นายณธีพัฒน์ อัครบวรสิทธิ์ ผู้ช่วยประธานเครือข่ายยุวทัศน์ กรุงเทพมหานคร ในฐานะประธานอนุกรรมการรับเรื่องราวร้องทุกข์ด้านการศึกษา เปิดเผยถึงผลการรับเรื่องราวร้องทุกข์จากนักเรียน นักศึกษา ทั่วประเทศ ในปีงบประมาณ 2556 ที่ผ่านมา ว่า ร้อยละ 40 ของเรื่องร้องเรียน คือ การที่สถานศึกษาส่วนใหญ่ใช้เด็กเป็นเครื่องมือแสวงหาชื่อเสียงให้กับสถานศึกษา โดยเครือข่ายพบว่า เรื่องที่นักเรียนส่วนใหญ่ร้องเรียนเข้ามา คือ เด็กที่มีความรู้ความสามารถ ด้านการร้อง เต้น หรือทำกิจกรรมอื่นๆ เมื่อไปประกวดและสามารถคว้าแชมป์ หรือรางวัลได้ สถานศึกษาก็จะเชิดชู และนำไปเป็นผลงานของโรงเรียนเสียเอง ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ไม่เคยสนับสนุนส่งเสริมนักเรียนเลย
นายณธีพัฒน์กล่าวต่อว่า นอกจากสถานศึกษาเกือบทุกแห่งจะนำผลงานของนักเรียนมาโชว์แล้ว ทุกวันนี้ยังจัดแสดงเผยแพร่ผลงานของสถานศึกษาในด้านบวกอีกมากมาย ทั้งการประกาศความสามารถในด้านผลงานต่างๆ หรือผลการประเมินภายนอกของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.). ในระดับต่างๆ แต่หากกลับมาย้อนดูผลวิจัยในระดับนานาชาติที่น่าเชื่อถือกลับพบว่า การศึกษาของไทยยังอยู่ในอันดับรั้งท้าย ไม่สอดคล้องกับผลงานที่สถานศึกษานำมาแสดง จึงเห็นได้ชัดว่า การประเมินสถานศึกษาในประเทศไทย ใช้ระบบผักชีโรยหน้าเป็นเครื่องมือมากกว่าการใช้ความจริง และระดับที่สถานศึกษาควรจะเป็นมาประเมิน
"ผมเชื่อว่าการประเมินของ สมศ. มีคุณภาพที่เชื่อถือได้ในระดับหนึ่ง แต่หาก สมศ.จะเข้มงวดกับผู้ประเมินและบุคลากรทางการศึกษามากกว่านี้ ก็จะยิ่งมีคุณภาพมากขึ้น ผมอยากฝากถึงสถานศึกษาทุกแห่งด้วยว่าเด็กไทยมีความเก่งในทุกเรื่อง ไม่มีใครโง่ ใครฉลาด แต่เก่ง และถนัดในสิ่งที่แตกต่างกัน ถ้าอยากเห็นเด็กมีคุณภาพเรียนรู้จากสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเอง ก็ควรสนับสนุนในทางที่ผู้เรียนชอบ เด็กจะเติบโตเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพได้เอง" นายณธีพัฒน์กล่าว
ข่าวสด
ร้อยละ 40 นร. นศ. ร้องเรียนสถาบันศึกษาใช้เด็กเป็นเครื่องแสวงหาชื่อเสียง
นายณธีพัฒน์กล่าวต่อว่า นอกจากสถานศึกษาเกือบทุกแห่งจะนำผลงานของนักเรียนมาโชว์แล้ว ทุกวันนี้ยังจัดแสดงเผยแพร่ผลงานของสถานศึกษาในด้านบวกอีกมากมาย ทั้งการประกาศความสามารถในด้านผลงานต่างๆ หรือผลการประเมินภายนอกของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.). ในระดับต่างๆ แต่หากกลับมาย้อนดูผลวิจัยในระดับนานาชาติที่น่าเชื่อถือกลับพบว่า การศึกษาของไทยยังอยู่ในอันดับรั้งท้าย ไม่สอดคล้องกับผลงานที่สถานศึกษานำมาแสดง จึงเห็นได้ชัดว่า การประเมินสถานศึกษาในประเทศไทย ใช้ระบบผักชีโรยหน้าเป็นเครื่องมือมากกว่าการใช้ความจริง และระดับที่สถานศึกษาควรจะเป็นมาประเมิน
"ผมเชื่อว่าการประเมินของ สมศ. มีคุณภาพที่เชื่อถือได้ในระดับหนึ่ง แต่หาก สมศ.จะเข้มงวดกับผู้ประเมินและบุคลากรทางการศึกษามากกว่านี้ ก็จะยิ่งมีคุณภาพมากขึ้น ผมอยากฝากถึงสถานศึกษาทุกแห่งด้วยว่าเด็กไทยมีความเก่งในทุกเรื่อง ไม่มีใครโง่ ใครฉลาด แต่เก่ง และถนัดในสิ่งที่แตกต่างกัน ถ้าอยากเห็นเด็กมีคุณภาพเรียนรู้จากสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเอง ก็ควรสนับสนุนในทางที่ผู้เรียนชอบ เด็กจะเติบโตเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพได้เอง" นายณธีพัฒน์กล่าว
ข่าวสด