ข้อความบางส่วนต่อจากนี้ เป็นคำสอนของพระพุทธองค์จากลักขณสูตร ทรงอธิบายผลบุญแต่ละอย่างว่าให้ผลอย่างไร หนึ่งในนั้นเป็นการไม่พูดจาเหลวไหลไร้สาระเรื่อยเปื่อย ซึ่งผลของบุญนี้ ไม่ใช่กระทำได้เพียงพระพุทธองค์เท่านั้น แต่ใครทำ ก็ย่อมจะได้รับผลบุญกุศลนี้เช่นเดียวกัน
ข้อนี้ หากไม่มองในแง่ของบุญกุศล สำหรับผู้ที่ไม่เชื่อเรื่องกรรม ก็ยังเห็นได้ชัดว่า ผู้ที่พูดไร้สาระ พูดมาก เล่นตลกไปเรื่อย จะไม่ค่อยมีใครเคารพให้เกียรติ กลายเป็นบุคคลน่ารำคาญ ไม่มีความสำคัญ ต่างกับผู้ที่มีความสุขุม แม้เป็นเด็ก ก็จะมีผู้ที่เกรงใจ ไม่กล้าเล่นด้วย
คำสอนนั้นมีดังนี้
[๑๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเคยเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ภพก่อน กำเนิดก่อน ละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล(ถูกกาละเทศะ)) พูดแต่คำที่เป็นจริง พูดอิงอรรถ(พูดมีเหตุ) พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย(พูดในสิ่งที่ควรประพฤติควรทราบควรทำ) พูดแต่คำมีหลักฐาน มีที่อ้าง(มีที่มา ไม่ใช่ลอยๆ) มีที่กำหนด(พูดมีที่สุด ไม่ใช่ปล่อยไปเรื่อยไม่จบ) ประกอบประโยชน์โดยกาลอันควร
ตถาคตย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เพราะกรรมนั้น อันตนทำ สั่งสม พอกพูน ไพบูลย์ ฯลฯ ครั้นจุติจากสวรรค์นั้นแล้ว มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ย่อมได้เฉพาะซึ่งมหาปุริสลักษณะนี้ คือ มีพระหนุดังว่าคางราชสีห์ พระมหาบุรุษสมบูรณ์ด้วยลักษณะนั้น ถ้าอยู่ครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ฯลฯ เมื่อเป็นพระราชาจะได้อะไร เมื่อเป็นพระราชาได้รับผลข้อนี้ คือ ไม่มีใครๆ ที่เป็นมนุษย์เป็นข้าศึกศัตรูกำจัดได้
ถ้าออกจากเรือนผนวชเป็นบรรพชิต จะได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ามีหลังคาคือกิเลสอันเปิดแล้วในโลก เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะได้อะไร เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะได้รับผลข้อนี้คือไม่มีข้าศึกศัตรูภายในภายนอก คือ ราคะ โทสะ โมหะ หรือสมณะ พราหมณ์เทวดา มาร พรหม ใครๆ ในโลกกำจัดได้ พระผู้มีพระภาคตรัสคำนี้ไว้พระโบราณกเถระทั้งหลายจึงกล่าวคาถาประพันธ์นี้ในพระลักษณะนั้นว่า
[๑๖๙] พระมหาบุรุษ ไม่กล่าวคำเพ้อเจ้อ ไม่กล่าวคำปราศจากหลักฐาน
มีคลองพระวาจาไม่เหลวไหล
ทรงบรรเทาเสียซึ่งคำที่ไม่เป็น
ประโยชน์ ตรัสแต่คำที่เป็นประโยชน์และคำที่เป็นสุขแก่พหุชน
ครั้นทำกรรมนั้นแล้วจุติแล้วจากมนุษยโลก เข้าถึงแล้วซึ่งเทวโลก
เสวยวิบากอันเป็นผลแห่งกรรมที่ทำดีแล้ว จุติแล้วเวียนมาใน
โลกนี้ ได้แล้วซึ่งความเป็นผู้มีพระหนุดังว่าคางราชสีห์ที่
ประเสริฐกว่าสัตว์สี่เท้า เป็นพระราชาที่เป็นใหญ่กว่ามนุษย์
แสนยากที่ใครจะกำจัดพระองค์ได้ พระองค์เป็นผู้ใหญ่ยิ่งของ
มวลมนุษย์ มีอานุภาพมากเป็นผู้เสมอด้วยเทวดาผู้ประเสริฐ
ในชั้นไตรทิพย์และเป็นเหมือนพระอินทร์ผู้ประเสริฐกว่าเทวดา
เป็นผู้มั่นคง อันคนธรรพ์ อสูร ท้าวสักกะและยักษ์ผู้กล้าไม่
กำจัดได้โดยง่ายเลย พระมหาบุรุษเช่นนั้น ย่อมเป็นใหญ่ทุก
ทิศในโลกนี้โดยแท้ ฯ
ศึกษาผลบุญอื่น ๆ อีกได้จากพระสูตรเดียวกัน
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑
ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
๗. ลักขณสูตร (๓๐)
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=11&A=3182&Z=3922&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=130
การไม่พูดเพ้อเจ้อ เป็นกุศลทำให้ีเป็นคนมีอำนาจบารมี น่ายำเกรง ไม่มีคนทำลายได้
ข้อนี้ หากไม่มองในแง่ของบุญกุศล สำหรับผู้ที่ไม่เชื่อเรื่องกรรม ก็ยังเห็นได้ชัดว่า ผู้ที่พูดไร้สาระ พูดมาก เล่นตลกไปเรื่อย จะไม่ค่อยมีใครเคารพให้เกียรติ กลายเป็นบุคคลน่ารำคาญ ไม่มีความสำคัญ ต่างกับผู้ที่มีความสุขุม แม้เป็นเด็ก ก็จะมีผู้ที่เกรงใจ ไม่กล้าเล่นด้วย
คำสอนนั้นมีดังนี้
[๑๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเคยเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ภพก่อน กำเนิดก่อน ละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล(ถูกกาละเทศะ)) พูดแต่คำที่เป็นจริง พูดอิงอรรถ(พูดมีเหตุ) พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย(พูดในสิ่งที่ควรประพฤติควรทราบควรทำ) พูดแต่คำมีหลักฐาน มีที่อ้าง(มีที่มา ไม่ใช่ลอยๆ) มีที่กำหนด(พูดมีที่สุด ไม่ใช่ปล่อยไปเรื่อยไม่จบ) ประกอบประโยชน์โดยกาลอันควร
ตถาคตย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เพราะกรรมนั้น อันตนทำ สั่งสม พอกพูน ไพบูลย์ ฯลฯ ครั้นจุติจากสวรรค์นั้นแล้ว มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ย่อมได้เฉพาะซึ่งมหาปุริสลักษณะนี้ คือ มีพระหนุดังว่าคางราชสีห์ พระมหาบุรุษสมบูรณ์ด้วยลักษณะนั้น ถ้าอยู่ครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ฯลฯ เมื่อเป็นพระราชาจะได้อะไร เมื่อเป็นพระราชาได้รับผลข้อนี้ คือ ไม่มีใครๆ ที่เป็นมนุษย์เป็นข้าศึกศัตรูกำจัดได้
ถ้าออกจากเรือนผนวชเป็นบรรพชิต จะได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ามีหลังคาคือกิเลสอันเปิดแล้วในโลก เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะได้อะไร เมื่อเป็นพระพุทธเจ้าจะได้รับผลข้อนี้คือไม่มีข้าศึกศัตรูภายในภายนอก คือ ราคะ โทสะ โมหะ หรือสมณะ พราหมณ์เทวดา มาร พรหม ใครๆ ในโลกกำจัดได้ พระผู้มีพระภาคตรัสคำนี้ไว้พระโบราณกเถระทั้งหลายจึงกล่าวคาถาประพันธ์นี้ในพระลักษณะนั้นว่า
[๑๖๙] พระมหาบุรุษ ไม่กล่าวคำเพ้อเจ้อ ไม่กล่าวคำปราศจากหลักฐาน
มีคลองพระวาจาไม่เหลวไหล ทรงบรรเทาเสียซึ่งคำที่ไม่เป็น
ประโยชน์ ตรัสแต่คำที่เป็นประโยชน์และคำที่เป็นสุขแก่พหุชน
ครั้นทำกรรมนั้นแล้วจุติแล้วจากมนุษยโลก เข้าถึงแล้วซึ่งเทวโลก
เสวยวิบากอันเป็นผลแห่งกรรมที่ทำดีแล้ว จุติแล้วเวียนมาใน
โลกนี้ ได้แล้วซึ่งความเป็นผู้มีพระหนุดังว่าคางราชสีห์ที่
ประเสริฐกว่าสัตว์สี่เท้า เป็นพระราชาที่เป็นใหญ่กว่ามนุษย์
แสนยากที่ใครจะกำจัดพระองค์ได้ พระองค์เป็นผู้ใหญ่ยิ่งของ
มวลมนุษย์ มีอานุภาพมากเป็นผู้เสมอด้วยเทวดาผู้ประเสริฐ
ในชั้นไตรทิพย์และเป็นเหมือนพระอินทร์ผู้ประเสริฐกว่าเทวดา
เป็นผู้มั่นคง อันคนธรรพ์ อสูร ท้าวสักกะและยักษ์ผู้กล้าไม่
กำจัดได้โดยง่ายเลย พระมหาบุรุษเช่นนั้น ย่อมเป็นใหญ่ทุก
ทิศในโลกนี้โดยแท้ ฯ
ศึกษาผลบุญอื่น ๆ อีกได้จากพระสูตรเดียวกัน
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑
ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
๗. ลักขณสูตร (๓๐)
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=11&A=3182&Z=3922&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=130