.....ระบอบประชาธิปไตย คือความเท่าเทียมกันในการใช้สิทธิเสรีภาพของประชาชน ภายใต้กฏหมายเดียวกัน เป็นสิ่งที่เราได้เรียนรู้ในสถานศึกษามาตั้งแต่เด็กจนโต เป็นระบอบการปกครองที่สถาปนาขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ 2475 เป็นการเปลี่ยนแปลงลักษณะการปกครองจากระบอบ "สมบูรณาญาสิทธิราชย์" มาเป็นระบอบ "ประชาธิปไตย"
และมาเป็นวลีเรียกขานติดปากว่า ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" ในพ.ศ 2492 (ตอน"ปฏิวัติสยาม"ของ คณะราษฎร ยังไม่มีคำนี้ในรัฐธรรมนูญ)
พื้นฐานที่รู้กันดีของระบอบประชาธิปไตยคือสิทธิในการแสดงมติ และยึดถือมติของเสียงส่วนมากเป็นหลักในการบริหาร
แต่วันนี้ ผมสงสัยว่า ที่ครูบาอาจารย์สอนเรามานั้น มันถูกต้องแล้วหรือ?
และยังสงสัยอีกว่า จากสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในบ้านเมืองนี้ เรายังจะเลือกตั้งกันไปอีกทำไม?
เมื่อเสียงส่วนใหญ่ถูกปฏิเสธโดยเสียงส่วนน้อย และเสียงส่วนน้อย อ้างว่าการออกมาเคลื่อนไหวเพื่อต้องการเปลี่ยนแปลงให้เกิด"ความชอบธรรม" เพื่อล้มล้างระบอบ"ทักษิณ"ที่เป็นต้นตอแห่งความชั่วร้ายที่กัดกินระบอบประชาธิปไตย
เสียงส่วนน้อยใช้"ความชอบธรรม"ของตัวเอง แสดงออกซึ่งการเคลื่อนไหวด้วยอารยะขัดขืน ด้วยการปิดถนนและยึดสถานที่ราชการ
เสียงส่วนน้อยใช้"ความชอบธรรม"ของตัวเอง อ้างตัวชนชั้นปัญญาชนมีสมองและความคิด มากกว่าประชาชนอีกฝากฝั่งซึ่งเป็นชนชั้นรากหญ้า และผลักไสให้อีกฝ่ายดู"โง่" และไร้วุฒิภาวะในการเลือกตัวแทน
เสียงส่วนน้อยใช้"ความชอบธรรม"ของตัวเอง ในการใช้อาวุธประหัตประหารฝ่ายตรงข้าม เพื่อรักษาไว้ซึ่งสถาบันอุดมศึกษาที่ชื่อ "รามคำแหง"
เสียงส่วนน้อยใช้"ความชอบธรรม"ของตัวเอง ในการบังคับให้ฟรีทีวี ถ่ายทอดการแถลงการณ์ของแกนนำกลุ่มตัวเอง และให้สื่อต่างๆงดนำเสนอข่าวสารของอีกฝากฝ่าย
เสียงส่วนน้อยใช้"ความชอบธรรม"ของตัวเอง ในความพยายามเปลี่ยนแปลงรูปแบบการการปกครองของไทย จากประชาธิปไตยของเสียงส่วนมาก เป็นประชาธิปไตยในแบบของฉัน
"ความชอบธรรม"ของเสียงส่วนน้อย ทำให้ใจหนึ่งของผมเกิดความรู้สึกเหนื่อยหน่าย และเบื่อการเมืองในระบอบประชาธิปไตย
แต่อีกใจรู้สึกถึงคำสอน ที่ครูบาอาจารย์ได้เคยสอน ว่าแก่นแท้แล้วประชาธิปไตยคือการแสดงมติของประชาชน และผมจะไม่รีรอเลยหากถึงวันที่ผมจะได้ใช้สิทธิของผม ในการเลือกตัวแทน ผมจะไปแสดงถึงแก่นที่แท้จริงในระบอบประฃาธิปไตยให้เสียงส่วนน้อยที่เคลื่อนไหวอยู่ตอนนี้รู้ว่า "ความชอบธรรมในสิทธิเสรีภาพในระบอบประชาธิปไตย" เขาทำกันยังไง
เมื่อถึงวันเลือกตั้ง ผมจะไปแสดงให้พวกเขาเห็น และเมื่อถึงวันนั้น ตัวแทนของผมไม่ใช่พวกเขาแน่นอน
ความชอบธรรม แห่งระบอบประชาธิปไตย
และมาเป็นวลีเรียกขานติดปากว่า ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" ในพ.ศ 2492 (ตอน"ปฏิวัติสยาม"ของ คณะราษฎร ยังไม่มีคำนี้ในรัฐธรรมนูญ)
พื้นฐานที่รู้กันดีของระบอบประชาธิปไตยคือสิทธิในการแสดงมติ และยึดถือมติของเสียงส่วนมากเป็นหลักในการบริหาร
แต่วันนี้ ผมสงสัยว่า ที่ครูบาอาจารย์สอนเรามานั้น มันถูกต้องแล้วหรือ?
และยังสงสัยอีกว่า จากสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในบ้านเมืองนี้ เรายังจะเลือกตั้งกันไปอีกทำไม?
เมื่อเสียงส่วนใหญ่ถูกปฏิเสธโดยเสียงส่วนน้อย และเสียงส่วนน้อย อ้างว่าการออกมาเคลื่อนไหวเพื่อต้องการเปลี่ยนแปลงให้เกิด"ความชอบธรรม" เพื่อล้มล้างระบอบ"ทักษิณ"ที่เป็นต้นตอแห่งความชั่วร้ายที่กัดกินระบอบประชาธิปไตย
เสียงส่วนน้อยใช้"ความชอบธรรม"ของตัวเอง แสดงออกซึ่งการเคลื่อนไหวด้วยอารยะขัดขืน ด้วยการปิดถนนและยึดสถานที่ราชการ
เสียงส่วนน้อยใช้"ความชอบธรรม"ของตัวเอง อ้างตัวชนชั้นปัญญาชนมีสมองและความคิด มากกว่าประชาชนอีกฝากฝั่งซึ่งเป็นชนชั้นรากหญ้า และผลักไสให้อีกฝ่ายดู"โง่" และไร้วุฒิภาวะในการเลือกตัวแทน
เสียงส่วนน้อยใช้"ความชอบธรรม"ของตัวเอง ในการใช้อาวุธประหัตประหารฝ่ายตรงข้าม เพื่อรักษาไว้ซึ่งสถาบันอุดมศึกษาที่ชื่อ "รามคำแหง"
เสียงส่วนน้อยใช้"ความชอบธรรม"ของตัวเอง ในการบังคับให้ฟรีทีวี ถ่ายทอดการแถลงการณ์ของแกนนำกลุ่มตัวเอง และให้สื่อต่างๆงดนำเสนอข่าวสารของอีกฝากฝ่าย
เสียงส่วนน้อยใช้"ความชอบธรรม"ของตัวเอง ในความพยายามเปลี่ยนแปลงรูปแบบการการปกครองของไทย จากประชาธิปไตยของเสียงส่วนมาก เป็นประชาธิปไตยในแบบของฉัน
"ความชอบธรรม"ของเสียงส่วนน้อย ทำให้ใจหนึ่งของผมเกิดความรู้สึกเหนื่อยหน่าย และเบื่อการเมืองในระบอบประชาธิปไตย
แต่อีกใจรู้สึกถึงคำสอน ที่ครูบาอาจารย์ได้เคยสอน ว่าแก่นแท้แล้วประชาธิปไตยคือการแสดงมติของประชาชน และผมจะไม่รีรอเลยหากถึงวันที่ผมจะได้ใช้สิทธิของผม ในการเลือกตัวแทน ผมจะไปแสดงถึงแก่นที่แท้จริงในระบอบประฃาธิปไตยให้เสียงส่วนน้อยที่เคลื่อนไหวอยู่ตอนนี้รู้ว่า "ความชอบธรรมในสิทธิเสรีภาพในระบอบประชาธิปไตย" เขาทำกันยังไง
เมื่อถึงวันเลือกตั้ง ผมจะไปแสดงให้พวกเขาเห็น และเมื่อถึงวันนั้น ตัวแทนของผมไม่ใช่พวกเขาแน่นอน