โดย : ศศิธร อ่องดี กรุงเทพธุรกิจ
นักวิเคราะห์ประเมิน สถานการณ์การเมืองเลวร้าย ป่วนขีดสุด! ดัชนีทรุดแตะ 1,100 จุด ก่อนดีดขึ้น สัปดาห์ที่ผ่านมาต่างชาติทิ้งหุ้น 3-4 หมื่นล้าน
ภายใต้สถานการณ์การเมืองเข้มข้น เมื่อกลุ่มชุมนุมต่อต้านรัฐบาลได้ยกระดับด้วยการไปยึดและปิดล้อมสถานที่ราชการหลายแห่ง นักวิเคราะห์หุ้นจากสองสถาบัน ปริญญ์ พานิชภักดิ์ กรรมการผู้จัดการ บล.ซีแอลเอสเอ (ประเทศไทย) จำกัด ประกิต สิริวัฒนเกตุ ผู้จัดการฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์เอเซียพลัส ร่วมสนทนาเจาะลึกดัชนีราคาหุ้นไทยจะไปทางไหน ในรายการ Business Talk หัวข้อ "การเงิน-การคลัง กับดักหุ้นไทย" ทางกรุงเทพธุรกิจทีวี
ประกิต บอกว่าความไม่สงบทางการเมืองกระทบต่อตลาดหุ้นแน่นอน ขณะนี้บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทยถูกกระหน่ำจากหลายด้าน 1. การเมืองที่ไม่มีเสถียรภาพ 2. อัตราการเติบโตเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอย่างชัดเจน โดยไตรมาสแรกโต 5.2% ไตรมาส2 โต 2.8% และไตรมาสสามโต 2.7% หากไตรมาสสี่โตไม่ถึง 1% หมายความว่าทั้งปีเศรษฐกิจไทยโตไม่ถึง 3 % 3. ที่น่ากลัวยิ่งกว่าคือกำไรของบริษัทจดทะเบียนสามไตรมาสที่ผ่านมาค่อนข้างย่ำแย่ ทำให้ต้องปรับลดประมาณยของทั้งตลาดลงจากเดิม 97บาทต่อหุ้นเหลือ 92 บาทต่อหุ้น เมื่อหารด้วยฐานดัชนีปัจจุบัน เท่ากับค่าพีอี (ราคาปิดต่อกำไรต่อหุ้น) อยู่ที่ 14.5-14.6 เท่า ถือว่าฐานในปัจจุบันแพงมาก เมื่อย้อนกลับไปดูเรื่องราวในเกิดขึ้นในอดีต
"หากมีเรื่องไม่ดีเกิดขึ้นค่าพีอีตลาดหุ้นไทยร่วงลงไปแตะ 12 เท่า เป็นตัวเลขที่น่ากลัวมาก หมายถึงดัชนีมีโอกาสต่ำกว่า 1,100 จุด แต่มองว่าลงไม่แย่ถึงขนาดนั้น แต่ก็ประมาทไม่ได้ในสภาวการณ์เช่นนี้"
อย่างไรก็ดี การเมืองขณะนี้ยังมองไม่เห็นทางออกว่ายุบสภาจะมีโอกาสเกิดหรือไม่ แต่มองจากรูปการณ์แล้วหากยืดเยื้อไปจนถึงเดือนม.ค.ปีหน้า หมายความว่ายิ่งทำให้ตลาดหุ้นซึมลงเท่านั้น ตอนนี้ที่น่ากลัวคือนักลงทุนต่างชาติขาย โดยเฉพาะในช่วงเดือนพ.ย.ขายสุทธิไปแล้ว 31,000 ล้านบาท สถาบันในประเทศก็พลิกมาเป็นผู้ขายสุทธิ 7,000 ล้านบาท แต่ต่างชาติขายก็ยังไม่น่ากลัวมากนัก เพราะตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาต่างชาติได้ขายไป 1.4 แสนล้านบาทแล้ว ที่น่ากลัวคือสถาบันในประเทศ เพราะถือหุ้นไว้เป็นจำนวนมาก ซึ่งสามารถเปลี่ยนนโยบายการลงทุนได้ หากเปลี่ยนเมื่อไร หุ้นไทยจะมีโอกาสลงได้มากกว่านี้อีก
คาดบจ.มีผลกำไรชะลอต่อเนื่อง
ผลกำไรของบริษัทจดทะเบียนที่ลดลงปีนี้ มีแนวโน้มที่จะลดลงในปีหน้าด้วย แต่ที่น่ากังวลคือประมาณการปีหน้าอาจจะต้องปรับลดลงด้วยหรือไม่ และอาจจะ "หดตัว" ไม่ใช่แค่ชะลอตัว อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นเพียง 1.5-2% ขณะที่แรงงานขาดแคลน แปลว่ากำลังซื้อหดตัว ผนวกกับสภาพคล่องโดยรวมตึงตัว นโยบายใหม่ไม่มี ลงทุนในโครงการโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาทไม่เกิด ดังนั้นโอกาสของราคาหุ้นไทยมีแต่จะลดลง
สิ่งที่กังวลคือกลัวผู้ชุมนุมฝั่งราชดำเนินกับผู้ชุมนุมฝั่งสนามกีฬาราชมังคลาสถานมาฟีชเชอริ่งกัน หากมาเจอกันเมื่อไรก็จะมีปัญหา แต่เท่าที่อ่านเกมมองว่ารัฐบาลเกินเกมพลาด 2 ช็อต คือการชุมนุมคัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม และการรวมตัวในวันที่ 24 พ.ย.ที่ผ่านมา ขณะที่กลยุทธ์ม็อบดาวกระจายของ สุเทพ เทือกสุบรรณ ได้รับการสนองตอบจากกองเชียร์เกินคาดหมาย และอาจจะกลายเป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น ถ้าเกิดการเปลี่ยนแปลงในเดือน ธ.ค. อย่างน้อยไม่มีเหตุจำเป็นที่ม็อบจะชุมนุมอยู่ หรืออาจจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น มีนโยบายใหม่ๆ หรือเปลี่ยนผู้นำ เปลี่ยนรัฐบาลชุดใหม่ เปลี่ยนรูปแบบไปเลย เชื่อว่าตลาดหุ้นจะดีขึ้น จากสถิติย้อนหลัง 4 ปีตลาดหุ้นในเดือนธ.ค.มักจะปรับเพิ่มขึ้นทุกปี ประมาณ 3-4% ปีนี้อาจจะได้เห็นประวัติศาสตร์ซ้ำรอยสถิติเดิม หลังจากดัชนีราคาหุ้นได้ตกลงไปมากเดือนพ.ย.
ชี้2แนวทางการเมืองกระทบหุ้น
สรุปคืออาจจะแบ่งสถานการณ์ออกได้เป็น 2 เหตุการณ์ คือ 1. หากความวุ่นวายจบลงก่อนที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) จะชี้มูลความผิดในเดือน ธ.ค. ที่เตรียมไว้ 6 คดี ซึ่งมียิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นหัวขบวนทุกคดี หุ้นมีโอกาสขึ้นได้ ทั้งนี้ไม่ได้ขึ้นด้วยปัจจัยพื้นฐานใดๆเลย แต่เป็นการขึ้นด้วยแรงคาดหวังอย่างเดียว 2. สถานการณ์ยืดเยื้อกระทั่งปปช.ชี้มูล แม้ว่าเพียงคดีเดียว จะส่งผลให้หุ้นตก เพราะอาจจะเกิดการต่อต้านของผู้ชุมนุมทั้งสองฝ่าย
"เชื่อว่าสถานการณ์ที่เลวร้ายสุดคือ แนวรับน่าจะลงไปต่ำกว่าจุดเคยต่ำสุดในวันที่ 28 ส.ค. ที่ระดับ 1,260 จุด"
สำหรับปีหน้า ปัจจัยหลักที่มีผลกระทบต่อตลาดหุ้นน่าจะมาจากต่างประเทศ ส่วนการเมืองในประเทศน่าจะชัดเจนขึ้น การประเมินล่วงหน้ายาวๆเริ่มไม่แม่นยำ เพราะต้องติดตามตัวเลขทางเศรษฐกิจต่างๆอย่างใกล้ชิด สำหรับบล.เอซีย พลัส ประมาณการอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจปีหน้าที่ 4% อย่างไรก็ดี ในช่วงที่ผ่านมาไทยเสพประชานิยมมากเกินไป จนถึงช่วงกลางปีเริ่มเห็นปัญหาอาหารเป็นพิษ และจะเป็นพิษขึ้นเรื่อยๆหากรัฐบาลยังคงดำเนินการโครงการรับจำนำข้าวเหมือนที่ผ่านมา
ระบุนักลงทุนต่างชาติชินการเมืองไทย
ปริญญ์ มองว่าผลกระทบการเมืองต่อตลาดหุ้นเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนส.ค.ที่ผ่านมา เพราะความคาดหมายของต่างชาติว่าการลงทุนของรัฐบาลทันท่วงทีแทนการบริโภคในประเทศที่ชะลอตัวลง ที่ผ่านมารัฐบาลใช้นโยบายประชานิยมกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นมาก ในปีนี้จึงคาดว่าจะมีการนโยบายระยะยาว เช่น โครงการการโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งต่างชาติจับตามองค่อนข้างมากหลังจากรัฐบาลเดินสายไปแล้วหลายรอบ ดังนั้นตลาดหุ้นไทยในรอบนี้ถูกกระทบค่อนข้างแรง เพราะราคาหุ้นไม่ได้ถูกเหมือนเดิม
"ปัญหาการเมืองอยู่กับบ้านเรามา 4-5 ปี แล้วตั้งแต่ปี 2551 จนนักลงทุนต่างชาติเริ่มชิน เบื่อ เซ็ง ตลาดหุ้นขึ้นต่อเนื่อง 4 ปีซ้อน ประกอบกับคิวอีเริ่มลดขนาดลง เงินทุนเริ่มไหลออกกลับไปซื้อหุ้นในตลาดสหรัฐที่พร้อมจะมีอัตราเติบโตเท่ากับตลาดหุ้นไทย รวมทั้งตลาดหุ้นอื่นใน จีน เกาหลี ไต้หวัน และฮ่องกง"
ทั้งนี้การเมืองมีผลต่อเศรษฐกิจสะดุดเป็นสิ่งที่นักลงทุนต่างชาติไม่พอใจ โดยเฉพาะการนำนโยบายการเมืองมาชี้นำนโยบายเศรษฐกิจ ส่งผลให้ค่าความเสี่ยง (risk premium) ในตลาดหุ้นไทยสูงขึ้น ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่อง 30,000 -40,000 ล้านบาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมายังถือว่าเป็นการขายเล่นๆ ฟรีโฟลตทั้งหมดมีต่างชาติถืออยู่ 60% ขายไปยังไม่ถึง 10% ยังมีที่เหนียวอยู่บ้างคือไม่ขายทิ้ง เช่น คันทรีฟันด์ โกลบอล อิเมอร์จจิง ฟันด์ ขายจริงยังไม่เกิดขึ้น รอปีหน้าคงเห็นขายจริงเกิดขึ้น
เผยต่างชาติเริ่มปรับพอร์ตลงทุนชัดเจน
ปริญญ์ ยังให้ความเห็นว่า ที่จริงแล้วหุ้นไทยในเดือนธ.ค.ย้อนหลังไป 10 ปี ปรับขึ้นทุกปี ยกเว้นปี 2549 ซึ่งเป็นปีที่แบงก์ชาติประกาศมาตการควบคุมเงินทุนไหลเข้า ขณะที่นักลงทุนสถาบันต่างชาติไม่ได้สนใจสั่งซื้อขายช่วงปลายปีเท่าไรนัก สำหรับปีหน้า หุ้นไทยจะปรับขึ้นได้น่าจะมาจากปัจจัยต่างประเทศ อานิสงส์จากส่งออกหลังจากที่ปีนี้ไม่โต ประกอบกับคิวอีที่ไม่น่าจะลดขนาดลงมากนัก แต่ถ้านโยบายภาครัฐไม่ได้ดำเนินการทันท่วงที ต่างชาติคงต้องคิดหนักหากจะลงทุนในตลาดหุ้นไทย อาจจะต้องเลือกซื้อเป็นรายตัว ไม่ใช่ซื้อยกกลุ่มเหมือนเดิม
โดยภาพแล้ว ตลาดหุ้นไทยขึ้นแรงลงแรง นักลงทุนต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุนในช่วงนี้ต้องใจกล้ามาก อย่างไรก็ดี นักลงทุนต่างชาติส่วนใหญ่เริ่มปรับพอร์ตการลงทุนชัดเจน และเริ่มหันไปลงทุนในตลาดหุ้นแถบเอเชียเหนือ รับอานิสงส์จากเศรษฐกิจสหรัฐ และยุโรปฟื้นตัว แต่กองทุนต่างชาติที่ลงทุนในตลาดหุ้นไทยมากว่า 4 ปียังไม่ได้ปรับพอร์ตมากนัก อาทิ กองทุนเทมเพิลตัน มีเงินลงทุนในตลาดหุ้นไทยตอนนี้อย่างต่ำ 5,000 ล้านดอลลาร์ อาเบอร์ดีนมีเงินอย่างต่ำ 3,000 ล้านเหรียญ รวมหลายกองทุนหลายพันล้านเหรียญ ซี่งกองทุนเหล่านี้ยังไม่ได้ปรับพอร์ตเต็มที่เหมือนพวกเฮดจ์ฟันด์ที่ขายออกไปเรียบร้อยแล้วอย่างรวดเร็ว
นักลงทุนต่างชาติกังวลอยู่ 2 ประเด็นคือ 1. รัฐบาลชุดนี้เลือกที่นำเอาพ.ร.บ.นิรโทษกรรมเข้าสภาก่อนพ.ร.บ.เงินกู้โครงการโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท และ 2. รัฐบาลชุดนี้มาจาการเลือกจั้งแต่กลับไม่รับคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องที่นักลงทุนต่างชาติแปลกใจและถามไถ่กันมาก
ส่วนฐานะการคลังของประเทศขณะนี้ยังไม่น่ากลัวตอนนี้ แต่มีแนวโน้มน่ากังวลด้านกฎเกณฑ์การใช้จ่าย ซึ่งต้องรอบคอบโดยเฉพาะเงินกู้โครงการโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท เพราะอยู่นอกงบประมาณรายจ่ายประจำปีทำให้ตรวจสอบได้ยาก นอกจากนี้ยังผูกพันภาระหนี้ไปอีก 50 ปี ดังนั้น รัฐบาลต้องคำนึงถึงสิ่งที่ควรทำก่อนหลังเช่น รถไฟรางคู่ และรถไฟฟ้าควรดำเนินการก่อน รวมถึงการพัฒนาด้านอื่นด้วย เช่น พัฒนาบุคลากร ส่วนโครงสร้างภาษีควรต้องปรับเพื่อดึงดูกนักลงทุนต่างชาติระยะยาว และปรับเพื่อแข่งขันกับประเทศอื่น เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ และไต้หวันได้ สำหรับโครงการรับจำนำข้าว ที่ผ่านมาดำเนินเหมือนกันหมดทุกรัฐบาล แต่ขึ้นอยู่กับว่าทำอย่างไรให้กระทบฐานะการคลังน้อยที่สุด ควบคู่ไปกับแผนพัฒนาระยะยาว
การเมืองป่วนขีดสุด! ดัชนีร่วงแตะ 1,100 จุด
นักวิเคราะห์ประเมิน สถานการณ์การเมืองเลวร้าย ป่วนขีดสุด! ดัชนีทรุดแตะ 1,100 จุด ก่อนดีดขึ้น สัปดาห์ที่ผ่านมาต่างชาติทิ้งหุ้น 3-4 หมื่นล้าน
ภายใต้สถานการณ์การเมืองเข้มข้น เมื่อกลุ่มชุมนุมต่อต้านรัฐบาลได้ยกระดับด้วยการไปยึดและปิดล้อมสถานที่ราชการหลายแห่ง นักวิเคราะห์หุ้นจากสองสถาบัน ปริญญ์ พานิชภักดิ์ กรรมการผู้จัดการ บล.ซีแอลเอสเอ (ประเทศไทย) จำกัด ประกิต สิริวัฒนเกตุ ผู้จัดการฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์เอเซียพลัส ร่วมสนทนาเจาะลึกดัชนีราคาหุ้นไทยจะไปทางไหน ในรายการ Business Talk หัวข้อ "การเงิน-การคลัง กับดักหุ้นไทย" ทางกรุงเทพธุรกิจทีวี
ประกิต บอกว่าความไม่สงบทางการเมืองกระทบต่อตลาดหุ้นแน่นอน ขณะนี้บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทยถูกกระหน่ำจากหลายด้าน 1. การเมืองที่ไม่มีเสถียรภาพ 2. อัตราการเติบโตเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอย่างชัดเจน โดยไตรมาสแรกโต 5.2% ไตรมาส2 โต 2.8% และไตรมาสสามโต 2.7% หากไตรมาสสี่โตไม่ถึง 1% หมายความว่าทั้งปีเศรษฐกิจไทยโตไม่ถึง 3 % 3. ที่น่ากลัวยิ่งกว่าคือกำไรของบริษัทจดทะเบียนสามไตรมาสที่ผ่านมาค่อนข้างย่ำแย่ ทำให้ต้องปรับลดประมาณยของทั้งตลาดลงจากเดิม 97บาทต่อหุ้นเหลือ 92 บาทต่อหุ้น เมื่อหารด้วยฐานดัชนีปัจจุบัน เท่ากับค่าพีอี (ราคาปิดต่อกำไรต่อหุ้น) อยู่ที่ 14.5-14.6 เท่า ถือว่าฐานในปัจจุบันแพงมาก เมื่อย้อนกลับไปดูเรื่องราวในเกิดขึ้นในอดีต
"หากมีเรื่องไม่ดีเกิดขึ้นค่าพีอีตลาดหุ้นไทยร่วงลงไปแตะ 12 เท่า เป็นตัวเลขที่น่ากลัวมาก หมายถึงดัชนีมีโอกาสต่ำกว่า 1,100 จุด แต่มองว่าลงไม่แย่ถึงขนาดนั้น แต่ก็ประมาทไม่ได้ในสภาวการณ์เช่นนี้"
อย่างไรก็ดี การเมืองขณะนี้ยังมองไม่เห็นทางออกว่ายุบสภาจะมีโอกาสเกิดหรือไม่ แต่มองจากรูปการณ์แล้วหากยืดเยื้อไปจนถึงเดือนม.ค.ปีหน้า หมายความว่ายิ่งทำให้ตลาดหุ้นซึมลงเท่านั้น ตอนนี้ที่น่ากลัวคือนักลงทุนต่างชาติขาย โดยเฉพาะในช่วงเดือนพ.ย.ขายสุทธิไปแล้ว 31,000 ล้านบาท สถาบันในประเทศก็พลิกมาเป็นผู้ขายสุทธิ 7,000 ล้านบาท แต่ต่างชาติขายก็ยังไม่น่ากลัวมากนัก เพราะตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาต่างชาติได้ขายไป 1.4 แสนล้านบาทแล้ว ที่น่ากลัวคือสถาบันในประเทศ เพราะถือหุ้นไว้เป็นจำนวนมาก ซึ่งสามารถเปลี่ยนนโยบายการลงทุนได้ หากเปลี่ยนเมื่อไร หุ้นไทยจะมีโอกาสลงได้มากกว่านี้อีก
คาดบจ.มีผลกำไรชะลอต่อเนื่อง
ผลกำไรของบริษัทจดทะเบียนที่ลดลงปีนี้ มีแนวโน้มที่จะลดลงในปีหน้าด้วย แต่ที่น่ากังวลคือประมาณการปีหน้าอาจจะต้องปรับลดลงด้วยหรือไม่ และอาจจะ "หดตัว" ไม่ใช่แค่ชะลอตัว อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นเพียง 1.5-2% ขณะที่แรงงานขาดแคลน แปลว่ากำลังซื้อหดตัว ผนวกกับสภาพคล่องโดยรวมตึงตัว นโยบายใหม่ไม่มี ลงทุนในโครงการโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาทไม่เกิด ดังนั้นโอกาสของราคาหุ้นไทยมีแต่จะลดลง
สิ่งที่กังวลคือกลัวผู้ชุมนุมฝั่งราชดำเนินกับผู้ชุมนุมฝั่งสนามกีฬาราชมังคลาสถานมาฟีชเชอริ่งกัน หากมาเจอกันเมื่อไรก็จะมีปัญหา แต่เท่าที่อ่านเกมมองว่ารัฐบาลเกินเกมพลาด 2 ช็อต คือการชุมนุมคัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม และการรวมตัวในวันที่ 24 พ.ย.ที่ผ่านมา ขณะที่กลยุทธ์ม็อบดาวกระจายของ สุเทพ เทือกสุบรรณ ได้รับการสนองตอบจากกองเชียร์เกินคาดหมาย และอาจจะกลายเป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น ถ้าเกิดการเปลี่ยนแปลงในเดือน ธ.ค. อย่างน้อยไม่มีเหตุจำเป็นที่ม็อบจะชุมนุมอยู่ หรืออาจจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น มีนโยบายใหม่ๆ หรือเปลี่ยนผู้นำ เปลี่ยนรัฐบาลชุดใหม่ เปลี่ยนรูปแบบไปเลย เชื่อว่าตลาดหุ้นจะดีขึ้น จากสถิติย้อนหลัง 4 ปีตลาดหุ้นในเดือนธ.ค.มักจะปรับเพิ่มขึ้นทุกปี ประมาณ 3-4% ปีนี้อาจจะได้เห็นประวัติศาสตร์ซ้ำรอยสถิติเดิม หลังจากดัชนีราคาหุ้นได้ตกลงไปมากเดือนพ.ย.
ชี้2แนวทางการเมืองกระทบหุ้น
สรุปคืออาจจะแบ่งสถานการณ์ออกได้เป็น 2 เหตุการณ์ คือ 1. หากความวุ่นวายจบลงก่อนที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) จะชี้มูลความผิดในเดือน ธ.ค. ที่เตรียมไว้ 6 คดี ซึ่งมียิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นหัวขบวนทุกคดี หุ้นมีโอกาสขึ้นได้ ทั้งนี้ไม่ได้ขึ้นด้วยปัจจัยพื้นฐานใดๆเลย แต่เป็นการขึ้นด้วยแรงคาดหวังอย่างเดียว 2. สถานการณ์ยืดเยื้อกระทั่งปปช.ชี้มูล แม้ว่าเพียงคดีเดียว จะส่งผลให้หุ้นตก เพราะอาจจะเกิดการต่อต้านของผู้ชุมนุมทั้งสองฝ่าย
"เชื่อว่าสถานการณ์ที่เลวร้ายสุดคือ แนวรับน่าจะลงไปต่ำกว่าจุดเคยต่ำสุดในวันที่ 28 ส.ค. ที่ระดับ 1,260 จุด"
สำหรับปีหน้า ปัจจัยหลักที่มีผลกระทบต่อตลาดหุ้นน่าจะมาจากต่างประเทศ ส่วนการเมืองในประเทศน่าจะชัดเจนขึ้น การประเมินล่วงหน้ายาวๆเริ่มไม่แม่นยำ เพราะต้องติดตามตัวเลขทางเศรษฐกิจต่างๆอย่างใกล้ชิด สำหรับบล.เอซีย พลัส ประมาณการอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจปีหน้าที่ 4% อย่างไรก็ดี ในช่วงที่ผ่านมาไทยเสพประชานิยมมากเกินไป จนถึงช่วงกลางปีเริ่มเห็นปัญหาอาหารเป็นพิษ และจะเป็นพิษขึ้นเรื่อยๆหากรัฐบาลยังคงดำเนินการโครงการรับจำนำข้าวเหมือนที่ผ่านมา
ระบุนักลงทุนต่างชาติชินการเมืองไทย
ปริญญ์ มองว่าผลกระทบการเมืองต่อตลาดหุ้นเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนส.ค.ที่ผ่านมา เพราะความคาดหมายของต่างชาติว่าการลงทุนของรัฐบาลทันท่วงทีแทนการบริโภคในประเทศที่ชะลอตัวลง ที่ผ่านมารัฐบาลใช้นโยบายประชานิยมกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นมาก ในปีนี้จึงคาดว่าจะมีการนโยบายระยะยาว เช่น โครงการการโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งต่างชาติจับตามองค่อนข้างมากหลังจากรัฐบาลเดินสายไปแล้วหลายรอบ ดังนั้นตลาดหุ้นไทยในรอบนี้ถูกกระทบค่อนข้างแรง เพราะราคาหุ้นไม่ได้ถูกเหมือนเดิม
"ปัญหาการเมืองอยู่กับบ้านเรามา 4-5 ปี แล้วตั้งแต่ปี 2551 จนนักลงทุนต่างชาติเริ่มชิน เบื่อ เซ็ง ตลาดหุ้นขึ้นต่อเนื่อง 4 ปีซ้อน ประกอบกับคิวอีเริ่มลดขนาดลง เงินทุนเริ่มไหลออกกลับไปซื้อหุ้นในตลาดสหรัฐที่พร้อมจะมีอัตราเติบโตเท่ากับตลาดหุ้นไทย รวมทั้งตลาดหุ้นอื่นใน จีน เกาหลี ไต้หวัน และฮ่องกง"
ทั้งนี้การเมืองมีผลต่อเศรษฐกิจสะดุดเป็นสิ่งที่นักลงทุนต่างชาติไม่พอใจ โดยเฉพาะการนำนโยบายการเมืองมาชี้นำนโยบายเศรษฐกิจ ส่งผลให้ค่าความเสี่ยง (risk premium) ในตลาดหุ้นไทยสูงขึ้น ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่อง 30,000 -40,000 ล้านบาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมายังถือว่าเป็นการขายเล่นๆ ฟรีโฟลตทั้งหมดมีต่างชาติถืออยู่ 60% ขายไปยังไม่ถึง 10% ยังมีที่เหนียวอยู่บ้างคือไม่ขายทิ้ง เช่น คันทรีฟันด์ โกลบอล อิเมอร์จจิง ฟันด์ ขายจริงยังไม่เกิดขึ้น รอปีหน้าคงเห็นขายจริงเกิดขึ้น
เผยต่างชาติเริ่มปรับพอร์ตลงทุนชัดเจน
ปริญญ์ ยังให้ความเห็นว่า ที่จริงแล้วหุ้นไทยในเดือนธ.ค.ย้อนหลังไป 10 ปี ปรับขึ้นทุกปี ยกเว้นปี 2549 ซึ่งเป็นปีที่แบงก์ชาติประกาศมาตการควบคุมเงินทุนไหลเข้า ขณะที่นักลงทุนสถาบันต่างชาติไม่ได้สนใจสั่งซื้อขายช่วงปลายปีเท่าไรนัก สำหรับปีหน้า หุ้นไทยจะปรับขึ้นได้น่าจะมาจากปัจจัยต่างประเทศ อานิสงส์จากส่งออกหลังจากที่ปีนี้ไม่โต ประกอบกับคิวอีที่ไม่น่าจะลดขนาดลงมากนัก แต่ถ้านโยบายภาครัฐไม่ได้ดำเนินการทันท่วงที ต่างชาติคงต้องคิดหนักหากจะลงทุนในตลาดหุ้นไทย อาจจะต้องเลือกซื้อเป็นรายตัว ไม่ใช่ซื้อยกกลุ่มเหมือนเดิม
โดยภาพแล้ว ตลาดหุ้นไทยขึ้นแรงลงแรง นักลงทุนต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุนในช่วงนี้ต้องใจกล้ามาก อย่างไรก็ดี นักลงทุนต่างชาติส่วนใหญ่เริ่มปรับพอร์ตการลงทุนชัดเจน และเริ่มหันไปลงทุนในตลาดหุ้นแถบเอเชียเหนือ รับอานิสงส์จากเศรษฐกิจสหรัฐ และยุโรปฟื้นตัว แต่กองทุนต่างชาติที่ลงทุนในตลาดหุ้นไทยมากว่า 4 ปียังไม่ได้ปรับพอร์ตมากนัก อาทิ กองทุนเทมเพิลตัน มีเงินลงทุนในตลาดหุ้นไทยตอนนี้อย่างต่ำ 5,000 ล้านดอลลาร์ อาเบอร์ดีนมีเงินอย่างต่ำ 3,000 ล้านเหรียญ รวมหลายกองทุนหลายพันล้านเหรียญ ซี่งกองทุนเหล่านี้ยังไม่ได้ปรับพอร์ตเต็มที่เหมือนพวกเฮดจ์ฟันด์ที่ขายออกไปเรียบร้อยแล้วอย่างรวดเร็ว
นักลงทุนต่างชาติกังวลอยู่ 2 ประเด็นคือ 1. รัฐบาลชุดนี้เลือกที่นำเอาพ.ร.บ.นิรโทษกรรมเข้าสภาก่อนพ.ร.บ.เงินกู้โครงการโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท และ 2. รัฐบาลชุดนี้มาจาการเลือกจั้งแต่กลับไม่รับคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องที่นักลงทุนต่างชาติแปลกใจและถามไถ่กันมาก
ส่วนฐานะการคลังของประเทศขณะนี้ยังไม่น่ากลัวตอนนี้ แต่มีแนวโน้มน่ากังวลด้านกฎเกณฑ์การใช้จ่าย ซึ่งต้องรอบคอบโดยเฉพาะเงินกู้โครงการโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท เพราะอยู่นอกงบประมาณรายจ่ายประจำปีทำให้ตรวจสอบได้ยาก นอกจากนี้ยังผูกพันภาระหนี้ไปอีก 50 ปี ดังนั้น รัฐบาลต้องคำนึงถึงสิ่งที่ควรทำก่อนหลังเช่น รถไฟรางคู่ และรถไฟฟ้าควรดำเนินการก่อน รวมถึงการพัฒนาด้านอื่นด้วย เช่น พัฒนาบุคลากร ส่วนโครงสร้างภาษีควรต้องปรับเพื่อดึงดูกนักลงทุนต่างชาติระยะยาว และปรับเพื่อแข่งขันกับประเทศอื่น เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ และไต้หวันได้ สำหรับโครงการรับจำนำข้าว ที่ผ่านมาดำเนินเหมือนกันหมดทุกรัฐบาล แต่ขึ้นอยู่กับว่าทำอย่างไรให้กระทบฐานะการคลังน้อยที่สุด ควบคู่ไปกับแผนพัฒนาระยะยาว