องค์กรสื่อประณามแดงวอนอย่าข่มขู่นักข่าว
องค์กรวิชาชีพสื่อ ออกแถลงการณ์ ประณามการข่มขู่นักข่าวของกลุ่มเสื้อแดง กรณีการบุกโรงพยาบาลจุฬาฯ...
แถลงการณ์ร่วมองค์กรวิชาชีพสื่อ เรื่อง ประณามการข่มขู่นักข่าว ในกรณีการบุกโรงพยาบาลจุฬาฯ
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ขอประณามการกระทำของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ในการใช้พฤติกรรมข่มขู่คุกคามผู้สื่อข่าว จากกรณีการแถลงข่าวของนายจตุพร พรหมพันธ์ แกนนำ นปช. ซึ่งได้กล่าวอ้างว่า โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มีการซ่องสุมกำลังเพื่อเตรียมสลายการชุมนุมของคนเสื้อแดง
ในการแถลงข่าวดังกล่าว ผู้สื่อข่าวได้ถามกลับไปว่า มีภาพถ่ายเป็นหลักฐานหรือไม่ ว่าในโรงพยาบาลมีทหารอยู่จริง แต่สิ่งที่นักข่าวได้รับจากแกนนำ โดยเฉพาะนายจตุพร นอกจากไม่ตอบคำถามอย่างตรงไปตรงมาแล้ว ยังแสดงอารมณ์ความฉุนเฉียว คุกคาม พร้อมกับท้าว่า “ถ้า ไม่เชื่อให้ไปดูพร้อมกัน” และย้ำว่านักข่าวคนนี้ต้องไปด้วยให้ได้“ ซึ่งถือได้ ว่าเป็นพฤติกรรมคุกคามการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนและจับนักข่าวเป็นตัวประกัน ในการบุกเข้าไปในโรงพยาบาลจุฬาฯ
นอกจากนี้ ในการแถลงข่าว ได้มีการต่อสายไปยังเครื่องขยายเสียงที่เวทีปราศรัย ทำให้คำกล่าวของ นายจตุพร ถูกกระจายเสียงให้ได้ยินกันทั่วพื้นที่ชุมนุมราชประสงค์ กลายเป็นชนวนชักชวนให้มวลชนเสื้อแดงให้บุกโรงพยาบาลในค่ำคืนนั้น
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่ง ประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย จึงขอประณามการกระทำดังกล่าว พร้อมกับเรียกร้องให้แกนนำหยุดการกระทำที่เป็นการคุกคามสื่อ และ ยั่วยุให้เกิดความรุนแรงดังนี้
1.ผู้สื่อข่าวไม่ใช่คู่ขัดแย้งของกลุ่ม ผู้ชุมนุม และการทำหน้าที่ของผู้สื่อข่าวเป็นการทำหน้าที่ด้วยความเป็นกลาง ความรับผิดชอบต่อสังคม ฉะนั้นจึงขอให้แกนนำ และกลุ่มผู้ชุมนุมหยุดพฤติกรรมอันเป็นการข่มขู่ คุกคามสื่อมวลชน
2.ขอให้แกนนำปรับเปลี่ยนวิธีการ แถลงข่าว โดยการถ่ายทอดเสียงออกไปยังผู้ชุมนุม เพราะนอกจากจะทำให้ผู้สื่อข่าวไม่สามารถทำหน้าที่ได้โดยอิสระแล้ว ยังถูกผู้ชุมนุมห้อมล้อม และมีการโห่ไม่พอใจหากตั้งคำถามไม่ถูกใจ ซึ่งเป็นการลิดรอนการทำหน้าที่
ทั้งนี้ ขอเป็นกำลังใจให้สื่อมวลชนทุกท่านในการทำหน้าที่ในสถานการณ์วิกฤติเช่นนี้ และขอให้หน่วยงานต้นสังกัด ตระหนักถึงความปลอดภัยของนักข่าวเป็นสำคัญ
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย
30 เมษายน 2553
องค์กรสื่อประณามแล้ว
องค์กรวิชาชีพสื่อ ออกแถลงการณ์ ประณามการข่มขู่นักข่าวของกลุ่มเสื้อแดง กรณีการบุกโรงพยาบาลจุฬาฯ...
แถลงการณ์ร่วมองค์กรวิชาชีพสื่อ เรื่อง ประณามการข่มขู่นักข่าว ในกรณีการบุกโรงพยาบาลจุฬาฯ
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ขอประณามการกระทำของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ในการใช้พฤติกรรมข่มขู่คุกคามผู้สื่อข่าว จากกรณีการแถลงข่าวของนายจตุพร พรหมพันธ์ แกนนำ นปช. ซึ่งได้กล่าวอ้างว่า โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มีการซ่องสุมกำลังเพื่อเตรียมสลายการชุมนุมของคนเสื้อแดง
ในการแถลงข่าวดังกล่าว ผู้สื่อข่าวได้ถามกลับไปว่า มีภาพถ่ายเป็นหลักฐานหรือไม่ ว่าในโรงพยาบาลมีทหารอยู่จริง แต่สิ่งที่นักข่าวได้รับจากแกนนำ โดยเฉพาะนายจตุพร นอกจากไม่ตอบคำถามอย่างตรงไปตรงมาแล้ว ยังแสดงอารมณ์ความฉุนเฉียว คุกคาม พร้อมกับท้าว่า “ถ้า ไม่เชื่อให้ไปดูพร้อมกัน” และย้ำว่านักข่าวคนนี้ต้องไปด้วยให้ได้“ ซึ่งถือได้ ว่าเป็นพฤติกรรมคุกคามการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนและจับนักข่าวเป็นตัวประกัน ในการบุกเข้าไปในโรงพยาบาลจุฬาฯ
นอกจากนี้ ในการแถลงข่าว ได้มีการต่อสายไปยังเครื่องขยายเสียงที่เวทีปราศรัย ทำให้คำกล่าวของ นายจตุพร ถูกกระจายเสียงให้ได้ยินกันทั่วพื้นที่ชุมนุมราชประสงค์ กลายเป็นชนวนชักชวนให้มวลชนเสื้อแดงให้บุกโรงพยาบาลในค่ำคืนนั้น
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่ง ประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย จึงขอประณามการกระทำดังกล่าว พร้อมกับเรียกร้องให้แกนนำหยุดการกระทำที่เป็นการคุกคามสื่อ และ ยั่วยุให้เกิดความรุนแรงดังนี้
1.ผู้สื่อข่าวไม่ใช่คู่ขัดแย้งของกลุ่ม ผู้ชุมนุม และการทำหน้าที่ของผู้สื่อข่าวเป็นการทำหน้าที่ด้วยความเป็นกลาง ความรับผิดชอบต่อสังคม ฉะนั้นจึงขอให้แกนนำ และกลุ่มผู้ชุมนุมหยุดพฤติกรรมอันเป็นการข่มขู่ คุกคามสื่อมวลชน
2.ขอให้แกนนำปรับเปลี่ยนวิธีการ แถลงข่าว โดยการถ่ายทอดเสียงออกไปยังผู้ชุมนุม เพราะนอกจากจะทำให้ผู้สื่อข่าวไม่สามารถทำหน้าที่ได้โดยอิสระแล้ว ยังถูกผู้ชุมนุมห้อมล้อม และมีการโห่ไม่พอใจหากตั้งคำถามไม่ถูกใจ ซึ่งเป็นการลิดรอนการทำหน้าที่
ทั้งนี้ ขอเป็นกำลังใจให้สื่อมวลชนทุกท่านในการทำหน้าที่ในสถานการณ์วิกฤติเช่นนี้ และขอให้หน่วยงานต้นสังกัด ตระหนักถึงความปลอดภัยของนักข่าวเป็นสำคัญ
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย
30 เมษายน 2553