เห็นพูดกันเยอะมากกว่า จะมีการขอนายกพระราชทาน ตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา 7 ผมเลยไปค้นหาข้อมูลมาดังนี้
“มาตรา 7 ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข”
ในรัฐธรรมนูญ ไม่ได้เขียนเกี่ยวกับการขอนายกพระราชทานเลย แต่ว่าทางนักวิชาการบางท่าน ก็อ้างเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ที่ภายหลัง ท่าน สัญญา ธรรมศักดิ์ จากเดิมที่เป็นองค์มนตรี ก็ได้เป็น “นายกพระราชทาน” ซึ่งในประเทศไทย มีเพียงครั้งนั้นเพียงครั้งเดียว และไม่ได้มีการปฏิบัติ สืบเนื่องกันมา
นิยามของคำว่า “ประเพณี” คือ กิจกรรมที่มีการปฏิบัติสืบเนื่องกันมา เป็นเอกลักษณ์และมีความสำคัญต่อสังคม เช่น การแต่งกาย ภาษา วัฒนธรรม ศาสนา ศิลปกรรม กฎหมาย คุณธรรม ความเชื่อ ฯลฯ
ดังนั้นความหมายของ “ประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” ก็น่าจะหมายความว่า เป็นกิจกรรมใดๆ ก็ตาม ที่เกี่ยวข้องกับการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่มีการปฏิบัติสืบเนื่องกันมา หลายๆ ครั้ง และเป็นเอกลักษณ์ เพียงแต่ว่าไม่มีข้อกำหนดใน รัฐธรรมนูญ ก็ให้วินิจฉัย ไปตามสิ่งที่สืบเนื่องกันมา
ดังนั้น เหตุการณ์ “นายกพระราชทาน” จึงไม่น่าจะเข้าข่ายของคำว่าประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพราะมิได้มีการปฏิบัติ กันสืบเนื่องกันมาเป็นเอกลักษณ์เลย ผมเลยสงสัยว่าต่อไปหากว่าใครคิดอะไรแผลงๆ แบบศรีธนญชัย ตีความมั่วๆ เข้าข้างตัวเอง บ้านเมืองคงวุ่นวายน่าดูเลย
อย่างไรก็ดี ต้องออกตัวก่อนว่าตัวผมไม่ใช่นักกฏหมาย ผมจบ ป.ตรี วิศวกรรมศาสตร์ และ ป.โท MBA ดังนั้นเรื่องข้อกฏหมาย ผมได้แต่เพียงวิเคราะห์ เท่าที่ผมเห็นและเข้าใจ เลยอยากได้นักกฏหมายมาช่วยในการวิเคราะห์ด้วย ว่าจากเนื้อหาใน รัฐธรรมนูญ มาตรา 7 แค่ 2 บรรทัด จะสามารถทำให้คนเราจินตนาการได้เลยหรือว่า สามารถ ขอ “นายกพระราชทาน” ได้เลยอะครับ
อยากแลกเปลี่ยนความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ รัฐธรรมนูญ มาตรา7 ว่าสามารถทำให้ขอ นายกพระราชทาน ได้จริงหรือไม่
“มาตรา 7 ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข”
ในรัฐธรรมนูญ ไม่ได้เขียนเกี่ยวกับการขอนายกพระราชทานเลย แต่ว่าทางนักวิชาการบางท่าน ก็อ้างเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ที่ภายหลัง ท่าน สัญญา ธรรมศักดิ์ จากเดิมที่เป็นองค์มนตรี ก็ได้เป็น “นายกพระราชทาน” ซึ่งในประเทศไทย มีเพียงครั้งนั้นเพียงครั้งเดียว และไม่ได้มีการปฏิบัติ สืบเนื่องกันมา
นิยามของคำว่า “ประเพณี” คือ กิจกรรมที่มีการปฏิบัติสืบเนื่องกันมา เป็นเอกลักษณ์และมีความสำคัญต่อสังคม เช่น การแต่งกาย ภาษา วัฒนธรรม ศาสนา ศิลปกรรม กฎหมาย คุณธรรม ความเชื่อ ฯลฯ
ดังนั้นความหมายของ “ประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” ก็น่าจะหมายความว่า เป็นกิจกรรมใดๆ ก็ตาม ที่เกี่ยวข้องกับการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่มีการปฏิบัติสืบเนื่องกันมา หลายๆ ครั้ง และเป็นเอกลักษณ์ เพียงแต่ว่าไม่มีข้อกำหนดใน รัฐธรรมนูญ ก็ให้วินิจฉัย ไปตามสิ่งที่สืบเนื่องกันมา
ดังนั้น เหตุการณ์ “นายกพระราชทาน” จึงไม่น่าจะเข้าข่ายของคำว่าประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพราะมิได้มีการปฏิบัติ กันสืบเนื่องกันมาเป็นเอกลักษณ์เลย ผมเลยสงสัยว่าต่อไปหากว่าใครคิดอะไรแผลงๆ แบบศรีธนญชัย ตีความมั่วๆ เข้าข้างตัวเอง บ้านเมืองคงวุ่นวายน่าดูเลย
อย่างไรก็ดี ต้องออกตัวก่อนว่าตัวผมไม่ใช่นักกฏหมาย ผมจบ ป.ตรี วิศวกรรมศาสตร์ และ ป.โท MBA ดังนั้นเรื่องข้อกฏหมาย ผมได้แต่เพียงวิเคราะห์ เท่าที่ผมเห็นและเข้าใจ เลยอยากได้นักกฏหมายมาช่วยในการวิเคราะห์ด้วย ว่าจากเนื้อหาใน รัฐธรรมนูญ มาตรา 7 แค่ 2 บรรทัด จะสามารถทำให้คนเราจินตนาการได้เลยหรือว่า สามารถ ขอ “นายกพระราชทาน” ได้เลยอะครับ