เอาบทความเก่าๆมาให้อ่านครับเผื่อนักลงทุนรุ่นใหม่ที่ยังไม่เคยผ่านเหตุการณ์ที่ผ่านมา
.................................................................................................................
http://www.stock2morrow.com/showthread.php?t=11174
หุ้นไทย....ในเคส ยุบสภา ปฏิวัติ หรือเกิดความวุ่นวาย !!
ย้อนรอยการชุมนุมกับตลาดหุ้น "ยุบสภา"
ฉุดหุ้นแรงกว่ารัฐประหาร
อภิญญา มั่นช้อย
ต้องยอมรับตลาดหุ้นกับการเมืองมีความสัมพันธ์กันทั้งในแง่ของข่าวในเชิงบวกและเชิงลบ สะท้อนได้จากในช่วงที่ผ่านมา ดัชนีหุ้นไทยจะมีความอ่อนไหวกับสถานการณ์การเมืองมาตลอด แต่ขณะเดียวกัน หากมองย้อนกลับไปในช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมา จะพบว่าเหตุการณ์ทางการเมืองในแต่ละครั้ง ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว ตรงกันข้ามเศรษฐกิจยังสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง จากการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน รวมทั้งการส่งออกที่ขยายตัวได้อย่างดี
ทั้งนี้ ฝ่ายวิเคราะห์ บล.ฟินันเซียไซรัส เปิดเผยว่า โดยในช่วง 35 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ก่อตั้งตลาดหลักทรัพย์ ได้ผ่านเหตุการณ์ รัฐประหาร 5 ครั้ง ยุบสภาอีก 7 ครั้ง แต่อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจหรือจีดีพี ก็ยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง สะดุดเพียง 2 ครั้ง คือ ในปี 2540 ที่เกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง และปี 2550-2551 ในวิกฤติซับไพร์มและเลแมนบราเดอร์ส ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยทางเศรษฐกิจ
ชื่อ: S2M-240.gif
ครั้ง: 1376
ขนาด: 22.3 กิโลไบต์
สำหรับดัชนีตลาดหุ้น ในช่วงที่การเมืองรุนแรงที่สุด คือ ช่วงพฤษภาทมิฬระหว่าง 17-19 พ.ค. 2535 ดัชนีตลาดหุ้นในช่วง 1 เดือนก่อนหน้านั้นปรับลง 19% แต่ทันทีที่เหตุการณ์สงบลง ดัชนีปรับขึ้น 13% ในช่วง 1 เดือนหลังจากนั้น
ขณะที่เหตุการณ์ รัฐประหาร รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2549 ดัชนีปรับลงมากสุดเพียง 3% เพียง 1 สัปดาห์เศษหลังการรัฐประหาร แต่หลังจากนั้น ปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง 3 เดือน แต่ก่อนหน้าการรัฐประหาร ซึ่งมีความวุ่นวายและข่าวคราวอย่างมากในตลาด ตลาดหุ้นซึ่งลง 10% อยู่ประมาณ 4 เดือน
อย่างไรก็ตาม หลังจากการรัฐประหารกลุ่มเสื้อแดงมีการนัดชุมนุมทั้งใหญ่และย่อยหลายครั้ง โดยในปี 2552 มีการชุมนุมครั้งใหญ่ไม่ต่ำกว่า 5 ครั้ง แต่หลังจากการชุมนุมในแต่ละครั้ง รวมทั้งเหตุการณ์ในเดือน เม.ย. ดัชนีแทบจะปรับขึ้นในทันที พร้อมด้วยนักลงทุนต่างชาติที่ซื้อสุทธิถึง 3.8 หมื่นล้านบาท ในปีที่ผ่านมา
ขณะที่บทวิเคราะห์ บล.ซิกโก้ ประเมินสถานการณ์การเมืองไว้ 3 กรณี
1. ยุบสภา
2. ปฏิวัติรัฐประหาร
และ 3. เกิดความวุ่นวายเหมือนเดือน เม.ย. 2552 แต่จะลากยาวออกไปถึงการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลในปลายเดือน
โดยใน 3 กรณีนี้ จะกระทบต่อตลาดหุ้นต่างกัน
กรณีแรก คือ การยุบสภา สถิติตัวเลขที่ผ่านมา จะส่งผลต่อตลาดหุ้นมากกว่ากรณีของรัฐประหารและความไม่สงบทางการเมืองอื่นๆ จากข้อมูลในอดีตที่มีการยุบสภา 4 ครั้ง คือ ในเดือน เม.ย. 2531 พ.ค. 2538 ก.ย. 2539 และ ก.พ. 2549 ปรากฏว่าหลังการยุบสภา 1 เดือน 3 เดือน และ 6 เดือน ดัชนีจะปรับตัวลง -3.9% -8.8% และ -9.3% ตามลำดับ
ขณะที่กรณีที่ 2 คือ การปฏิวัติรัฐประหาร ซึ่งเกิดขึ้น 4 ครั้งเหมือนกัน การตอบสนองของดัชนีหลังจากนั้น คือ 1-3-6 เดือนต่อมา จะปรับตัวลงประมาณ -1.5% -1.8% และ -5.3%
ส่วนในกรณีที่ 3 เกิดความวุ่นวาย ปรากฏว่าหลังจากนั้น 1-3-6 เดือน ดัชนีปรับตัวขึ้น โดยวิกฤติการเมืองในประเทศไทยทั้งหมด 14 ครั้ง เฉลี่ยแล้วจะส่งผลต่อดัชนี ในช่วง 1-3-6 เดือนต่อมา คือ -0.8% +2% และ -1.1% ซึ่งถือว่าน้อยมาก
แนวโน้มที่จะเกิดการยุบสภา หากมีความเป็นไปได้ จะต้องเกิดหลังการชุมนุมประท้วง ส่วนการปฏิวัติรัฐประหารก็เช่นกัน ดังนั้น หากเกิดการยุบสภาเกิดขึ้น แนะนำให้ขายหุ้นทั้งหมด เพราะดูจากสถิติในอดีตแล้วถือว่ากระทบกับดัชนีแรงมาก เหตุมาจาก
1. การยุบสภา จะส่งผลต่อนโยบายทางเศรษฐกิจทั้งหมด
2. การยุบสภาครั้งนี้มีสิทธิที่จะนำไปสู่ความขัดแย้งรอบใหม่ของคนเสื้อเหลืองและทหาร
แต่หากเกิดกรณี ปฏิวัติรัฐประหาร แนะนำ ซื้อเล่นเก็งกำไร เพราะมองจากสถิติในอดีตถือว่ากระทบกับตลาดในระยะ 1-3 เดือนไม่มาก
หากเกิดกรณีเหมือนเดือน เม.ย. 2552 แต่อาจรุนแรงกว่าและยืดเยื้อไปถึงการอภิปรายไม่ไว้วางใจในปลายเดือน มี.ค. แนะนำให้ซื้อเพื่อลงทุน เพราะทุกอย่างจะไม่กระทบกับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและการยอมรับจากต่างประเทศ
ด้านนายกัณฑรา ลดาวัลย์ ณ อยุธยา กรรมการผู้จัดการ บล.ฟินันเซียไซรัส ประเมินการชุมนุมใหญ่ในวันที่ 14 มี.ค.นี้ คาดว่าน่าจะทำให้ตลาดหุ้นในสัปดาห์หน้าปรับขึ้นได้ โดยมองแนวต้านที่ระดับ 745-750 จุด อย่างไรก็ตาม เดือน เม.ย.ตลาดหุ้นน่าจะเริ่มเข้าสู่ภาวะหมีเต็มตัว หลังหมดข่าวดีเรื่องผลประกอบการ พร้อมด้วยการขึ้นเครื่องหมายรับเงินปันผลหรือเอ็กซ์ดีของหุ้นแทบทั้งตลาด นักลงทุนน่าจะหาจังหวะในการขายปรับพอร์ตก่อนสิ้นเดือน มี.ค.นี้ เพื่อรอซื้อของถูกในเดือนหน้า
ด้านนายไพบูลย์ นรินทรางกูร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บล.ทิสโก้ ในฐานะนายกสมาคมนักวิเคราะห์ ให้ความเห็นว่า ถ้าการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้น รัฐบาลสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ตลาดหุ้นไทยก็มีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้นตามทิศทางตลาดหุ้นในภูมิภาค ซึ่งสะท้อนได้จากในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา แม้จะมีข่าวการชุมนุมออกมา แต่ปรากฏว่านักลงทุนต่างชาติยังคงซื้อสุทธิอยู่ และยิ่งผลการชุมนุมไม่มีอะไรเกิดขึ้น ตลาดหุ้นไทยก็พร้อมที่จะขึ้น
ในทางกลับกัน หากการชุมนุมมีความรุนแรงมาก จนทำให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าจะมีการนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการเมืองไม่ว่ารูปแบบใด ตลาดหุ้นจะปรับตัวลดลงอย่างรุนแรง เพราะเริ่มมีความไม่แน่นอนเกิดขึ้น ขณะเดียวกัน แม้การชุมนุมจะมีความรุนแรงเกิดขึ้น แต่รัฐบาลยังคุมสถานการณ์ได้ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ตลาดหุ้นก็จะตกตื่นตระหนกเล็กน้อย
นายไพบูลย์ ยังได้บอกต่อว่า จากการเดินทางไปโรดโชว์ร่วมกับบริษัทจดทะเบียน 10 แห่ง ที่ประเทศสิงคโปร์ในช่วง 2-3 ที่ผ่านมา โดยพบกับกองทุนต่างประเทศประมาณ 50 กองทุน ซึ่งก็มีการสอบถามถึงสถานการณ์การชุมนุมบ้าง แต่ไม่ได้กังวลมากนัก เพราะมองว่าปัจจัยเสี่ยงทางการเมืองมีทุกประเทศเพียงแต่มีรูปแบบที่แตกต่างกันไป อย่างไรก็ตาม จากปัจจัยพื้นฐานของไทย นักลงทุนต่างชาติส่วนใหญ่ยังมีความมั่นใจว่าตลาดหุ้นไทยมีโอกาสที่ดี
ขณะที่นางวิริยา ลาภพรหมรัตน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บล.เกียรตินาคิน ประเมินว่า ถ้าดัชนีไม่สามารถกลับไปยืนเหนือ 725 จุด จะเป็นเพียงการปรับตัวเพิ่มขึ้น (Rebound) เพื่อลงต่อเท่านั้น ในลักษณะซึมลง และมีโอกาสที่จะหลุด 710 จุดลงมาอีกครั้งในสัปดาห์หน้า
โดยมีปัจจัยกดดันจากการชุมนุมใหญ่ของกลุ่ม นปช. มีแนวโน้มที่จะเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ครอบครัวอดีตนายกฯ เดินทางไปต่างประเทศ และการชุมนุมมีแนวโน้มขยายวงกว้าง จากการวางแผนที่ดูเหมือนจะมีระบบ และเป็นขั้นเป็นตอนกว่าในช่วงสงกรานต์ปี 2552
ขณะเดียวกัน ตลาดหุ้นภูมิภาคเริ่มชะลอความร้อนแรงลง หลังปรับตัวขึ้นมาอย่างต่อเนื่องในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา (ตลาดหุ้นไทยแทบไม่ได้ประโยชน์) ขณะที่แรงซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติ ที่แม้เรามองว่าจะยังคงไหลเข้ามาอีก แต่จะเริ่มชะลอลง หลังประเด็นการเมืองกดดันค่าเงินบาทให้อ่อนค่าลงอีกครั้ง เห็นได้จากวานนี้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงถึง 1.90%
สำหรับกลยุทธ์การลงทุน ยังคงเน้นให้ขายถ้าตลาดหุ้นปรับเพิ่มขึ้น แต่จะไม่ได้เห็นการทิ้งตัวลงของตลาดในลักษณะของการตื่นตระหนก โดยเฉพาะจากฝั่งของนักลงทุนต่างชาติ เนื่องจากปัจจุบันตลาดหุ้นไทยยังคงซื้อขายที่ระดับราคาต่ำกว่าตลาดหุ้นภูมิภาคพอสมควร
ฝ่ายวิจัยของบริษัทได้มีการประเมินภาพรวมการลงทุนในช่วง 1 เดือน หลังวันที่ 14 มี.ค. 2552 เป็น 3 กรณี คือ
กรณีปกติซึ่งมีความเป็นไปได้ 40% หากการชุมนุมไม่กระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาลและผู้ชุมนุมไม่สร้างเงื่อนไขแตกหัก ขณะที่ภาพรวมตลาดหุ้นโลกไม่มีการพักฐานที่รุนแรง รวมทั้งแนวโน้มข้อสรุปของหุ้นกลุ่มชินคอร์ปอเรชั่น หากไม่เหนือความคาดหมายของนักวิเคราะห์ จะทำให้ไม่มีการตื่นตระหนกขายหุ้นในกลุ่มดังกล่าวออกมาอีก คาดว่าดัชนีจะแกว่งตัวอยู่ในกรอบ 680-720 จุด
สำหรับกรณีที่ 2 กรณีแย่สุด ซึ่งมีความเป็นไปได้ 20% หากการชุมนุมกระทบเสถียรภาพรัฐบาลอย่างหนัก จนสร้างเงื่อนไขการใช้อำนาจพิเศษ ตลาดหุ้นพักฐานอย่างรุนแรง และข้อสรุปของหุ้นกลุ่มชินคอร์ปออกมาในกรณีที่แย่สุดของนักวิเคราะห์ จนเกิดแรงตื่นตระหนกขายหุ้น แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส และไทยคมออกมาอีก จนกลายเป็นปัจจัยกระทบตลาด ดัชนีหุ้นมีโอกาสลงไปพักฐานที่ระดับ 685-650 จุดอีกครั้ง
ส่วนกรณีที่ 3 คือ กรณีที่ดีที่สุด มีความเป็นไปได้ 40% คือ การชุมนุมสลายตัวภายในเดือน มี.ค. 2553 เสถียรภาพรัฐบาลมั่นคง โดยที่การชุมนุมไม่รุนแรง กำหนดสถานที่ชุมนุมชัดเจน รัฐบาลไม่สร้างเงื่อนไขขึ้นมาเอง โดยการเร่งขยายผลคดียึดทรัพย์ จนนำไปสู่การปลุกกระแส 2 มาตรฐาน ไม่มีการจัดม็อบชนม็อบ และการอภิปรายไม่ไว้วางใจไม่กระทบเสถียรภาพรัฐบาล ตลาดหุ้นโลกเดินหน้าปรับขึ้นต่อ และผลสรุปของกรณีหุ้นกลุ่มชินคอร์ปออกมาดีกว่าคาดหมาย จะทำให้เห็นการฟื้นตัวของหุ้น แอดวานซ์ และไทยคม ตลาดหุ้นที่ถูกกดดันมาร่วม 2 เดือน จะฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ขึ้นไปทดสอบจุดสูงสุดเดิม คือ 750-800 จุด
หุ้นไทย....ในเคส ยุบสภา ปฏิวัติ หรือเกิดความวุ่นวาย !!
.................................................................................................................
http://www.stock2morrow.com/showthread.php?t=11174
หุ้นไทย....ในเคส ยุบสภา ปฏิวัติ หรือเกิดความวุ่นวาย !!
ย้อนรอยการชุมนุมกับตลาดหุ้น "ยุบสภา"
ฉุดหุ้นแรงกว่ารัฐประหาร
อภิญญา มั่นช้อย
ต้องยอมรับตลาดหุ้นกับการเมืองมีความสัมพันธ์กันทั้งในแง่ของข่าวในเชิงบวกและเชิงลบ สะท้อนได้จากในช่วงที่ผ่านมา ดัชนีหุ้นไทยจะมีความอ่อนไหวกับสถานการณ์การเมืองมาตลอด แต่ขณะเดียวกัน หากมองย้อนกลับไปในช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมา จะพบว่าเหตุการณ์ทางการเมืองในแต่ละครั้ง ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว ตรงกันข้ามเศรษฐกิจยังสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง จากการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน รวมทั้งการส่งออกที่ขยายตัวได้อย่างดี
ทั้งนี้ ฝ่ายวิเคราะห์ บล.ฟินันเซียไซรัส เปิดเผยว่า โดยในช่วง 35 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ก่อตั้งตลาดหลักทรัพย์ ได้ผ่านเหตุการณ์ รัฐประหาร 5 ครั้ง ยุบสภาอีก 7 ครั้ง แต่อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจหรือจีดีพี ก็ยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง สะดุดเพียง 2 ครั้ง คือ ในปี 2540 ที่เกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง และปี 2550-2551 ในวิกฤติซับไพร์มและเลแมนบราเดอร์ส ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยทางเศรษฐกิจ
ชื่อ: S2M-240.gif
ครั้ง: 1376
ขนาด: 22.3 กิโลไบต์
สำหรับดัชนีตลาดหุ้น ในช่วงที่การเมืองรุนแรงที่สุด คือ ช่วงพฤษภาทมิฬระหว่าง 17-19 พ.ค. 2535 ดัชนีตลาดหุ้นในช่วง 1 เดือนก่อนหน้านั้นปรับลง 19% แต่ทันทีที่เหตุการณ์สงบลง ดัชนีปรับขึ้น 13% ในช่วง 1 เดือนหลังจากนั้น
ขณะที่เหตุการณ์ รัฐประหาร รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2549 ดัชนีปรับลงมากสุดเพียง 3% เพียง 1 สัปดาห์เศษหลังการรัฐประหาร แต่หลังจากนั้น ปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง 3 เดือน แต่ก่อนหน้าการรัฐประหาร ซึ่งมีความวุ่นวายและข่าวคราวอย่างมากในตลาด ตลาดหุ้นซึ่งลง 10% อยู่ประมาณ 4 เดือน
อย่างไรก็ตาม หลังจากการรัฐประหารกลุ่มเสื้อแดงมีการนัดชุมนุมทั้งใหญ่และย่อยหลายครั้ง โดยในปี 2552 มีการชุมนุมครั้งใหญ่ไม่ต่ำกว่า 5 ครั้ง แต่หลังจากการชุมนุมในแต่ละครั้ง รวมทั้งเหตุการณ์ในเดือน เม.ย. ดัชนีแทบจะปรับขึ้นในทันที พร้อมด้วยนักลงทุนต่างชาติที่ซื้อสุทธิถึง 3.8 หมื่นล้านบาท ในปีที่ผ่านมา
ขณะที่บทวิเคราะห์ บล.ซิกโก้ ประเมินสถานการณ์การเมืองไว้ 3 กรณี
1. ยุบสภา
2. ปฏิวัติรัฐประหาร
และ 3. เกิดความวุ่นวายเหมือนเดือน เม.ย. 2552 แต่จะลากยาวออกไปถึงการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลในปลายเดือน
โดยใน 3 กรณีนี้ จะกระทบต่อตลาดหุ้นต่างกัน
กรณีแรก คือ การยุบสภา สถิติตัวเลขที่ผ่านมา จะส่งผลต่อตลาดหุ้นมากกว่ากรณีของรัฐประหารและความไม่สงบทางการเมืองอื่นๆ จากข้อมูลในอดีตที่มีการยุบสภา 4 ครั้ง คือ ในเดือน เม.ย. 2531 พ.ค. 2538 ก.ย. 2539 และ ก.พ. 2549 ปรากฏว่าหลังการยุบสภา 1 เดือน 3 เดือน และ 6 เดือน ดัชนีจะปรับตัวลง -3.9% -8.8% และ -9.3% ตามลำดับ
ขณะที่กรณีที่ 2 คือ การปฏิวัติรัฐประหาร ซึ่งเกิดขึ้น 4 ครั้งเหมือนกัน การตอบสนองของดัชนีหลังจากนั้น คือ 1-3-6 เดือนต่อมา จะปรับตัวลงประมาณ -1.5% -1.8% และ -5.3%
ส่วนในกรณีที่ 3 เกิดความวุ่นวาย ปรากฏว่าหลังจากนั้น 1-3-6 เดือน ดัชนีปรับตัวขึ้น โดยวิกฤติการเมืองในประเทศไทยทั้งหมด 14 ครั้ง เฉลี่ยแล้วจะส่งผลต่อดัชนี ในช่วง 1-3-6 เดือนต่อมา คือ -0.8% +2% และ -1.1% ซึ่งถือว่าน้อยมาก
แนวโน้มที่จะเกิดการยุบสภา หากมีความเป็นไปได้ จะต้องเกิดหลังการชุมนุมประท้วง ส่วนการปฏิวัติรัฐประหารก็เช่นกัน ดังนั้น หากเกิดการยุบสภาเกิดขึ้น แนะนำให้ขายหุ้นทั้งหมด เพราะดูจากสถิติในอดีตแล้วถือว่ากระทบกับดัชนีแรงมาก เหตุมาจาก
1. การยุบสภา จะส่งผลต่อนโยบายทางเศรษฐกิจทั้งหมด
2. การยุบสภาครั้งนี้มีสิทธิที่จะนำไปสู่ความขัดแย้งรอบใหม่ของคนเสื้อเหลืองและทหาร
แต่หากเกิดกรณี ปฏิวัติรัฐประหาร แนะนำ ซื้อเล่นเก็งกำไร เพราะมองจากสถิติในอดีตถือว่ากระทบกับตลาดในระยะ 1-3 เดือนไม่มาก
หากเกิดกรณีเหมือนเดือน เม.ย. 2552 แต่อาจรุนแรงกว่าและยืดเยื้อไปถึงการอภิปรายไม่ไว้วางใจในปลายเดือน มี.ค. แนะนำให้ซื้อเพื่อลงทุน เพราะทุกอย่างจะไม่กระทบกับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและการยอมรับจากต่างประเทศ
ด้านนายกัณฑรา ลดาวัลย์ ณ อยุธยา กรรมการผู้จัดการ บล.ฟินันเซียไซรัส ประเมินการชุมนุมใหญ่ในวันที่ 14 มี.ค.นี้ คาดว่าน่าจะทำให้ตลาดหุ้นในสัปดาห์หน้าปรับขึ้นได้ โดยมองแนวต้านที่ระดับ 745-750 จุด อย่างไรก็ตาม เดือน เม.ย.ตลาดหุ้นน่าจะเริ่มเข้าสู่ภาวะหมีเต็มตัว หลังหมดข่าวดีเรื่องผลประกอบการ พร้อมด้วยการขึ้นเครื่องหมายรับเงินปันผลหรือเอ็กซ์ดีของหุ้นแทบทั้งตลาด นักลงทุนน่าจะหาจังหวะในการขายปรับพอร์ตก่อนสิ้นเดือน มี.ค.นี้ เพื่อรอซื้อของถูกในเดือนหน้า
ด้านนายไพบูลย์ นรินทรางกูร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บล.ทิสโก้ ในฐานะนายกสมาคมนักวิเคราะห์ ให้ความเห็นว่า ถ้าการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้น รัฐบาลสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ตลาดหุ้นไทยก็มีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้นตามทิศทางตลาดหุ้นในภูมิภาค ซึ่งสะท้อนได้จากในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา แม้จะมีข่าวการชุมนุมออกมา แต่ปรากฏว่านักลงทุนต่างชาติยังคงซื้อสุทธิอยู่ และยิ่งผลการชุมนุมไม่มีอะไรเกิดขึ้น ตลาดหุ้นไทยก็พร้อมที่จะขึ้น
ในทางกลับกัน หากการชุมนุมมีความรุนแรงมาก จนทำให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าจะมีการนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการเมืองไม่ว่ารูปแบบใด ตลาดหุ้นจะปรับตัวลดลงอย่างรุนแรง เพราะเริ่มมีความไม่แน่นอนเกิดขึ้น ขณะเดียวกัน แม้การชุมนุมจะมีความรุนแรงเกิดขึ้น แต่รัฐบาลยังคุมสถานการณ์ได้ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ตลาดหุ้นก็จะตกตื่นตระหนกเล็กน้อย
นายไพบูลย์ ยังได้บอกต่อว่า จากการเดินทางไปโรดโชว์ร่วมกับบริษัทจดทะเบียน 10 แห่ง ที่ประเทศสิงคโปร์ในช่วง 2-3 ที่ผ่านมา โดยพบกับกองทุนต่างประเทศประมาณ 50 กองทุน ซึ่งก็มีการสอบถามถึงสถานการณ์การชุมนุมบ้าง แต่ไม่ได้กังวลมากนัก เพราะมองว่าปัจจัยเสี่ยงทางการเมืองมีทุกประเทศเพียงแต่มีรูปแบบที่แตกต่างกันไป อย่างไรก็ตาม จากปัจจัยพื้นฐานของไทย นักลงทุนต่างชาติส่วนใหญ่ยังมีความมั่นใจว่าตลาดหุ้นไทยมีโอกาสที่ดี
ขณะที่นางวิริยา ลาภพรหมรัตน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บล.เกียรตินาคิน ประเมินว่า ถ้าดัชนีไม่สามารถกลับไปยืนเหนือ 725 จุด จะเป็นเพียงการปรับตัวเพิ่มขึ้น (Rebound) เพื่อลงต่อเท่านั้น ในลักษณะซึมลง และมีโอกาสที่จะหลุด 710 จุดลงมาอีกครั้งในสัปดาห์หน้า
โดยมีปัจจัยกดดันจากการชุมนุมใหญ่ของกลุ่ม นปช. มีแนวโน้มที่จะเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ครอบครัวอดีตนายกฯ เดินทางไปต่างประเทศ และการชุมนุมมีแนวโน้มขยายวงกว้าง จากการวางแผนที่ดูเหมือนจะมีระบบ และเป็นขั้นเป็นตอนกว่าในช่วงสงกรานต์ปี 2552
ขณะเดียวกัน ตลาดหุ้นภูมิภาคเริ่มชะลอความร้อนแรงลง หลังปรับตัวขึ้นมาอย่างต่อเนื่องในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา (ตลาดหุ้นไทยแทบไม่ได้ประโยชน์) ขณะที่แรงซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติ ที่แม้เรามองว่าจะยังคงไหลเข้ามาอีก แต่จะเริ่มชะลอลง หลังประเด็นการเมืองกดดันค่าเงินบาทให้อ่อนค่าลงอีกครั้ง เห็นได้จากวานนี้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงถึง 1.90%
สำหรับกลยุทธ์การลงทุน ยังคงเน้นให้ขายถ้าตลาดหุ้นปรับเพิ่มขึ้น แต่จะไม่ได้เห็นการทิ้งตัวลงของตลาดในลักษณะของการตื่นตระหนก โดยเฉพาะจากฝั่งของนักลงทุนต่างชาติ เนื่องจากปัจจุบันตลาดหุ้นไทยยังคงซื้อขายที่ระดับราคาต่ำกว่าตลาดหุ้นภูมิภาคพอสมควร
ฝ่ายวิจัยของบริษัทได้มีการประเมินภาพรวมการลงทุนในช่วง 1 เดือน หลังวันที่ 14 มี.ค. 2552 เป็น 3 กรณี คือ
กรณีปกติซึ่งมีความเป็นไปได้ 40% หากการชุมนุมไม่กระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาลและผู้ชุมนุมไม่สร้างเงื่อนไขแตกหัก ขณะที่ภาพรวมตลาดหุ้นโลกไม่มีการพักฐานที่รุนแรง รวมทั้งแนวโน้มข้อสรุปของหุ้นกลุ่มชินคอร์ปอเรชั่น หากไม่เหนือความคาดหมายของนักวิเคราะห์ จะทำให้ไม่มีการตื่นตระหนกขายหุ้นในกลุ่มดังกล่าวออกมาอีก คาดว่าดัชนีจะแกว่งตัวอยู่ในกรอบ 680-720 จุด
สำหรับกรณีที่ 2 กรณีแย่สุด ซึ่งมีความเป็นไปได้ 20% หากการชุมนุมกระทบเสถียรภาพรัฐบาลอย่างหนัก จนสร้างเงื่อนไขการใช้อำนาจพิเศษ ตลาดหุ้นพักฐานอย่างรุนแรง และข้อสรุปของหุ้นกลุ่มชินคอร์ปออกมาในกรณีที่แย่สุดของนักวิเคราะห์ จนเกิดแรงตื่นตระหนกขายหุ้น แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส และไทยคมออกมาอีก จนกลายเป็นปัจจัยกระทบตลาด ดัชนีหุ้นมีโอกาสลงไปพักฐานที่ระดับ 685-650 จุดอีกครั้ง
ส่วนกรณีที่ 3 คือ กรณีที่ดีที่สุด มีความเป็นไปได้ 40% คือ การชุมนุมสลายตัวภายในเดือน มี.ค. 2553 เสถียรภาพรัฐบาลมั่นคง โดยที่การชุมนุมไม่รุนแรง กำหนดสถานที่ชุมนุมชัดเจน รัฐบาลไม่สร้างเงื่อนไขขึ้นมาเอง โดยการเร่งขยายผลคดียึดทรัพย์ จนนำไปสู่การปลุกกระแส 2 มาตรฐาน ไม่มีการจัดม็อบชนม็อบ และการอภิปรายไม่ไว้วางใจไม่กระทบเสถียรภาพรัฐบาล ตลาดหุ้นโลกเดินหน้าปรับขึ้นต่อ และผลสรุปของกรณีหุ้นกลุ่มชินคอร์ปออกมาดีกว่าคาดหมาย จะทำให้เห็นการฟื้นตัวของหุ้น แอดวานซ์ และไทยคม ตลาดหุ้นที่ถูกกดดันมาร่วม 2 เดือน จะฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ขึ้นไปทดสอบจุดสูงสุดเดิม คือ 750-800 จุด