ลำดับกล้องส่วนพระองค์ของในหลวง
พระอัจฉริภาพด้านการถ่ายภาพ
ภาพที่สุดแสนจะเจนตา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่ว่าจะเป็นจากสิ่งพิมพ์ โทรทัศน์ หรือความคิดติดตรึงของปวงชนชาวไทย
คือ ภาพที่จะทรงพกกล้องถ่ายภาพ และมีอิริยบทของนักถ่ายภาพ ไม่ว่าจะย่ำไปยังดินแดนใด เห็นได้ชัดว่าพระองค์ทรงพอพระหฤทัยศิลปะ
ในการถ่ายภาพมากเป็นพิเศษ
ซึ่งเมื่อดูจากพระราชประวัติ พระราชอัธยาศัยโปรดการถ่ายภาพนี้ทรงได้ต้นแบบมาจากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
มาตั้งแต่เมื่อครั้งทรงพระเยาว์ ในระยะแรกแม้จะทรงไม่ประสบความสำเร็จในการถ่ายภาพนัก แต่ทรงศึกษาด้วยตัวเอง
จนเป็นนักถ่ายรูปผู้มีพระปรีชาสามารถยิ่ง ไม่ว่าจะเป็น กล้องธรรมดา หรือ กล้องถ่ายภาพยนตร์
โดยทรงเริ่มจากกล้องถ่ายภาพชนิดที่ไม่มีเครื่องวัดแสงในตัว เริ่มทรงกล้องถ่ายภาพคู่พระหัตถ์ และ ทรงใช้ฟิล์มตั้งแต่ขนาด ๑๓๕
จนถึงขนาด ๑๒๐ และขนาดพิเศษ
นอกจากนี้ยังทรงใช้พื้นที่บริเวณชั้นล่างอาคารสถานีวิทยุ อ.ส.เป็นห้องมืดสำหรับล้างฟิล์ม และอัดขยายภาพ
ตามพระราชประสงค์ที่จะทรง “สร้างภาพ” ให้เป็นศิลปะถูกต้อง และรวดเร็วด้วยพระองค์เอง
แต่เมื่อสถานการณ์บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไป ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์จึงเปลี่ยนรูปแบบ จากงานถ่ายภาพสวยงามเพื่อศิลปะ
มาเป็นภาพถ่ายที่ทรงใช้เพื่อประกอบการทรงงานของพระองค์ และแม้กล้องถ่ายภาพ จะมีวิวัฒนาการขึ้นกว่าสมัยก่อน
ในหลวงก็ยังทรงใช้แต่กล้องคู่พระหัตถ์ แบบมาตราฐานอย่างที่นักเล่นกล้องทั้งหลายใช้กัน
..................................................
1. Coronet Midget
พระองค์ทรงมีกล้องถ่ายภาพเล็กๆ คู่พระหัตถ์ตั้งแต่พระชนมายุเพียง 8 พระชันษา (ราวปี พ.ศ.2479) โดยสมเด็จพระบรมราชชนนีได้พระราชทานกล้องถ่ายรูป Coronet Midget สีเขียวปะดำ ของฝรั่งเศส ราคาเพียง ๒ ฟรังก์สวิส แก่พระองค์
ด้วยกล้องนี้ใช้ฟิล์มราคา ๒๕ เซนต์ ซึ่งมีราคาถูก
2. Kodak Vest Pocket Montreux
หลังจากนั้นไม่นาน ทรงใช้กล้องอีกหนึ่งกล้อง ชื่อ Kodak Vest Pocket Montreux ลักษณะคล้ายสี่เหลี่ยม
ฝรั่งเรียกว่า Minibox ใช้ฟิล์มถ่ายได้ม้วนละ 6 ภาพ
3. Elax Lumie’re
ในปี พ.ศ.2481 พระองค์ทรงมีกล้อง Elax Lumie’re ซึ่งผลิตในฝรั่งเศส อีกหนึ่งกล้อง
ทรงใช้จนเชี่ยวชาญกับกล้องนี้เป็นอย่างดีเพราะเหมาะกับพระหัตถ์มาก หลังจากนั้นก็เปลี่ยนเป็น Elax Lumie’re อีกกล้องหนึ่ง
ซึ่งในการตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระอานันทมหิดลกลับเมืองไทย พระองค์ทรงใช้กล้อง Elax Lumie’re
บันทึกภาพระหว่างตามเสด็จโดยตลอด ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพระองค์ท่านทรงสนพระทัยทางการถ่ายภาพเป็นอันมาก
4. Linhof
เข้าสู่ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ผู้ผลิตกล้องยี่ห้อดีๆ ต่างก็ปรับปรุงคุณภาพเพื่อแข่งขันกัน Linhof เป็นอีกยี่ห้อที่มาจากเยอรมัน
พระองค์ทรงทดลองใช้ แต่ไม่เหมาะกับพระหัตถ์ของพระองค์ จึงไม่มีพระราชประสงค์ที่จะทรงใช้อีกต่อไป
5. Hasselblad SLR
Hasselblad เป็นกล้องที่ผลิตจากสวีเดน ที่ครองตลาดมาทุกยุคทุกสมัย เป็นกล้อง SLR(single lens Reflex)
ใช้ฟิล์ม 3 นิ้ว หรือ เบอร์120 ที่มีจุดเด่นก็คือ สามารถเปลี่ยนเลนส์ได้ มีแมกกาซีนใส่ฟิล์มได้หลายชนิดและหลายขนาด
พระองค์ทรงทดลองใช้กล้องยี่ห้อนี้อยู่หลายปี จนกระทั่งเกิดแสงรั่วเข้าแมกกาซีน ช่างไทยสมัยนั้นไม่สามารถแก้ไขได้
ต้องส่งกลับไปซ่อมที่บริษัทต่างประเทศ พระองค์จึงทรงเลิกใช้
6. Ikoflex
บริษัท Zeiss ikon ได้ออกกล้องเป็นของตัวเองบ้างชื่อว่า Ikoflex ซึ่งเป็นกล้องสะท้อนภาพแบบเลนส์คู่ (Twin Lens Reflex)
Lens Zeiss Opton Tessar 1:3:5 F.75 mm. No.637288 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทดลองใช้กล้องเมื่อปี พ.ศ.2494
เป็นที่พอพระราชหฤทัยมาก จึงทรงใช้กล้องนี้อยู่นาน ทรงมีพระราชดำรัสว่าใช้ง่าย เลนส์ดี ได้ภาพสวยคมชัดดีมาก
7. Contax II
บริษัท Zeiss ikon ผู้ผลิตเลนส์มีชื่อเสียงมากของเยอรมนี และผลิตเลนส์ให้กับกล้องชั้นดีต่างๆ มากมาย
ได้ออกกล้อง Contax-s เป็นกล้องสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยว SLR(single lens Reflex)
หลังจากนั้นปรับปรุงเป็น Contax II ในปี พ.ศ.2493
ในหลวงทรงใช้กล้อง Contax II ใช้เลนส์ Zeiss-opton No.821255 กับ Zeiss-opton No.885584 Sonar 1:2 f.50 mm.
เป็นที่พอพระราชหฤทัยมาก เพราะเป็นกล้องที่นำสมัยในสมัยนั้น สามารเปลี่ยนเลนส์ได้ทั้งยังมีเครื่องวัดแสงในตัวด้วย เสด็จฯ ณ ที่ใดจะทรงใช้อยู่เป็นประจำ ปัจจุบันทรงพระราชทานไว้ที่สวนหลวง ร.9
8. Leica M (1967-1987)
ในช่วงที่ Contax II กำลังเป็นที่ชื่นชอบของนักถ่ายภาพ บริษัท E.Leitz Wetzlar ของเยอรมนีอีกเช่นกัน
ได้ออก Leica เป็นระบบ M แบบใหม่ และมีชื่อเสียงพอสมควร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีกล้องรุ่นนี้
เป็นกล้องมือสองและทดลองใช้อยู่ระยะหนึ่ง
9. Super ikonta
กล้อง Super ikonta ของบริษัท Zeiss ikon ใช้ฟิล์มเบอร์ 120 ได้ภาพ 6×9 ซม. 8 ภาพ หรือสามารถแบ่งเป็นภาพ 6×4.5 ซม.
16 ภาพ พระองค์ทรงใช้อยู่ระยะหนึ่งแต่มีข้อเสียคือฟิล์มหมดม้วนเร็วเกินไป จึงได้พระราชทานให้หัวหน้าช่างภาพประจำพระองค์
ในสมัยนั้น (นายอาณัติ บุนนาค) ใช้ในงานราชการต่อไป
http://tech.mthai.com/camera/33780.html
ลำดับกล้องส่วนพระองค์ของในหลวง
พระอัจฉริภาพด้านการถ่ายภาพ
ภาพที่สุดแสนจะเจนตา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่ว่าจะเป็นจากสิ่งพิมพ์ โทรทัศน์ หรือความคิดติดตรึงของปวงชนชาวไทย
คือ ภาพที่จะทรงพกกล้องถ่ายภาพ และมีอิริยบทของนักถ่ายภาพ ไม่ว่าจะย่ำไปยังดินแดนใด เห็นได้ชัดว่าพระองค์ทรงพอพระหฤทัยศิลปะ
ในการถ่ายภาพมากเป็นพิเศษ
ซึ่งเมื่อดูจากพระราชประวัติ พระราชอัธยาศัยโปรดการถ่ายภาพนี้ทรงได้ต้นแบบมาจากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
มาตั้งแต่เมื่อครั้งทรงพระเยาว์ ในระยะแรกแม้จะทรงไม่ประสบความสำเร็จในการถ่ายภาพนัก แต่ทรงศึกษาด้วยตัวเอง
จนเป็นนักถ่ายรูปผู้มีพระปรีชาสามารถยิ่ง ไม่ว่าจะเป็น กล้องธรรมดา หรือ กล้องถ่ายภาพยนตร์
โดยทรงเริ่มจากกล้องถ่ายภาพชนิดที่ไม่มีเครื่องวัดแสงในตัว เริ่มทรงกล้องถ่ายภาพคู่พระหัตถ์ และ ทรงใช้ฟิล์มตั้งแต่ขนาด ๑๓๕
จนถึงขนาด ๑๒๐ และขนาดพิเศษ
นอกจากนี้ยังทรงใช้พื้นที่บริเวณชั้นล่างอาคารสถานีวิทยุ อ.ส.เป็นห้องมืดสำหรับล้างฟิล์ม และอัดขยายภาพ
ตามพระราชประสงค์ที่จะทรง “สร้างภาพ” ให้เป็นศิลปะถูกต้อง และรวดเร็วด้วยพระองค์เอง
แต่เมื่อสถานการณ์บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไป ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์จึงเปลี่ยนรูปแบบ จากงานถ่ายภาพสวยงามเพื่อศิลปะ
มาเป็นภาพถ่ายที่ทรงใช้เพื่อประกอบการทรงงานของพระองค์ และแม้กล้องถ่ายภาพ จะมีวิวัฒนาการขึ้นกว่าสมัยก่อน
ในหลวงก็ยังทรงใช้แต่กล้องคู่พระหัตถ์ แบบมาตราฐานอย่างที่นักเล่นกล้องทั้งหลายใช้กัน
..................................................
1. Coronet Midget
พระองค์ทรงมีกล้องถ่ายภาพเล็กๆ คู่พระหัตถ์ตั้งแต่พระชนมายุเพียง 8 พระชันษา (ราวปี พ.ศ.2479) โดยสมเด็จพระบรมราชชนนีได้พระราชทานกล้องถ่ายรูป Coronet Midget สีเขียวปะดำ ของฝรั่งเศส ราคาเพียง ๒ ฟรังก์สวิส แก่พระองค์
ด้วยกล้องนี้ใช้ฟิล์มราคา ๒๕ เซนต์ ซึ่งมีราคาถูก
2. Kodak Vest Pocket Montreux
หลังจากนั้นไม่นาน ทรงใช้กล้องอีกหนึ่งกล้อง ชื่อ Kodak Vest Pocket Montreux ลักษณะคล้ายสี่เหลี่ยม
ฝรั่งเรียกว่า Minibox ใช้ฟิล์มถ่ายได้ม้วนละ 6 ภาพ
3. Elax Lumie’re
ในปี พ.ศ.2481 พระองค์ทรงมีกล้อง Elax Lumie’re ซึ่งผลิตในฝรั่งเศส อีกหนึ่งกล้อง
ทรงใช้จนเชี่ยวชาญกับกล้องนี้เป็นอย่างดีเพราะเหมาะกับพระหัตถ์มาก หลังจากนั้นก็เปลี่ยนเป็น Elax Lumie’re อีกกล้องหนึ่ง
ซึ่งในการตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระอานันทมหิดลกลับเมืองไทย พระองค์ทรงใช้กล้อง Elax Lumie’re
บันทึกภาพระหว่างตามเสด็จโดยตลอด ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพระองค์ท่านทรงสนพระทัยทางการถ่ายภาพเป็นอันมาก
4. Linhof
เข้าสู่ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ผู้ผลิตกล้องยี่ห้อดีๆ ต่างก็ปรับปรุงคุณภาพเพื่อแข่งขันกัน Linhof เป็นอีกยี่ห้อที่มาจากเยอรมัน
พระองค์ทรงทดลองใช้ แต่ไม่เหมาะกับพระหัตถ์ของพระองค์ จึงไม่มีพระราชประสงค์ที่จะทรงใช้อีกต่อไป
5. Hasselblad SLR
Hasselblad เป็นกล้องที่ผลิตจากสวีเดน ที่ครองตลาดมาทุกยุคทุกสมัย เป็นกล้อง SLR(single lens Reflex)
ใช้ฟิล์ม 3 นิ้ว หรือ เบอร์120 ที่มีจุดเด่นก็คือ สามารถเปลี่ยนเลนส์ได้ มีแมกกาซีนใส่ฟิล์มได้หลายชนิดและหลายขนาด
พระองค์ทรงทดลองใช้กล้องยี่ห้อนี้อยู่หลายปี จนกระทั่งเกิดแสงรั่วเข้าแมกกาซีน ช่างไทยสมัยนั้นไม่สามารถแก้ไขได้
ต้องส่งกลับไปซ่อมที่บริษัทต่างประเทศ พระองค์จึงทรงเลิกใช้
6. Ikoflex
บริษัท Zeiss ikon ได้ออกกล้องเป็นของตัวเองบ้างชื่อว่า Ikoflex ซึ่งเป็นกล้องสะท้อนภาพแบบเลนส์คู่ (Twin Lens Reflex)
Lens Zeiss Opton Tessar 1:3:5 F.75 mm. No.637288 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทดลองใช้กล้องเมื่อปี พ.ศ.2494
เป็นที่พอพระราชหฤทัยมาก จึงทรงใช้กล้องนี้อยู่นาน ทรงมีพระราชดำรัสว่าใช้ง่าย เลนส์ดี ได้ภาพสวยคมชัดดีมาก
7. Contax II
บริษัท Zeiss ikon ผู้ผลิตเลนส์มีชื่อเสียงมากของเยอรมนี และผลิตเลนส์ให้กับกล้องชั้นดีต่างๆ มากมาย
ได้ออกกล้อง Contax-s เป็นกล้องสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยว SLR(single lens Reflex)
หลังจากนั้นปรับปรุงเป็น Contax II ในปี พ.ศ.2493
ในหลวงทรงใช้กล้อง Contax II ใช้เลนส์ Zeiss-opton No.821255 กับ Zeiss-opton No.885584 Sonar 1:2 f.50 mm.
เป็นที่พอพระราชหฤทัยมาก เพราะเป็นกล้องที่นำสมัยในสมัยนั้น สามารเปลี่ยนเลนส์ได้ทั้งยังมีเครื่องวัดแสงในตัวด้วย เสด็จฯ ณ ที่ใดจะทรงใช้อยู่เป็นประจำ ปัจจุบันทรงพระราชทานไว้ที่สวนหลวง ร.9
8. Leica M (1967-1987)
ในช่วงที่ Contax II กำลังเป็นที่ชื่นชอบของนักถ่ายภาพ บริษัท E.Leitz Wetzlar ของเยอรมนีอีกเช่นกัน
ได้ออก Leica เป็นระบบ M แบบใหม่ และมีชื่อเสียงพอสมควร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีกล้องรุ่นนี้
เป็นกล้องมือสองและทดลองใช้อยู่ระยะหนึ่ง
9. Super ikonta
กล้อง Super ikonta ของบริษัท Zeiss ikon ใช้ฟิล์มเบอร์ 120 ได้ภาพ 6×9 ซม. 8 ภาพ หรือสามารถแบ่งเป็นภาพ 6×4.5 ซม.
16 ภาพ พระองค์ทรงใช้อยู่ระยะหนึ่งแต่มีข้อเสียคือฟิล์มหมดม้วนเร็วเกินไป จึงได้พระราชทานให้หัวหน้าช่างภาพประจำพระองค์
ในสมัยนั้น (นายอาณัติ บุนนาค) ใช้ในงานราชการต่อไป
http://tech.mthai.com/camera/33780.html