้แก่ กสศ. ให้เหมือนกันกับการบริจาคทรัพย์สินให้แก่สถานศึกษา โดยมีหลักการสรุปได้ดังนี้
1. ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับการบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากร (e-Donation) ให้แก่ กสศ. ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2571ดังต่อไปนี้
1.1 บุคคลธรรมดา ให้หักลดหย่อนได้ 2 เท่าของจำนวนเงินที่บริจาค โดยยกเว้น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ๒ เท่าของจำนวนเงินที่บริจาค และเมื่อรวมกับเงินได้ที่ได้มีพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในประมวลรัษฎากรกำหนดให้มีการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2 เท่า ของเงินที่ได้จ่ายแล้ว ต้องไม่เกินร้อยละ ๑๐ ของเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนตามมาตรา 47 (1) (2) (3) (4) (5) หรือ (6) แห่งประมวลรัษฎากร
1.2 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ให้หักรายจ่ายได้ 2 เท่าของรายจ่ายที่บริจาค ไม่ว่าจะได้จ่ายเป็นเงินหรือทรัพย์สิน โดยยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 2 เท่าของรายจ่ายที่บริจาค และเมื่อรวมกับรายจ่ายที่ได้มีพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในประมวลรัษฎากรกำหนดให้มีการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ๒ เท่าของรายจ่ายที่ได้จ่ายแล้ว ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่าย เพื่อการกุศลสาธารณะหรือเพื่อการสาธารณประโยชน์ และรายจ่ายเพื่อการศึกษาหรือเพื่อการกีฬาตามมาตรา 65 ตรี (3) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร
2. ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ให้แก่บุคคลธรรมดาและบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับการโอนทรัพย์สินการขายสินค้า หรือการกระทำตราสารอันเนื่องมาจากการบริจาคให้แก่ กสศ. โดยจะต้องไม่นำต้นทุน ของทรัพย์สินหรือสินค้าซึ่งได้รับยกเว้นภาษีดังกล่าวมาหักเป็นค่าใช้จ่าย หรือรายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือภาษีเงินได้นิติบุคคล แล้วแต่กรณี”
ดร.กุลยา ตันติเตมิท อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวสรุปว่า “กรมสรรพากรหวังเป็นอย่างยิ่งว่า มาตรการภาษีข้างต้นจะช่วยจูงใจให้ภาคเอกชนและภาคประชาชนบริจาคสนับสนุนการดำเนินการของ กสศ.อย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์และผู้ด้อยโอกาสให้มีโอกาสเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมมากยิ่งขึ้น อันเป็นการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา รวมทั้งการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ทำให้ประเทศมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีศักยภาพเพิ่มมากขึ้น อันเป็นรากฐานสำคัญของการยกระดับความสามารถในการแข่งขัน ตลอดจนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะยาว”
หากมีข้อสงสัย สอบถามรายละเอียดได้ที่สำนักงานสรรพากรทุกแห่งทั่วประเทศหรือศูนย์สารนิเทศสรรพากร (RD Intelligence Center) โทร. 1161