หมออ๋อง ชี้ช่อง เอาผิดจริยธรรม พล.อ.ประวิตร ชี้เข้าข่ายคุกคามชัด
https://www.matichon.co.th/politics/news_4740563
หมออ๋อง อดีตรองประธานสภาฯ ชี้ช่อง เอาผิดจริยธรรม บิ๊กป้อม ชี้เข้าข่ายคุกคามชัด
เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2567 นาย
ปดิพัทธ์ สันติภาดา อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 ได้โพสต์ข้อความผ่านแอพพลิเคชั่น X ถึงกรณี พล.อ.
ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ แสดงพฤติกรรมใช้ความรุนแรงกับสื่อมวลชนหลังตั้งคำถาม กรณี น.ส.
แพทองธาร ชินวัตร ได้รับการโหวต จากที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ให้เป็นนายกรัฐมนตรี ว่า
“ส.ส.ที่คุกคามสื่อ เข้าข่ายผิดจริยธรรมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครับ สามารถยื่นเรื่องเอาจริยธรรมได้ครับ”
https://x.com/ongpadipat/status/1824442168641302627
ยื่นสอบจริยธรรมร้ายแรงประวิตร หลังมีพฤติกรรมคุกคามสื่อ
https://thestandard.co/prawit-ethics-investigation-media-intimidation/
วันนี้ (17 สิงหาคม) สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ออกแถลงการณ์หัวข้อ การใช้อำนาจคุกคามสื่อมวลชนขณะปฏิบัติหน้าที่รายงานข่าว โดยมีรายละเอียดระบุว่า
ตามที่ได้เกิดเหตุการณ์คุกคามสื่อมวลชนในระหว่างการปฏิบัติงานสัมภาษณ์ พล.อ.
ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งเป็นหนึ่งในรายชื่อ ‘
แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี’ ภายหลังรับทราบมติการประชุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร วาระการพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2567 ซึ่งองค์กรสื่อมวลชนต้นสังกัดและองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนได้ออกแถลงการณ์ปกป้องการทำหน้าที่ตามหลักจริยธรรมวิชาชีพสื่อมวลชน และแสดงความกังวลต่อพฤติกรรมดังกล่าวไปแล้วนั้น ซึ่งภายหลังได้รับทราบข่าวสารการดำเนินการติดต่อชี้แจงจากทีมงานหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ โดยให้เหตุผลว่าเป็นการพูดคุยหยอกล้อกันเล่นด้วยความคุ้นเคยกันมาอย่างยาวนานกับผู้สื่อข่าวสายความมั่นคงรายดังกล่าวนั้น
สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ได้ติดตามตรวจสอบด้วยความห่วงใยแล้วเห็นว่า จากคลิปภาพเหตุการณ์ยืนยันอย่างชัดแจ้งว่าเป็นการแสดงอาการโกรธเกรี้ยวในลักษณะคุกคามผู้สื่อข่าวที่ตั้งคำถามสัมภาษณ์ในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งเป็นเรื่องที่เกินกว่าปกติวิสัยของการพูดคุยหยอกล้อกันด้วยความคุ้นเคยตามที่ทีมงานของ พล.อ.
ประวิตร กล่าวอ้างและพยายามให้เหตุการณ์ดังกล่าวนี้ยุติลง ซึ่งหากสังคมปล่อยผ่านเรื่องราวดังกล่าวไปเฉกเช่นที่เคยมีการให้สัมภาษณ์ดูแคลนสื่อมวลชนว่าจบมาจากสถาบันการศึกษาใด เพื่อส่งผลต่อการด้อยค่าการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนนั้น
สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย จะดำเนินการยื่นตรวจสอบด้านจริยธรรมว่าการกระทำดังกล่าวอาจเป็นการฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ตามข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและกรรมาธิการ พ.ศ. 2563 อย่างน้อย 2 ข้อ ได้แก่
ข้อ 12 ต้องเคารพสิทธิ เสรีภาพส่วนบุคคลของผู้อื่น ไม่แสดงกิริยา หรือใช้วาจาอันไม่สุภาพ
และข้อ 13 ต้องไม่แสดงอาการข่มขู่ อาฆาตมาดร้าย หรือใช้กำลังประทุษร้ายต่อบุคคลอื่น เพื่อจรรโลงไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์ศรีของการทำหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของปวงชนชาวไทย และเป็นการปกป้องการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนต่อไป
เศรษฐกิจแนวโน้มศก.ไทยปี 67 ขยายตัว ‘จีดีพี’ โต แต่ยังต่ำเป้าหมายที่ 3%
https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1140643
แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 67 ขยายตัวเพิ่มจากคาดการณ์เดิมหลัง “คลัง” ขยับเพิ่มประมาณการเศรษฐกิจไทยหลังพ้นไตรมาส 2 ปี 2567 คาดเศรษฐกิจทั้งปี ขยายตัว 2.7% จากเดิม 2.4% ชี้ 3 ปัจจัยหลักหนุน ภาคท่องเที่ยว ส่งออก และเบิกจ่ายงบประมาณ แต่ภาพรวมจีดีพีไทยยังต่ำกว่าเป้าที่ 3%
แนวโน้มเศรษฐกิจไทย ปี 2567 เมื่อประเมินจากการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ปีนี้มีแนวโน้มขยายตัวได้ต่อเนื่องจากปี 2566 ที่ขยายตัวได้ 1.9% โดยสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดการณ์ว่าจีดีพีปีนี้จะขยายตัวประมาณ 2.5- 3% (ค่ากลาง 2.5%) ทั้งนี้ สศช. จะมีการประกาศตัวเลขจีดีพีไตรมาสที่ 2 ของปีนี้และแนวโน้มเศรษฐกิจไทยทั้งปี 2567 ในวันจันทร์ที่ 19 ส.ค.ซึ่งต้องดูว่าแนวโน้มจะมีการปรับตัวเลขประมาณการจีดีพีอีกครั้งหรือไม่
ทั้งนี้ที่ผ่านมาทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลมีการตั้งเป้าหมายการทำงานขับเคลื่อนให้จีดีพีปี 2567 ขยายตัวได้ 3% ซึ่งนาย
พิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง ได้แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจว่าจะพยายามผลักดันให้เศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปีนี้ขยายตัวได้ถึง 3% ผ่านการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณการลงทุน การผลักดันการลงทุนทางตรง(FDI)จากคำขอส่งเสริมการลงทุนที่มีอยู่ให้เกิดการลงทุนจริงอย่างน้อย 3 - 4 หมื่นล้านบาท
ขณะที่กระทรวงการคลังได้มีการคาดหมายว่าเศรษฐกิจปีนี้จะขยายตัวได้ประมาณ 2.7% โดยมี 3 ปัจจัยสนับสนุน นาย
พรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยผลประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2567 เมื่อวันที่ 26 ก.ค.2567 ว่า คาดว่าจะขยายตัวที่ 2.7% เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ที่ขยายตัว 1.9% ณ เม.ย. ที่ 2.4%
เศรษฐกิจไทยได้รับแรงสนับสนุนเนื่องจาก 3 ปัจจัยสำคัญ ได้แก่
1. การส่งออกสินค้ามีสัญญาณขยายตัวได้ดีกว่าที่คาดการณ์ โดยคาดว่าจะขยายตัว 2.7% เพิ่มขึ้นจากการประมาณการครั้งก่อนที่ 2.3% โดยอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าสำคัญขยายตัวได้ดีขึ้นโดยเฉพาะ สหรัฐอเมริกา จีน และยูโรโซน โดยมีการปรับตัวขึ้นของ GDP ประเทศคู่ค้า 15 ประเทศหลักที่ 3.2% เพิ่มขึ้นจากประมาณการครั้งก่อนที่ 3.1%
2. จำนวน และรายได้ที่ได้รับจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศสูงกว่าที่คาดการณ์ สะท้อนผลตอบรับที่ดีจากมาตรการดึงดูดนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะมาตรการยกเว้นการตรวจลงตรา (วีซ่าฟรี) ให้กับนักท่องเที่ยวกลุ่มที่มีรายจ่ายต่อหัวสูง
โดยคาดว่าในปี 2567 จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติ 36 ล้านคน ขยายตัวสูงต่อเนื่องที่ 27.9% ต่อปี ซึ่งเพิ่มขึ้นจากประมาณการครั้งก่อนที่ 35.7 ล้านคน และรายจ่ายต่อหัวของนักท่องเที่ยวคาดอยู่ที่ 47,000 บาท/คน/ทริป เพิ่มขึ้นจากประมาณการครั้งก่อนที่อยู่ที่ 44,600 บาท/คน/ทริป โดยรวมภาคการท่องเที่ยวทั้งปี 2567 คาดว่าจะสร้างรายได้กว่า 1.69 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 37.4% จากปีก่อน
3. การเบิกจ่ายภาครัฐที่ดีกว่าที่คาดการณ์จากการเตรียมความพร้อมเร่งเบิกจ่ายของภาครัฐ และมีทิศทางเร่งขึ้นต่อเนื่องในช่วงท้ายของปีงบประมาณ 2567 โดยคาดว่าจะสามารถเบิกจ่ายได้ 3.24 ล้านล้านบาท คิดเป็น 90% ของงบประมาณทั้งหมด แบ่งเป็นรายจ่ายประจำที่คาดว่าจะทำได้ 99.5% และรายจ่ายลงทุน 57.5% ส่วนรายจ่ายเหลื่อมปีและรายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจคาดว่าจะอยู่ที่ 94% และ 95% ตามลำดับ
อย่างไรก็ตามแม้กระทรวงการคลังจะคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจปีนี้จะขยายตัวได้ประมาณ 2.7% ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมาย 3% ของ ครม.เศรษฐกิจ แต่ในความเป็นจริงจะต้องติดตามดูปัจจัยต่างๆที่จะเข้ามาเป็นปัจจัยท้าทายและฉุดรั้งเศรษฐกิจไทยในปีนี้เพิ่มเติม เช่น ความล่าช้าของการจัดทำงบประมาณภายหลังมีนายกรัฐมนตรี และครม.ชุดใหม่ รวมทั้งความต่อเนื่องของการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือต่อจากนี้
หากทำได้อย่างรวดเร็วและดีพอก็อาจทำให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ใกล้เคียงเป้าหมายที่วางไว้ แต่หากทำได้ไม่ดีเศรษฐกิจไทยก็ยากที่จะขยายตัวได้ถึง 3% และถือเป็นอีกปีที่เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำกว่าศักยภาพเศรษฐกิจที่ควรจะเป็น
JJNY : หมออ๋องชี้ช่องเอาผิด│ยื่นสอบจริยธรรมร้ายแรงประวิตร│‘จีดีพี’โต แต่ยังต่ำเป้าหมายที่ 3%│ว่างงานคนหนุ่มสาวในจีนสูง
https://www.matichon.co.th/politics/news_4740563
หมออ๋อง อดีตรองประธานสภาฯ ชี้ช่อง เอาผิดจริยธรรม บิ๊กป้อม ชี้เข้าข่ายคุกคามชัด
เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2567 นายปดิพัทธ์ สันติภาดา อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 ได้โพสต์ข้อความผ่านแอพพลิเคชั่น X ถึงกรณี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ แสดงพฤติกรรมใช้ความรุนแรงกับสื่อมวลชนหลังตั้งคำถาม กรณี น.ส.แพทองธาร ชินวัตร ได้รับการโหวต จากที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ให้เป็นนายกรัฐมนตรี ว่า
“ส.ส.ที่คุกคามสื่อ เข้าข่ายผิดจริยธรรมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครับ สามารถยื่นเรื่องเอาจริยธรรมได้ครับ”
https://x.com/ongpadipat/status/1824442168641302627
ยื่นสอบจริยธรรมร้ายแรงประวิตร หลังมีพฤติกรรมคุกคามสื่อ
https://thestandard.co/prawit-ethics-investigation-media-intimidation/
วันนี้ (17 สิงหาคม) สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ออกแถลงการณ์หัวข้อ การใช้อำนาจคุกคามสื่อมวลชนขณะปฏิบัติหน้าที่รายงานข่าว โดยมีรายละเอียดระบุว่า
ตามที่ได้เกิดเหตุการณ์คุกคามสื่อมวลชนในระหว่างการปฏิบัติงานสัมภาษณ์ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งเป็นหนึ่งในรายชื่อ ‘แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี’ ภายหลังรับทราบมติการประชุมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร วาระการพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2567 ซึ่งองค์กรสื่อมวลชนต้นสังกัดและองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนได้ออกแถลงการณ์ปกป้องการทำหน้าที่ตามหลักจริยธรรมวิชาชีพสื่อมวลชน และแสดงความกังวลต่อพฤติกรรมดังกล่าวไปแล้วนั้น ซึ่งภายหลังได้รับทราบข่าวสารการดำเนินการติดต่อชี้แจงจากทีมงานหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ โดยให้เหตุผลว่าเป็นการพูดคุยหยอกล้อกันเล่นด้วยความคุ้นเคยกันมาอย่างยาวนานกับผู้สื่อข่าวสายความมั่นคงรายดังกล่าวนั้น
สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ได้ติดตามตรวจสอบด้วยความห่วงใยแล้วเห็นว่า จากคลิปภาพเหตุการณ์ยืนยันอย่างชัดแจ้งว่าเป็นการแสดงอาการโกรธเกรี้ยวในลักษณะคุกคามผู้สื่อข่าวที่ตั้งคำถามสัมภาษณ์ในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งเป็นเรื่องที่เกินกว่าปกติวิสัยของการพูดคุยหยอกล้อกันด้วยความคุ้นเคยตามที่ทีมงานของ พล.อ.ประวิตร กล่าวอ้างและพยายามให้เหตุการณ์ดังกล่าวนี้ยุติลง ซึ่งหากสังคมปล่อยผ่านเรื่องราวดังกล่าวไปเฉกเช่นที่เคยมีการให้สัมภาษณ์ดูแคลนสื่อมวลชนว่าจบมาจากสถาบันการศึกษาใด เพื่อส่งผลต่อการด้อยค่าการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนนั้น
สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย จะดำเนินการยื่นตรวจสอบด้านจริยธรรมว่าการกระทำดังกล่าวอาจเป็นการฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ตามข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและกรรมาธิการ พ.ศ. 2563 อย่างน้อย 2 ข้อ ได้แก่
ข้อ 12 ต้องเคารพสิทธิ เสรีภาพส่วนบุคคลของผู้อื่น ไม่แสดงกิริยา หรือใช้วาจาอันไม่สุภาพ
และข้อ 13 ต้องไม่แสดงอาการข่มขู่ อาฆาตมาดร้าย หรือใช้กำลังประทุษร้ายต่อบุคคลอื่น เพื่อจรรโลงไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์ศรีของการทำหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของปวงชนชาวไทย และเป็นการปกป้องการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนต่อไป
เศรษฐกิจแนวโน้มศก.ไทยปี 67 ขยายตัว ‘จีดีพี’ โต แต่ยังต่ำเป้าหมายที่ 3%
https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1140643
แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 67 ขยายตัวเพิ่มจากคาดการณ์เดิมหลัง “คลัง” ขยับเพิ่มประมาณการเศรษฐกิจไทยหลังพ้นไตรมาส 2 ปี 2567 คาดเศรษฐกิจทั้งปี ขยายตัว 2.7% จากเดิม 2.4% ชี้ 3 ปัจจัยหลักหนุน ภาคท่องเที่ยว ส่งออก และเบิกจ่ายงบประมาณ แต่ภาพรวมจีดีพีไทยยังต่ำกว่าเป้าที่ 3%
แนวโน้มเศรษฐกิจไทย ปี 2567 เมื่อประเมินจากการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ปีนี้มีแนวโน้มขยายตัวได้ต่อเนื่องจากปี 2566 ที่ขยายตัวได้ 1.9% โดยสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดการณ์ว่าจีดีพีปีนี้จะขยายตัวประมาณ 2.5- 3% (ค่ากลาง 2.5%) ทั้งนี้ สศช. จะมีการประกาศตัวเลขจีดีพีไตรมาสที่ 2 ของปีนี้และแนวโน้มเศรษฐกิจไทยทั้งปี 2567 ในวันจันทร์ที่ 19 ส.ค.ซึ่งต้องดูว่าแนวโน้มจะมีการปรับตัวเลขประมาณการจีดีพีอีกครั้งหรือไม่
ทั้งนี้ที่ผ่านมาทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลมีการตั้งเป้าหมายการทำงานขับเคลื่อนให้จีดีพีปี 2567 ขยายตัวได้ 3% ซึ่งนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง ได้แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจว่าจะพยายามผลักดันให้เศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปีนี้ขยายตัวได้ถึง 3% ผ่านการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณการลงทุน การผลักดันการลงทุนทางตรง(FDI)จากคำขอส่งเสริมการลงทุนที่มีอยู่ให้เกิดการลงทุนจริงอย่างน้อย 3 - 4 หมื่นล้านบาท
ขณะที่กระทรวงการคลังได้มีการคาดหมายว่าเศรษฐกิจปีนี้จะขยายตัวได้ประมาณ 2.7% โดยมี 3 ปัจจัยสนับสนุน นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยผลประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2567 เมื่อวันที่ 26 ก.ค.2567 ว่า คาดว่าจะขยายตัวที่ 2.7% เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ที่ขยายตัว 1.9% ณ เม.ย. ที่ 2.4%
เศรษฐกิจไทยได้รับแรงสนับสนุนเนื่องจาก 3 ปัจจัยสำคัญ ได้แก่
1. การส่งออกสินค้ามีสัญญาณขยายตัวได้ดีกว่าที่คาดการณ์ โดยคาดว่าจะขยายตัว 2.7% เพิ่มขึ้นจากการประมาณการครั้งก่อนที่ 2.3% โดยอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าสำคัญขยายตัวได้ดีขึ้นโดยเฉพาะ สหรัฐอเมริกา จีน และยูโรโซน โดยมีการปรับตัวขึ้นของ GDP ประเทศคู่ค้า 15 ประเทศหลักที่ 3.2% เพิ่มขึ้นจากประมาณการครั้งก่อนที่ 3.1%
2. จำนวน และรายได้ที่ได้รับจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศสูงกว่าที่คาดการณ์ สะท้อนผลตอบรับที่ดีจากมาตรการดึงดูดนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะมาตรการยกเว้นการตรวจลงตรา (วีซ่าฟรี) ให้กับนักท่องเที่ยวกลุ่มที่มีรายจ่ายต่อหัวสูง
โดยคาดว่าในปี 2567 จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติ 36 ล้านคน ขยายตัวสูงต่อเนื่องที่ 27.9% ต่อปี ซึ่งเพิ่มขึ้นจากประมาณการครั้งก่อนที่ 35.7 ล้านคน และรายจ่ายต่อหัวของนักท่องเที่ยวคาดอยู่ที่ 47,000 บาท/คน/ทริป เพิ่มขึ้นจากประมาณการครั้งก่อนที่อยู่ที่ 44,600 บาท/คน/ทริป โดยรวมภาคการท่องเที่ยวทั้งปี 2567 คาดว่าจะสร้างรายได้กว่า 1.69 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 37.4% จากปีก่อน
3. การเบิกจ่ายภาครัฐที่ดีกว่าที่คาดการณ์จากการเตรียมความพร้อมเร่งเบิกจ่ายของภาครัฐ และมีทิศทางเร่งขึ้นต่อเนื่องในช่วงท้ายของปีงบประมาณ 2567 โดยคาดว่าจะสามารถเบิกจ่ายได้ 3.24 ล้านล้านบาท คิดเป็น 90% ของงบประมาณทั้งหมด แบ่งเป็นรายจ่ายประจำที่คาดว่าจะทำได้ 99.5% และรายจ่ายลงทุน 57.5% ส่วนรายจ่ายเหลื่อมปีและรายจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจคาดว่าจะอยู่ที่ 94% และ 95% ตามลำดับ
อย่างไรก็ตามแม้กระทรวงการคลังจะคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจปีนี้จะขยายตัวได้ประมาณ 2.7% ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมาย 3% ของ ครม.เศรษฐกิจ แต่ในความเป็นจริงจะต้องติดตามดูปัจจัยต่างๆที่จะเข้ามาเป็นปัจจัยท้าทายและฉุดรั้งเศรษฐกิจไทยในปีนี้เพิ่มเติม เช่น ความล่าช้าของการจัดทำงบประมาณภายหลังมีนายกรัฐมนตรี และครม.ชุดใหม่ รวมทั้งความต่อเนื่องของการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือต่อจากนี้
หากทำได้อย่างรวดเร็วและดีพอก็อาจทำให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ใกล้เคียงเป้าหมายที่วางไว้ แต่หากทำได้ไม่ดีเศรษฐกิจไทยก็ยากที่จะขยายตัวได้ถึง 3% และถือเป็นอีกปีที่เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำกว่าศักยภาพเศรษฐกิจที่ควรจะเป็น